Tag: โรคไข้ป่า
-
รู้จักกับ…โรคมาลาเรีย
รู้จักกับ…โรคมาลาเรีย ในช่วงเดือน เม.ย. ถึง ก.ค. นั้นจะเป็นช่วงที่โรคมาลาเรียมีการระบาดสูงสุด ทั่วโลกจึงร่วมกันรณรงค์แก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะในแต่ละปีจะมีผู้ติดเชื้อมาลาเรียทั่วโลกถึงประมาณสามร้อนกว่าล้านคน เสียชีวิตราว 1 ล้านคน ส่วนมากกว่าร้อยละ 90 พบในทวีปแอฟริกา ส่วนในประเทศไทยนั้นมีผู้ป่วยมากที่สุดห้าอันดับแรกอยู่ในจังหวัด ตาก กาญจนบุรี แม่ฮ่องสอน ระนองและสงขลา ซึ่งเป็นพื้นที่ป่า เขา สวนยางพารา แหล่งน้ำ ภูเขาสูงชันและลำธาร โดยเฉพาะบริเวณชายแดน โรคไข้มาลาเรีย ไข้ป่าหรือไข้จับสั่นนี้เกิดจากเชื้อโปรโตซัว โดยมียุงก้นปล่องเป็นพาหะ ไปกัดคนที่มีเชื้อมาลาเรียอยู่ เชื้อนี้จะเข้าไปเจริญแบ่งตัวในยุงแล้วก็ไปกัดคนต่อไป ปล่อยเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดเจริญเติบโตที่ตับและเม็ดเลือดแดง มีระยะฟักตัวประมาณ 14 วัน จึงเกิดอาการไข้สูง ปวดศีรษะ เมื่อยเนื้อตัว อาเจียน หนาวสั่น สะบัดร้อนสะบัดหนาว เหงื่อออก รู้สึกดีขึ้นแล้วก็กลับมาเป็นใหม่อีก บางรายอาจมีอาการแทรกซ้อนรุนแรง เช่น มาลาเรียขึ้นสมอง น้ำตาลในเลือดต่ำ เหลือง ซีด ปัสสาวะดำ ไตวาย ปอดบวมน้ำ ทำให้ถึงแก่ชีวิตได ไข้มาลาเรียไม่สามารถกินยาป้องกันล่วงหน้าได้ หากเข้าป่าควรป้องกันยุงโดยสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด ใช้ยาทาหรือยาจุดกันยุง…
-
การป้องกันระวัง…ไข้มาลาเรียหรือไข้ป่า
การป้องกันระวัง…ไข้มาลาเรียหรือไข้ป่า แม้ในปัจจุบันนี้โรคไข้มาลาเรียจะพบเห็นได้น้อยลงแล้ว แต่หากเป็นในช่วงฤดูฝนที่ฝนตกชุกอยู่ก็อาจเพิ่มการระบาดของโรคนี้ขึ้นมาได้เหมือนกัน เพราะว่าพาหะของโรคนี้คือยุงก้นปล่องที่จะวางไข่เพาะพันธุ์อยู่ตามป่าเขา และลำธาร เมื่อมีผู้คนเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นการเดินทางผ่านหรือการเข้าไปท่องเที่ยว แล้วหากถูกยุงกัดเข้าก็อาจได้รับเชื้อและกลายเป็นโรคไข้มาลาเรียขึ้นได้ ไข้มาลาเรียหรือไข้ป่านี้เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัวสี่ชนิดได้แก่ ฟัลซิปารั่ม, ไวแว็กซ์, โอวาเล่ และมาลาริอี เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อจะมีระยะฟักตัวประมาณ 10-14 วัน แล้วจะมีอาการป่วยเกิดขึ้นคือมีไข้สูงและหนาวสั่น จึงทำให้ชาวบ้านเรียกโรคนี้ว่า ไข้จับสั่น นอกจากจะมีอาการจับไข้แล้ว จะมีภาวะแทรกซ้อนขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นมาลาเรียขึ้นสมอง น้ำตาลในเลือดต่ำ ตัวเหลืองซีด ปัสสาวะดำ ไตวาย ปอดบวมน้ำ แล้วก็อาจทำให้ผู้ที่ติดเชื้อเสียชีวิตได้ด้วย ในส่วนของการรักษาโรคมาเลเรียนั้น ก็จะแตกต่างกันไปตามเชื้อแต่ละชนิด จึงจำเป็นต้องตรวจเลือดการเพื่อหาเชื้อแล้วจึงให้ยาทุกครั้ง หากได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว การกินยาเพียงไม่กี่วันก็รักษาให้หายขาดได้แล้ว แต่หากรักษาช้าอาจเกิดอาการแทรกซ้อนที่อันตรายได้ ที่น่าเป็นห่วงมากก็คือปัจจุบันนี้ผู้ป่วยมาเลเรียที่เชื้อดื้อยามากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังมีเชื้ออยู่แล้วเป็นพาหะไปติดคนอื่น ๆ ได้ เมื่อป่วยแล้วจึงรักษาด้วยยาเดิมไม่ได้ผล ดังนั้นหาเป็นมาลาเรียแล้วจึงไม่ควรหายามากินเอง แต่ควรไปพบแพทย์เพื่อรักษาอย่างถูกต้อง อีกทั้งยังควรทานยาให้ครบห้ามหยุดก่อน มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาเชื้อดื้อยาขึ้นได้อีกด้วย แม้จะมียาสำหรับป้องกันล่วงหน้าแต่ก็ไม่ควรกินอยู่ดี เนื่องจากยาไม่มีประสิทธิภาพมากพอแล้วยังอาจเป็นสาเหตุของเชื้อดื้อยาได้ง่ายขึ้น ดังนั้นการป้องกันยุงกัดจึงเป็นเรื่องที่สำคัญกว่าในยามที่จำเป็นต้องเดินทางเข้าไปในพื้นที่เสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการไปท่องเที่ยว การเก็บของป่า การเดินทางผ่าน ฯลฯ ควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด ทายากันยุงและนอนในมุ้งที่ชุบสารเคมีจะดีที่สุดค่ะ