Tag: โรคหอบ
-
ทำความรู้จักกับโรคหอบจากอารมณ์
ทำความรู้จักกับโรคหอบจากอารมณ์ คุณผู้อ่านเคยเห็นไหมคะที่บางมีพอมีเรื่องขัดใจหรือมีความเครียดขึ้นมาก็มักมีอาการหอบใจหอบลึก มือเท้าเกร็งจีบเหมือนเป็นตะคริว บ้างก็แน่นิ่งไม่พูดจา บ้างก็เอะอะโวยวายเหมือนคนเสียสติ ทำให้ญาติพี่น้องคนรอบข้างตกใจได้ บ้านนอกบางชุมชนก็เข้าใจว่านี่คืออาการผีเข้า ไปทำพิธีไล่ผีกันวุ่นวาย ความจริงแล้วกลุ่มอาการเช่นนี้แพทย์จะเรียกว่า กลุ่มอาการระบายลมหายใจเกิน หรือ โรคหอบจากอารมณ์ นั่นเองค่ะ โรคหอบจากอารมณ์นี้เกี่ยวข้องกับปัญหาจิตใจและอารมณ์ไม่มีอันตรายใด ๆ แก้ไขและรักษาได้ พบได้ในคนทุกวัย โดยเฉลี่ยแล้วร้อยละ 6-10 ของประชากรจะเป็นโรคนี้ แต่จะพบในผู้หญิงได้มากกว่าผู้ชายถึงสองเท่า พ่อแม่หรือลูกของคนที่เป็นมักจะมีแนวโน้มเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป แต่ยังไม่พบว่าเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางพันธุกรรม โรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ใจ แต่มีแนวโน้มว่ามีการหายใจด้วยการกล้ามเนื้อหน้าอกหายใจแทนการใช้กระบังลมและกล้ามเนื้อหน้าท้อง การหายใจจึงไม่มีประสิทธิภาพ มักจะมีความไวต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ความเครียด ความเจ็บปวดรุนแรง ทำให้ผู้ป่วยหอบ หายใจลึก หายใจเร็ว ร่างกายขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาเกินไป เลือดกลายเป็นด่าง แคลเซียมในเลือดต่ำ เกิดความผิดปกติของร่างกายหลายระบบพร้อมๆ กัน ผู้ป่วยที่เป็นแบบเฉียบพลันจะมีอาการหายใจลึก หายใจถี่หรือทั้งสองอย่าง มักเกิดหลังจากมีเรื่องกระทบกระเทือนทางอารมณ์ บางรายเกิดจากการเจ็บปวดรุนแรง อาจปวดหัว เวียนหัว อ่อนเพลีย ใจสั่น เจ็บหน้าอก แน่นอึดอัดในหน้าอก ชารอบปาก ชาปลายมือปลายเท้า มีลมในท้อง ท้องอืดเฟ้อ เอะอะโวยวาย สับสน…
-
กรมอนามัย เตือน 8 โรคต้องระวัง เมื่อต้องไปขูดหินปูน
กรมอนามัย เตือน 8 โรคต้องระวัง เมื่อต้องไปขูดหินปูน กรมอนามัยเผยผู้ป่วย 8 โรคควรระวังพิเศษ หากรับบริการ “ขูดหินปูน” ย้ำต้องแจ้งทันตแพทย์ก่อนทุกครั้ง เตรียมพร้อมรักษาหากอาการกำเริบ… ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การดูแลสุขภาพช่องปากเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการขูดหินปูนหรือหินน้ำลายเพื่อป้องกันเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์ ซึ่งการสำรวจโดยสำนักทันตสาธารณสุข ในปี 2555 พบว่า คนไทยวัยทำงานกว่าร้อยละ 70 มีหินปูนเกาะบนตัวฟัน ต้องได้รับการดูแลโดยการขูดหินปูน ซึ่งการขูดหินปูนทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือขจัดหินปูนแบบที่ทีความสั่นสะเทือนทำให้หินปูนหลุดออก และยังมีเครื่องมือชิ้นเล็ก (Hand instruments) ขูดหินปูนโดยละเอียดอีกครั้ง ซึ่งในขั้นตอนนี้อาจทำให้มีเลือดออกบ้างตามอาการของเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์ที่ส่วนใหญ่จะมีอาการมากน้อยแตกต่างกันไป แต่จะไม่มากจนมีผลใดๆ ต่อผู้ป่วย “ทั้งนี้ เฉพาะผู้ป่วยบางโรค ที่ต้องระวังและแจ้งทันตเพทย์ก่อนทุกครั้งที่เข้ารับบริการทำฟันหรือขูดหินปูน ซึ่งกลุ่มแรกเป็นกลุ่มโรคที่เลือดออกง่ายและหยุดไหลยาก ได้แก่ โรคเกล็ดเลือดต่ำหรือโรคลูคีเมีย อาจมีจ้ำเลือดหรือจุดเลือดออกตามร่างกายร่วมด้วย โรคไตและผู้ที่มีประวัติเคยล้างไต เพราะจะได้รับยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ผู้ที่มีประวัติการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจและการใช้ยาละลายลิ่มเลือด และกลุ่มที่สองเป็นกลุ่มที่อาจแสดงอาการในระหว่างการทำฟัน ได้แก่ โรคหัวใจอาจมีอาการเจ็บหน้าอก หอบเหนื่อยใจสั่น โรคหอบหืดอาจมีอาการหอบเหนื่อย ต้องมียาพ่นประจำ และได้รับยา Steriod โรคลมชักและโรคความดันโลหิตสูง และสุดท้าย คือ…
-
นักวิจัย พบว่า ผู้หญิงที่สูบบุหรี่ระหว่างตั้วครรภ์ ส่งผลเสี่ยให้ทายาทรุ่นต่อไป ป่วยเป็นโรคหอบได้
นักวิจัย พบว่า ผู้หญิงที่สูบบุหรี่ระหว่างตั้วครรภ์ ส่งผลเสี่ยให้ทายาทรุ่นต่อไป ป่วยเป็นโรคหอบได้ ผู้เชี่ยวชาญรู้ดีว่าผู้หญิงที่สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์เพิ่มความเสี่ยงแก่ลูกและหลานต่อการเกิดโรคหอบหืด คุณเวอร์เอ็นเดอร์ เรฮัน นักวิจัยด้านชีวการแพทย์เเห่งศูนย์ Harbor-UCLA Center กล่าวว่านั่นเป็นเพราะว่าสารนิโคตินไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในดีเอ็นเอสร้างผลกระทบทางชีววิทยาถาวรที่สืบทอดทางพันธุกรรมได้ จากการศึกษาในหนูทดลอง พบว่ามารดาที่สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์จะส่งผ่านความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหอบหืดแก่คนรุ่นเหลน แม้ว่าเหลนจะไม่สูบบุหรี่ก็ตาม ในการทดลองกับหนูทดลองที่ตั้งท้อง ทีมนักวิจัยได้ฉีดสารนิโคตินเเก่หนูกลุ่มแรกเป็นประจำทุกวันนานเกือบสามสัปดาห์จนกระทั่งหนูคลอดลูก ส่วนในหนูทดลองตั้งท้องกลุ่มที่สอง ทีมนักวิจัยได้ฉีดสารนิโคตินหลอก หลังคลอดลูกหนูทดลองทั้งสองกลุ่มสามารถให้นมลูกนานเท่าที่จะทำได้ หลังจากนั้น ทีมนักวิจัยจะทำการผสมพันธุ์ลูกหนูที่เกิดจากแม่หนูทดลองที่ได้รับสารนิโคตินขณะตั้งครรภ์ไปจนกระทั่งครบตามลำดับสามรุ่นคือลูกหลานและเหลน โดยลูกหลานและเหลนของหนูกลุ่มนี้ ไม่เคยได้รับสารนิโคตินเลย และได้พบว่า ลูกหลานหนูที่เกิดจากหนูทดลองที่ได้รับสารนิโคตินขณะตั้งท้ิองแสดงอาการว่าเป็นโรคหอบหืด บรรดาผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่ามีคนราวสามร้อยล้านคนทั่วโลกเจ็บป่วยด้วยโรคหอบหืด ซึ่งเป็นอาการป่วยที่ต้องการการดูแลฉุกเฉิน เพราะหลอดลมเกิดอาการอักเสบและบวมอย่างรวดเร็วหลังจากผู้ป่วยได้รับปัจจัยให้เกิดอาการป่วย เช่น ฝุ่น ละอองเกสร หรือ ยารักษาโรคบางชนิด ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าจำนวนผู้ป่วยโรคหอบหืดจะเพิ่มขึ้นเป็นสี่ร้อยล้านคนภายในอีก 12 ปีข้างหน้า