Tag: โรคลำไส้

  • ปวดท้อง ปวดยังไง ขนาดไหนจึงไปหาหมอ?

    ปวดท้อง ปวดยังไง ขนาดไหนจึงไปหาหมอ?

    ปวดท้อง ปวดยังไง ขนาดไหนจึงไปหาหมอ? ปวดท้อง เป็นอาการป่วยพื้นฐานที่พบได้บอ่ย ๆ บางคนก็เป็นอยู่เป็นประจำจนไม่ได้ใส่ใจมากนัก คิดว่าเป็นได้เดี๋ยวก็หายไปเอง แต่หารู้ไม่ว่าอาการปวดท้องบางอย่างเป็นสัญญาณเตือนให้คุณรู้ว่า ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้ละเอียดดีกว่า ก่อนที่จะกลายเป็นโรคลุกลามได้ อาการปวดท้องนั้นเกิดได้หลายสาเหตุ ตั้งแต่ปวดเล็กน้อย จนถึงปวดรุนแรงมาก อาการปวดอาจสัมพันธ์กับอวัยวะโดยตรงเช่น รังไข่ กระเพาะปัสสาวะ กระเพาะอาหาร ที่พบได้บ่อยจะเป็นการปวดท้องเพราะอวัยวะในทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ ไส้ติ่งอักเสบ ซึ่งจะเป็นโรคใดก็ต้องวินิจฉัยว่าปวดที่ตำแหน่งไหน อาการปวดเป็นอย่างไร รวมไปถึงความรุนแรงและช่วงเวลาที่ปวดท้องด้วย นอกจากนี้ยังมีอาการของโรคอื่น ๆ ที่ทำให้ปวดท้องได้ด้วย เช่น โรคหลอดเลือดขนาดใหญ่ในช่องท้อง อาการหัวใจวายเฉียบพลัน ตับอักเสบ นิ่วในไต โรคลำไส้ โรคหัวใจและปอดอักเสบก็ทำให้เกิดอาการปวดท้องรุนแรงได้เช่นกัน หากเป็นเพศหญิงก็ต้องนึกถึงสาเหตุของอวัยวะสืบพันธุ์ต่าง ๆ แม้แต่ผู้ป่วยโรคงูสวัดที่บริเวณท้องก็อาจทำให้ปวดท้องรุนแรงได้ ฯลฯ แต่กว่าครึ่งของคนที่ปวดท้องจะวินิจฉัยหาสาเหตุได้ผล ในขณะที่อีกครึ่งหนึ่งอาจหาสาเหตุไม่ได้ เมื่ออาการทุเลาหายไปก็ยังไม่สามารถทราบสาเหตุที่แน่ชัดอยู่ดี อาการปวดท้องที่ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษานั้นก็ได้แก่ – ปวดนานกว่า 6 ชั่วโมงและมีอาการมากขึ้น – ปวดจนกินอะไรไดม่ได้ – ปวดท้องและอาเจียนมากกว่า 3-4 ครั้ง –…

  • คนไทยควรหมั่นตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

    คนไทยควรหมั่นตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

    คนไทยควรหมั่นตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในปัจจุบันนี้มีคนไทยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่กันมากขึ้น และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกด้วย เพราะมีความเสี่ยงหลายประการไม่ว่าจะเป็น การเป็นโรคลำไส้บางชนิด เช่น โรคเนื้องอกที่ผนังลำไส้ หรือลำไส้อักเสบเรื้อรัง การมีกรรมพันธุ์ หรือมีญาติสายตรงเป็นมะเร็งลำไส้ มักทานอาหารประเภทเนื้อแดง อาหารใส่ดินประสิว ปลาร้า ปลาส้ม แหนม ไส้กรอก อาหารรมควัน ทอดปิ้ง ย่างจนเกรียม อาหารที่ปนเปื้อนสายเคมี อาหารมีเส้นใยน้อย อีกทั้งยังพบว่ายิ่งมีอายุมากเกินกว่า 50 ปีขึ้นไปก็ยิ่งมีความเสี่ยงขึ้น รวมไปถึงผู้ดื่มเหล้าและสูบบุหรี่เป็นเวลานานอีกด้วย ซึ่งอาการของผู้ป่วยนั้นจะมีอาการถ่ายเป็นมูกเลือด ปวดทวารหนักเวลาถ่าย มีลำอุจจาระที่ลีบเล็กลง มักมีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย และหากก้อนมะเร็งโตจนอุดตันลำไส้แล้วจะปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน ไม่ถ่าย และไม่ผายลม มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักนี้หากตรวจพบตั้งแต่เริ่มแรกจะรักษาหายมากกว่าร้อยละ 95 แต่ถ้าเข้าสู่ระยะอื่น ๆ หรือแพร่กระจายแล้วจะทำให้การรักษาไม่ได้ผลเท่าที่ควร มะเร็งลำไส้ใหญ่นี้จะไม่แสดงอาการในระยะเริ่มแรก การเข้าตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ ทั้งการตรวจอุจจาระและตรวจเลือดก็จะทำให้พบกับรอยโรคก่อนเป็นมะเร็ง หรือพบกับมะเร็งระยะแรกเริ่มได้ มีประโยชน์มากเพราะยิ่งตรวจพบเร็วเท่าไรก็ยิ่งรักษาให้หายได้เร็วเท่านั้น ผู้ที่มีความเสี่ยงดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยิ่งควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ให้สม่ำเสมอ เพื่อเป็นการระวังป้องกันไว้ก่อน และรักษาได้อย่างทันท่วงทีด้วยค่ะ

  • “กระเจี๊ยบเขียว” ช่วย DETOX ร่างกายได้อย่างดีเยี่ยม

    “กระเจี๊ยบเขียว” ช่วย DETOX ร่างกายได้อย่างดีเยี่ยม

    “กระเจี๊ยบเขียว” ช่วย DETOX ร่างกายได้อย่างดีเยี่ยม รู้กันรึเปล่า? ว่า “กระเจี๊ยบเขียว” เป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการอาหารอย่างสูง เนื่องจากในกระเจี๊ยบเขียว จะมีวิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเส้นในสูง ส่วนมาเรามักจะนำกระเจี๊ยบเขียวมาเป็นผักเคียงกับน้ำพริก นอกจากนี้ยังสามารถนำมาทำอาหารได้อีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น แกงต่างๆ ผัดเมล็ดกระเจี๊ยบเขียว ยำกระเจี๊ยบเขียว หรือจะเป็นอาหารว่างอย่าง กระเจี๊ยบเขียวชุบแป้งทอดเป็นต้น สรรพคุณทางยาของกระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบเขียว นั้นเป็นพืชผัก ที่มีคุณสมบัติที่ช่วยในการรักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ เนื่องจากในฝักกระเจี๊ยบเขียวนั้น จะมีเมือกจำพวกเพ็กติน Pectin และ กัม Gum ที่จะสามารถช่วยเคลือบหรือสมานแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้อย่างดีเยี่ยม และยังช่วยให้แผลไม่ลุกลาม ช่วยรักษาความดันให้เป็นปกติ ช่วยบำรุงสมอง และยังมีสรรพคุณเป็นยาระบาย แถมยังสามารถช่วยรักษาโรคพยาธิตัวจี๊ดได้ดีอีกด้วย (แต่ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ จะต้องมีการรับประทานติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 15 วันนะค๊ะ) ผลสำรวจจากการแปรรูปกระเจี๊ยบเขียว ให้ข้อมูลมาว่า – รับประทานกระเจี๊ยบเขียว 10-15 ฝัก ทุกวันจะช่วยบำรุงตับได้ดี – รับประทานกระเจี๊ยบเขียว 3-5 ฝัก ก่อนอาหารทุกวัน จะช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร –…