Tag: โรคออทิสติก
-
เด็กเลี้ยงง่าย.. อย่าเพิ่งดีใจ อาจมีอาการออทิสติกได้
เด็กเลี้ยงง่าย.. อย่าเพิ่งดีใจ อาจมีอาการออทิสติกได้ เด็กที่มีอาการออทิสติก มีแนวโน้มเพื่อมากขึ้นทุกประเทศทั่วโลก เป็นอาการที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดแต่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมสมองจึงทำงานผิดปกติ การจะสังเกตว่าลูกเป็นออทิสติกหรือไม่นั้น ให้ลองสังเกตดูตั้งแต่ลูกยังเล็ก ๆ .. – เด็กไม่ค่อยสบตา เรียกชื่อไม่หัน – ดวงหน้าเฉยเมย เหมือนไร้อารมณ์ ไม่ยิ้มไม่หัวเราะ ไม่ชอบให้อุ้ม – นิ่งเฉยไม่เรียกร้อยความสนใจ ไม่ส่งเสียง เลี้ยงง่าย – พูดได้เป็นคำ แต่เป็นคำที่ไม่มีความหมาย – ไม่สนใจของเล่นหรือคนรอบข้าง แต่หากติดของชิ้นไหนแล้วไปดึงออกไม่ได้ จะร้องมาก – ชี้นิ้วบอกไม่เป็น บอกไม่เป็น มักทำเอง หรือจูงมือพ่อแม่ไปหยิบให้โดยไม่ส่งเสียง – ชอบมองดูสิ่งที่มีประกายวูบวาบ เช่น เงาวูบวาบ แสงไฟ ของที่หมุนได้ – ชอบเล่นมือ สะบัดมือ หมุนหัว โยกตัว เขย่งเท้าเดิน – ไม่เข้าใจอารมณ์หรือสีหน้าของผู้อื่น เล่นกับเด็กวัยเดียวกันไม่เป็น – มักชอบเล่นกับเด็กที่โตกว่าหรือผู้ใหญ่ – ไม่เล่นของเล่นเด็ก แต่ไปเล่นของที่ไม่ควรเล่น จินตนาการไม่เป็น…
-
ภาวะออทิสซึมในเด็ก
ภาวะออทิสซึมในเด็ก ภาวะออทิสซึม หรือ Autism นั้น เป็นโรคหรือกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นเนื่องจากสมองผิดปกติในเด็ก เด็กเหล่านี้มักจะอยู่แต่ในโลกของตนเอง ไม่สนใจสังคมรอบข้าง เรามักเรียกเด็กที่เป็นโรคออทิสซึมว่า เด็กออทิสติก ซึ่งจะมีความผิดปกติที่แสดงออกมาสามด้านได้แก่ – บกพร่องในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการไม่แสดงสีหน้าท่าทางในการสื่อสารหรือตอบรับผู้อื่น ไม่สบตา เรียกไม่หัน – บกพร่องในทางการสื่อสาร เช่น ไม่พูด พูดช้า หรือไม่พยายามสื่อสาร พูดตาม หรือพูดสลับคำ – พฤติกรรมที่ผิดปกติ เช่น การหมกมุ่นกับอะไร ๆ นาน ๆ หรือทำแต่เรื่องซ้ำ ๆ ยึดติดกับขั้นตอนในการทำกิจวัตรประจำวัน เป็นต้น สาเหตุของโรคออทิสซึ่มนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากหลายปัจจัยรวมกันทั้งเรื่องของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ทำให้สมองผิดปกติทั้งโครงสร้างการทำงาน มักเกิดขึ้นตั้งแต่เป็นตัวอ่อนในครรภ์ของแม่ เด็กบางคนอาจแสดงอาการให้เห็นตั้งแต่แรกเกิด แต่บางคนก็จะมีพัฒนาการในระยะแรกเหมือนเด็กทั่วไป การดูแลเด็กออทิสติกในประเทศไทยนั้น จะเน้นฝึกความสามารถของเด็กเป็นส่วน ๆ ไป โดยให้เด็กทำในสิ่งที่คิดว่าควรทำได้ตามวัย เช่น เรียนรู้เรื่องสีสัน เรื่องรูปทรง การใช้คำพูด การให้เด็กทำซ้ำ ๆ บ่อย ๆ จนเด็กท่องจำได้…
-
วิธีสังเกตลูกว่าเป็น…ออทิสติก
วิธีสังเกตลูกว่าเป็น…ออทิสติก ปัจจุบันนี้มีคนไทยเป็นออทิสติกมากกว่าสองแสนคน หรือโดยเฉลี่ย 1 คนต่อประชากร 200 คน โรคออทิสติกนี้เป็นกลุ่มอาการที่มีความผิดปกติในด้านของสังคม การสื่อสารและภาษา ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด แต่คาดว่าเกิดได้จากปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรม การติดเชื้อไวรัสระหว่างตั้งครรภ์ การติดเชื้อขณะคลอด หรือความไม่สมดุลในสารเคมีบางอย่างในร่างกาย ซึ่งการประเมินว่าเด็กจะเป็นออทิสติกหรือไม่ก็สามารถเฝ้าสังเกตได้จากพัฒนาการของเด็กที่บันทึกไว้ว่าเป็นไปตามวัยหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็น การโต้ตอบ การยิ้ม หัวเราะ สนใจฟัง ซึ่งเด็กที่เป็นออทิสติกนั้น จะมีพัฒนาการที่ช้ากว่าปกติเมื่อเทียบกับเด็กทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปีแรกที่อาจบ่งชี้ว่าเป็นออทิสติกได้ เช่น เด็กดูดนมได้ไม่ดี เด็กนิ่งเงียบ นิ่งเฉย ไม่ชอบให้ใครอุ้ม หรือกอดรัด หรือติดคนจนมากเกินไปก็ได้ ไม่สบตาคน ไร้อารมณ์ เฉยเมยเมื่อถูกชักชวนให้เล่น ไม่อ้อแอ้ ชี้นิ้วไม่เป็น เรียกคนอื่นมาเล่นไม่เป็น ผูกพันกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป เช่น ของเล่น ตุ๊กตา ผ้าอ้อม หมอนข้าง หรืออะไรก็ได้ หากไปดึงออกจะร้องอยู่นานมาก ผู้เลี้ยงดูเด็กจะสังเกตเห็นได้ว่าเด็กไม่เหมือนคนอื่น แต่หากเป็นเด็กที่อายุเกินขวบไปแล้ว จะเห็นว่าอาการก็คือเด็กจะไม่สนใจคนอื่น ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ชอบแยกตัวเล่นกับคนอื่นไม่เป็น ถ้าไม่กลัวใครมากเกินไปก็จะไม่กลัวใครเอาเสียเลย ชี้นิ้วหรือบอกความต้องการของตัวเองไม่เป็น สมมติไม่เป็น เช่น เล่นตุ๊กตาก็ไม่รู้จะจับตุ๊กตาแบบไหน…
-
วิธีการสังเกตว่าเด็กเป็นออทิสติกหรือไม่ ?
วิธีการสังเกตว่าเด็กเป็นออทิสติกหรือไม่ ? อาการออทิสติกนั้น เป็นกลุ่มอาการที่แสดงความผิดปกติของเด็กในด้านพัฒนาการ โดยอาการที่มักพบได้ในเด็กออทิสติกก็คือ มักชอบอยู่คนเดียว ไม่พูดหรือสื่อสารทางภาษากับคนอื่น มีปัญหาทางด้านพฤติกรรม ซึ่งการจะสังเกตว่าเด็กคนไหนมีออทิสติกนั้น ให้สังเกตตั้งแต่ตอนที่เขายังเล็ก ๆ โดยดูตามขั้นตอนของพัฒนาการเด็กดังต่อไปนี้ – เด็กดูดนมได้ไม่ดี ไม่ชอบให้ใครกอดรัด ไม่ชอบให้ใครอุ้ม – เงียบเฉย ไม่สนใจใคร หรือทำอะไรให้มาก ๆ ก็ไม่ชอบ บางรายก็ติดคนมากผิดปกติ – ไม่ตอบสนองต่อการแสดงท่าทางหรือส่งเสียงเรียก – ไม่สบตา ไม่สนองตอบทางด้านอารมณ์ ไม่เลียนแบบผู้ใหญ่ – ไม่ส่งเสียงร้อง ไม่อ้อแอ้ – ชี้นิ้วไม่เป็น เรียกคนอื่นให้มาเล่นด้วยไม่เป็น และมีท่าทีเฉยเมย ไร้อารมณ์เมื่อถูกชวนให้เล่น – แสดงอาการสุดโต่ง ไม่ดีใจให้เห็นหรือไม่ทักทายคนที่เด็กชอบ หรือหากจะแสดงออกก็มักจะมากเกินไป – ยึดติดกับสิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น ตุ๊กตา หมอนข้าง ผ้าอ้อม ใบไม้ เชือกฟาง ของเล่น ฯลฯ ถ้าไปดึงออกจะร้องนานมาก – ผู้เลี้ยงดูจะสังเกตเห็นได้เองว่าเด็กแตกต่างหรือไม่เหมือนคนอื่น หากสังเกตพบว่าเด็กของเราน่าจะเป็นเด็กออทิสติก ควรพาไปตรวจ…