Tag: โรคลูคีเมีย
-
8 โรคต้องระวัง เมื่อเข้ารับบริการ ขูดหินปูน
8 โรคต้องระวัง เมื่อเข้ารับบริการ ขูดหินปูน กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดเผยว่าหากที่ต้องการเข้ารับการขูดหินปูน เป็นผู้ป่วยด้วยโรค 8 โรคนี้จำเป็นต้องแจ้งทันตแพทย์ก่อนทุกครั้งก่อนรับการทำฟันหรือขูดหินปูนก็คือ กลุ่มที่เป็นโรคเลือดออกง่ายและหยุดไหลยาก ได้แก่ 1. โรคเกล็ดเลือดต่ำหรือโรคลูคีเมีย อาจมีจ้ำเลือดหรือจุดเลือดออกตามร่างกายร่วมด้วย 2. โรคไตและผู้ที่มีประวัติเคยล้างไต เพราะจะได้รับยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด 3. ผู้ที่มีประวัติการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจและการใช้ยาละลายลิ่มเลือด รวมไปถึงกลุ่มที่สองเป็นกลุ่มที่อาจแสดงอาการในระหว่างการทำฟัน ได้แก่ 1. โรคหัวใจอาจมีอาการเจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย ใจสั่น 2. โรคหอบหืดอาจมีอาการหอบเหนื่อย ต้องมียาพ่นประจำ และได้รับยา Steriod 3. โรคลมชักและโรคความดันโลหิตสูง 4. โรคเบาหวานเพราะมีผลกระทบทำให้แผลหายยาก เหล่านี้จำเป็นต้องแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบก่อนเผื่อในกรณีที่อาการกำเริบจะได้ช่วยเหลือได้ทันการณ์ อีกทั้ง ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย ยังเปิดเผยอีกว่าการขูดหินปูนหรือหินน้ำลายนี้ก็เพื่อป้องกันอาการเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์ได้ ด้วยการใช้เครื่องมือขจัดหินปูนที่มีความสั่นสะเทือนทำให้หินปูนหลุดออกมา แล้วใช้เครื่องมือชิ้นเล็กกว่าขูดหินปูนละเอียดอีกครั้ง ซึ่งขั้นตอนนี้อาจทำให้มีเลือดออกได้บ้างเล็กน้อย แต่จะไม่มากจนมีผลใด ๆ ต่อสุขภาพผู้ป่วย ซึ่งหินปูนหรือหินน้ำลายนี้เป็นคราบจุลินทรีย์ที่มีการสะสมของแคลเซียมในน้ำลาย จนแข็งตัวคล้ายหินปูน ที่สะสมเชื้อโรคไว้หลายชนิดอีกทั้งยังเป็นแหล่งผลิตสารพิษที่ทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์ได้ การป้องกันการเกิดหินปูนก็คือการจำกัดคราบจุลินทรีย์โดยการแปรงฟันโดยเฉพาะคอฟันให้สะอาดวันละอย่างน้อย 2 ครั้ง เพื่อไม่ให้บริเวณนี้เป็นที่สะสมของคราบจุลินทรีย์จนกลายเป็นหินปูนได้ อีกทั้งยังควรมาตรวจสุขภาพช่องปากทุกปีและหากมีหินปูนก็ควรขูดหินปูนออกอย่างน้อยปีละครั้ง…
-
กรมอนามัย เตือน 8 โรคต้องระวัง เมื่อต้องไปขูดหินปูน
กรมอนามัย เตือน 8 โรคต้องระวัง เมื่อต้องไปขูดหินปูน กรมอนามัยเผยผู้ป่วย 8 โรคควรระวังพิเศษ หากรับบริการ “ขูดหินปูน” ย้ำต้องแจ้งทันตแพทย์ก่อนทุกครั้ง เตรียมพร้อมรักษาหากอาการกำเริบ… ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การดูแลสุขภาพช่องปากเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการขูดหินปูนหรือหินน้ำลายเพื่อป้องกันเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์ ซึ่งการสำรวจโดยสำนักทันตสาธารณสุข ในปี 2555 พบว่า คนไทยวัยทำงานกว่าร้อยละ 70 มีหินปูนเกาะบนตัวฟัน ต้องได้รับการดูแลโดยการขูดหินปูน ซึ่งการขูดหินปูนทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือขจัดหินปูนแบบที่ทีความสั่นสะเทือนทำให้หินปูนหลุดออก และยังมีเครื่องมือชิ้นเล็ก (Hand instruments) ขูดหินปูนโดยละเอียดอีกครั้ง ซึ่งในขั้นตอนนี้อาจทำให้มีเลือดออกบ้างตามอาการของเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์ที่ส่วนใหญ่จะมีอาการมากน้อยแตกต่างกันไป แต่จะไม่มากจนมีผลใดๆ ต่อผู้ป่วย “ทั้งนี้ เฉพาะผู้ป่วยบางโรค ที่ต้องระวังและแจ้งทันตเพทย์ก่อนทุกครั้งที่เข้ารับบริการทำฟันหรือขูดหินปูน ซึ่งกลุ่มแรกเป็นกลุ่มโรคที่เลือดออกง่ายและหยุดไหลยาก ได้แก่ โรคเกล็ดเลือดต่ำหรือโรคลูคีเมีย อาจมีจ้ำเลือดหรือจุดเลือดออกตามร่างกายร่วมด้วย โรคไตและผู้ที่มีประวัติเคยล้างไต เพราะจะได้รับยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ผู้ที่มีประวัติการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจและการใช้ยาละลายลิ่มเลือด และกลุ่มที่สองเป็นกลุ่มที่อาจแสดงอาการในระหว่างการทำฟัน ได้แก่ โรคหัวใจอาจมีอาการเจ็บหน้าอก หอบเหนื่อยใจสั่น โรคหอบหืดอาจมีอาการหอบเหนื่อย ต้องมียาพ่นประจำ และได้รับยา Steriod โรคลมชักและโรคความดันโลหิตสูง และสุดท้าย คือ…