Tag: โรคหอบหืด

  • แนวทางสำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืดให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข

    แนวทางสำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืดให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข

    แนวทางสำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืดให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข – ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ – รักษาสุขภาพจิตให้ดี อย่าเครียดมากเกินไปนักกับอาการของโรคที่เป็นอยู่ – อยู่ให้ห่างจากผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ เพราะอาจติดเชื้อได้ – ดูแลสุขภาพของช่องปากและฟันให้ดี เพราะเชื้อเหล่านี้จะซ้ำเติมในเวลาที่เกิดอาการหอบได้ – หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการหอบหืด โดยการสังเกตตัวเองว่าสัมผัสกับอะไรหรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมแบบไหน ทานอาหารอะไร แล้วมีอาการ เมื่อทราบแล้วก็ควรหลีกเลี่ยงให้ห่าง – ทำความสะอาดบ้าน ที่ทำงาน ทุกห้อง รวมทั้งเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ พัดลม แอร์ ด้วยการดูดฝุ่นอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งแล้วถูด้วยผ้าชุบน้ำหมาด ๆ ไม่ควรกวาดหรือปัดฝุ่น หากทำความสะอาดเองควรใช้ผ้าปิดปากและจมูกป้องกันฝุ่นด้วย – เลือกใช้เตียงที่ไม่มีขาเพื่อจะได้ไม่มีที่สะสมฝุ่นใต้เตียง – ทำความสะอาด หมอน ที่นอน ผ้าห่ม มุ้ง ผ้าคลุมเตียง อย่างน้อยเดือนละสองครั้งด้วยการซักในน้ำร้อนและตากแดดจัด ๆ – เลือกใช้หมอน หมอนข้าง ที่นอนที่ทำจากใยสังเคราะห์หรือฟองน้ำ ไม่ควรใช้ขนสัตว์ชนิดต่าง ๆ หรือใช้ผ้าคลุมที่นอน ปลอกหมนที่ทำจากผ้าชนิดพิเศษที่ป้องกันการเล็ดลอดของตัวไรฝุ่น และสารอื่น ๆด้วย…

  • ผู้ป่วยหอบหืดควรหลีกเลี่ยงสาเหตุกระตุ้นอาการดังนี้

    ผู้ป่วยหอบหืดควรหลีกเลี่ยงสาเหตุกระตุ้นอาการดังนี้

    ผู้ป่วยหอบหืดควรหลีกเลี่ยงสาเหตุกระตุ้นอาการดังนี้ 1. สารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ละอองหญ้า วัชพืช ละอองเกสรดอกไม้ ไรฝุ่นตามที่นอน เฟอร์นิเจอร์ หรือของเล่นตุ๊กตาที่ทำจากนุ่นหรือมีขน เชื้อรา แมลงสาบรวมไปถึงสัตว์เลี้ยงในบ้าน อาหารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นนมวัว ไข่ กุ้ง หอย ปลา ปู งา ถั่วเหลือง สีผสมอาหาร สารกันบูด ฯลฯ 2. สารเคมีและควันระคายเคืองต่าง ๆ เช่น ควันบุหรี่ ท่อไอเสีย ควันธูป ฝุ่นละออง สเปรย์ ยาฆ่าแมลง อากาศเปลี่ยนแปลงฉับพลัน หรืออากาศเย็นๆ กลิ่นฉุนต่าง ๆ ฯลฯ 3. อย่าปล่อยให้ตัวเองป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะเป็น หวัด ไข้หวัด ทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ 4. หากต้องการออกกำลังกาย ควรสูดพ่นยาขยายหลอดลมก่อนสักครึ่งชั่วโมงป้องกันอาการกำเริบ 5. หลีกเลี่ยงความเครียดต่าง ๆ 6.…

  • คุณเป็นโรคหอบหืดหรือเปล่า?

    คุณเป็นโรคหอบหืดหรือเปล่า?

    คุณเป็นโรคหอบหืดหรือเปล่า? โรคหอบหืด เป็นการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ทำให้หลอดลมเกินการหดเกร็ง มีอาการบวมของเยื่อบุหลอดลม มีมูกหลั่งในหลอดลมมาก ทำให้หลอดลมตีบแคบลง ส่งผลให้หลอดลมของผู้ป่วยตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ ได้ไวกว่าปกติ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคหืดหรือยัง ก็ให้ลองสังเกตตัวเองดูนะคะว่ามีอาการดังต่อไปนี้บ้างหรือเปล่า – หายใจมีเสียงวี๊ดในอก ฟังคล้ายเสียงนกหวีด – ไอมาก และเป็นมากในช่วงกลางคืน – แน่นหน้าอก หายใจลำบาก และจะมีอาการแน่นหน้าอกเมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นได้แก่ ขนสัตว์ต่าง ๆ, กลิ่นสเปรย์ หรือน้ำหอม, ละอองเกสรดอกไม้, เชื้อรา, ไรฝุ่น, ควันบุหรี่, อากาศที่เปลี่ยนแปลงไป, ยาบางชนิดเช่น แอสไพริน, มีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว, ออกกำลังกายหนัก, เป็นหวัดเกินกว่า 10 วัน หากคุณมีอาการดังเกล่าวแม้เพียงข้อใดข้อหนึ่ง ให้รีบปรึกษาแพทย์โดยด่วนเพราะอาจมีเกณฑ์ว่าคุณจะเป็นโรคหืดได้ ในส่วนของการรักษาโรคนี้ในปัจจุบันนั้น โดยหลักจะให้ยาที่ไปลดการอักเสบของหลอดลม เมื่อหลอดลมหายอักเสบก็จะมีอาการหอบหืดน้อยลงไปด้วย ยาลดการอักเสบที่สำคัญก็คือ ยาพ่นสเตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบของหลอดลม มีความปลอดภัยเพื่อฉีดพ่นในปริมาณที่ต่ำมาก จึงไม่เป็นอันตรายต่ออวัยวะอื่น ๆ และยังมียาฉีดเพื่อบรรเทาอาการ แต่จะใช้เมื่อมีอาการเท่านั้น

  • กีฬาที่เหมาะสำหรับคนเป็นโรคหอบหืด

    กีฬาที่เหมาะสำหรับคนเป็นโรคหอบหืด

    กีฬาที่เหมาะสำหรับคนเป็นโรคหอบหืด ผู้ป่วยด้วยโรคหอบหืด หากเป็นเรื้อรังแล้วคงกังวลกับการออกกำลังกายอยู่เหมือนกัน เพราะบางรายหลังจากออกกำลังกายไปได้เพียงไม่กี่นาทีก็มีอาการแน่นหน้าอกจนต้องหยุดพัก หรืออาการหนักจนต้องหามส่งโรงพยาบาลกันเลยทีเดียว จึงทำให้ผู้ป่วยโรคนี้ไม่กล้าลงเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายเลย สาเหตุที่ทำให้อาการหอบหืดกำเริบขึ้นมาขณะออกกำลังกายนั้นก็เป็นเพราะว่า เกิดอาการหลอดลมเกร็ง จากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและความชื้นในอากาศอย่างกระทันหัน เมื่อสูดเข้าไปสู่ปอดอย่างรวดเร็วและลึก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่มีอาการเย็นและแห้ง โดยปกติเมื่อสูดอากาศเข้าทางจมูก โพรงจมูกจะช่วยเพิ่มความชื้นและปรับอุณหภูมิให้อุ่นก่อนเข้าสู่ปอด แต่หากเป็นเวลาออกกำลังกาย ร่างกายจะต้องการอากาศมากขึ้นเราจึงหายใจทางปาก ทำให้ปอดได้รับอากาศที่เย็นและแห้งกว่าปกติ อาการหอบหืดจึงกำเริบขึ้นมาได้ อาการหอบหืดกำเริบนี้มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ออกกำลังกายแบบเคลื่อนไหวติดต่อกันนาน ๆ เช่น วิ่ง ฟุตบอล เทนนิส บาสเกตบอล กีฬาที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืดมาที่สุดเห็นจะเป็น การว่ายน้ำ เพราะบริเวณสระว่ายน้ำมีอุณหภูมิและความชื้นที่ค่อนข้างคงที่ การหายใจขณะว่ายน้ำมีจังหวะที่ต้องกลั้นหายใจจึงช่วยให้สูญเสียความร้อนและความชื้นน้อยลง ลักษณะการออกกำลังกายก็เป็นแนวราบ ทำให้กล้ามเนื้อปอดได้เคลื่อนไหวจากส่วนท้ายขึ้นมาส่วนบน ไล่อากาศหรือสิ่งกีดขวางการหายใจออกได้ง่ายกว่าท่ายืน อีกทั้งการเคลื่อนไหวร่างกายส่วนบนยังเป็นการพัฒนาการหายใจได้ด้วย แต่สิ่งที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืดก็คือ ควรวอร์มอัพร่างกายก่อนเล่นกีฬา ไม่ควรเล่นกีฬาอย่างหักโหม ไม่ควรออกกำลังกายในช่วงที่อากาศเย็นจัดและแห้ง แต่หากจำเป็นควนสูดยาขยายหลอดลมก่อนออกกำลังกาย 10-15 นาที และหากมีอาการกำเริบต้องหยุดเล่นและรีบสูดยาเข้าช่วยโดยเร็วค่ะ  

  • อันตรายในห้องน้ำที่ทำให้คุณป่วยซ้ำ ๆ ป่วยบ่อย ๆ

    อันตรายในห้องน้ำที่ทำให้คุณป่วยซ้ำ ๆ ป่วยบ่อย ๆ

    อันตรายในห้องน้ำที่ทำให้คุณป่วยซ้ำ ๆ ป่วยบ่อย ๆ ใครที่มีอาการเจ็บป่วยบ่อย ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ บางทีลองมาสังเกตห้องน้ำของคุณบ้างนะคะ ว่ามีเชื้อโรคร้ายแฝงอยู่บ้างหรือเปล่า ลองมาเช็คดูไปพร้อม ๆ กันนะคะ 1. ยาแนวในห้องน้ำทำให้เกิดโรคภูมิแพ้และระบบทางเดินหายใจ หากสูดดมในปริมาณมาก อาจทำให้ระคายเคืองผิวหนัง ดังนั้นหลังจากการก่อสร้างบ้านหรือต่อเติมซ่อมแซมห้องน้ำ ควรเปิดประตู หรือพัดลมระบายอาการเพื่อระบายความเข้มข้นของสารเคมีจากยาแนวเหล่านี้ออกไปให้มากที่สุด 2. ความชื้นในห้องน้ำทำให้คุณป่วยได้ ไม่ควรปล่อยให้ห้องน้ำชื้น ควรเปิดพัดลมดูดอากาศและใช้ม๊อบถูกพื้น เช็คห้องน้ำให้หมาดหรือแห้งได้ก็จะยิ่งดี ป้องกันการก่อตัวของเชื้อราด้วย 3. ติดตั้งพัดลมดูดอากาศผิดตำแหน่ง เช่นติดไว้บนเพดาน ทำให้ความชื้นไม่ถูกระบายออกไป ทางที่ดีควรติดพัดลมระบายอากาศที่สามารถระบายอากาศสู่ภายนอกได้จะดีที่สุด 4. ใช้น้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์รุนแรง ยิ่งโดยเฉพาะที่มีส่วนผสมของแอมโมเนียและคลอรีน เพราะสารทั้งสองชนิดทำให้เกิดอาการระคายเคืองผิวหนัง ปอด และทำให้เกิดโรคหอบหืดได้ด้วย 5. ก๊อกน้ำไม่สะอาดหรือไม่ยอมทำความสะอาด แพร่เชื้อโรคได้มากที่สุดนะคะ เพราะก็อกน้ำเป็นส่วนที่ทุกคนในบ้านจับต้องมากที่สุดแต่มักได้รับการทำความสะอาดน้อยที่สุดด้วย 6. ม่านห้องน้ำแบบไวนิล มีสารที่ก่ออันตรายและสารก่อมะเร็งได้ ควรเปลี่ยนมาเป็นแบบโพลีเสเตอร์หรือไนลอนดีกว่า 7. น้ำยาทำความสะอาดสำเร็จรูปที่มีความสามารถในการกัดเซาะได้ดีนั้น จะทำความรุนแรงต่อผิวและกลิ่นฉุน ๆ ยังระคายเคืองทางเดินหายใจได้อีก ลองเปลี่ยนมาใช้เบกกิ้งโซดาซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์เบเกอรี่ กับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ทำความสะอาดห้องน้ำดีกว่า นำสองอย่างนี้มาผสมกันแล้วป้ายไว้บนสิ่งสกปรกประมาณครึ่งชั่วโมงแล้วขัดล้างตามปกติ จะปลอดภัยต่อสุขภาพของคุณมากกว่าค่ะ 8. ควรกรองคลอรีนออกจากน้ำด้วย…

  • อาการ โรคหืด และภูมิแพ้

    อาการ โรคหืด และภูมิแพ้

    อาการ โรคหืด และภูมิแพ้ ในปัจจุบันคนไทยเราป่วยเป็นโรคภูมิแพ้กันมากขึ้น กว่าครึ่งนั้นจะเป็นโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ มีผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคหอบหืดกว่าร้อยละ 60-80 จะเป็นโรคภูมิแพ้แฝงอยู่ด้วย ในทางตรงข้ามผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ก็มีโอกาสเป็นโรคหอบหืดมากกว่าคนทั่วไปได้ถึงสามเท่า ความรุนแรงของโรคหืดนี้จะเกิดจากสิ่งต่าง ๆ ได้มากมาย โดยเฉพาะกับอาหาร ผู้ป่วยโรคหอบหืดมีโอกาสแพ้อาหารได้มากกว่าคนปกติถึงร้อยละ 52 ผู้ที่มีปฏิกิริยารุนแรงนั้นจะมีอาการหน้าบวม คอบวม หลอดลมหดตัว หายใจไม่ออก ความดันโลหิตต่ำ หรือช็อกจนเสียชีวิตได้ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งภายใน 2-3 นาทีจนถึง 2-3 ชั่วโมงหลังกินอาหารเข้าไป ซึ่งไม่สามารถระบุได้ว่ากินอะไรเข้าไปแล้วแพ้ได้ขนาดนั้นด้วย แต่อย่างไรก็ดี ผู้ที่มีอาการรุนแรงขนาดนั้นจะมีอยู่เพียงร้อยละ 5 ของผู้ป่วยโรคหอบหืดทั้งหมด การเกิดปฏิกิริยาต่ออาหารที่แพ้นั้น บางคนแค่ได้กลิ่น หรือลิ้นแตะอาหารก็แพ้ได้แล้ว แต่ละคนอาจเกิดปฏิกิริยาต่ออาหารชนิดเดียวกันแต่ละครั้งไม่เหมือนกันก็ได้ อาหารที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ส่วนใหญ๋ได้แก่อาหารโปรตีน จำพวก นม ไข่ ถั่วต่าง ๆ หอย ปลา และอาหารที่ใส่สารผสม เช่น ซัลไฟท์ที่พบในผลไม้แห้ง ผักกาดแห้ง ผักดอง เครื่องเทศ ไวน์ เบียร์ น้ำมะนาว รวมไปถึงอาหารชนิดอื่น ๆ ที่ผสมสารกันบูด…

  • หลากหลายวิธีป้องกันตนเองจากโรคทางเดินหายใจ

    หลากหลายวิธีป้องกันตนเองจากโรคทางเดินหายใจ

    หลากหลายวิธีป้องกันตนเองจากโรคทางเดินหายใจ อาการโรคทางเดินหายใจมีหลายโรคค่ะ ไม่ว่าจะเป็น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ฯลฯ เราสามารถหลีกเลี่ยงโรคเหล่านี้ได้ด้วยการดูแลตนเองดังต่อไปนี้ 1. รักษาร่างกายให้อบอุ่นเสมอ ไม่ควรเล่นน้ำหรือแช่น้ำนาน ๆ สวมใส่เสื้อผ้าที่แห้งสนิท ไม่เปียกชื้อ หากเข้าหน้าหนาวควรสวมเสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่น 2. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยไข้หวัด หรือผู้ที่ป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ ปิดปากและจมูกด้วยกระดาษทิชชูหรือผ้าปิดปากหากต้องคลุกคลีหรือเข้าใจผู้เป็นโรคชนิดนี้อยู่ และไม่ควรใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกัน 3. ในช่วงที่มีโรคทางเดินหายใจระบาด ควรหมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์เช็ดมือ 4. ในเด็ก ผู้ที่มีโรคประจำตัวและผู้ที่อายุมากว่า 65 ปี รวมไปถึงหญิงตั้งครรภ์ เป็นโรคหัวใจ โรคหอบหืด ถุงลมโป่งพอง เอดส์ โรคอ้วน ควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ไว้ด้วย ในส่วนของการรักษาตัวเบื้องต้นหากติดเชื้อโรคทางเดินหายใจเช่นไข้หวัดมาแล้ว ก็คือควรอยู่ห่างจากการอยู่ในที่ชุมชน อย่าคลุกคลีกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดการแพร่เชื้อ แยกเตียงนอนกับลูกหรือสามีภรรรยา ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก หรือหน้ากากอนามัย ไม่ควรไอจามใส่ผู้อื่น ล้างมือให้สะอาดบ่อย ๆ ควรอาบน้ำอุ่น ๆ หรือเช็ดตัวแทน แล้วดื่มน้ำมาก ๆ กินแต่อาหารที่ย่อยง่าย ดื่มน้ำ…

  • ต้นเหตุของโรคหืดในเด็ก

    ต้นเหตุของโรคหืดในเด็ก

    ต้นเหตุของ…โรคหืดในเด็ก โรคหืด เป็นโรคที่สร้างความทรมานทั้งตัวเด็กเอง และผู้ปกครองที่ดูแล เพราะเป็นโรคที่พยากรณ์ได้ยาก แค่กวาดบ้านก็อาจทำให้ลูกเป็นหอบได้แล้ว พออุ้มไปโรงพยาบาลก็พ่นยาหรือกินยาแล้วก็หาย บางวันนอนเล่นตุ๊กตาสะอาด ๆ อยู่ดี ๆ ก็จับหืดอีก ฯลฯ ซึ่งพ่อแม่ส่วนมากไม่รู้ว่าลูกเป็นหืดเพราะอะไรกันแน่ ความจริงแล้วโรคหืดนี้รักษาไม่หายแต่ป้องกันได้ โดยการควบคุมโรคอาจจะใช้เวลาหกเดือนถึง 1-2-3 ปีโดยไม่มีอาการ ปัจจุบันนี้มีเด็กป่วยเป็นโรคหืดมากขึ้น และหอบจนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลมากขึ้นทุกวัน โรคหืดนี้ มีสาเหตุมาจากการเป็นคนที่มีภูมิไวเกิน โดยปกติคนเราเมื่อได้รับฝุ่น ละอองเกสรดอกไม้หรือไรฝุ่น ก็จะไม่มีอาการหอบแต่จะจามไล่สิ่งแปลกปลอมออกสัก 2-3 ครั้งก็หาย แต่คนเป็นคนโรคหืดจะมีปฏิกิริยาตอบสนองทันที กล้ามเนื้อเรียบของหลอดลมจะหดเกร็ง เยื่อบุจะบวมมีเสมหะที่เหนียวออกมามาก หายใจลำบากทำให้เหนื่อยมาก ถ้าเป็นมากอาจมีเสียงหายใจดังวี๊ดได้ บางรายทำให้หายใจไม่ออกเสียชีวิตได้เหมือนกัน การรักษาโรคหืดนั้น นอกจากยาที่สำคัญแล้ว การปฏิบัติตัวก็สำคัญด้วย ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ รักษาความสะอาดสม่ำเสมอ อย่าปล่อยให้บ้านมีฝุ่น รวมไปถึงที่นอน หมอนมุ้งก็ควรทำความสะอาดให้ปราศจากไรฝุ่น อย่าให้ใครในบ้านมาพ่นบุหรี่ใส่หน้าเด็กโดยตรง และผู้ปกครองควรทำความเข้าใจกับคนในบ้านถึงสาเหตุของโรคและช่วยกันป้องกันแก้ไข อย่าให้เด็กได้สัมผัสควันบุหรี่ หรือวิ่งเล่นจนเหนื่อยหอบมากเกินไป จะทำให้เด็กมีอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แม้แต่อาหารการกินก็ตาม ควรทานแต่อาหารที่สะอาดมีต้นกำเนิดที่สะอาด หากไม่สามารถหาผักปลอดสารพิษมาทานได้ ก้ควรปลูกผักผลไม้ทานเอง เพื่อหลีกเลี่ยงสารพิษ จะทำให้ร่างกายแข็งแรง โรคหืดไม่กำเริบ ร่างกายส่วนอื่น ๆ…

  • ทุกฝ่ายควรร่วมมือกันเอาชนะ…โรคหอบหืดในเด็ก

    ทุกฝ่ายควรร่วมมือกันเอาชนะ…โรคหอบหืดในเด็ก

    ทุกฝ่ายควรร่วมมือกันเอาชนะ…โรคหืดในเด็ก ปัจจุบันนี้มีเด็กป่วยด้วยโรคหอบหืดเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี บางรายก็กลับมาเข้าโรงพยาบาลซ้ำ ๆ ด้วยโรคเดิมบ่อย ๆ โรคหืดนี้หากจะให้เด็กมีอาการดีขึ้นได้ต้องอาศัยความร่วมมือกันในการดูแลทั้งแพทย์ พยาบาล ผู้ปกครองและตัวเด็กเองด้วย – ในส่วนของแพทย์ควรให้ผู้ป่วยทุกคนมีสมุดบันทึกประจำตัว จดบันทึกอาการทุกวัน เช่น วันนี้เป็นหวัดหรือไม่ หอบหรือไม่ หรือขาดโรงเรียนเพราะหอบหรือไม่ มาพ่นยาที่ห้องฉุกเฉอนกี่ครั้ง ซึ่งญาติหรือผู้ปกครองของผู้ป่วยต้องช่วยกรอกด้วย – แพทย์ควรซักประวัติผู้ป่วยให้แน่ชัด ไม่ว่าจะเป็น มีคนสูบบุหรี่ในบ้านหรือไม่ ชอบเล่นกับหมาแมว หมอนข้าง ตุ๊กตายัดนุ่นหรือเปล่า มีญาติสายตรงเป็นโรคอยู่แล้วหรือไม่ สิ่งแวดล้อมภายในบ้านเอื้อให้เกิดการกำเริบของโรคหรือเปล่า – ด้านของเภสัชกรควรสอนให้ผู้ป่วยหรือญาติพ่นยาให้ได้จริง ๆ บางคนเอาไปแล้วก็ไม่พ่น หรือพ่นไม่เป็น อีกทั้งในเด็กเล็กควรใช้กรวยที่เรียกว่า spacer ต่อเข้ากับกระบอก ก็จะช่วยได้มาก เภสัชกรควรให้ผู้ป่วยหรือผู้ปกครองพ่นให้ดูให้แน่ใจว่าพ่นเองเป็นจริง ๆ – ญาติ ๆ และผู้ปกครองควรจัดสิ่งแวดล้อมและดูแลเรื่องอาหาร และพฤติกรรมให้เหมาะสม จัดให้เด็กได้ออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ ไม่ให้เหนื่อยเกินไป, พาเด็กมาหาหมอตามนัด, ดูแลให้เด็กกินยาหรือพ่นยาอย่างต่อเนื่อง จัดบ้านให้ปราศจากฝุ่น ควันบุหรี่ อย่าให้อากาศเย็นเกินไป – ควรมีการจัดกลุ่มแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันระหว่างผู้ดูแลเด็กผู้ปกครอง เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์แนะนำกันเอง ซักถามและให้ความช่วยเหลือ เพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ป่วยและทีมรักษา…

  • การดูแลตนเองในที่ที่มีควันไฟ

    การดูแลตนเองในที่ที่มีควันไฟ

    การดูแลตนเองในที่ที่มีควันไฟ แม้ในเมืองจะไม่ค่อยเห็นการเผาขยะหรือเผาฟาง เผาหญ้าแห้งกันมากนัก แต่ตามต่างจังหวัดหรือชนบทยังมีการเผาไหม้ที่เกิดจากคนเผามากอยู่ดี การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์เหล่านี้ทำให้เกิดเขม่าควัน ฝุ่นละออง และก๊าซพิษต่าง ๆ ซึ่งสามารถเข้าสู่ปอดทำให้ปอดอักเสบ นานเข้าก็อาจทำให้เกิดโรคหอบหืด ถุงลมโป่งพองหรือมะเร็งปอดได้ นอกจากการเผาขยะแล้ว การหุงข้างด้วยฟืน การก่อไฟผิง การสูบบุหรี่หรือแม้กระทั่งการจุดธูป จึงเป็นการก่อมลพิษโดยตรงที่ส่งผลต่อสุขภาพของคนในครอบครัวและชุมชนใกล้เคียงอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง ทำให้ผู้ที่เข้าปะทะกับควันเหล่านี้มีอาการแสบตา ตาแดง น้ำตาไหล น้ำมูกไหล หากเป็นโรคทางเดินหายใจอยู่ก่อนแล้ว ก็อาจทำให้โรคกำเริบได้ กลุ่มที่เสี่ยงมากที่สุดก็เห็นจะเป็นกลุ่มเด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ ฯลฯ มีข้อแนะนำในการดูแลสุขภาพเมื่อประสบกับควันไฟอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ดังต่อไปนี้ค่ะ – ควรสวมหน้ากากอนามัยที่ทำจากผ้าฝ้ายหรือผ้าลินินหลาย ๆ ชั้น หากทำให้เปียกด้วยก็จะยิ่งช่วยกรองฝุ่นควันได้ดีขึ้น และเมื่อเริ่มอึดอัดหายใจไม่สะดวกหรือสกปรกแล้วก็ควรเปลี่ยนผืนใหม่ด้วย – ปิดประตูหน้าต่างไม่ให้ควันไฟลอยเข้าภายในบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย หากมีแอร์คอนดิชั่นหรือเครื่องกรองอากาศควรทำความสะอาดระบบกรองเป็นประจำ – ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงไว้เสมอ หากภายในครอบครัวมีกลุ่มผู้ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยควรสังเกตอาการ และหากมีสิ่งผิดปกติควรรับส่งโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาโดยเร็ว เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราทุกคนในสังคมควรร่วมมือกัน หลีกเลี่ยงการก่อควันไฟซึ่งทำให้เป็นอันตรายและก่อมลพิษ หากทำได้ทุกคนก็จะทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้นไปด้วยค่ะ