Tag: โรคมาลาเรีย
-
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับไข้ป่า ไข้มาลาเรีย หรือไข้จับสั่น
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับไข้ป่า ไข้มาลาเรีย หรือไข้จับสั่น ไม่ว่าจะเป็นไข้ป่า ไข้มาลาเรียหรือไข้จับสั่น ต่างก็เป็นชื่อของโรคเดียวกันนั่นแหล่ะค่ะ เกิดจากเชื้อโปรโตซัวพลาสโมเดียม มักระบาดอยู่ตามจังหวัดชายแดน โดยเฉพาะบริเวณเขาสูง ป่าทึบและมีแหล่งน้ำ ลำธารเพราะเป็นแหล่งแพร่พันธุ์ของยุงก้นปล่องซึ่งเป็นพาหะของโรคนี้ จังหวัดที่พบผู้ป่วยโรคมาลาเรียมาก ๆ นั้นส่วนใหญ่ได้แก่ ตาก แม่ฮ่องสอน ระนอง ตราด กาญจนบุรี จันทบุรี สระแก้ว ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรีและชุมพร โรคไข้มาลาเรียนั้นสามารถติดต่อได้จากการถูกยุงก้นปล่องตัวเมียที่มีเชื้อมาลาเรียกัด และหลังจากได้รับเชื้อแล้วประมาณ 1-2 อาทิตย์จะมีอาการคล้ายกับการเป็นหวัด คือ ปวดหัว มีไข้ ปวดเมื่อยตามลำตัว อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร สะบัดร้อนสะบัดหนาว บางช่วงจะมีอาการไข้สูง หนาวสั่น แล้วตามด้วยเหงื่อออก แล้วกลับไปหนาวสั่นอีก สลับไปมาอยู่อย่างนี้จึงถูกเรียกว่าไข้จับสั่น โรคนี้นั้นถ้าไปพบแพทย์จะต้องได้รับการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาเชื้อมาลาเรียเท่านั้นจึงจะวิเคราะห์ได้ สำหรับการรักษา โรคไข้มาลาเรียเป็นโรคที่สามารักษาให้หายขาดได้ หากได้รับการวินิจฉัยที่รวดเร็วถูกต้อง และได้รับยารักษาที่ตรงกับชนิดของเชื้อที่เป็นสาเหตุ ไม่ควรซื้อยามาทานเอง หรือกินยาไม่ครบถ้วน เพราะอาจทำให้มีปัญหาเชื้อดื้ยา หรือทำให้โรครุนแรงขึ้นได้ และอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ด้วย แม้จะเป็นโรครักษาให้หายได้แต่ก็ไม่ควรประมาท ควรป้องกันตนเองเมื่อต้องเข้าไปในแหล่งระบาดของมาลาเรียด้วยการป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัด ดังต่อไปนี้ – สวมใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดมิดชิด…
-
การระวังป้องกันและรักษาโรคติดต่อจากยุงในเบื้องต้น
การระวังป้องกันและรักษาโรคติดต่อจากยุงในเบื้องต้น โรคติดต่อจากยุงที่พบมากในภูมิภาคของเรานั้นก็ได้แก่ โรคไข้เลือดออก และไข้มาลาเรีย ยิ่งในฤดูฝนต่อฤดูหนาวแล้วก็ยิ่งพบได้บ่อยด้วย โรคไข้เลือดออกนั้นจะมีอาการไข้สูงตลอดเวลา หน้าแดงตาแดง ปวดท้อง อาเจียน มีผื่นหรือมีจุดจ้ำแดงขึ้นตามตัว ส่วนไข้มาลาเรียนั้น มักจะมีอาการจับไข้หนาวสั่นเป็นบางเวลา ทุกวัน หรือวันเว้นวันก็ได้ บางครั้งที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มียุงมากได้ ก็ควรป้องกันตัวเองดังต่อไปนี้ค่ะ – ไม่ควรให้ยุงกัด ไม่ว่าจะเป็นเวลาใดก็ตาม ควรนอนกางมุ้ง สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ห่มผ้าหนา ๆ ใช้กับดักยุง ทายากันยุง หรือใช้ตะไคร้หอม หรือใบกะเพราะดำคั้นน้ำมาทาตามลำตัวเพื่อไล่ยุง – ในบริเวณที่พักอาศัยและในชุมชน ควรกำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยการปิดฝาภาชระใส่น้ำ คว่ำหรือทำลายภาชนะที่มีน้ำขัง โรยผงซักฟอกในภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ถาดรองกระถางต้นไม้ จานรองตู้กับข้าง ด้วยอัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำสองลิตร หรือจะปล่อยปลาหางนกยูงหรือปลากัดลงในบ่อน้ำที่ไม่ได้ใช้ดื่มกิน – กำจัดยุงโดยการผสมผงซักฟอก สบู่เหลว แชมพู หรือน้ำยาล้างจาน 1 ช้อนโต๊ะกับน้ำหนึ่งลิตร คนอย่าให้เป็นฟอง แล้วใส่กระบอกฉีดน้ำ ฉีดยุงที่เกาะตามบริเวณบ้าน การเยียวยาเบื้องต้นสำหรับผู้ที่เริ่มเป็นไข้ตัวร้อนแล้ว ก็คือไม่ควรอาบน้ำเย็น ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวแทน…
-
เที่ยวป่าหน้าฝนระวังไข้มาลาเรีย
เที่ยวป่าหน้าฝนระวังไข้มาลาเรีย ในแต่ละปีนั้นองค์การอนามัยโลกคาดว่ามีผู้ป่วยไข้มาลาเรียถึงกว่าปีละ 500 ล้านคน และเสียชีวิตมากกว่าปีละล้านคน ระบาดสูงสุดในช่วงเดือน เม.ย. ถึง ก.ค. ผู้ที่ชอบไปท่องเที่ยวในป่า หรือแหล่งที่มียุงชุกชุมจึงมักติดเชื้อไข้มาลาเรียได้ง่ายในช่วงนี้ ไข้มาลาเรีย หรือไข้ป่านี้เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัวที่ติดต่อกันโดยมียุงก้นปล่องเป็นพาหะ มักระบาดตามป่าเขา และพบการโรคมาลาเรียนี้ดื้อยามากขึ้นด้วย เมื่อยุงไปกัดคนที่มาเชื้อมาลาเรียเข้าเชื้อก็จะเข้าไปแบ่งตัวในยุง เมื่อไปกัดคนอื่นก็จะถ่ายทอดเชื้อออกไป เมื่อเข้าสู่ร่างกายคนจะเจริญเติบโตในเซลล์ตับและเม็ดเลือดแดง มีระยะฟักตัวประมาณสองอาทิตย์ แล้วจะป่วยไม่สบาย ต่อมาก็จะมีไข้หนาวสั่น ปวดหัว ปวดเมื่อย คลื่นไส้อาเจียน และอาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่ร้ายแรงได้ ไม่ว่าจะเป็นมาลาเรียขึ้นสมอง น้ำตาลในเลือดต่ำ เหลืองซีด ปัสสาวะสีดำ ไตวาย ปอดบวมน้ำและเสียชีวิตได้ เพราะการกินยาป้องกันมาเลเรียล่วงหน้านั้นไม่ได้ผล การที่จะเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวในป่าหรือเดินทางศึกษาธรรมชาติจึงควรระมัดระวังตนเองไม่ให้ยุงกัด ด้วยการสวมเสื้อผ้ามิดชิด ทาโลชั่นกันยุงและนอนในมุ้งที่ฉาบน้ำยา หากกลับจากไปเที่ยวแล้วป่วยควรรีบไปพบแพทย์ด่วน และควรปฏิบัติตามแพทย์สั่งและทานยาให้ครบถ้วนด้วย ผู้ที่เพิ่งกลับจากป่าเขามาอย่าเพิ่งบริจาคโลหิตจะดีกว่าเพราะงานบริการโลหิตยังไม่มีวิธีการตรวจเชื้อมาลาเรียได้ และเชื้อมาลาเรียที่ติดมากับโลหิตบริจาคจะสามารถถ่ายทอดไปยังผู้รับโลหิตได้อีกด้วย
-
เชื้อโปรโตซัวที่ทำให้เกิดไข้มาลาเรีย
เชื้อโปรโตซัวที่ทำให้เกิดไข้มาลาเรีย ไข้มาลาเรีย นั้นเกิดจากเชื้อโปรโตซัวพลาสโมเดียม ซึ่งทำให้เกิดโรคได้คนได้มีอยู่ 4 ชนิดดังนี้คือ – ฟัลซิปารัม – ไวแวกซ์ – มาลาเรียอี – โอวาเล่ ซึ่งเชื้อมาลาเรียที่พบบ่อยในเมืองไทยได้แก่สองชนิดแรก เชื้อฟัลซิปารัมอาจทำให้เสียชีวิตได้ ส่วน ไวแวกซ์และโอวาเล่สามารถซ่อนตัวอยู่ในตับได้นาน และกลับออกมาสู่กระแสเลือดทำให้เป็นโรคได้อีก แห่งของเชื้อไข้มาลาเรียนี้จะอยู่ตามชายแดน ภูเขาสูง ป่าทึบ แหล่งน้ำธรรมชาติ ลำธาร เพราะเป็นแหล่งแพร่พันธุ์ของยุงก้นปล่อง พบมากในจังหวัด ตราด ตาก แม่ฮ่องสอน ระนอง กาญจนบุรี จันทบุรี สระแก้ว ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี ชุมพร ซึ่งติดต่อได้ด้วยยุงก้นปล่องเป็นพาหะมากัดคน อาการของผู้ป่วยไข้มาลาเรียนั้นจะปรากฏออกมาหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 1-2 อาทิตย์ โดยจะมีไข้ ปวดหัว ปวดเมื่อยเนื้อตัว คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร หนาวสั่น ไข้สูงเหงื่อออก ซึ่งจะพบได้ในผู้ป่วยบางรายเท่านั้น การตรวจวินิจฉัยจะทำได้โดยการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อ ไข้มาลาเรียนี้เป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้ ถ้าได้รับการรักษาที่รวดเร็วและรักษาด้วยยาที่มีประสิทธิภาพตรงตามเชื้อ การป้องกันตัวเองเมื่อต้องเข้าไปในแหล่งที่มีการระบาดของไข้มาลาเรียนั้นควรป้องกันตนเองมิให้ยุงมากัด ด้วยการสวมเสื้อผ้าที่มิดชิดและควรใช้เสื้อผ้าสีอ่อน ๆ ทายากันยุง นอนในมุ้ง…
-
รู้จักกับ…โรคมาลาเรีย
รู้จักกับ…โรคมาลาเรีย ในช่วงเดือน เม.ย. ถึง ก.ค. นั้นจะเป็นช่วงที่โรคมาลาเรียมีการระบาดสูงสุด ทั่วโลกจึงร่วมกันรณรงค์แก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะในแต่ละปีจะมีผู้ติดเชื้อมาลาเรียทั่วโลกถึงประมาณสามร้อนกว่าล้านคน เสียชีวิตราว 1 ล้านคน ส่วนมากกว่าร้อยละ 90 พบในทวีปแอฟริกา ส่วนในประเทศไทยนั้นมีผู้ป่วยมากที่สุดห้าอันดับแรกอยู่ในจังหวัด ตาก กาญจนบุรี แม่ฮ่องสอน ระนองและสงขลา ซึ่งเป็นพื้นที่ป่า เขา สวนยางพารา แหล่งน้ำ ภูเขาสูงชันและลำธาร โดยเฉพาะบริเวณชายแดน โรคไข้มาลาเรีย ไข้ป่าหรือไข้จับสั่นนี้เกิดจากเชื้อโปรโตซัว โดยมียุงก้นปล่องเป็นพาหะ ไปกัดคนที่มีเชื้อมาลาเรียอยู่ เชื้อนี้จะเข้าไปเจริญแบ่งตัวในยุงแล้วก็ไปกัดคนต่อไป ปล่อยเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดเจริญเติบโตที่ตับและเม็ดเลือดแดง มีระยะฟักตัวประมาณ 14 วัน จึงเกิดอาการไข้สูง ปวดศีรษะ เมื่อยเนื้อตัว อาเจียน หนาวสั่น สะบัดร้อนสะบัดหนาว เหงื่อออก รู้สึกดีขึ้นแล้วก็กลับมาเป็นใหม่อีก บางรายอาจมีอาการแทรกซ้อนรุนแรง เช่น มาลาเรียขึ้นสมอง น้ำตาลในเลือดต่ำ เหลือง ซีด ปัสสาวะดำ ไตวาย ปอดบวมน้ำ ทำให้ถึงแก่ชีวิตได ไข้มาลาเรียไม่สามารถกินยาป้องกันล่วงหน้าได้ หากเข้าป่าควรป้องกันยุงโดยสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด ใช้ยาทาหรือยาจุดกันยุง…
-
นักวิจัยค้นพบลักษณะการแพร่ของเชื้อมาลาเรียในร่างกายคน
นักวิจัยค้นพบลักษณะการแพร่ของเชื้อมาลาเรียในร่างกายคน เมื่อยุงดูดเลือดจนอิ่มแล้วยุงตัวเมียที่มีเชื้อมาลาเลียจะฉีดเชื้อโรคนับพันตัวเข้าไปในกระแสเลือดของเหยื่อ เภสัชศาสตร์กล่าวว่า ตัวเชื้อโรคจะแตกตัวอย่างรวดเร็วทันทีที่เข้าไปสู่เซลล์เม็ดเลือดแดง เชื้อโรคนับพันๆตัวจะเพิ่มทวีคูณอย่างรวดเร็ว และเชื้อโรคแต่ละตัวจะแตกออกเป็น 24 ถึง 32 ตัวภายใน 48 ชั่วโมง เป็นการขยายจำนวนอย่างรวดเร็วมาก ทีมงานวิจัยค้นพบว่า ขณะอยู่ในเซลล์ในเม็ดเลือดแดง ตัวเชื้อมาลาเรียจะใช้สารโปรตีนหลายชนิดในการแตกตัว หลังจากดูดกินสารอาหารที่หล่อเลี้ยงเซลล์แล้ว ตัวเชื้อโรคที่เพิ่งแตกตัวออกมาใหม่จะทะลุทะลวงผนังเซลล์เม็ดเลือดแดงออกมาสู่กระแสเลือด เพื่อเข้าไปเเพร่เชื้อในเซลล์เม็ดเลือดแดงตัวใหม่แล้วขยายเพิ่มจำนวนเป็นล้านๆตัว หลังจากฟักตัวนานหนึ่งถึงสองสัปดาห์ ผู้ติดเชื้อมาลาเรียจะเริ่มแสดงอาการป่วย มีไข้สูง หนาวสั่นและเหงื่อออก สารโปรตีนในเซลล์เม็ดเลือดแดงที่เป็นเป้าหมายของเชื้อมาลาเรียอาจนำไปสู่การบำบัดมาลาเรียด้วยยาแบบรับประทานตัวใหม่ที่เรียกว่ายาโซทราสะโตร์อิน (sotrastaurin) เมื่อเข้าสู่กระแสเลือด เชื้อมาลาเรียจะเข้าไปจับตัวกับสารโปรตีนที่เรียกว่าเอนไซม์ PKC ทำให้โครงสร้างสารโปรตีนอ่อนแอ ทำให้เซลล์ฺถูกแยกออกจากกันจนไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ ยาโซทราสะโตร์อินจะมีฤทธิ์ไปบล็อคไม่ให้เชื้อมาลาเรียเข้าไปถึงตัวเอนไซม์ PKC ได้ เป็นการตัดวงจรไม่ให้เชื้อโรคแตกตัวเพิ่มจำนวนได้ นักวิจัยจึงได้ทำการทดลองใช้ยาโซทราสะโตร์อินในการบำบัดมาลาเรียในหนูทดลองแล้วปรากฏว่าจำนวนเชื้อมาลาเรียในหนูลดลงอย่างรวดเร็ว ตัวยาโซทราสะโตร์อินกำลังอยู่ระหว่างทดลองรักษาในคนเพื่อบำบัดอาการต่อต้านการปลูกถ่ายอวัยวะในคน เนื่องจากยาตัวนี้เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อโปรตีนในเซลล์เม็ดเลือดของมนุษย์ เชื้อมาลาเรียจึงไม่สามารถพัฒนาต่อต้านต่อยาชนิดนี้ได้
-
นักวิจัยชี้ว่า การกำจัดลูกยุง LSM จะช่วยควบคุมโรคมาลาเรียได้
นักวิจัยชี้ว่า การกำจัดลูกยุง LSM จะช่วยควบคุมโรคมาลาเรียได้ การควบคุมมาลาเรียด้วยการจัดการแหล่งตัวอ่อนยุง เป็นการกำจัดลูกยุงก่อนโตเต็มวัยกลายเป็นพาหะของโรค เป็นวิธีที่ได้ผลในการมุ่งเป้ากำจัดลูกยุงในแหล่งน้ำขัง ในขณะเดียวกันการใช้มุงเคลือบยากันยุงกับการฉีดพ่นยาฆ่ายุงเป็นวิธีที่มุ่งเป้าที่ยุงโตเต็มวัยแล้ว การควบคุมลูกยุงน่าจะใช้เป็นวิธีเสริมแก่มาตรการควบคุมมาลาเรียวิธีอื่นๆ แต่ไม่ควรใช้ทดแทนกัน เธอกล่าวว่าการควบคุมลูกยุงน่าจะเป็นวิธีควบคุมมาลาเรียที่มีประสิทธิภาพเหมาะกับสภาพเเวดล้อมในเขตเมือง ยกตัวอย่างว่าการทำลายแหล่งน้ำขังที่เป็นที่อยู่ของลูกยุงเป็นการถาวรด้วยการสูบน้ำทิ้งหรือถมดินหรือขุดลอกระบบท่อน้ำทิ้งเพื่อทำลายที่อยู่ของลูกยุง เป็นการตัดวงจรชีวิตของยุง นอกจากนี้การควบคุมลูกยุงยังสามารถทำได้ด้วยการเติมยาฆ่าลูกยุงลงไปแหล่งน้ำขัง การศึกษาเรื่องนี้หลายชิ้นพบว่าค่าใช่จ่ายในการกำจัดลูกยุงน่าจะพอๆกับค่าใช้จ่ายในการป้องกันยุงด้วยการใช้มุ้งเคลือบยากันยุงและใช้ยาฆ่ายุงพ่นภายในตัวอาคารบ้านเรือน โครงการรณรงค์ปราบปรามมาลาเรีย Roll Back Malaria รายงานว่าค่าใช้จ่ายในการต่อต้านมาลาเรียทั่วโลกอยู่ที่ราว 5 ถึง 6 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี
-
นักวิทยาศาสตร์แอฟริกา คว้ารางวัลจากวิธีการกำจัดยุง ให้พ้นจากโรคมาลาเรีย
นักวิทยาศาสตร์แอฟริกา คว้ารางวัลจากวิธีการกำจัดยุง ให้พ้นจากโรคมาลาเรีย นักวิทยาศาสตร์จากแอฟริกาได้รับรางวัลผลการวิจัยยอดเยี่ยมจาก Royal Society แห่งสหราชอณาจักร หลังจากสามารถค้นพบวิธีการใหม่ในการกำจัดฝูงยุงที่เป็นพาหะของไข้มาลาเรีย สิ่งที่สำคัญมากของระบบการผสมพันธุ์ของยุงนี้ก็คือว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่เขาเดินเข้าไปในจุดที่ศึกษา เขาจะพบฝูงยุงบินอยู่ในจุดนั้นเป็นประจำทุกๆวัน นี่ทำให้การกำจัดยุงทำได้ง่ายมากขึ้น ประเทศ Burkina Faso เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการติดเชื้อมาลาเรียสูงที่สุดในโลก ด็อกเตอร์เดียเบทพบว่า