Tag: โรคลมชัก

  • โรคลมชัก อันตรายถึงชีวิตได้ถ้าไม่รักษา

    โรคลมชัก อันตรายถึงชีวิตได้ถ้าไม่รักษา

    โรคลมชัก อันตรายถึงชีวิตได้ถ้าไม่รักษา โรคลมชัก หลายคนคงเคยได้ยินมาบ้าง บางทีก็เรียกว่า โรคลมบ้าหมู หรือโรควูบได้ด้วย อันที่จริงแล้วโรคนี้ไม่ได้เป็นโรคแต่อย่างใด แต่เป็นอาการที่เกิดจากคลื่นไฟฟ้าในสมองผิดปกติไปชั่วขณะ สาเหตุไม่แน่ชัด แต่มีปัจจัยร่วมอื่น ๆ ได้ เช่น จากกรรมพันธ์ เคยชักตอนเป็นเด็ก บางคนก็อาจไม่มีอาการเลยแต่จะแสดงอาการแปลกๆ แทน เช่น เดินเหม่อลอยเป็นพัก ๆ ทำปากขมุบขมิบหรือเคี้ยงฟัน บางคนก็กระพริบตาเป็นจังหวะ ทำอะไรไม่รู้ตัว บางคนเป็นขณะขับรถก็มีเหมือนกันซึ่งอันตรายมาก บางรายเคยมีอาการไม่รู้ตัวประเภทหยิบถ่านใส่หม้อข้าวก็มี หรือบางคนก็ขับรถอยู่กลางตลาด เปิดรถลงไปย้ายกรวยไปตั้งกลางถนนจนรถติดวินาศสันตะโร ยังดีมีเพื่อนมาช่วยไว้ทัน เพราะเขารู้ว่าเป็นโรคลมบ้าหมู คงทำไปโดยไม่รู้ตัว บางคนก็จะมีพฤติกรรมแปลกๆ ไม่รู้ตัวจนน่าโมโห เช่น บางคนขายของก็หยิบของผิดให้ลูกค้าเรื่อย ๆ จนมั่วไปมหด บางกรณีอันตรายมาก หยิบเชือกฟางมาผูกคอตัวเอง แต่ไม่ตายเพราะเชือกขาดเสียก่อน ซึ่งอาการเหล่านี้ชาวบ้านทั่วไปมักจะคิดว่าผีเข้า จนไปพึ่งไสยศาสตร์ก็มีอยู่มาก แต่ความจริงแล้วเมื่อมาตรวจคลื่นสมองไฟฟ้าจะพบความผิดปกติ พบว่าเป็นโรคลมชักหรือลมบ้าหมูนั่นเอง การรักษานั้นควรต้องรักษาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพราะหากมีอาการเพียงครั้งเดียวอาจรุนแรงจนเสียชีวิตได้อย่างเช่น คนที่อยู่ ๆ ไปหยิบเชือกมาผูกคอตัวเองเป็นต้น นอกจากนี้แล้วคนไข้ควรหลีกเลี่ยงภาวะกระตุ้นอาการต่าง ๆ เช่น การตรากตรำทำงาน อดนอน อดอาหาร…

  • 8 โรคต้องระวัง เมื่อเข้ารับบริการ ขูดหินปูน

    8 โรคต้องระวัง เมื่อเข้ารับบริการ ขูดหินปูน

     8 โรคต้องระวัง เมื่อเข้ารับบริการ ขูดหินปูน กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดเผยว่าหากที่ต้องการเข้ารับการขูดหินปูน เป็นผู้ป่วยด้วยโรค 8 โรคนี้จำเป็นต้องแจ้งทันตแพทย์ก่อนทุกครั้งก่อนรับการทำฟันหรือขูดหินปูนก็คือ กลุ่มที่เป็นโรคเลือดออกง่ายและหยุดไหลยาก ได้แก่ 1. โรคเกล็ดเลือดต่ำหรือโรคลูคีเมีย อาจมีจ้ำเลือดหรือจุดเลือดออกตามร่างกายร่วมด้วย 2. โรคไตและผู้ที่มีประวัติเคยล้างไต เพราะจะได้รับยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด 3. ผู้ที่มีประวัติการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจและการใช้ยาละลายลิ่มเลือด รวมไปถึงกลุ่มที่สองเป็นกลุ่มที่อาจแสดงอาการในระหว่างการทำฟัน ได้แก่ 1. โรคหัวใจอาจมีอาการเจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย ใจสั่น 2. โรคหอบหืดอาจมีอาการหอบเหนื่อย ต้องมียาพ่นประจำ และได้รับยา Steriod 3. โรคลมชักและโรคความดันโลหิตสูง 4. โรคเบาหวานเพราะมีผลกระทบทำให้แผลหายยาก เหล่านี้จำเป็นต้องแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบก่อนเผื่อในกรณีที่อาการกำเริบจะได้ช่วยเหลือได้ทันการณ์ อีกทั้ง ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย ยังเปิดเผยอีกว่าการขูดหินปูนหรือหินน้ำลายนี้ก็เพื่อป้องกันอาการเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์ได้ ด้วยการใช้เครื่องมือขจัดหินปูนที่มีความสั่นสะเทือนทำให้หินปูนหลุดออกมา แล้วใช้เครื่องมือชิ้นเล็กกว่าขูดหินปูนละเอียดอีกครั้ง ซึ่งขั้นตอนนี้อาจทำให้มีเลือดออกได้บ้างเล็กน้อย แต่จะไม่มากจนมีผลใด ๆ ต่อสุขภาพผู้ป่วย ซึ่งหินปูนหรือหินน้ำลายนี้เป็นคราบจุลินทรีย์ที่มีการสะสมของแคลเซียมในน้ำลาย จนแข็งตัวคล้ายหินปูน ที่สะสมเชื้อโรคไว้หลายชนิดอีกทั้งยังเป็นแหล่งผลิตสารพิษที่ทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์ได้ การป้องกันการเกิดหินปูนก็คือการจำกัดคราบจุลินทรีย์โดยการแปรงฟันโดยเฉพาะคอฟันให้สะอาดวันละอย่างน้อย 2 ครั้ง เพื่อไม่ให้บริเวณนี้เป็นที่สะสมของคราบจุลินทรีย์จนกลายเป็นหินปูนได้ อีกทั้งยังควรมาตรวจสุขภาพช่องปากทุกปีและหากมีหินปูนก็ควรขูดหินปูนออกอย่างน้อยปีละครั้ง…