Tag: โรคเรื้อรัง
-
9 โรคใหม่มีสาเหตุจากบุหรี่ !!!
—
by
9 โรคใหม่มีสาเหตุจากบุหรี่ !!! ในโอกาสครบรอบห้าสิบปีของการประกาศว่า การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุสำคัญของ โรคมะเร็งปอด และโรคเรื้อรังอื่น ๆ ล่าสุดมีการรับรองว่า 9 โรคใหม่ ที่เกิดจากการสูบบุหรี่ หรือได้รับควันบุหรี่มือสองจากผู้อื่นได้แก่ 1. มะเร็งตับ 2. มะเร็งลำไส้ 3. วัณโรค ทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นวัณโรคมากขึ้น เสียชีวิตมากขึ้นและกลับมาเป็นซ้ำมากขึ้นด้วย 4. เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นเบาหวานถึงร้อยละ 30-40 เทียบกับผู้ที่ไม่สูบ 5. จอประสาทตาเสื่อมซึ่งจะสัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มขึ้น 6. เพดานปากแหว่งตั้งแต่เกิด ในแม่ที่สูบบุหรี่ 7. ตั้งครรภ์นอกมดลูก 8. โรคข้อรูมาตอยด์และภาวะภูมิต้านทานร่างกายลดลง 9. โรคเส้นเลือดในสมองตีบหรือโรคเส้นเลือดในสมองแตกจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง ซึ่งรายงานฉบับนี้มีความสำคัญมากต่อประเทศไทย เพราะโรคมะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ เป็นโรคมะเร็งที่ชายไทยเป็นมากที่สุด ในขณะที่เบาหวานและวัณโรคก็เป็นโรคที่คนไทยเพิ่มจำนวนมากขึ้น เป็นผลมากจากการสูบบุหรี่ของชายไทยที่สูงขึ้น งานนี้นอกจากผู้สูบบุหรี่ต้องรักษาสุขภาพของตัวเองแล้ว งานควบคุมยาสูบในประเทศไทยก็ยังต้องการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน รวมทั้งรัฐบาลอย่างจริงจังในการควบคุมด้วย
-
ทำความเข้าใจกับโรคไตเรื้อรัง
ทำความเข้าใจกับโรคไตเรื้อรัง โรคไตเรื้อรังก็คือ สภาวะของไตที่ถูกทำลาย ทำให้ไตทำงานได้ลดลง โดยสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคไตเรื้อรังก็ได้แก่โรคเรื้อรังเช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน ไตอักเสบ โรคถุงน้ำในไต ฯลฯ ซึ่งโรคไตจะมีอาการแย่ลงหรือทรุดลงทีละน้อยโดยผู้ป่วยไม่ค่อยรู้ตัว บางคนไม่เคยทราบมาก่อนว่าตัวเองเป็นจนอาการแย่แล้ว ดังนั้นควรได้รับการตรวจและรักษาแต่เนิ่น ๆ อาจทำให้โรคไตเรื้อรังคงตัวและหายได้ แต่หากปล่อยไว้ไม่ตรวจหรือรักษาก็อาจนำไปสู่ภาวะไตวาย ซึ่งไตจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติอีกต่อไป จำเป็นต้องได้รับการฟอกเลือดหรือผ่าตัดเปลี่ยนไต โรคไตเรื้อรังนี้มีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง พันธุกรรมของคนในครอบครัว อายุที่มากขึ้นทำให้ไตเสื่อมสภาพลง เป็นคนที่อ้วนหรือเป็นโรคอ้วน และสูบบุหรี่ หากท่านอยู่ในข่ายดังกล่าวนี้ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะ รวมทั้งตรวจเลือดเพื่อหาค่าครีเอตินิน เพื่อนำเอาผลมาประเมินค่าการทำงานของไต ว่าไตทำงานได้มากน้อยเพียงใด หากได้ค่าการทำงานของไตต่ำก็อาจทำให้ไตไม่สามารถทำงานได้ดังเดิม สูญเสียหน้าที่ในการกำจัดของเสียในร่างกายออกไป สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังนั้น