Tag: โรคไตวาย

  • ทำความเข้าใจกับโรคไตเรื้อรัง

    ทำความเข้าใจกับโรคไตเรื้อรัง

    ทำความเข้าใจกับโรคไตเรื้อรัง โรคไตเรื้อรังก็คือ สภาวะของไตที่ถูกทำลาย ทำให้ไตทำงานได้ลดลง โดยสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคไตเรื้อรังก็ได้แก่โรคเรื้อรังเช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน ไตอักเสบ โรคถุงน้ำในไต ฯลฯ ซึ่งโรคไตจะมีอาการแย่ลงหรือทรุดลงทีละน้อยโดยผู้ป่วยไม่ค่อยรู้ตัว บางคนไม่เคยทราบมาก่อนว่าตัวเองเป็นจนอาการแย่แล้ว ดังนั้นควรได้รับการตรวจและรักษาแต่เนิ่น ๆ อาจทำให้โรคไตเรื้อรังคงตัวและหายได้ แต่หากปล่อยไว้ไม่ตรวจหรือรักษาก็อาจนำไปสู่ภาวะไตวาย ซึ่งไตจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติอีกต่อไป จำเป็นต้องได้รับการฟอกเลือดหรือผ่าตัดเปลี่ยนไต โรคไตเรื้อรังนี้มีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง พันธุกรรมของคนในครอบครัว อายุที่มากขึ้นทำให้ไตเสื่อมสภาพลง เป็นคนที่อ้วนหรือเป็นโรคอ้วน และสูบบุหรี่ หากท่านอยู่ในข่ายดังกล่าวนี้ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะ รวมทั้งตรวจเลือดเพื่อหาค่าครีเอตินิน เพื่อนำเอาผลมาประเมินค่าการทำงานของไต ว่าไตทำงานได้มากน้อยเพียงใด หากได้ค่าการทำงานของไตต่ำก็อาจทำให้ไตไม่สามารถทำงานได้ดังเดิม สูญเสียหน้าที่ในการกำจัดของเสียในร่างกายออกไป สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังนั้น เริ่มแรกอาการอาจไม่รุนแรง อาจมีอาการได้แก่ อ่อนแรง สมองตื้อ เบื่ออาหาร นอนไม่ค่อยหลับ ผิวคันและแห้ง เป็นตะคริวเวลากลางคืน เท้าและข้อเท้าบวม ตาบวมน้ำ โดยเฉพาะในตอนเช้า ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะในเวลากลางคืน หากท่านพบว่าตนเองมีปัจจัยเสี่ยงและมีอาการของโรคดังกล่าวมาข้างต้นนี้แล้ว ควรรีบไปขอรับการตรวจอย่างละเอียดจากแพทย์เพื่อวางแผนการรักษาและคงอาการไว้ก่อนที่โรคไตเรื้อรังจะดำเนินไปถึงระยะรุนแรง ที่อาจทำให้ไตสูญเสียสมรรถภาพการทำงานไปอย่างถาวรได้ค่ะ

  • ระวังการใช้สมุนไพร “ปอบิด” เสี่ยงไตวายได้

    ระวังการใช้สมุนไพร “ปอบิด” เสี่ยงไตวายได้

    ระวังการใช้สมุนไพร “ปอบิด” เสี่ยงไตวายได้ ปัจจุบันนี้มีการนิยมนำเอาสมุนไพรบางชนิดมาช่วยบรรเทาและรักษาโรคเบาหวานกันมากขึ้น หนึ่งในนั้นก็คือ “ปอบิด” หรือ “ปอกะบิด” นั่นเอง ซึ่งแม้จะมีฤทธิ์ช่วยในการลดน้ำตาลได้เลือดได้ แต่ก็พบว่ามีผู้ป่วยบางรายมีอาการไตวายเป็นผลข้างเคียงด้วย อันตรายมาก! ซึ่งมีรายงานจากการวิจัยพบว่า ปอบิดนี้ช่วยรักษาเบาหวานได้จริง สามารถลดระดับน้ำตาลในหนูทดลองได้ แต่ก็ทำลายตับของหนู และกระตุ้นหัวใจของกบได้ด้วย ซึ่งสมุนไพรดังกล่าวยังไม่มีงานวิจัยในด้านพิษวิทยาล่าสุดนี้มีงานวิจัยจาก รศ.รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่าแม้ปอบิดจะช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ให้ผลใกล้เคียงกับยาแผนปัจจุบัน แต่ก็ไม่สามารถทดแทนยารักษาเบาหวานได้จริง ผ็ป่วยควรตรวจการทำงานของตับและไตทุก 3 เดือน และห้ามใช้สมุนไพรชนิดนี้ในผู้ที่มีประวัติเป็นโรคตับหรือโรคไต รวมไปถึงผู้ที่มีพันธุกรรมเป็นโรคตับโรคไตในครอบครัวด้วย ผู้ป่วยเบาหวานนั้นมักจะมีตับ ไต ตับอ่อน หัวใจไม่แข็งแรงอยู่แล้ว เสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย หากต้องการใช้สมุนไพรไม่ควรกินติดต่อกันเกิน 7 วัน เพราะปริมาณสารเคมีจากสมุนไพรควบคุมได้ยาก และไม่ควรกินแทนยา จึงควรมีช่วยหยุดพักในการกินหรือทานสมุนไพรชนิดอื่น ๆ สลับกันไป เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่คาดไม่ถึงได้อีกในอนาคตค่ะ

  • ภาวะไตวาย

    ภาวะไตวาย

    ภาวะไตวาย ภาวะไตวาย คือการสูญเสียการทำงานของไต สามารถแบ่งออกได้เป็นสองชนิดได้แก่ 1. ไตวายแบบเฉียบพลัน เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากกินเวลาแค่เป็นชั่วโมงหรือเป็นวันเท่านั้น เกิดจากการคั่งของของเสียที่ทำให้เกลือแร่ กรด ด่าง และการควบคุมปริมาณน้ำในร่างกายผิดปกติ ผู้ป่วยเหล่านี้ส่วนใหญ่จะปัสสาวะน้อยกว่าวันละ 400 ซีซี เกิดจากจากหลายสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของระบบการไหลเวียนเลือดในร่างกาย เช่น ผู้ป่วยติดเชื้อ หรือเสียเลือดมาก หรือขาดน้ำรุนแรง ผู้ป่วยอาจอาจกลับมาเป็นปกติได้หากได้รับการรักษาทันท่วงที 2. ภาวะไตวายเรื้อรัง จะเกิดการสูญเสียการทำงานของไตไปอย่างช้า ๆ กินเวลาตั้งแต่ 1-2 ปี จนถึง 10 ปี จนกระทั่งเข้าสู่ภาวะไตวาย ซึ่งต้องได้รับการรักษาแบบทดแทน เช่น การฟอกเลือด หรือเปลี่ยนไต จึงจะทำให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ สัญญาณเตือนและอาการที่บอกว่าเป็นโรคไต 1. ปัสสาวะเป็นเลือด หรือมีสีคล้ายน้ำล้างเนื้อ 2. มีโปรตีนหรือไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะ อาจทำให้ปัสสาวะมีฟองมากแกละไม่สลายตัวไปง่าย ๆ 3. บวมรอบ ๆ ตาและข้อเท้า 4. ปวดหลังบริเวณบั้นเอว บางครั้งก็ร้าวไปที่ขาหนีบและลูกอัณฑะ หากปวดบริเวณเหนือกระดูกหัวเหน่าแสดงว่าอาจมีการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ ถ้าเจ็บปวดและมีไข้หนาวสั่น อาจมีการติดเชื้อทางเดินปันสาวะส่วนบนคือท่อไตและกรวยไต…

