Tag: โรคอ้วนลงพุง
-
โรคเรื้อรังไม่ติดต่อ เกิดจากการกินดีอยู่ดีเกินไป
โรคเรื้อรังไม่ติดต่อ เกิดจากการกินดีอยู่ดีเกินไป โรคเรื้อรังไม่ติดต่อ คือโรคที่รักษาหายได้ยากหรือรักษาได้ไม่หายขาด ได้แก่โรคในกลุ่ม ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด เบาหวาน และโรคมะเร็ง ซึ่งจากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขในปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยโรคเหล่านี้เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลมากขึ้นและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุของโรคเหล่านี้เกิดจากการกินดีอยู่ดีเกินไป ไม่ว่าจะเป็น การชอบกินอาหารรสชาติหวานจัด ไขมันสูง หรือเค็มจัด การขาดการออกกำลังกาย ชอบดื่มเหล้าสูบบุหรี่ และชอบสะสมความเครียดด้วย คนที่มีน้ำหนักเกินจนอ้วนลงพุงนั้น จะมีไขมันสะสมในช่องท้องมาก โดยไขมันเหล่านี้จะแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระเข้าสู่ตับ ขัดขวางการทำงานของอินซูลินจึงเกิดผลร้ายกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เมื่อมีไขมันในหลอดเลือดก็จะทำให้หลอดเลือดเสื่อมตัวลง เกิดเป็นโรคหลอดเลือดแข็งตัว โรคหัวใจ ทำให้ไตวาย หัวใจวาย จนเป็นอัมพาตหรืออัมพฤกษ์และเสียชีวิตได้ เกณฑ์ในการเป็นโรคอ้วนลงพุงนั้น ให้วัดที่ขนาดรอบเอวโดย ผู้ชายมีเส้นรอบเอวตั้งแต่ 90 เซนติเมตรขึ้นไป และ 80 เซนติเมตรขึ้นไปในผู้หญิง รวมกับปัจจัยเสี่ยงอีก 2 ใน 4 ข้อต่อไปนี้ได้แก่ 1. มีความดันโลหิตตั้งแต่ 130/85 ขึ้นไป หรือทานยาควบคุมความดันโลหิตอยู่ 2. มีระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารตั้งแต่ 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป 3. มีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงกว่า 150…
-
เลี้ยงเด็กอย่างไร ไม่อ้วนตั้งแต่เล็ก
เลี้ยงเด็กอย่างไร ไม่อ้วนตั้งแต่เล็ก เด็กไทยในปัจจุบันนี้มีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์อ้วนลงพุงกันมากขึ้น ยิ่งโดยเฉพาะเด็กชายจะอ้วนมากกว่าเด็กหญิงถึงสองเท่า เด็กในเมืองใหญ่ที่มักทานอาหารที่มีไขมันสูงก็มักจะอ้วนกว่าเด็กที่อยู่ตามชนบทด้วย โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ นี่เอง อีกทั้งเมื่อเด็กอ้วนมากแล้วโตมาก็ยังคงเป็นผู้ใหญ่อ้วนอยู่ดี และเด็กทีมักมีกิจกรรมชอบนั่งเฉย ๆ เช่น เล่มเกมส์คอมพิวเตอร์หรือดูทีวีทั้งวันจะกินขนม ของกินเล่นต่าง ๆ มากกว่าเด็กที่ได้มีการเคลื่อนไหวร่างกาย ที่กินน้อยกว่า การเคี่ยวเข็ญให้ลูกลดน้ำหนักนั้นเป็นเรื่องที่ยากแน่นอน ดังนั้นผู้ปกครอง คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายคนมีเทคนิคล่อหลอก เพื่อเปลี่ยนนิสัยการกิน และพากันออกกำลังกายให้มากขึ้นตั้งแต่วัยเด็กเพื่อป้องกันเด็กอ้วนและโตมาเป็นผู้ใหญ่อ้วน ที่จะมีปัญหาสุขภาพตามมาอีกมากมาย ด้วยการดูแลเด็กดังต่อไปนี้ค่ะ 1. ให้เด็กทานอาหารเป็นมื้อ แบ่ง 3 มื้อให้ชัดเจน โดยให้มีสารอาหารที่ครบถ้วนทั้งห้าหมู่ มีผักมีผลไม้ด้วย และช่วยให้ไม่กินขนมจุบจิบหรือกินไม่เป็นเวล่ำเวลา 2. ปรับเปลี่ยนเมนูให้หลากหลาย และน่ากิน แต่ยังคงสัดส่วนอาหารที่พอดีกับร่างกายของเด็ก หมุนเวียนเปลี่ยนกันไปเรื่อย ๆ จะได้ไม่เบื่อง่าย ไม่ว่าจะเป็น ไข่ เลือด ตับ เต้าหู้ เนื้อปลา อาหารทะเล โดยให้เด็กกินผักและผลไม้ทุกมื้ออาหารด้วยค่ะ 3. อาหารว่างหรือขนมไม่ควรมีแป้ง น้ำตาล หรือไขมันสูง เช่น มันฝรั่งทอด โดนัท เบเกอรี่ กล้วยบวชชี…