เริ่มแรกอาการอาจไม่รุนแรง อาจมีอาการได้แก่ อ่อนแรง สมองตื้อ เบื่ออาหาร นอนไม่ค่อยหลับ ผิวคันและแห้ง เป็นตะคริวเวลากลางคืน เท้าและข้อเท้าบวม ตาบวมน้ำ โดยเฉพาะในตอนเช้า ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะในเวลากลางคืน หากท่านพบว่าตนเองมีปัจจัยเสี่ยงและมีอาการของโรคดังกล่าวมาข้างต้นนี้แล้ว ควรรีบไปขอรับการตรวจอย่างละเอียดจากแพทย์เพื่อวางแผนการรักษาและคงอาการไว้ก่อนที่โรคไตเรื้อรังจะดำเนินไปถึงระยะรุนแรง ที่อาจทำให้ไตสูญเสียสมรรถภาพการทำงานไปอย่างถาวรได้ค่ะ
-
ออกกำลังกายพัฒนาสุขภาพ บรรเทาโรคต่าง ๆ ได้
ออกกำลังกายพัฒนาสุขภาพ บรรเทาโรคต่าง ๆ ได้ การหาเวลาการออกกำลังกายวันละ 30 นาที เพียงแต่สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ยังผลให้สุขภาพกายเราดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ ช่วยต่อต้านโรคภัยได้หลากหลาย ซึ่งการออกกำลังกายนั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพของคุณดังต่อไปนี้ 1. ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกายออกทางรูขุมขนซึ่งก็คือเหงื่อนั่นเอง ช่วยลดสารพิษตกค้างในร่างกายด้วย 2. ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น กว่าร้อยละ 70 ของคนที่ออกกำลังกายจะนอนหลับได้สนิทกว่าคนที่ไม่ออกกำลังกายเลย ทั้งนี้ควรออกกำลังกายก่อนเวลา 3 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อยค่ะ 3. ช่วยเสริมสร้างความจำ ทำให้ความจำดีขึ้น กระตุ้นความคิดและทำให้สุขภาพจิตดี ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์และโรคทางจิตเวชอื่น ๆ ได้ 4. ช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดีขึ้น ลดเวลาการย่อยลง ลดความเจ็บปวดจากโรคริดสีดวงทวารและลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อได้ดี ส่งเสริมให้หลอดเลือดและหัวใจทำงานได้มากขึ้น เพิ่มอัตราการเผาผลาญอาหารด้วย 5. ทำให้มีสุขภาพจิตทีดี ลดความเครียด บรรเทาอาการซึมเศร้าและความวิตกกังวลต่าง ๆ ลดความคิดในการฆ่าตัวตายได้ 6. ช่วยให้กระดูกแข็งแรง มวลกระดูกเพิ่มขึ้นและหนาแน่นขึ้น ลดความเจ็บปวดจากหลังได้ร้อยละ 80 กระตุ้นการทำงานของกระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกรานและกล้ามเนื้อโดยรอบ ช่วยขับของเสียออกจากล้ามเนื้อและกระดูกให้มีความแข็งแรงมากขึ้นได้ 7. ป้องกันโรคหวัด ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวทำงานต่อสู้กับเชื้อโรคได้รวดเร็วและตอบสนองได้ดีขึ้น ลดความเสี่ยงติดโรคเรื้อรังได้…
-
ผู้หญิงวัยทอง อ้วนง่ายขึ้นนะจ๊ะ