  • ไตวาย ไม่ตายไว ถ้ากินได้แบบนี้

    ไตวาย ไม่ตายไว ถ้ากินได้แบบนี้

    ไตวาย ไม่ตายไว ถ้ากินได้แบบนี้ ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะไตวายเรื้อรังนั้น สามารถมีสุขภาพที่แข็งแรงและอายุที่ยาวนานขึ้นได้ด้วยการทำความเข้าใจกับสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บของตนเอง และบทความในวันนี้จะขอนำเอาเคล็ดลับที่อ่านเข้าใจง่ายของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังรายหนึ่งที่ดูแลสุขภาพของตนเองมาได้ถึง 22 ปี ทั้ง ๆ ที่อยู่ในภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายมานานแล้ว เธอมีอายุ 62 ปี และดูแลการกินอาหารของตนเองดังต่อไปนี้ค่ะ – หลีกเลี่ยงอาหารที่มีความเค็มด้วยการทำอาหารทานเองที่บ้าน ไม่ใส่เกลือ น้ำปลา เครื่องปรุงรสอื่น ๆ – กินอาหารนอกบ้านจะไม่เติมเครื่องปรุง ถ้ากินก๊วยเตี๋ยวจะสั่งเป็นแห้ง และไม่เติมผลชูรส – กินโปรตีนแต่พอดี ๆ เพราะกินมากจะมีของเสียผ่านไตมาก ไตจะทำงานหนัก และไม่น้อยเกินไปเพราะอาจทำให้ขาดสารอาหารและกล้ามเนื้อลีบได้ – ระวังการกินถั่ว และน้ำเต้าหู้ต่าง ๆ ด้วย ถ้าอยากกิน กินได้แค่คำหรือสองคำเท่านั้น รวมไปถึงเต้าหู้และโปรตีนเกษตรด้วย เพราะในธัญพืชมีฟอสฟอรัสมาก จะเปลี่ยนเป็นฟอสเฟตในเลือดที่จะไปดึงแคลเซียมออกมาจากกระดูกทำให้กระดูกบาง – ไขมันกินมาก ๆ จะอ้วน และไขมันสูงทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ แต่ก็งดไม่ได้เพราะจำเป็นต่อการดูดซึมวิตามิน ADEK แต่จะเลือกกินเป็นไขมันไม่อิ่มตัว พวกน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกคำฝอย รำข้าวและงา –…

  • หลักการใช้ชีวิตที่ดี เพื่อดูแลความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับมาตรฐาน

    หลักการใช้ชีวิตที่ดี เพื่อดูแลความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับมาตรฐาน

    หลักการใช้ชีวิตที่ดี เพื่อดูแลความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับมาตรฐาน เพราะการใช้ชีวิตในรูปแบบปัจจุบัน ทั้งโภชนาการที่ล้นเกิน และอบายมุขทั้งหลาย ทำให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มมากขึ้นทุกปีกว่าปีละเกือบล้านคน โรคนี้ทำให้เส้นเลือดแข็งตัว มีความยืดหยุ่นน้อยลง ความเร็วของการไหลเวียนโลหิต ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หลอดเลือดสมองแตกหรือหลอดเลือดสมองตีบ และอาจมีโอกาสเป็นโรคไตวายได้ โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่อาจทำลายชีวิตคนได้ตลอดเวลา เราจึงควรดูแลร่างกายตัวเองแต่เนิ่น ๆ ดังนี้ หลักข้อแรก ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน ควรรักษาค่าดัชนีมวลกายไว้อยู่ระหว่าง 18.5-22.9 กิโลกรัม/ตารางเมตร หลักข้อที่สอง ทานอาหารและเลือกทานเฉพาะที่ดีต่อสุขภาพ ได้แก่การกินอาหารที่มีปริมาณสัดส่วนสารอาหารที่พอเพียงต่อร่างกาย ลดอาการที่มีรสชาติหวาน ทานแป้งและน้ำตาลแต่พอดี ลดอาหารที่มีไขมันสูง เพิ่มสัดส่วนของผักและผลไม้ที่มีรสหวานให้น้อยลง ทานธัญพืชให้เป็นประจำ รวมไปถึงการกินอาหารที่รสเค็มอาหารที่ปรุงด้วยเกลือ ซีอิ๊วน้ำปลา กะปิ ปลาร้า ให้น้อยลง และไม่ควรปรุงอาหารเพิ่มเองด้วย หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูป ไม่ว่าจะเป็นอาหารกระป๋อง ขนมกรุบกรอบ ไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ ไก่ทอด แฮม เบคอน หากต้องการปรุงรสอาหารเพิ่มแนะนำให้เติมมะนาว พริก น้ำส้มสายชูหมัก เครื่องเทศหรือสมุนไพร แทนเครื่องปรุงรสเค็มทั้งหลาย และลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่และไม่ควรอยู่ในที่ที่มีแต่ควันบุหรี่ด้วย หลักข้อที่สาม ขยับเขยื้อนเนื้อตัวอยู่ตลอดเวลา หันมาเดินให้มากขึ้น…

  • การถนอมและดูแลร่างกายเพื่อป้องกันอาการไตวาย

    การถนอมและดูแลร่างกายเพื่อป้องกันอาการไตวาย

    การถนอมและดูแลร่างกายเพื่อป้องกันอาการไตวาย ปัจจุบันนี้โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย มีคนเป็นกันทั่วโลกเพิ่มขึ้นทุกปี และในประเทศไทยเองก็พบผู้ป่วยรายใหม่เพื่อทุกปีกว่าปีละ 500 ราย วันนี้จึงขอนำเอาคำแนะนำในการดูแลตนเองให้ห่างไกลจากอาการไตวายมาฝากกันค่ะ โดยผู้ที่ควรปฎิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้นอกจากผู้ที่ทราบว่าตนเองเป็นโรคไตวายเรื้อรังแล้ว ก็ยังรวมไปถึง ผู้ที่ติดเชื้อซ้ำซากในระบบทางเดินปัสสาวะ ผู้ที่เป็นนิ่วในไต หรือไตพิการ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเก๊าต์ โรคเอสแอลอี หรือผู้ที่ใช้ยาบางชนิด ควรถนอมไตของตนเองดังต่อไปนี้ค่ะ 1. ทานอาหารให้ได้รับสารอาหารและคุณค่าที่หลากหลาย ลดอาหารเค็ม หวาน ไขมันสูงทั้งหลายซะ 2. ควบคุมระดับของความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ 3. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 2 ลิตร ไม่ควรกลั้นปัสสาวะไว้ และดูแลทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะด้วย 4. ออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น ร่างกายขับของเสียได้ดีขึ้น 5. ไม่ควรซื้อยามากินเอง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง 6. งดการสูบบุหรี่และดื่มเหล้า เพราะทำลายสุขภาพมาก 7. ผู้ที่ป่วยหรือมีอาการโรคไตแล้ว ควรพบแพทย์ตามนัดและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพราะการจะลดความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคได้นั้น ขึ้นอยู่กับการดูแลตนเองที่เหมาะสมค่ะ

  • ลดอาหารเค็มป้องกันไตวาย

    ลดอาหารเค็มป้องกันไตวาย

    ลดอาหารเค็มป้องกันไตวาย บทความวันนี้ตอบข้อสงสัยของใครหลายคนที่ติดรสชาติเค็มกันอยู่นะคะ ที่มักจะถามว่ากินเค็มมากจะเป็นโรคไตไหม คำตอบจากหมอก็คือคนทั่วที่กินเค็มมากไปนิดหน่อยก็ยังไม่เป็นไร ไตยังขับเกลือออกได้ แต่หากมีอาการของไตเสื่อมแล้วก็ไม่ควรกินเค็ม ไม่ใช่แค่นี้ แต่คนที่มีอาการความดันโลหิตสูง เบาหวาน ก็ไม่ควรกินเค็มด้วยเหมือนกัน การควบคุมอาหารเค็มสำหรับผู้ป่วยไตเสื่อมนั้น ควรทำอาหารทานเอง หรือบอกแม่ครัวร้านอาหารให้งดเกลือ งดน้ำปลา ตัวผู้ป่วยเองเวลาไปทานอาหารก็ต้องงดการเติมน้ำปลา หรือเครื่องปรุงเวลาทานก๋วยเตี๋ยวด้วย และควรทานแบบแห้งเท่านั้น เพราะในน้ำซุปก๊วยเตี๋ยวก็มีเกลืออยู่มากเช่นกัน ไม่ควรซื้ออาหารสำเร็จรูปมาทาน เพราะอาหารเหล่านี้มีเกลือผสมอยู่มาก หากท่านตรวจพบว่าตนเองเป็นโรคไตเสื่อมอยู่แล้ว ต้องการระมัดระวังการกินอาหาร ควรวางแผนและจัดการดังต่อไปนี้ค่ะ 1. สอบถามแพทย์ผู้รักษาว่าท่านเป็นโรคไตในระดับใดแล้ว สามารถกินอะไรได้บ้าง แล้วมากน้อยขนาดไหน? 2. ควรรู้ไว้ว่าการกินโปรตีนมากเกินไปจะทำให้ไตเสื่อมสภาพได้ กินน้อยไปจะทำให้ขาดอาหาร และเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้อีก 3. การกินเค็มจะทำให้เกิดอาการบวม ความดันโลหิตสูง และหัวใจวายได้ 4. ผู้ป่วยโรคไตสามารถกินผักได้เท่าที่ต้องการ ยกเว้นหมอห้าม 5. แต่สำหรับผลไม้ อาจต้องจำกัดในรายที่มีอาการไตเสื่อมมาก 6. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ยกเว้นหมอสั่งให้ทาน 7. ดื่มน้ำน้อยทำให้ไตเสื่อม แต่ดื่มน้ำมากทำให้หัวใจวาย ต้องกะปริมาณให้พอดีโดยถามหมอ 8. ไม่ควรทานอาหารแปรรูป อาหารหมักดอง อาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง…