Tag: โรคแทรกซ้อน

  • การออกกำลังกายที่พอเหมาะ…สำหรับคนเป็นเบาหวาน

    การออกกำลังกายที่พอเหมาะ…สำหรับคนเป็นเบาหวาน

    การออกกำลังกายที่พอเหมาะ…สำหรับคนเป็นเบาหวาน การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็นเรื่องที่สำคัญในการควบคุมโรคด้วยเช่นกัน ทำให้ระดับของน้ำตาลในกระแสเลือดลดลง แต่จะลดมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ ระยะเวลาที่ออกกำลังกาย ความหนัก และระดับน้ำตาลก่อนการออกกำลังกาย รวมทั้งการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอด้วย ซึ่งการออกกำลังกายของผู้ป่วยเบาหวานทั้งสองชนิด นั้นมีวิธีการที่แตกต่างกัน เพราะเป็นผลมาจากการนำพลังงานไปใช้และเผาผลาญพลังงานที่แตกต่างกันนั่นเอง การออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 หรือชนิดที่พึ่งอินซูลิน หากมีสุขภาพทั่วไปดีอยู่ ให้ออกกำลังกายวันละ 20 นาทีถึงหนึ่งชั่วโมง แต่ต้องควบคุมโรคและใช้ยาอินซูลินให้ดีก่อนออกกำลังกาย ผู้ป่วยควรสามารถวัดระดับน้ำตาลในเลือดของตนเองได้หากต้องการออกกำลังกายหนัก ๆ และเข้าใจการปรับเปลี่ยนการใช้หรืออินซูลินของตนเองด้วย ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ควรออกกำลังกายในช่วงเวลา บ่ายสามถึงห้าโมงเย็น หลังทานอาหารว่างแล้วประมาณครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมง วันเว้นวัน และไม่ควรออกกำลังกายขณะที่อินซูลินออกฤทธิ์สูงสุด หากออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องแล้วแพทย์อาจแนะนำให้ลดการการใช้อินซูลินลง ส่วนการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ชนิดที่ยังต้องพึ่งอินซูลิน ควรออกกำลังกายแบบเหนื่อยปานกลางอย่างต่อเนื่องประมาณครึ่งชั่วโมงต่อวัน เช่น การเดินเร็ว การว่ายน้ำ การเดินในน้ำ โยคะ รำมวยจีน หรือปั่นจักรยานอยู่กับที่ เพื่อให้ชีพจรเร็วขึ้น ควรอบอุ่นร่างกายก่อนเสมออย่างน้อย 5-10 นาที แล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มการออกกำลังกายขึ้นแต่ไม่ควรหักโหมเกินไป เมื่อต้องการหยุดออกกำลังกายให้ค่อย ๆ ผ่อนลงเรื่อย ๆ เรียกว่าคูลดาวน์ ประมาณ 5-10…

  • วิธีดูแลตัวเองจากโรคติดต่อไม่เรื้อรัง 5 โรค

    วิธีดูแลตัวเองจากโรคติดต่อไม่เรื้อรัง 5 โรค

    วิธีดูแลตัวเองจากโรคติดต่อไม่เรื้อรัง 5 โรค โรคติดต่อไม่เรื้อรังนั้นมักถูกเข้าใจว่าน่าจะเป็นโรคของประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ความจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ โรคติดต่อไม่เรื้อรัง 5 โรคนี้เป็นปัญหาของประเทศกำลังพัฒนาต่างหาก เพราะขาดความพร้อมในการดูแลรักษาผู้ป่วยจากโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ อีกทั้งยังต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงมากด้วย โรคทั้งห้านี้ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ และโรคมะเร็ง ซึ่งผู้ป่วยโรคเหล่านี้มีอัตราเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี แล้วยังเป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยเป็นอัมพาตหรือพิการเพิ่มขึ้นด้วยนะ สาเหตุของโรคทั้งห้าชนิดนี้ มักเป็นบุคคลที่ชอบทานอาหารหวานจัด เค็ม หรือมีไขมันสูง ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ มีความเครียดมากแล้วไม่ค่อยรู้จักการผ่อนคลายกับทั้งยังขาดการออกกำลังกาย ฯลฯ จึงทำให้เป็นโรคอ้วนตามมา การที่มีไขมันสะสมในช่องท้องมากนี้ ไขมันจะแตกตัวเป็นกรดไขมันจะแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระเข้าสู่ตับ ส่งผลให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่ดีนัก จึงเป็นต้นเหตุของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต หัวใจวาย ตับวาย ไตวาย และอาจเสียชีวิตได้ หากจะวัดกันที่ดัชนีรอบเอวจะพบว่ารอบเอวที่เพิ่มขึ้นทุก 5 เซนติเมตรจะเพิ่มโอกาสการเป็นโรคเบาหวานสูงขึ้นถึง 3-5 เท่า หมายถึงว่ายิ่งพุงใหญ่เท่าไรก็ยิ่งตายเร็วเท่านั้น โรคเกณฑ์การจำแนกว่าเป็นโรคอ้วนลงพุงของคนไทยก็คือ หากผู้ชายมีรอบเอวเกิน 90…

  • ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคไซนัสอักเสบ

    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคไซนัสอักเสบ

    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคไซนัสอักเสบ โรคไซนัสอักเสบ ที่หลายคนรู้จักชื่อกันดีนี้  มักจะมีหลายคนที่เข้าใจผิดคิดว่าเป็นโรคนี้ ทั้งที่ป่วยเป็นไข้หวัดคัดจมูกธรรมดาเท่านั้น กับทั้งยังคิดว่าเป็นโรคที่รักษาไม่หาย เป็นแล้วต้องกลับมาเป็นอีก  ซึ่งนี่คือความเข้าใจที่ผิดทั้งสิ้น ความจริงแล้วโรคไซนัสอักเสบนั้นมักเกิดจากเชื้อไวรัสหวัดทั่วไปแล้วติดเชื้อในโพรงจมูกจนลุกลามเข้าไปในโพรงไซนัส  ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะหายได้เอง แต่ในบางครั้งอาจมีเชื้อแบคทีเรียติดมาบ้างทำให้โรคไม่หายขาดและรุนแรงขึ้น  การรักษาเพื่อที่จะไม่กลับมาเป็นอีกก็คือต้องพบแพทย์เพื่อรักษาให้หายขาดนั่นเอง อาการของไซนัสอักเสบที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียนั้น ผู้ป่วยจะมีอาการคัดแน่นจมูก มีน้ำมูกหรือเสมหะลงคอสีเหลืองหรือเขียว   มีอาการปวดบริเวณ  หัวตา หว่างคิ้ว ใบหน้า และตามโหนกแก้ม การได้กลิ่นลดลงและมีอาการเกิน 10 วัน หรือมีอาการแย่ลงใน  5 วันแรกก็ควรมาพบแพทย์ได้แล้ว  อาการของโรคแบ่งออกเป็นกลุ่มเฉียบพลันและเรื้อรัง  ซึ่งกลุ่มเฉียบพลันจะมีอาการน้อยกว่า 12 สัปดาห์ และกลุ่มเรื้อรังจะมีอาการมาเกิน 12 สัปดาห์ขึ้นไป ทำให้การรักษามีความแตกต่างกัน  โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากจะเป็นกลุ่มที่ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ที่รับยากดภูมิระหว่างการทำเคมีบำบัด หรือภาวะขาดภูมิคุ้มกันตั้งแต่เกิดเป็นต้น โรคไซนัสอักเสบไม่มีสาเหตุจากพันธุกรรม อีกทั้งยังเป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้เข้าใจผิดคิดว่าตนป่วยเป็นโรคไซนัสอักเสบได้ ดังนั้นจึงควรพบแพทย์เพื่อรักการวินิจฉัย  โดยในปัจจุบันนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดได้ว่าผู้ป่วยจมูกอักเสบภูมิแพ้เกิดจากไซนัสอักเสบได้บ่อยกว่าคนที่เป็นภูมิแพ้หรือไม่  แต่การสูบบุหรี่ทำให้การงานของเยื่อบุโพรงไซนัสทำงานบกพร่องได้ ในส่วนของการรักษา  โรคไซนัสอักเสบเฉียบพลันหากมีสาเหตุจากเชื้อไวรัสมักจะหายได้เอง แต่ถ้าติดเชื้อแบคทีเรียกควรมาพบแพทย์เฉพาะทาง หู คอ จมูก  เพื่อทำการส่องกล้องเข้าไปตรวจช่องโพรงจมูกและไซนัส  ซึ่งหากมิใช่แพทย์เฉพาะทางหรือไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญโรคไซนัสมักให้คนไข้ทำการเอกซเรย์ วิธีนี้ไม่แม่นยำนัก ทั้งยังทำให้เสียค่าใช้จ่ายโดยสิ้นเปลือง…

  • โรคหนองใน อาการ การรักษา วิธีป้องกัน

    โรคหนองใน อาการ การรักษา วิธีป้องกัน

    โรคหนองใน อาการ การรักษา วิธีป้องกัน หนองใน (Urethritis) เป็นโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ โรคหนองในแท้ ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Neisseria gonorrhea เชื้อแบคทีเรียนี้จะทำให้เกิดเยื่อเมือก Mucous Membrance เช่น เยื่อเมือกในท่อปัสสาวะ ช่องคลอด ปากมดลูก เยื่อบุมดลูก ท่อรังไข่ ทวารหนัก เยื่อบุตา คอ เป็นต้น โดยเชื้อนี้มีระยะฟักตัวเร็ว คือประมาณ 1-10 วัน ส่วนโรคหนองในเทียม ส่วนมาที่พบจะติดจากเชื้อแบคทีเรีย Chlamydia trachomatis หรืออาจจะมีเชื้อแบคทีเรียอื่นๆอีก โรคหนองในทั้ง 2 ชนิด มักจะชอบอยู่ในที่อุ่นและชื้น เช่น ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก และช่องคอ มักจะมีอาการตกขาวเป็นหนองสีเหลือง แสบขัดเวลาถ่ายปัสสาวะ อาจจะมีอาการที่รุนแรงจนต้องเข้าพบแพทย์ หากทิ้งไว้ไม่ได้ทำการรักษา อาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ ได้แก่ ภาวะมีบุตรยากทั้งหญิงและชาย ปวดท้องน้อยเรื้อรัง และการตั้งครรภ์นอกโพรงมดลูก…