ผู้หญิงวัยทอง อ้วนง่ายขึ้นนะจ๊ะ ในผู้หญิงวัยทองเมื่อฮอร์โมนหมดไปแล้วจะมีอาการหงุดหงิดได้ง่าย อารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับและใจสั่น ซึ่งอาการก็ไม่ได้รุนแรงมากนัก แต่สิ่งที่รุนแรงกว่าคือโรคเรื้อรังที่เกิดจากวัยหมดประจำเดือน เกิดจากความชราภาพของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายตามกระบวนการธรรมชาติ ซึ่งฮอร์โมนก็เป็นส่วนหนึ่งด้วย หากร่างกายมีภาวะอ้วนน้ำหนักเกิน ความเสี่ยงก็จะยิ่งสูงขึ้นไปอีกที่จะเป็นโรคความดันโลหิต เบาหวาน ไขมันเลือด โรคมะเร็ง โรคหัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาตได้ง่ายมากยิ่งขึ้นด้วย ในช่วงวัยหมดประจำเดือนจึงต้องเป็นช่วงเวลาที่ควบคุมการเพิ่มของน้ำหนักอย่างเข้มงวด เพราะเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุของโรคร้ายแรงที่อาจคร่าชีวิตก่อนวัยอันควรได้ ในวัยอื่นนั้น ปัจจัยที่ทำให้ร่างกายมีความอ้วนน้ำหนักเกินขึ้นอยู่กับการทานอาหารเป็นสำคัญ แต่ในวัยหมดประจำเดือน บางครั้งแม้จะควบคุมอาหารอย่างเต็มที่แล้วก็ยังไม่สามารถควบคุมน้ำหนักไว้ได้ ซึ่งทางที่ดีที่สุดก็คือควรควบคุมไว้ตั้งแต่วัยก่อนหมดประจำเดือน ในสังคมคนเมืองปัจจุบันนี้อาหารการกินกลับเริ่มแย่ลง คนเรากินอาหารฟาสต์ฟู้ดที่มีไขมันสูง ไม่มีคุณค่าทางอาหารมากขึ้น ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนได้ง่าย จริงอยู่ว่าเราอาจไม่สามารถทำอาหารทานเองได้ทุกมื้อ แต่เป็นไปได้ก็ควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ มีไขมันต่ำ มีรสหวานน้อย ๆ เค็มน้อย ๆ แล้วทานผักผลไม้ให้มากขึ้น ก็จะช่วยลดความเสี่ยงได้ตั้งแต่วัยก่อนหมดประจำเดือน ในส่วนของการออกกำลังกาย อย่างน้อยที่สุดควรให้ร่างกายได้ออกกำลังกายบ้าง แต่ละวันให้มีเวลาเดินเล่นอย่างน้อย 30-60 นาที จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นมาก ควรเดินในเวลาที่มีแดดอ่อน ๆ อย่างช่วงเช้า ช่วงเย็น การตากแดดอ่อน ๆ จะช่วยให้ผิวหนังได้รับวิตามินดี ทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้อีกด้วย เพราะเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันรุดหน้าไปมาก…
-
วิธีป้องกันคุณแม่คลอดก่อนกำหนด
วิธีป้องกันคุณแม่คลอดก่อนกำหนด เพราะการคลอดก่อนกำหนดเป็นปัจจัยที่อาจทำให้ทารกแรกเกิดพิการหรือเสียชีวิตได้ ดังนั้นเราจึงควรป้องกันไว้ก่อน โดยคุณแม่เองก็ต้องใส่ใจให้มาก ๆ เมื่อรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ขึ้นมาแล้วควรใส่ใจและดูแลตัวเองดังต่อไปนี้ค่ะ – รีบฝากครรภ์แต่เนิ่น ๆ ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ไปพบหมอตามนัดทุกครั้งและทำตามตามคำแนะนำให้ครบถ้วน – กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะกรดโฟเลตหรือโฟลิค ซึ่งก็คือวิตามินบีชนิดหนึ่ง พบได้มากในผักผลไม้สดทั้งผล หรือวิตามินรวม ธาตุเหล็ก แคลเซียม โปรตีน ให้มาก เพื่อพัฒนาการของเด็กในครรภ์ – หากมีโรคเรื้อรังอยู่ไม่ว่าจะเป็นเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ความตรวจเช็คดูแล ป้องกันโรคเหล่านี้ให้ดีด้วย – ปรึกษาคุณหมดด้วยว่าในช่วงที่กำลังตั้งครรภ์อยู่นี้ จะสามารถออกแรงทำงาน ออกกำลังกายหรือร่วมเพศได้อย่างไร – งดการสูบบุหรี่ เหล้า สารเสพติดทุกชนิด รวมทั้งไม่เข้าไปสูดดมควันบุหรี่ สารระเหยต่าง ๆ ด้วย – ทำจิตใจให้สบาย ปราศจากความเครียด – ใส่ใจกับสุขภาพปากและฟันด้วย – ล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อย ๆ หรือจะใช้แอลกอฮอล์เจลเช็ดมือก็ได้ ทั้งก่อนกินอาหาร ก่อนดื่มน้ำ เข้าบ้าน เข้าที่ทำงาน…
