Tag: โรคไข้เลือดออก

  • ช่วงที่อากาศอบอุ่นขึ้น ให้ระวังไข้เลือดออก

    ช่วงที่อากาศอบอุ่นขึ้น ให้ระวังไข้เลือดออก

    ช่วงที่อากาศอบอุ่นขึ้น ให้ระวังไข้เลือดออก นอกจากช่วงหน้าฝนแล้ว ช่วงที่อากาศอบอุ่นขึ้นอย่างในช่วงหน้าหนาวต่อหน้าร้อนนั้น มีผลต่อการเพิ่มจำนวนยุงลายซึ่งเป็นพาหะของเชื้อไข้เลือดออกอีกด้วยเช่นกัน ในระยะนี้จึงเป็นอีกช่วงหนึ่งที่ควรเฝ้าระวังและกำจัดต้นตอของยุงลาย เพื่อตัดตอนการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออกมากขึ้นในทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะวัยรุ่นเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะป่วยเป็นไข้เลือดออกมากที่สุด เพราะมีพฤติกรรมเสี่ยงในการถูกยุงกัด เช่น การไปนั่งเล่นเกมส์ในร้านอับทึบ หมกตัวอยู่คนเดียวในห้องทึบ ๆ หรืออยู่ในสถานบันเทิงเป็นเวลานาน อีกทั้งในบ้านก็ยังกรุมุ้งลวดทำให้อับลม เมื่อยุงลายเล็ดลอดเข้าไปภายในบ้าน ก็จะพัฒนาตัวเองโดยหาที่วางไข่ตามจุดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคอห่าน ข้อต่อน้ำทิ้ง ใต้ซิงค์หรืออ่างล้างมือ ดังนั้นหากสังเกตได้ว่ามียุงบินในบ้าน ก็เป็นสัญญาณเตือนว่ามีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านแน่นอน ควรรีบกำจัดทันที โดยการล้างภาชนะขังน้ำและควรเทราดซิงค์ด้วยน้ำต้มเดือดทุก ๆ สัปดาห์ด้วย โรคไข้เลือดออกนี้สามารถติดเชื้อได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ถือเป็นโรคที่อาจเป็นอันตรายได้หากไม่ได้รับการตรวจรักษาจากแพทย์ ดังนั้นการเฝ้าระวังบริเวณบ้านอย่างต่อเนื่องจึงเป็นเรื่องสำคัญค่ะ

  • นอกจากไข้เลือดออก ยังมีโรคชิคุนกุนยา ที่ต้องระวังในฤดูฝนด้วย

    นอกจากไข้เลือดออก ยังมีโรคชิคุนกุนยา ที่ต้องระวังในฤดูฝนด้วย

    นอกจากไข้เลือดออก ยังมีโรคชิคุนกุนยา ที่ต้องระวังในฤดูฝนด้วย ในฤดูฝนของทุกปีนั้น เรามักจะตื่นตระหนักและเฝ้าระวังแต่โรคไข้เลือดออก แต่ความจริงแล้วยังมีอีกหนึ่งโรคที่มีอาการใกล้เคียงกับไข้เลือดออกแล้วยังมียุงลายเป็นพาหะเช่นเดียวกันด้วย โรคนั้นก็โรคชิคุนกุนยานั่นเอง แม้ชื่อจะคล้ายภาษาญี่ปุ่น แต่ความจริงแล้วโรคนี้มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา และชื่อชิคุนกุนยาก็เป็นภาษาของชาวพื้นเมืองของประเทศแทนซาเนียและโมซัมบิกแปลว่า ปวดเข้ากระดูก โดยโรคนี้พบครั้งแรกในประเทศแอฟริกาในปะ 2498 และระบาดไปหลายประเทศ โดยการแพร่เชื้อจากลิงบาบูนสู่คน และคนสู่คน โดยมียุงลายเป็นพายหะของโรค เริ่มระบาดเข้ามาในทวีปเอเชียราวปีด 2506 และยังแพร่กระจายเข้าไปในปากีสถาน สิงคโปร์ และมาเลเซีย โดยสันนิษฐานว่ามีจากการแรงงานชาวอินเดีย ที่มาค้าแรงงานข้ามชาติ อาการของโรคชิคุนกุนยาจะค่อนข้างคล้ายกับไข้เลือดออก คือ มีไข้สูงเฉียบพลัน มีผื่นตามตัว ตาแดง ปวดตามข้อหรือข้ออักเสบ ส่วนมากเป็นข้อเล็ก ๆ เช่น ข้อมือข้อเท้า บางคนก็ปวดมากจนขยับไม่ได้ มักจะหายไปเองใน 1-2 สัปดาห์และสามารถกลับมาเป็นใหม่ได้อีกในป 2-3 สัปดาห์ต่อมา โดยอาการปวดจะเรื้อรังเป็นเดือน แต่ก็ไม่พบว่ามีอาการช็อกหรือรุนแรงหรือมีเลือดออกแต่อย่างใด โรคชิคุนกุนยานี้เคยมีการระบาดมาแล้วในประเทศไทย ยังเป็นโรคที่ไม่มีวัคซีนป้องกันและยารักษาได้ แพทย์จะทำได้เพียงรักษาไปตามอาการเท่านั้น พบมาในฤดูฝนซึ่งเป็นช่วงที่ยุงลายเพิ่มจำนวนขึ้น การป้องกันโรคนี้ที่ดีที่สุดก็คือการเข้าจัดการกับต้นตอของยุงลายก็คือทำลายลูกน้ำยุงลายและป้องกันการกำเนิดเสีย ด้วยปิดภาชนะใส่น้ำด้วยฝาให้มิดชิด รวมไปถึงแทงน้ำ โอ่งน้ำ ถังน้ำ หากไม่คว่ำก็ต้องปิดให้มิด จัดการแหล่งน้ำขังตามธรรมชาติ เปลี่ยนน้ำในแจกันและขารองตู้ทุกอาทิตย์หรือหยอดเกลือป้องกันยุงวางไข่ โรคนี้แม้จะไม่ถึงตายแต่ก็ทำให้ทรมานไม่น้อยเลย…

  • เฝ้าระวังเด็กมีไข้ช่วงหน้าฝน อาจเป็นไข้เลือดออก

    เฝ้าระวังเด็กมีไข้ช่วงหน้าฝน อาจเป็นไข้เลือดออก

    เฝ้าระวังเด็กมีไข้ช่วงหน้าฝน อาจเป็นไข้เลือดออก ในช่วงหน้าฝนที่มีอุณหภูมิเย็นลง เด็ก ๆ มักมีอาการเป็นหวัดคัดจมูก น้ำมูกไหล กันอยู่บ่อย ๆ แต่อย่างไรก็เป็นช่วงที่ควรระมัดระวังให้มากกว่าช่วงอื่นของปีเพื่อในระยะนี้จะเป็นช่วงที่มี ไข้เลือดออก ระบาดได้มาก ไข้เลือดออกนั้นเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะ หากยุงลายไปกัดคนที่เป็นไข้เลือดออกอยู่แล้วไปกัดคนอื่น ๆ ต่อก็จะเป็นการแพร่กระจายเชื้อไปเรื่อย ๆ เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะใช้เวลาฟักตัวประมาณ 2-7 วัน จากนั้นผู้ป่วยก็จะมีไข้สูงแบบเฉียบพลัน เบื่ออาหาร หน้าแดง ตัวแดง ปวดหัว และอาจจะมีผื่นหรือจุดแดงขึ้นตามลำตัว ร่วมกันอาการคลื่นไส้อาเจียน และปวดท้องร่วมด้วย บางคนก็มีเลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน อุจจาระสีดำและช็อกได้ ให้สังเกตดูว่าหากไข้ลดแล้วผู้ป่วยยังซึมอยู่ ตัวเย็นกระสับกระส่าย ปวดท้อง อาเจียนหรือหมดสติ ให้รีบพามาโรงพยาบาลเพื่อรักษาอย่างเร่งด่วน มิเช่นนั้นอาจเสียชีวิตได้ หากในช่วงฤดูฝนนี้เด็ก ๆ เกิดเป็นไข้ขึ้นมา การดูแลเบื้องต้นก็คือให้ทานยาลดไข้พาราเซตามอลเท่านั้น แล้วเช็ดตัวเพื่อลดไข้ให้ ให้เด็กได้ดื่มน้ำบ่อย ๆ อาจเป็นน้ำผลไม้ น้ำเต้าหู้ น้ำแกงจืดก็ได้ ให้ทานอาหารที่ย่อยง่ายและนอนหลับพักผ่อนให้มาก ๆ ควรให้แต่ยาลดไข้พาราเซตามอลเท่านั้น เพราะยากลุ่มอื่นที่อาจเป็นยากลุ่มแอสไพรินจะเข้าไปขัดขางการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือด ทำให้อาการรุนแรงขึ้น อาจมีเลือดออกในกระเพาะอาหารและช็อกได้ สำหรับเด็กแล้วอาจให้ยาพาราเซตามอลชนิดน้ำเชื่อมก็ได้…

  • ใครที่ควรช่วยกันป้องกันโรคไข้เลือดออก

    ใครที่ควรช่วยกันป้องกันโรคไข้เลือดออก

    ใครที่ควรช่วยกันป้องกันโรคไข้เลือดออก  ไข้เลือดออกนั้น ทุกวันนี้ก็ยังไม่มียาใดที่รักษาได้ หรือแม้แต่วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกก็ยังไม่มีเช่นกัน ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดก็คือต้องกำจัดการแพร่พันธุ์ของยุง และคนที่ควรช่วยกันป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ดีที่สุดก็คือตัวเราเองและคนในชุมชนทุกคน ด้วยการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมมิให้เหมาะสมกับการขยายพันธุ์ของยุงต่อไป – จัดการภาชนะที่มีน้ำขังต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกะละมัง บ่อ แทงค์น้ำถังน้ำ ที่อาจจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงได้ ให้จัดการปิดฝาและหมั่นตรวจสอบลูกน้ำยุงลายสม่ำเสมอ – ตรวจสอบรอยรั่วของท่อน้ำ แท่งน้ำเหล่านี้ด้วยว่ามีน้ำรั่วบ้างหรือไม่โดยเฉพาะในหน้าฝน – ขารองโต๊ะ ขารองตู้ทั้งหลาย น้ำในแจกัน ควรเปลี่ยนทุกอาทิตย์ หรืออาจจะผสมทราย เกลือ ลงไปเพื่อป้องกันลูกน้ำ – ตรวจสอบถาดรองน้ำตู้เย็น แอร์ เครื่องทำน้ำเย็น ที่อาจมีน้ำขังอยู่ – ตรวจสอบบริเวณรอบบ้านของตนเองว่ามีแหล่งน้ำขังหรือไม่ แม้แต่ในท่อระบายน้ำบนหลังคาด้วย – ในส่วนของขวดน้ำ กระป๋อง ภาชนะที่เก็บกักน้ำได้อื่น ๆ หากไม่ใช้แล้วให้ใส่ถุงทิ้ง หรือฝังดินไม่ให้น้ำขัง รวมไปถึงยางเก่า ๆ ก็เช่นกันเพราะเป็นแหล่งที่ขังน้ำได้ – รั้วไม้ ต้นไม้ที่มีรูกลวง ให้นำคอนกรีตเทปิดรู ต้นไผ่ต้องตัดตรงข้อพอดี – ควรเลี้ยงปลาในอ่างที่ปลูกต้นไม้ หรือตามแหล่งน้ำธรรมชาติ – ควรสวมเสื้อผ้าที่หนาและมีสีอ่อน ๆ…

  • 5 กลุ่มโรคที่มาพร้อมกับฤดูฝน

    5 กลุ่มโรคที่มาพร้อมกับฤดูฝน

    5 กลุ่มโรคที่มาพร้อมกับฤดูฝน เพราะในหน้าฝนมีอุณหภูมิที่เริ่มเย็นลง กับมีความชื้นในอากาศที่สูงขึ้น ด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเช่นนี้ ทำให้มีหลายโรคที่ระบาดขึ้นได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งโรคดังกล่าวก็ได้แก่ 5 กลุ่มโรคต่อไปนี้ทำควรป้องกันการติดต่อมากเป็นพิเศษ 1. กลุ่มโรคทางเดินอาหาร ทั้งท้องร่วง ไทรอยด์ บิด อาหารเป็นพิษ เกิดจากการทานอาหารที่มีเชื้อโรคในระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำ อาจมีไข้และปวดบิดในท้อง หากติดเชื้อบิดก็อาจถ่ายเป็นมูกหรือมีเลือดปนออกมากับอุจจาระได้ จึงควรระวังการทานอาหารมากเป็นพิเศษ ควรทานอาหารที่สุกใหม่ ๆ และใช้ช้อนกลางด้วย 2. กลุ่มโรคติดเชื้อทางเยื่อบุผิวหนังหรือบาดแผล ที่พบได้บ่อยก็โรคฉี่หนู อาการจะมีไข้สูง ปวดหัวมาก มักปวดกล้ามเนื้อบริเวณน่องและโคนขาอย่างรนแรง ตาแดง มักเกิดในที่น้ำท่วม ผู้ที่บ้านมีหนูมาก ชาวไร่ชาวสวน ผู้ที่ทำงานกับการแช่น้ำ ในที่เฉอะแฉะ หรือผู้ที่ทำงานลอกท่อระบายน้ำ ทำงานเหมืองแร่ โรงฆ่าสัตว์ คนงานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ ฯลฯ 3. กลุ่มโรคทางเดินหายใจ ได้แก่ หวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบหรือปอดบวม รวมไปถึงโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่มีแหล่งแพร่ระบาดจากสัตว์ปีก ซึ่งเชื้ออาจข้ามสายพันธุ์กับเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในหน้าฝนได้ 4.…

  • มาตรการ 7 ป. เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก

    มาตรการ 7 ป. เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก

    มาตรการ 7 ป. เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก เดี๋ยวนี้ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ต่างก็สามารถเป็นโรคไข้เลือดออกได้ทั้งนั้น ยิ่งโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่มีฝน ตกๆ หยุด ๆ อย่างต่อเนื่องนี่ ทำให้เกิดน้ำขังทั่วไปทั้งบริเวณบ้านและตามที่สาธารณะต่าง ๆ ยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออกจึงแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว หากบริเวณบ้านหรือในชุมชนเราป่วยเป็นไข้เลือดออกแล้ว ก็ยากจะบอกได้ว่าใครจะเป็นรายต่อไป อาจเป็นญาติพี่น้องหรือตัวเองด้วยก็ได้ หากในระยะที่ฝนตกชุกนี้เราเกิดเป็นไข้ขึ้นมา หากต้องการใช้ยาลดไข้ก็ควรใช้แต่พาตาเซตามอลเท่านั้น หากเป็นยาแอสไพรินอาจทำให้เลือดออกในร่างกายมากขึ้นจนเกิดอาการช็อกได้ แต่ยาพาราเซตตามอลก็ควรใช้แต่พอดี หากไข้ยังไม่ลดก็ควรใช้การเช็ดตัวเข้ามาช่วยหากยังไม่ถึงเวลาทานยา ควรดื่มน้ำเปล่าหรือน้ำหวาน น้ำเกลือแร่ให้มากเพื่อให้ร่างกายสดชื่นขึ้น ให้ผ็ป่วยได้นอนพักผ่อนมาก ๆ แต่หากมีอาการไข้เกินสองวัน กินอาหารหรือดื่มน้ำได้น้อย อ่อนเพลีย ซึม อาเจียน ปวดท้อง ตัวเย็นผิดปกติ ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาไข้เลือดออกค่ะ และการป้องกันยุงลายนั้นควรได้รับความร่วมมือจากหลาย ๆ ส่วนในชุมชนไปพร้อม ๆ กันจึงจะสามารถป้องกันการระบาดของโรคนี้ได้อย่างดี ซึ่งก็คือมาตรการ 7 ป. ดังต่อไปนี้ 1. ปิดฝาภาชนะทุกชนิดที่เก็บกักน้ำได้ ป้องกันการวางไข่ของยุงลาย 2. ปล่อยปลากินลูกน้ำเช่น ปลาหางนกยูง เพื่อตัดวงจรยุงลาย 3. ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในบ้านและนอกบ้าน ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงได้ 4. ปรับสภาพน้ำด้วยการใช้ทราย น้ำส้มสายชู…

  • การระวังป้องกันและรักษาโรคติดต่อจากยุงในเบื้องต้น

    การระวังป้องกันและรักษาโรคติดต่อจากยุงในเบื้องต้น

    การระวังป้องกันและรักษาโรคติดต่อจากยุงในเบื้องต้น โรคติดต่อจากยุงที่พบมากในภูมิภาคของเรานั้นก็ได้แก่ โรคไข้เลือดออก และไข้มาลาเรีย ยิ่งในฤดูฝนต่อฤดูหนาวแล้วก็ยิ่งพบได้บ่อยด้วย โรคไข้เลือดออกนั้นจะมีอาการไข้สูงตลอดเวลา หน้าแดงตาแดง ปวดท้อง อาเจียน มีผื่นหรือมีจุดจ้ำแดงขึ้นตามตัว ส่วนไข้มาลาเรียนั้น มักจะมีอาการจับไข้หนาวสั่นเป็นบางเวลา ทุกวัน หรือวันเว้นวันก็ได้ บางครั้งที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มียุงมากได้ ก็ควรป้องกันตัวเองดังต่อไปนี้ค่ะ – ไม่ควรให้ยุงกัด ไม่ว่าจะเป็นเวลาใดก็ตาม ควรนอนกางมุ้ง สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ห่มผ้าหนา ๆ ใช้กับดักยุง ทายากันยุง หรือใช้ตะไคร้หอม หรือใบกะเพราะดำคั้นน้ำมาทาตามลำตัวเพื่อไล่ยุง – ในบริเวณที่พักอาศัยและในชุมชน ควรกำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยการปิดฝาภาชระใส่น้ำ คว่ำหรือทำลายภาชนะที่มีน้ำขัง โรยผงซักฟอกในภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ถาดรองกระถางต้นไม้ จานรองตู้กับข้าง ด้วยอัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำสองลิตร หรือจะปล่อยปลาหางนกยูงหรือปลากัดลงในบ่อน้ำที่ไม่ได้ใช้ดื่มกิน – กำจัดยุงโดยการผสมผงซักฟอก สบู่เหลว แชมพู หรือน้ำยาล้างจาน 1 ช้อนโต๊ะกับน้ำหนึ่งลิตร คนอย่าให้เป็นฟอง แล้วใส่กระบอกฉีดน้ำ ฉีดยุงที่เกาะตามบริเวณบ้าน การเยียวยาเบื้องต้นสำหรับผู้ที่เริ่มเป็นไข้ตัวร้อนแล้ว ก็คือไม่ควรอาบน้ำเย็น ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวแทน…

  • 7 มาตรการเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกจากยุงลาย

    7 มาตรการเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกจากยุงลาย

    7 มาตรการ เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกจากยุงลาย ในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี เป็นช่วงที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกสูงมากกว่าในช่วงอื่น เพราะเป็นช่วงฤดูฝนที่เมื่อฝนตกลงมาแล้วมีน้ำขังเฉอะแฉะ ยุงลายจึงบินมาวางไข่ได้มากขึ้น ยิ่งหากมีใครสักคนในชุมชนป่วยเป็นไข้เลือดออกขึ้นแล้ว ก็ยากจะคาดเดาจำนวนผู้ป่วยที่จะเกิดขึ้นตามมาได้ หากในครอบครัวมีผู้ป่วยเกิดเป็นไข้ เมื่อยเนื้อตัวควรใช้ยาลดไข้พาราเซตามอลเท่านั้น หากใช้ยาลดไข้ตัวอื่น และหากผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออก อาจกระตุ้นให้เลือดออกในร่างกายมากขึ้นจนช็อกและอันตรายได้ นอกจากนี้แล้วก็ให้ดูแลเหมือนผู้ป่วยเป็นไข้ทั่วไป แต่หากมีอาการซึม อ่อนเพลีย ปวดท้อง อาเจียนมาก ตัวเย็นผิดปกติ ก็ควรรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล สิ่งที่สำคัญมากสำหรับการป้องกันโรคไข้เลือดออก ก็คือการดูแลสภาพแวดล้อมมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย โดยการร่วมมือกันระหว่างคนในชุมชน หมู่บ้าน ด้วยมาตรการ 7 ป. ดังต่อไปนี้ 1. ปิดฝาภาชนะที่เก็บน้ำได้ทุกชนิด หากไม่มีฝาก็ให้หาแผ่นไม้หรือวัสดุอื่นใดก็ได้ที่ทนน้ำมาปิดไว้เพื่อป้องกันยุงลายวางไข่ 2. ปล่อยปลากินลูกตามแหล่งน้ำขังเพื่อตัดวงจรยุงลาย เช่น ปลาหางนกยูงเป็นต้น 3. ปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในหมู่บ้าน ทั้งในบ้านและนอกบ้านไม่ให้มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์เก่า กระป๋อง กระบอกน้ำเก่า ถัง โอ่งเก่า ฯลฯ ควรคว่ำไว้ให้หมด 4. ปรับสภาพของน้ำ เพื่อไม่ให้ยุงมาวางไข่โดยการใส่ทรายอะเบท น้ำส้มสายชู หรือเกลือแกงลงไปในน้ำ 5. เปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม้…

  • หากสงสัยว่าตนเองเป็นไข้เลือดออกจะรักษาอย่างไรดี

    หากสงสัยว่าตนเองเป็นไข้เลือดออกจะรักษาอย่างไรดี

    หากสงสัยว่าตนเองเป็นไข้เลือดออกจะรักษาอย่างไรดี ในฤดูฝนต่อฤดูหนาวนั้น เป็นช่วงเวลาที่ไข้เลือดออกระบาดมาก ยิ่งโดยเฉพาะเด็กที่มีอายุ 5-14 ปีแล้วยิ่งติดเชื้อและป่วยได้ง่ายมากกว่าเด็กโตและผู้ใหญ่ ตามแหล่งน้ำขังต่าง ๆ มักเป็นที่วางไข่ของยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค หากคนในบ้านหรือหมู่บ้านป่วยเป็นไข้เลือดออกขึ้นมา ก็มักจะเพิ่มจำนวนผู้ป่วยขึ้นไปเรื่อย ๆ ดังนั้นหากมีอาการเป็นไข้ ปวดเมื่อเนื้อตัวในช่วงเวลาที่ไข้เลือดออกระบาดแบบนี้ ควรทานยาลดไข้แก้ปวดชนิดพาราเซตามอลเท่านั้น หากใช้ยาตัวอื่นอาจทำให้ผู้ป่วยช็อกได้ ไข้เลือดออกนี้เมื่อยุงที่มีเชื้อมากัดคนจะปล่อยเชื้อเข้าสู่ร่างกายและใช้เวลาฟักตัวอยู่ราว 5-8 วัน จึงแสดงอาการ ซึ่งจะแบ่งออกเป็นสามระยะดังนี้ 1. ระยะไข้สูง ประมาณ 2-7 วัน มักมีอาการปวดหัว ปวดกระบอกตา ปวดเมื่อยตามข้อและตามเนื้อตัว เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน ปากแห้ง มีจุดเลือดขึ้นตามเนื้อตัวหรือมีเลือดกำเดาไหล 2. ระยะไข้ลด ไข้ที่สูงอยู่จะลดลงอย่างรวดเร็ว แต่ยังอ่อนเพลียและเบื่ออาหาร ยังควรต้องได้รับการดูแลใกล้ชิดอยู่ เพราะรายที่เป็นมากอาจถ่ายอุจจาระหรืออาเจียนเป็นเลือด ทำให้ช็อคและอาจเสียชีวิตได้ รายที่ไม่รุนแรงมากจะค่อย ๆ ทุเลาลง ทานอาหารได้ 3. ระยะฟื้นตัว หลังจากไข้ลดโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนแล้ว ผู้ป่วยจะดีขึ้น อาจมีผื่นแดงตามเนื้อตัว ทำให้คันได้ แต่จะหายได้เองใน 2-3 วัน และอาการอื่น…

  • อาการของไข้เลือดออกแอฟริกันสองสายพันธุ์ (African Hemorrhagic Fever)

    อาการของไข้เลือดออกแอฟริกันสองสายพันธุ์ (African Hemorrhagic Fever)

    อาการของไข้เลือดออกแอฟริกันสองสายพันธุ์ (African Hemorrhagic Fever) ไข้เลือดออกจากแอฟริกันนั้นแบ่งออกได้จากสาเหตุของเชื้อไวรัสชนิดด้วยกันได้แก่ Marburg virus และ Ebola Virus ซึ่งจะติดต่อจากคนไปสู่คนจากการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย และปัจจุบันยังไม่มียารักษาเฉพาะสำหรับไวรัสทั้งสองชนิดนี้ การรักษาทำได้เพียงประคับคองและรักษาไปตามอาการเท่านั้น ซึ่งไวรัส Marburg Virus จะมีเวลาฟักตัวประมาณ 5-9 วัน ส่วน Ebola Virus จะมีเวลาฟักตัวประมาณ 1-21 วัน ไข้เลือดออกแอฟริกันที่เกิดจากเชื้อ Marburg Virus นั้น พบการระบาดทั้งหมดสามครั้ง ครั้งแรกในปี 2510 ที่ประเทศเยอรมันและยูโกสลาเวีย มีผู้เสียชีวิต 7 ราย พบมาในผู้ท่ำทงานในห้องแลปที่สัมผัสกับลิงจากประเทศอูกานดา ส่วนครั้งที่สองนั้น เกิดขึ้นที่ประเทศแอฟริกาใต้ปี 2518 มีผู้ป่วยรายเดียวเป็นชาวออสเตรเลีย คาดว่าผู้ป่วยน่าจะติดเชื้อมาจากซิมบับเว ส่วนการระบาดครั้งที่สามเกิดขึ้นในประเทศเคนยาผู้ป่วยเป็นวิศวกรชาวฝรั่งเศสทำงานในโรงน้ำตาลที่อยู่ห่างจากชายแดนเคนยา 40 กิโลเมตรและเสียชีวิตในเวลาต่อมา หลังจากนั้นแพทย์และพยาบาลที่ทำการรักษาผู้ป่วยรายนี้ก็เริ่มแสดงอาการเช่นกัน ในส่วนของไข้เลือดออก Ebola Hemorrhagic Fever นั้น มีการระบาดสองครั้งครั้งแรกในปี 2519 ทางตอนใต้ของซูดานและทางตอนเหนือของประเทศซาร์อี ในซูดานมีผู้ป่วย…