Tag: โรคระบาด
-
มาตรการ 7 ป. เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก
มาตรการ 7 ป. เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก เดี๋ยวนี้ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ต่างก็สามารถเป็นโรคไข้เลือดออกได้ทั้งนั้น ยิ่งโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่มีฝน ตกๆ หยุด ๆ อย่างต่อเนื่องนี่ ทำให้เกิดน้ำขังทั่วไปทั้งบริเวณบ้านและตามที่สาธารณะต่าง ๆ ยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออกจึงแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว หากบริเวณบ้านหรือในชุมชนเราป่วยเป็นไข้เลือดออกแล้ว ก็ยากจะบอกได้ว่าใครจะเป็นรายต่อไป อาจเป็นญาติพี่น้องหรือตัวเองด้วยก็ได้ หากในระยะที่ฝนตกชุกนี้เราเกิดเป็นไข้ขึ้นมา หากต้องการใช้ยาลดไข้ก็ควรใช้แต่พาตาเซตามอลเท่านั้น หากเป็นยาแอสไพรินอาจทำให้เลือดออกในร่างกายมากขึ้นจนเกิดอาการช็อกได้ แต่ยาพาราเซตตามอลก็ควรใช้แต่พอดี หากไข้ยังไม่ลดก็ควรใช้การเช็ดตัวเข้ามาช่วยหากยังไม่ถึงเวลาทานยา ควรดื่มน้ำเปล่าหรือน้ำหวาน น้ำเกลือแร่ให้มากเพื่อให้ร่างกายสดชื่นขึ้น ให้ผ็ป่วยได้นอนพักผ่อนมาก ๆ แต่หากมีอาการไข้เกินสองวัน กินอาหารหรือดื่มน้ำได้น้อย อ่อนเพลีย ซึม อาเจียน ปวดท้อง ตัวเย็นผิดปกติ ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาไข้เลือดออกค่ะ และการป้องกันยุงลายนั้นควรได้รับความร่วมมือจากหลาย ๆ ส่วนในชุมชนไปพร้อม ๆ กันจึงจะสามารถป้องกันการระบาดของโรคนี้ได้อย่างดี ซึ่งก็คือมาตรการ 7 ป. ดังต่อไปนี้ 1. ปิดฝาภาชนะทุกชนิดที่เก็บกักน้ำได้ ป้องกันการวางไข่ของยุงลาย 2. ปล่อยปลากินลูกน้ำเช่น ปลาหางนกยูง เพื่อตัดวงจรยุงลาย 3. ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในบ้านและนอกบ้าน ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงได้ 4. ปรับสภาพน้ำด้วยการใช้ทราย น้ำส้มสายชู…
-
การป้องกันโรคฉี่หนู และโรคตาแดง และโรคผิวหนังในช่วงที่มีน้ำท่วม
การป้องกันโรคฉี่หนู และโรคตาแดง และโรคผิวหนังในช่วงที่มีน้ำท่วม โรคที่มักจะระบาดบ่อย ๆ เวลาน้ำท่วมได้แก่ โรคตาแดง โรคฉี่หนู และโรคผิวหนัง โรคฉี่หนูจะมีอาการไข้สูง ปวดหัว เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อน่อง ตาแดง ตาเหลืองได้ ควรหลีกเลี่ยงการแช่น้ำ ลุยย่ำน้ำโคลนโดยไม่จำเป็น แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรสวมรองเท้าบู้ทยางกันน้ำ ยิ่งโดยเฉพาะผู้ที่มีบาดแผลแล้วยิ่งควรระวัง ไม่ควรแช่น้ำนาน ๆ เมื่อขึ้นจากน้ำควรรีบชำระล้างร่างกายให้สะอาดแล้วซับให้แห้ง ทานอาหารในภาชนะที่ปิดมิดชิด เก็บขยะทั้งหมดใส่ถุงพลาสติกและถังขยะที่ปิดมิดชิด ไม่ให้เป็นแหล่งอาหารของหนูได้ และควรดูแลที่พักอาศัยให้ปราศจากหนูด้วย ส่วนโรคตาแดง หรือเยื่อตาขาวอักเสบจากเชื้อไว้รัสนั้น จะมีอาการระคายเคืองตา ปวดตา น้ำตาลไหล กลัวแสง มีขี้ตา ตาแดงหนังตาบวม โดยอาจเริ่มที่ตาข้างหนึ่งก่อนแล้วลามไปอีกข้าง บ้างก็มีไข้ร่วมด้วย ควรป้องกันโดยหมั่นล้างมือให้สะอาด ด้วยน้ำกับสบู่ ไม่ควรขยี้ตาและอย่าให้แมลงตอมตาได้ หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น อาทิเช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว และควรแยกที่นอนจากคนอื่นด้วย ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาหยอดตา ยิ่งหากมีอาการปวดตามาก ตามัว ขี้ตาเหลืองหรือเขียว หรือไม่ทุเลาภายในหนึ่งสัปดาห์ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนค่ะ โรคผิวหนังที่มากับน้ำท่วมนั้น จำแนกอาการของแต่ละโรคได้ดังนี้…. – ผื่นคัน จะมีผื่นหรือมีตุ่มคันบริเวณที่สัมผัสกับน้ำหรือโดนยุงกัด มักเกิดขึ้นพร้อมกันหลาย…
-
7 มาตรการเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกจากยุงลาย
7 มาตรการ เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกจากยุงลาย ในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี เป็นช่วงที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกสูงมากกว่าในช่วงอื่น เพราะเป็นช่วงฤดูฝนที่เมื่อฝนตกลงมาแล้วมีน้ำขังเฉอะแฉะ ยุงลายจึงบินมาวางไข่ได้มากขึ้น ยิ่งหากมีใครสักคนในชุมชนป่วยเป็นไข้เลือดออกขึ้นแล้ว ก็ยากจะคาดเดาจำนวนผู้ป่วยที่จะเกิดขึ้นตามมาได้ หากในครอบครัวมีผู้ป่วยเกิดเป็นไข้ เมื่อยเนื้อตัวควรใช้ยาลดไข้พาราเซตามอลเท่านั้น หากใช้ยาลดไข้ตัวอื่น และหากผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออก อาจกระตุ้นให้เลือดออกในร่างกายมากขึ้นจนช็อกและอันตรายได้ นอกจากนี้แล้วก็ให้ดูแลเหมือนผู้ป่วยเป็นไข้ทั่วไป แต่หากมีอาการซึม อ่อนเพลีย ปวดท้อง อาเจียนมาก ตัวเย็นผิดปกติ ก็ควรรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล สิ่งที่สำคัญมากสำหรับการป้องกันโรคไข้เลือดออก ก็คือการดูแลสภาพแวดล้อมมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย โดยการร่วมมือกันระหว่างคนในชุมชน หมู่บ้าน ด้วยมาตรการ 7 ป. ดังต่อไปนี้ 1. ปิดฝาภาชนะที่เก็บน้ำได้ทุกชนิด หากไม่มีฝาก็ให้หาแผ่นไม้หรือวัสดุอื่นใดก็ได้ที่ทนน้ำมาปิดไว้เพื่อป้องกันยุงลายวางไข่ 2. ปล่อยปลากินลูกตามแหล่งน้ำขังเพื่อตัดวงจรยุงลาย เช่น ปลาหางนกยูงเป็นต้น 3. ปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในหมู่บ้าน ทั้งในบ้านและนอกบ้านไม่ให้มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์เก่า กระป๋อง กระบอกน้ำเก่า ถัง โอ่งเก่า ฯลฯ ควรคว่ำไว้ให้หมด 4. ปรับสภาพของน้ำ เพื่อไม่ให้ยุงมาวางไข่โดยการใส่ทรายอะเบท น้ำส้มสายชู หรือเกลือแกงลงไปในน้ำ 5. เปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม้…
-
แม้แต่เด็กเล็ก…ก็ควรระวังโรคเบาหวานด้วยนะ
แม้แต่เด็กเล็ก…ก็ควรระวังโรคเบาหวานด้วยนะ โรคเบาหวานนี้ องค์การอนามัยโลกได้ระบุว่าเป็นภัยร้ายที่กำลังคุกคามมนุษย์ไปทั่วทุกมุมโลกมากที่สุด อันตรายมากกว่าโรคเอดส์ เพราะปี ๆ หนึ่งมีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานถึงปีละสามล้านกว่าคนทั่วโลก และถือเป็นประวัติศาสตร์โลกเลยว่านี่คือโรคไม่ติดเชื้อที่คร่าชีวิตผู้คนได้มากกว่าโรคติดเชื้อหรือโรคระบาดในอดีตที่โลกเคยมีมากเสียอีก ทั่วโลกมีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะโรคเบาหวานจากสภาวะอ้วนทำให้การทำงานของอินซูลินมีปัญหา ซึ่งมีสาเหตุมาจากการกินอาหารที่มีไขมันและคาร์โบไฮเดรตมากเกินสัดส่วน รวมไปถึงการขาดการออกกำลังกายด้วย ในประเทศไทยเองโรคเบาหวานนี้ก็เริ่มจู่โจมเข้าในวัยเด็กแล้ว และตามโรงพยาบาลก็พบผู้ป่วยโรคเบาหวานในเด็กที่มีอายุน้อยลงไปเรื่อย ๆ ทุกที ล่าสุดพบเด็กป่วยเป็นโรคเบาหวานมีอายุเพียงแปดขวบเท่านั้น แต่มีน้ำหนักตัวมากถึง 60 กิโลกรัม น้ำหนักตัวขนาดนี้ถือว่าอ้วนเกินมาตรฐานไปมาก อาจต้องกินยาตลอดชีวิต และบางรายมีภาวะแทรกซ้อนที่ไต ตา ประสาทส่วนปลายบริเวณขาและเท้าเกิดความยากลำบากและทุกข์ทรมานในการใช้ชีวิต ตายเร็วขึ้นด้วย วิธีการสังเกตว่าบุตรหลานของท่านเป็นเบาหวานแล้วหรือยังก็คือ ให้สังเกตว่าผิวหนังบริเวณรอบคอและรักแร้ดำเป็นปื้น ฉี่บ่อย หิวบ่อย กินจุ ชาบริเวณปลายมือปลายเท้า หรือในครอบครัวมีผู้ป่วยเป็นเบาหวาน นับตั้งแต่ พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ฯลฯ หากรักลูกหลาน อยากให้มีสุขภาพแข็งแรง ควรดูแลสุขภาพให้ดีแต่เด็ก ๆ ด้วยการให้ทานอาหารให้ครบทุกหมู่และหลากหลายตามที่ร่างกายต้องการ สอนให้เด็กกินผักให้เป็น แล้วกินผลไม้แทนขนมถุง ขนมกรอบต่าง ๆ ดื่มน้ำสะอาดแทนน้ำอัดลม พากันไปวิ่งเล่นออกกำลังกายแทนการเอาแต่นั่งจุมปุ้กหน้าทีวีหรือเล่นเกมส์ทั้งวัน เด็กจะมีสุขภาพแข็งแรงและมีสุขนิสัยการกินที่ดีได้ ต้องมีพ่อแม่ปู่ย่าตายายเป็นตัวอย่างด้วย หากคุณไม่ยอมกินผัก หรือออกกำลังกายแล้วเด็กจะทำได้อย่างไรล่ะคะ?
-
วิธีป้องกันโรคตาแดงในระยะระบาด
วิธีป้องกันโรคตาแดงในระยะระบาด โรคที่พบได้บ่อยในหน้าฝนและช่วงที่มีน้ำท่วมมากนั้น โรคหนึ่งที่ระบาดมากในระยะนี้ก็ได้แก่ โรคตาแดงนั่นเอง โรคตาแดงเป็นโรคติดต่อได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ มีอาการไม่รุนแรงมากนัก มักเกิดจากเชื้อไวรัส แต่หากไม่ได้รับการรักษาอาจติดเชื้อแบคทีเรียจนเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้อีก โดยการติดต่อของโรคตาแดงนั้นเกิดจาก การสัมผัสโดยตรงกับน้ำตา ขี้ตา ขี้มูกของผู้ป่วย หรือการใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย รวมไปถึงแมลงวันแมลงหวี่ตอมตาด้วย ระยะฟักเชื้อนั้นจะมีเวลาแค่ 1-2 วันเท่านั้นแล้วจะอาการระคายเคืองตา ปวดตา น้ำตาไหล กลัวแสง มีขี้ตามาก หนังตาบวม เยื่อบุตาขาวอักเสบแดง โดยมักจะเริ่มที่ตาข้างใดข้างหนึ่งก่อนแล้วลุกลามไปอีกข้างที่เหลือ การป้องกันโรคตาแดงในระยะระบาดจึงมีคำแนะนำดังต่อไปนี้ค่ะ – หากมีน้ำสกปรกหรือขี้ฝุ่นเข้าตา ให้รีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที – หากเริ่มมีอาการดังกล่าวมาข้างต้นให้รีบไปพบแพทย์เพื่อขอรับยามาป้ายหรือหยอดตา เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ติดต่อกันให้หมดตามคำสั่งแพทย์ หากมีไข้ให้ทานยาลดไข้ได้ตามอาการ – หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ ไม่ว่าจะเป็นการหลังจากออกจากห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ ก่อนทานอาหารด้วย – อย่าขยี้ตา อย่าปล่อยให้แมลงมาตอมตาและไม่ควรใช้สายตามากด้วย – ผู้ที่ป่วยเป็นโรคตาแดงควรนอนแยกจากคนอื่น ๆ และไม่ใช่สิ่งของร่วมกัน ปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า ควรซักให้สะอาดอีกครั้งหลังจากหายป่วยแล้ว –…
-
หลีกเลี่ยงหวัดในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง
หลีกเลี่ยงหวัดในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง ในระยะที่อากาศเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เริ่มมีฝนตกมากขึ้น ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายค่อนข้างต่ำ หรือสุขภาพอ่อนแอเพราะปรับตัวไม่ทัน จึงเจ็บป่วยได่ง่าย ยิ่งโดยเฉพาะโรคติดเชื้อทางลมหายใจจำพวกโรคหวัด หรือไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อกันได้ง่ายนั้น เราจึงยิ่งจำเป็นต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมในการป้องกันโรคติดต่อเหล่านี้นั่นเอง ซึ่งมีวิธีการดูแลตัวเองง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ค่ะ – เมื่อรู้ตัวว่าเริ่มป่วย เริ่มเป็นไข้ ไม่สบายรู้สึกอ่อนเพลีย นอนไม่พอ ยิ่งไม่ควรเข้าไปเสี่ยงในแหล่งชุมชนที่มีคนอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นตลาด ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล เพราะว่าร่างกายในช่วงที่มีภูมิต้านทานต่ำจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย – หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือหากไม่สะดวกในการล้างมือจะใช้เจลแอลกอฮอล์มาเช็ดก็ได้ ช่วยป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ดี ยิ่งหากอยู่ในช่วงที่กำลังมีอาการไอหรือจาม ยิ่มควรหมั่นล้างมือบ่อย ๆ เพราะหากนำมือไปป้ายตาก็อาจติดเชื้อตาอักเสบได้ หรือไปหยิบจับสิ่งของก็จะเท่ากับเป็นการแพร่เชื้อให้ผู้อื่นอีกทาง – หลีกเลี่ยงและอยู่ห่างจากผู้ป่วยที่มีอาการเป็นหวัด ซึ่งหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ควรสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง จะช่วยป้องกันเชื้อหวัดและโรคทางเดินหายใจได้ดี – หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แล้วพักผ่อนให้เพียงพอ – ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ สองลิตร – หากในบ้านของเรามีเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุที่ป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ และควรป้องกันการแพร่เชื้อให้แก่ผู้อื่นด้วยการไม่คลุกคลีกับผู้ใกล้ชิด ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูกเมื่อไอหรือจาม และหมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วย – สำหรับกลุ่มผู้เสี่ยงสูง…
-
ระวังโรคมือ เท้า ปาก ระบาดหนักในเด็ก
ระวังโรคมือ เท้า ปาก ระบาดหนักในเด็ก โรคมือ เท้า ปาก นั้นเป็นโรคที่ติดจากเชื้อไวรัสหลายชนิด สามารถติดต่อได้จากคนสู่คนเท่านั้น (เป็นคนละชนิดกับโรคปากเท้าเปื่อยในสัตว์กีบ พวก วัว ควาย หมู นะคะ) โดยโรคนี้ระบาดหนักมากในช่วงหน้าฝนที่มีอาการเย็นชื้น ผู้ป่วยมากจะเป็นเด็กทารก และเด็กที่อายุน้อยกว่าห้าขวบ ส่วนเด็กที่อายุไม่เกินสิบขวบจะพบได้น้อยลงแล้ว และในผู้ใหญ่มักจะมีภูมิคุ้มกันแล้วเพราะได้รับเชื้อนี้มาตั้งแต่เด็ก การติดเชื้อของโรคมือ เท้า ปากนั้น ส่วนมากมักติดจากการนำสิ่งของเข้าปาก หรือจากอาหารการกิน ที่ปนเปื้อนเชื้อจากน้ำลาย น้ำมูก น้ำเลือดน้ำหนองจากแผล หรืออุจจาระ ปัสสาวะของผู้ที่ป่วย บางครั้งแค่จามไอรดกันก็สามารถติดต่อกันได้แล้ว การแพร่เชื้อก็ง่ายมากสามารถแพร่ได้ตั้งแต่อาทิตย์แรกที่รับเชื้อ ต่อให้หายแล้วก็ยังสามารถแพร่เชื้อได้อีกถึง หกสัปดาห์ เพราะเชื้อยังถูกขับออกมาทางอุจจาระอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อนั้นจะเริ่มแสดงอาการตั้งแต่ 3-5 วันแรกเลย โดยอาการที่เห็นได้ก็คือ มีไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ต่อจากนั้นอีก 1-2 วัน จึงเริ่มมีตุ่มแดงในปาก ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม ฝ่ามือ นิ้วมือและนิ้วเท้า (ซึ่งเป็นที่มาของชื่อโรค มือ เท้า ปาก) และยังสามารถพบผื่นได้บริเวณก้น…
-
ป้องกันไข้เลือดออกอย่างมั่นใจ ต้องใช้ 4ป.
ป้องกันไข้เลือดออกอย่างมั่นใจ ต้องใช้ 4ป. เพื่อสภาวะอากาศของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป จึงทำให้วงจรของยุงลายซึ่งเป็นพาหะสำคัญของโรคไข้เลือดออก มีระยะที่สั้นลง นั้นจึงทำให้แพร่พันธุ์ได้เร็วมากขึ้น โอกาสในการแพร่เชื้อของยุงก็มากขึ้นไปด้วย จะเห็นได้ว่าเมื่อไรที่ประเทศไทยเข้าสู่หน้าฝน ไข้เลือดออกก็ระบาดอย่างหนัก หากผู้ติดเชื้อเป็นเด็กอายุ 5-14 ปีแล้วล่ะก็ มีความเสี่ยงมากที่จะเสียชีวิต จะเห็นได้ว่าปีหลัง ๆ ที่ผ่านมามีผู้ป่วยเป็นแสนคน และเสียชีวิตกันเป็นหลักพัน และขยายความเสี่ยงออกมาสู่เด็กโตและวัยผู้ใหญ่ก็ป่วยด้วยไข้เลือดออกกันมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งการจัดการกับต้นกำเนิดของยุงลายพาหะของโรคไข้เลือดออกนั้น จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนในชุมชน ให้ลงมือช่วยกันอย่างเอาจริงเอาจังและมีความต่อเนื่อง จึงจะสามารถควบคุมการระบาดได้ โดยอาศัยมาตรการ 4 ป. ดังต่อไปนี้ 1. ปิด คือการใช้ฝาไปปิดภาชนะเก็บน้ำต่าง ๆ ให้หมด ไม่ว่าจะเป็นกระถางต้นไม้ อ่างน้ำ โอ่ง แทงค์เก็บน้ำ ฯลฯ 2. เปลี่ยน คือการหมั่นเปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม้ หรือจานรองขาตู้กับข้าว โดยการหมั่นเปลี่ยนทุกอาทิตย์ หรือหยอดเกลือหรือผสมน้ำส้มสายชูลงในน้ำดังกล่าว ป้องกันการวางไข่ของยุงลายได้ 3. ปล่อย ก็คือการปล่อยปลาหางนกยูง ปลาสอด ลงไปในอ่างบัว บ่อน้ำ โอ่งน้ำเพื่อกินลูกน้ำเป็นอาหาร ถือเป็นการตัดตอนการแพร่พันธุ์ของยุงลายไปได้ 4. ปรับปรุง บ้านทุกหลังในหมู่บ้านหรือชุมชน…
-
บัญญัติ 10 ประการเพื่อการป้องกันโรคระบาด
บัญญัติ 10 ประการเพื่อการป้องกันโรคระบาด ไม่จำกัดว่าต้องเป็นประเทศกำลังพัฒนาเท่านั้นที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร หรือโรคติดต่อจากคนสู่คนหรือสัตว์สู่คน แม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วก็ยังจำเป็นต้องมีมาตรฐานการควบคุมและป้องกันโรคที่ดีเช่นเดียวกัน การจะไปอาศัยการรักษาหรือการป้องกันจากทางการอย่างเดียวก็คงไม่เพียงพอ ในส่วนของประชาชนทุกคนเองก็ควรต้องมีมาตรการไว้สำหรับรับมือและป้องกันโรคติดต่อ หรือโรคระบาดนี้ด้วยตัวเองกันด้วย ดังนั้นบัญญัติสิบประการที่จะนำมาเสนอคุณผู้อ่านในวันนี้จะเป็นการช่วยสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เพื่อให้ทุกคนได้ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บทั้งหลายได้ด้วยตนเอง และให้บัญญัติทั้งสิบประการนี้เป็นสุขบัญญัติพื้นฐานสำหรับครอบครัว ชุมชน โรงเรียนและโรงงาน ต่อไป ซึ่งบัญญัติทั้งสิบประการนั้นได้แก่ 1. ดูแลร่างกายรวมทั้งเครื่องใช้ไม้สอยต่าง ๆ ให้สะอาดอยู่เสมอ 2. ดูแลรักษาฟันให้แข็งแรง และแปรงฟันทุกวันอย่างน้อยวันละสองครั้ง อย่างถูกต้อง 3. ล้างมือด้วยน้ำสะอาดและสบู่ก่อนการทานอาหารและหลังจากเข้าห้องน้ำทุกครั้ง 4. ทานแต่อาหารที่ปรุงสุก สะอาด ปลอดจากสารเคมีอันตราย และไม่มีสีสันฉูดฉาด และอาหารรสจัดจ้าน 5. งดการดื่มสุรา เสพยาเสพติด สูบบุหรี่ เล่นการพนันและพฤติกรรมสำส่อนทางเพศ 6. สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น 7. ไม่ประมาทในการขับยวดยาน และเครื่องจักร รวมทั้งอุบัติภัยต่าง ๆ 8. ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาทีขึ้นไป แล้วตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี 9.…
-
ไล่ยุงอย่างไร ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายเรา
ไล่ยุงอย่างไร ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายเรา ประเทศไทยเป็นประเทศร้อนชื้น จึงมียุงชุมแทบทุกฤดูกาล การกำจัดยุงให้หมดนั้นเป็นเรื่องยาก เพราะร่างกายคนเรานั้นเป็นแหล่งดูดยุงชั้นเยี่ยม จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาจาก เหงื่อ กลิ่นตัว และความร้อน ตลอดจนลมหายใจ ยุงจึงมักตอมคนและสัตว์เลี้ยง อีกทั้งสารเคมีในร่างกายของบางคนยังดึงดูดยุงมากกว่าคนอื่นด้วยก็มี วันนี้เราจึงขอนำสูตรการไล่ยุงหลาย ๆ เพื่อให้ทุกคนลองนำไปเลือกใช้ เพราะวิธีการไล่ยุงวิธีหนึ่งอาจใช้ไม่ได้ผลกับทุกคนก็เป็นได้ แต่ทุกสูตรที่นำมาเสนอในวันนี้รับรองได้ว่าปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายจากสารพิษอย่างแน่นอนค่ะ – หากไปแค้มปิ้งหรือปิกนิกนอกบ้านที่มียุงมาก ให้นำกระเทียมผลซึ่งหาซื้อได้ทั่วไปตามซุปเปอร์มาร์เก็ตมาละลายน้ำ แล้วทาลงบนจุดชีพจรหรือบนใบหน้า แต่ให้ระวังเข้าตา – สำหรับผู้ที่อยู่ในบ้านแต่มียุงมาก ให้ลองนำกระเทียมผงละลายน้ำ ฉีดตามสนามหญ้าและพุ่มไม้ต่าง ๆ เพื่อช่วยไล่ยุง หมั่นทำสองอาทิตย์ต่อหนึ่งครึ่ง หรือฉีดหลังฝนตกจะช่วยลดปริมาณของยุงได้ – นำเอาวานิลลามาทาตามจุดชีพจร หรือแต้มตัวผิวหนังและแต้มลงบนเสื้อผ้า สามารถใช้วานิลลาชนิดเข้มข้ม ผสมน้ำก่อนแล้วค่อยพ่นลงบนผิวก็ได้เช่นกัน – เลือกน้ำมันหอมระเหยกลิ่น ลาเวนเดอร์ ยูคาลิปตัส ตะไคร้ มินท์ มะนาว ส้ม ก็ได้ มาผสมกับแอลกอฮอล์เช็ดแผลหรือน้ำกลั่น แล้วพ่นบนร่างกายหรือเสื้อผ้า หรือใช้เช็ดบริเวณผิวที่โดนยุงตอม – หรือจะเลือกนำเอาน้ำมันหอมระเหย 2-3 หยดผสมกับน้ำมะกอกหรือเบบี้ออยล์แล้วทาผิว ก็ได้เช่นกัน แต่ให้ระวังเข้าตาและปาก…