-
จุดเริ่มต้นของโรคถุงลมโป่งพอง
จุดเริ่มต้นของโรคถุงลมโป่งพอง สาเหตุหนึ่งที่สำคัญมากของโรคถุงลมโป่งพองก็คือ บุหรี่นั่นเอง มักเกิดโรคนี้ในผู้ที่สูบบุหรี่จัดนานกว่า 10-20 ปี ขึ้นไป พิษจากบุหรี่จะทำลายเยื่อบุหลอดลมและถุงลมในปอดทีละน้อยไปเรื่อย ๆ ในที่สุดถุงลมปอดจะพิการ คือไม่สามารถทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนอากาศ หอบเหนื่อยง่าย และมักติดเชื้อที่ปอดซ้ำซาก นอกจากบุหรี่แล้ว การได้รับมลพิษในอากาศ จากควันหุงต้ม การก่อไฟในสถานที่ปิดทึบก็ทำให้เป็นโรคถุงลมโป่งพองได้เช่นกัน อาการของผู้ที่สูบบุหรี่จัดมาหลายปีนั้นจะมีอาการของหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ตื่นนอนตอนเช้าจะไอมีเสมหะหรือขากเสมหะในลำคอตั้งแต่ตื่นนอน ไอมีเสมหะเรื้อรังเป็นเดือนเป็นปี ส่วนมากมักจะนึกว่าเป็นเรื่องปกติจึงไม่ใส่ใจดูแล จนเริ่มไอถี่ขึ้นตลอดวันและมีเสมหะจำนวนมาก ในช่วงแรกเสมหะจะมีสีขาว และกลายเป็นสีเขียวเหรือเหลือง มีไข้หรือหอบเหนื่อยจากการติดเชื้อ หากยังไม่หยุดสูบบุหรี่อาการจะยิ่งหนักไปเรื่อย ๆ เหนื่อยง่าย หอบแม้แต่เวลาเดิน หรือพูด หรือทำกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ในระยะหลังหากอาการกำเริบหนักอาจมีการติดเชื้อแทรกซ้อนจนต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล ในระยะที่รุนแรงนั้น ผู้ป่วยจะเบื่ออาหารผ่ายผอม น้ำหนักลด หอบเหนื่อยและทุกข์ทรมานอยู่ตลอดเวลา โรคนี้เป็นโรคเรื้อรังตลอดชีวิต ต้องพบแพทย์และใช้ยารักษาอย่างต่อเนื่อง หากในระยะแรกเลิกบุหรี่ได้อย่างเด็ดขาดก็จะทำให้โรคไม่ลุกลามมากนัก แต่หากไม่หยุดสูบก็อาจลุกลามรุนแรง และมักเสียชีวิตด้วยภาวการณ์หายใจล้มเหลว ปอกอักเสบหรือปอดทะลุ โดยมากจะเสียชีวิตกว่าร้อยละ 50 ภายใน 10 ปี หลังจากที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคถุงลมโป่งพอง หากตรวจพบว่าเป็นโรคนี้แล้ว ควรปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้ 1. พบแพทย์เพื่อรับยาและทานยาให้สม่ำเสมอ…
-
ชวนลูกกินผักกัน
ชวนลูกกินผักกัน ผักนั้นเป็นอาหารที่มีราคาประหยัด แต่ให้วิตามิน แร่ธาตุต่าง ๆ สูง มีประโยชน์มาก แต่ก็มีเด็กจำนวนมากเช่นกันที่ไม่ยอมกินผัก การหัดให้ลูกกินผักนั้นควรทำตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่หย่านมตอนหกเดือนเลย เด็กหลังหย่านมนั้น ควรให้เด็กเริ่มทานผักสุกก่อน โดยการนำเอามาบดให้ละเอียดปนไปกับข้าวต้ม โจ๊กหรือข้าวบด ก่อนการให้ผลไม้ เพราะเด็กอาจติดรสหวานจากผลไม้จนไม่ยอมกินผักได้ ให้ป้อนผักและผลไม้ชนิดใหม่ ๆ สัปดาห์ละอย่าง เด็กจะได้คุ้นกับผักผลไม้ไปเรื่อย ๆ และจะกินได้มากเมื่อโตขึ้น ในส่วนของเด็กที่เริ่มเคี้ยวได้แล้ว ควรให้ผักที่ต้มหรือลวกให้สุก จะทำให้ผักนิ่มและหวานอร่อย อาจหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่แกงจืดหรือผสมกับอาหารอื่น เด็กที่อายุมากกว่าสองขวบให้ทานได้ทั้งผักสุกและผักสด เลือกที่มีรสหวานสีสันน่ากินอย่างแครอทหั่นแท่ง หรือแตงกวาหั่นแท่ง ให้เด็กจับกินเองได้ แต่ผักบางชนิดที่ควรลวกหรือต้มก่อนก็มีเหมือนกัน อย่างข้าวโพด กะหล่ำปลี ฟักทอง เป็นต้น แต่สำหรับเด็กโตที่เกินจะเรียนรู้อาหารใหม่แล้ว ผู้ปกครองควรดัดแปลงผักให้มีรสชาติและรูปร่างที่ดูน่ากิน เช่น นำแครอท หรือถั่วผักยาว มาหั่นเป็นท่อนแล้วห่อด้วยกะหล่ำปลีแล้วนำไปนึ่ง หรือนำไปทำแกงจืดหมูสับเต้าหู้ การนำแตงกวาใหญ่มาคว้านออกแล้วใส่หมูทับเข้าแทนนำไปต้มจืด ก็หวานอร่อยเช่นกัน ฯลฯ หากเด็กไม่ยอมกิน ก็ลองมื้อต่อไป จัดผักให้ทานคู่กับอาหารที่เค้าชอบ แล้วผู้ปกครองควรชวนกินด้วยกัน ไม่ควรนำผักกลิ่นฉุนมาให้เด็กลอง เพราะเด็กอาจปฏิเสธผักทุกชนิดไปเลยได้ การชักชวนฝึกหัดให้ลูกกินผักนั้นเป็นสิ่งที่มีผลดีในระยะยาว สร้างนิสัยการกินที่ดี…
-
ภาวะซึมเศร้า ทำให้โรคทรุดลง
ภาวะซึมเศร้า ทำให้โรคทรุดลง ภาวะซึมเศร้านั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงและตัวพยากรณ์โรคที่สำคัญของโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมไปถึงโรคอื่น ๆ ด้วย เช่น ภาวะซึมเศร้าจะทำให้เพิ่มโอกาสในอ้วนขึ้นร้อนละ 58 และในทางตรงข้างความอ้วนก็เพิ่มโอกาสซึมเศร้าด้วยร้อนละ 27-55 ภาวะซึมเศร้าเพิ่มโอกาสกล้ามเนื้อตายได้มากกว่าครึ่ง และผู้ที่ป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย หากมีอาการซึมเศร้าด้วยจะเพิ่มโอกาสเสียชีวิตได้มากกว่าสองเท่าเลยทีเดียว เมื่อเทียบกับผู้ป้วยที่ไม่เป็นโรคซึมเศร้า การใช้จิตบำบัดจึงช่วยลดความซึมเศร้าได้ดีกว่าการใช้ยาอยู่บ้าง การทำจิตบำบัดง่าย ๆ สำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องนอนอยู่บ้านจนเกิดความรู้สึกหมดหวังแล้วนั้น ลองพูดคุย ชวนคนอื่น ๆ มาเยี่ยมเยียนบ่อย ๆ และสนับสนุนให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเอง ช่วยเหลือผู้อื่นบ้าง หรือหาอะไรให้เขาทำแก้เซ็งแบบที่เขาชอบ บางรายก็ใช้วิธีการนวดกดจุดเพื่อลดปวด และใช้การทำสมาธิบำบัดเข้ามาช่วยด้วย การทำสมาธิบำบัดนั้นจะช่วยลดอการปวดได้ ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวได้ดีขึ้น การทำจิตบำบัดด้วยการทำสมาธิเป็นการเยียวยาตนเอง ทำให้ร่างกายหลังเอนโดรฟีนส์ ทำให้มีความสุขใจมากขึ้น เบิกบาน สดชื่นและมองโลกในแง่ดี อาการซึมเศร้าจะลดลง ความทุกข์ทรมานจะลดลงและเพิ่มภูมิคุ้มกันอีกด้วย ซึ่งการทำสมาธิบำบัดนี้สามารถประยุกต์ใช้ในคนไข้โรคเรื้องรังอื่น ๆ ได้อีกหลายโรค เพียงการหายใจเข้าออก ลึก ๆ ยาว ๆ อย่างน้อยหนึ่งร้อยครั้งในแต่ละวัน ก็ช่วยได้มากแล้ว ยิ่งหากฝึกไปเรื่อย ๆ จะพบว่าจิตใจมีความสบาย ร่างกายมีความเจ็บปวดน้อยลงไปเองจริง ๆ
-
ภาวะฮีตสโตรกคืออะไร?
ภาวะฮีตสโตรกคืออะไร? ฮีตสโตรกก็คือ โรคลมแดดนั่นเอง มีสาเหตุมาจากร่างกายไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับความร้อนที่เกิดขึ้นทั้งภายนอกและภายในร่างกายได้ ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยขึ้น ตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงเสียชีวิตได้ แบ่งออกเป็นสามกลุ่มได้แก่ 1. ฮีตสโตรกจากการออกกำลังกายหนัก มักเกิดในกลุ่มผู้ที่แข็งแรงมาก่อน เช่น นักกีฬา เด็กวัยรุ่น เด็กโต ทหารเกณฑ์ที่ฝึกกลางอากาศร้อนจัด ผู้ที่ไม่ฟิตแต่ออกกำลังกายเกินตัว ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ต้องมีปัจจัยร่วมกับอากาศร้อนภายนอกด้วย 2. Classical Hear Stroke มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ มีโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยที่ต้องกินยาประจำหรือผู้ป่วยที่นอนติดเตีรยง เด็กเล็กที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ 3. ฮีตสโตรกจากการใช้ยาหรือสารเคมีบางอย่าง เช่น ยาระงับประสาทบางตัว แอมเฟตามีน โคเคน ยาคลายกล้ามเนื้อเป็นต้น ฯลฯ อาการของฮีตสโตรกนี้ได้แก่ มีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 41 องศาเซลเซียยศ กระสับกระส่าย มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป หูแว่ว เห็นภาพหลอน ชักเกร็งและโคม่า ถือเป็นภาวะเร่งด่วนที่ต้องรีบรักษาโดยทันที ด้วยการนำส่งโรคพยาบาลโดยเร็วที่สุดจะลดอัตราการเสียชีวิตได้ เมื่อพบเห็นผู้ที่มีอาการเช่นนี้ ให้รีบเข้าไปปฐมพยาบาล ด้วยการถอดเสื้อผ้าออก พ่นละอองฝอยของน้ำเป็นสเปรย์ละเอียดโดยใช้ละอองน้ำอุ่นร่วมกับการเปิดพัดลมเป่าช่วยจะระบายความร้อนได้ หรืออาจนำถุงน้ำแข็งวางบริเวณซอกรักแร้ ขาหนีบไปด้วย โรคนี้ถ้าเป็นขึ้นมาแล้วการรักษาจะยุ่งยากมาก ควรป้องกันไว้ก่อนจะดีกว่า – อากาศร้อน ๆ…
-
พิษภัยจากโรคถุงลมปอดโป่งพอง
พิษภัยจากโรคถุงลมปอดโป่งพอง บุหรี่เป็นพิษต่อร่างกาย ทำให้เกิดโรคจากปอดที่เรียกว่า “โรคถุงลมปอดโป่งพอง” ได้ง่าย พบมากในผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 45-65 ปีขึ้นไป มักสูบบุหรี่กันมานานกว่า 10 ปี จนในที่สุดปอดก็พิการ ทำให้เกิดอาการเหนื่อยหอบง่าย ติดเชื้อที่ปอดซ้ำซาก นอกจากบุหรี่แล้ว ก็ยังมีสาเหตุอื่นด้วยได้แก่ มลพิษในอากาศ ควันไฟหุงต้มอาหารที่ก่อไฟในที่ขาดอาการถ่ายเท เป็นต้น อาการของโรคถุงลมปอดโป่งพอง ก็คือ ระยะแรกจะมีอาการหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ไอหนัก ไอมีเสมหะเป็นแรมเดือนแรมปี ไอหรือขาดเสมหะในคอหลังจากตื่นนอนตอนเช้า และไอถี่ขึ้นเป็นตลอดทั้งวัน เสมหะช่วงแรงจะมีสีขาวและกลายเป็นเหลืองหรือเขียว มีไข้หรือหอบเหนื่อยเป็นครั้งคราว หากผู้ป่วยยังไม่เลิกสูบบุหรี่ ก็จะยิ่งมีอาการเหนื่อยง่ายมากขึ้น แม้เวลาเดิน พูด หรือทำกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ และหากเป็นเช่นนี้ต่อไป จะรุนแรงขึ้นจนแม้อยู่เฉย ๆ ก็เหนื่อยหอบ เพราะถุงลมปอดพิการอย่างรุนแรง ไม่สามารถแลกเปลี่ยนอากาศนำออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงร่างกายได้แล้ว ในระยะสุดท้ายผู้ป่วยจะเบื่ออาหาร จนน้ำหนักลด หอบตลอดเวลา และทุกข์ทรมานมาก การรักษาโรคถุงลมปอดโป่งพองนั้น แพทย์จะรักษาตามความรุนแรงของโรค โดยทั่วไปจะให้ยาขยายหลอดลมเพื่อสูดพ่น ต่อมาก็อาจจ่ายเป็นยาสเตียรอยด์ชนิดสูดพ่นด้วย หากมีการติดเชื้อก็จะให้ยาปฏิชีวนะ สำหรับรายที่หอบรุนแรง ปอดอักเสบแพทย์ก็จะรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาลเพราะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ต้องให้ออกซิเจน โรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง…