Tag: โรคหัวใจขาดเลือด
-
ผู้หญิงวัยทอง อ้วนง่ายขึ้นนะจ๊ะ
ผู้หญิงวัยทอง อ้วนง่ายขึ้นนะจ๊ะ ในผู้หญิงวัยทองเมื่อฮอร์โมนหมดไปแล้วจะมีอาการหงุดหงิดได้ง่าย อารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับและใจสั่น ซึ่งอาการก็ไม่ได้รุนแรงมากนัก แต่สิ่งที่รุนแรงกว่าคือโรคเรื้อรังที่เกิดจากวัยหมดประจำเดือน เกิดจากความชราภาพของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายตามกระบวนการธรรมชาติ ซึ่งฮอร์โมนก็เป็นส่วนหนึ่งด้วย หากร่างกายมีภาวะอ้วนน้ำหนักเกิน ความเสี่ยงก็จะยิ่งสูงขึ้นไปอีกที่จะเป็นโรคความดันโลหิต เบาหวาน ไขมันเลือด โรคมะเร็ง โรคหัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาตได้ง่ายมากยิ่งขึ้นด้วย ในช่วงวัยหมดประจำเดือนจึงต้องเป็นช่วงเวลาที่ควบคุมการเพิ่มของน้ำหนักอย่างเข้มงวด เพราะเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุของโรคร้ายแรงที่อาจคร่าชีวิตก่อนวัยอันควรได้ ในวัยอื่นนั้น ปัจจัยที่ทำให้ร่างกายมีความอ้วนน้ำหนักเกินขึ้นอยู่กับการทานอาหารเป็นสำคัญ แต่ในวัยหมดประจำเดือน บางครั้งแม้จะควบคุมอาหารอย่างเต็มที่แล้วก็ยังไม่สามารถควบคุมน้ำหนักไว้ได้ ซึ่งทางที่ดีที่สุดก็คือควรควบคุมไว้ตั้งแต่วัยก่อนหมดประจำเดือน ในสังคมคนเมืองปัจจุบันนี้อาหารการกินกลับเริ่มแย่ลง คนเรากินอาหารฟาสต์ฟู้ดที่มีไขมันสูง ไม่มีคุณค่าทางอาหารมากขึ้น ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนได้ง่าย จริงอยู่ว่าเราอาจไม่สามารถทำอาหารทานเองได้ทุกมื้อ แต่เป็นไปได้ก็ควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ มีไขมันต่ำ มีรสหวานน้อย ๆ เค็มน้อย ๆ แล้วทานผักผลไม้ให้มากขึ้น ก็จะช่วยลดความเสี่ยงได้ตั้งแต่วัยก่อนหมดประจำเดือน ในส่วนของการออกกำลังกาย อย่างน้อยที่สุดควรให้ร่างกายได้ออกกำลังกายบ้าง แต่ละวันให้มีเวลาเดินเล่นอย่างน้อย 30-60 นาที จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นมาก ควรเดินในเวลาที่มีแดดอ่อน ๆ อย่างช่วงเช้า ช่วงเย็น การตากแดดอ่อน ๆ จะช่วยให้ผิวหนังได้รับวิตามินดี ทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้อีกด้วย เพราะเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันรุดหน้าไปมาก…
-
ลดเค็มลงครึ่งหนึ่งจะได้ไหม?
ลดเค็มลงครึ่งหนึ่งจะได้ไหม? ในปัจจุบันนี้คนไทยเรามีสติถิการเป็นโรคความดันโลหิตสูงถึงกว่า 12 ล้านคน เป็นโรคไต 8 ล้านคน โรคหัวใจขาดเลือด 7.5 แสนคน รวมถึงโรคหัวใจขาดเลือดหรืออัมพฤกษ์ อัมพาตที่มีสาเหตุมาจากการกินอาหารที่มีรสเค็มหรือมีโซเดียมสูงมาก ทำร้ายร่างกายได้ในระยะยาว ซึ่งจากการสำรวจพบว่าคนไทยบริโภคเกลือหรือโซเดียมสูงเกินกว่าที่แนะนำต่อวันถึงสองเท่าตัว หรือประมาณ 5,000 มิลลิกรัมต่อวันเลยทีเดียว ซึ่งมักอยู่ในรูปของเครื่องปรุงรสต่ง ๆ ไม่ว่าจะเป็น น้ำปลา ซีอีว ผงชูรส เกลือ กะปิ เครื่องแกง น้ำปลาร้า ผงฟู ฯลฯ อาหารที่เป็นนิยมและมีโซเดียมอยู่มากมักไม่ใช่อาหารสดแต่จะเป็นอาหารปรุงสำเร็จ หรืออาหารแปรรูป ไมว่าจะเป็น อาหารกระป๋อง อาหารดองเค็ม ตากแห้ง แช่อิ่ม บะหมี่วอง กุนเชียง ลูกชิ้น ไข่เค็ม ขนมถุง ขนมปัง ฯลฯ แม้แต่กับข้าวสำเร็จที่ขายก็ยังมีโซเดียมสูงมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นแกงไตปลา ไข่พะโล้ คั่วกลิ้ง แม้แต่ในอาหารจานเดียวอย่าง ข้าวหน้าเป็ด ข้าวขาหมู ข้าวคลุกกะปิ ข้าวมันไก่ ก็มีโซเดียมต่อจานตั้งแต่ 1,000-2,000 มิลลิกรัมเลยนะคะ…
-
ดูแลหัวใจของคุณ…ให้ดีนะ
ดูแลหัวใจของคุณ…ให้ดีนะ โรคที่เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งก็คือโรคหัวใจนั่นเองค่ะ แล้วก็ยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วย ซึ่งในประเทศไทยนั้นมีคนตายจากกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด ทั้งโรคหัวใจขาดเลือด หัวใจล้มเหลว หลอดเลือดสมองและความดันโลหิตสูง ฯลฯ และแต่ละปียังเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างน่ากลัวอีกด้วยค่ะ ซึ่งสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้น เกิดจากการที่ผนังด้านในของหลอดเลือดมีไขมันมาพอกตัวจนหนาขึ้น หลอดเลือดจึงขาดความยืดหยุ่น แข็งตัวขึ้น การไหลเวียนของเลือดจึงลดลง จึงทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง รวมไปถึงการสูบบุหรี่และสูดควันจากผู้อื่น การดื่มเหล้าและมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานก็เป็นสาเหตุด้วยเช่นกัน และเพื่อหัวใจที่จะมีสุขภาพแข็งแรงไปนาน ๆ เราจึงควรปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้ – ทานโปรตีนที่ไขมันต่ำ ทั้งเนื้อปลาและถั่ว ทานปลาและผลไม้รสไม่หวานให้บ่อย ๆ – อย่าทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและอาหารสำเร็จรูปที่มีส่วนผสมของโซเดียม(เกลือ) มากนัก – ไม่ควรปรุงอาหารมากเกินไปนัก ทานแต่รสที่พอเหมาะ ไม่ควรทานหวาน มัน เค็ม เผ็ดมากเกิน – เลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม น้ำหวาน เครื่องดื่มชูกำลังทั้งหลาย – ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน และกินให้น้อยกว่าพลังงานที่ใช้หากมีน้ำหนักตัวเกิน – คุมรอบพุงให้ดี เพศชายไม่เกิน 90 เซนติเมตรและเพศหญิงไม่เกิน 80 เซนติเมตร – หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอวันละครึ่งชั่วโมง อาทิตย์ละ 3-4…
-
โรคหัวใจขาดเลือด มีอาการอย่างไรบ้าง?
โรคหัวใจขาดเลือด มีอาการอย่างไรบ้าง? โรคหัวใจขาดเลือด นั้น คืออาการที่หัวใจไม่ได้รับโลหิตที่มีออกซิเจนอย่างพอเพียง ก็จะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดที่เรียกว่า หัวใจขาดเลือด (angina) ซึ่งมีสาเหตุมาจากการกระตุกในหลอดเลือดหัวใจ อาการดังกล่าวเป็นการเตือนว่าหัวใจต้องการออกซิเจนมากขึ้นนั่นเอง ซึ่งอาการที่แสดงถึงโรคหัวใจขาดเลือดของแต่ละคนจะแตกต่างกันไป เช่น – เจ็บ ปวดหรือรู้สึกไม่สบาย – แน่นท้อง – เป็นตะคริว – ชา – หายใจลำบาก จุกเสียด – แน่นหน้าอก – ร้อน – เหงื่อแตก – วิงเวียนศีรษะ อาการดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในบริเวณหน้าอก ไหล่ หลังส่วนบน แขน คอ ในลำคอ หรือกราม เป็นต้น และอาจเกิดขึ้นได้ในช่วงเวลาที่รู้สึกเครียด ขณะที่ใช้แรงมากในการทำกิจกรรมหรือหลังอาหารมื้อหนัก ๆ อย่าละเลยโรคหัวใจขาดเลือด การพักผ่อนและการรักษาด้วยยา เป็นวิธีที่ช่วยลดอาการหัวใจขาดเลือดอย่างได้ผล