Tag: โรคไซนัส

  • โรคไซนัสอักเสบ อาการ การรักษา วิธีป้องกัน

    โรคไซนัสอักเสบ อาการ การรักษา วิธีป้องกัน

    โรคไซนัสอักเสบ อาการ การรักษา วิธีป้องกัน ไซนัสอักเสบ (Sinusitis) จะเกิดขึ้นเมื่อจมูกมีการติดเชื้อ มีการอักเสบ อาจเป็นเพราะอาการหวัด เป็นภูมิแพ้ มีสารระคายเคือง มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในจมูก รวมทั้งการมีฟันกรามผุถึงโพรงรากฟัน การเป็นโรคหัด และเกิดอุบัติเหตุที่กระดูกบนใบหน้า จึงทำให้ท่อที่ติดต่อระหว่างโพรงไซนัส และจมูก เกิดอาการบวมแล้วตีบตัน จนมีน้ำเมือกในโพรงจมูกคั่งค้างอยู่ เมื่อมูกภายในสะสมมากขึ้นจะมีความหนืด และมีสภาพความเป็นกรด ทำให้เชื้อโรคเข้าไปเจริญเติบโตได้ดี จนกลายเป็นภาวะโพรงจมูกอักเสบ หรือ ไซนัสอักเสบ อาการของโรคไซนัสอักเสบ โรคไซนัสอักเสบ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1.ไซนัสอักเสบ แบบเฉียบพลัน  คือไซนัสอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัส สามารถหายได้ภายใน 7 วัน อาการทั่วไปจะเหมือนไข้หวัด มีไข้ เมื่อเชื้อลุกลามเข้าสู่ไซนัสก็จะมีอาการปวดจมูก ปวดกระบอกตา หรือแก้มข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง น้ำมูกและเสมหะจะมีสีเหลืองอมเขียวมากขึ้น อาจปวดกระดูกขากรรไกรบน หรือปวดฟันบนด้วย โอกาสที่การติดเชื้อจะลุกลามมีสูง จึงควรรักษาอย่างจริงจัง เพื่อลดโอกาสที่จะกลายเป็นไซนัสอักเสบเรื้อรัง       2.ไซนัสอักเสบ เรื้อรัง คือไซนัสอักเสบที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มีอาการมากกว่า 10 วัน และในช่วงที่เป็นนั้น อาการต่าง…

  • ผู้ที่ลิ้นไวต่อรสชาด เสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ มีโอกาศเป็นไซนัสน้อยกว่าคนปกติ

    ผู้ที่ลิ้นไวต่อรสชาด เสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ มีโอกาศเป็นไซนัสน้อยกว่าคนปกติ

    ผู้ที่ลิ้นไวต่อรสชาด เสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ มีโอกาศเป็นไซนัสน้อยกว่าคนปกติ นักวิจัยแห่งฟลอริด้ากล่าวว่า มีผู้คนในโลกราว 25 % ที่ไวต่อการรับรสอาหารต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักเป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และมักเป็นชาวเอเซียและคนผิวดำมากกว่าคนผิวขาว ในขณะที่คนที่ลิ้นค่อนข้างด้านรสนั้นมีอยู่ประมาณ 30 % การไวต่อการรับรสชาดต่างๆ นี้เป็นผลจากจำนวนและความหนาแน่นของปุ่มรับรสที่ลิ้น รวมทั้งจากปัจจัยด้านกรรมพันธ์ด้วย และผู้ที่ลิ้นไวต่อการรับรสมักมีน้ำหนักตัวน้อยและมีรูปร่างผอมกว่าคนทั่วไป เนื่องจากความไวของประสาทสัมผัสเรื่องรสนี้ทำให้ไม่ชอบรสชาดของไขมัน แต่ขณะเดียวกันคนกลุ่มนี้ก็มักเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มากกว่าเนื่องจากไม่ค่อยชอบรสขมของผักใบเขียวสีเข้ม นักวิจัยชี้ว่านอกจากปุ่มรับรสที่ลิ้นแล้ว ร่างกายของคนเรายังมีปลายประสาทรับรสอยู่ที่ส่วนอื่นๆ เช่นในลำไส้ ในจมูก ในสมอง และเชื่อว่ามีอยู่ในปอดด้วย นักวิจัยเชื่อว่าการมีปลายประสาทที่ไวเป็นพิเศษต่อการรับรสขมในจมูกช่วยป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย และทำให้บุคคลนั้นมีโอกาสติดเชื้อโรคโพรงจมูกอักเสบหรือไซนัสน้อยกว่าคนทั่วไป