ในช่วงฤดูฝนใน Burkina Faso บางบ้านมียุงอยู่ภายในบ้านถึงเก้าร้อยตัว หากสามารถทำลายยุงตัวผู้ได้สำเร็จ จะส่งผลให้จำนวนประชากรยุงตัวผู้ลดลงอย่างมาก จนมีจำนวนยุงตัวเมียมากกว่า เขากล่าวว่า ยุงตัวเมียต้องมียุงตัวผู้ผสมพันธุ์จึงจะสามารถออกไข่ได้ แต่เมื่อไม่มียุงตัวผู้ผสมพันธุ์ด้วย ก็จะไม่สามารถออกไข่และทำให้ไม่มีลูกยุง และเมื่อไม่มียุง ก็หมายความว่าไม่มีเชื้อมาลาเรีย ผลการวิจัยเรื่องนี้จะนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยี ในการควบคุมการระบาดของไข้มาลาเรียแบบใหม่ๆต่อไป อาทิ การใช้ยุงตกแต่งพันธุกรรมและการควบคุมประชากรยุงด้วยการทำหมันยุงตัวผู้ ถึงขณะนี้ การควบคุมการระบาดของไข้มาลาเรียต้องพึ่งพาการกางมุ้งเคลือบยากันยุงเป็นหลัก แต่มีความกังวลกันว่าจะไม่ได้ผลเพราะยุงเริ่มพัฒนาแรงต่อต้านต่อสารเคมีที่ใช้ ดังนั้นเขาเห็นว่ามีความจำเป็นในการพัฒนาวิธีใหม่ๆออกมาเพื่อควบคุมยุงที่เป็นพาหะของไข้มาลาเรีย แม้จะมีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น ไข้มาลาเรียเป็นสาเหตุให้คนเสียชีวิตราวปีละหกแสนหกหมื่นคน ส่วนใหญ่เป็นเด็ก ในปีหน้า บริษัทยาอังกฤษ GlaxoSmithKline วางแผนที่จะยื่นขอใบอนุญาติเป็นผู้นำวัคซีนป้องกันไข้มาลาเรียออกสู่ตลาดเป็นรายแรกของโลก วัคซีนนี้เรียกว่า RTSS องค์การอนามัยโลกชี้ว่าอาจจะสามารถนำวัคซีนป้องกันไข้มาลาเรียไปใช้ได้ในราวอีกสองปีข้างหน้า
-
นักวิจัยสหรัฐ คิดค้นพัฒนาการตรวจหาเชื้อมาลาเรีย ด้วยวิธีใหม่โดยใช้เครื่องสแกนเลเซอร์
นักวิจัยสหรัฐ คิดค้นพัฒนาการตรวจหาเชื้อมาลาเรีย ด้วยวิธีใหม่โดยใช้เครื่องสแกนเลเซอร์ ในปัจจุบัน การตรวจหาเชื้อมาลาเรียที่ใช้กันทั่วไปยังเป็นการตรวจตัวอย่างเลือดที่นำไปส่องด้วยกล้องจุลภาค การวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องจำเป็นต้องใช้เจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ที่ได้รับการฝึกฝน อุปกรณ์ราคาเเพง และเวลา ปัจจัยทั้งสามดังกล่าวล้วนเป็นสิ่งที่ขาดเเคลนในประเทศยากจนและพื้นที่ทุรกันดารห่างไกลในหลายๆส่วนของโลก เเต่เทคโนโลยีการตรวจหาเชื้อมาลาเรียวิธีใหม่ที่เรียกว่า vapor nanobubble จะไม่ต้องใช้ตัวอย่างเลือดในการตรวจอีกต่อไป คุณ Dmitri Lopotko นักวิจัยเเห่งภาควิชา Biochemistry and Cell Biology ที่มหาวิทยาลัย Rice University ในเมือง Houston รัฐ Texas กล่าวว่าการตรวจแบบใหม่เพียงแค่ให้ผู้รับการตรวจทาบนิ้วมือเพียงนิ้วเดียวลงบนเครื่องสแกนด้วยแสงเลเซ่อร์เท่านั้น เครื่องสแกนจะฉายลำเเสงเลเซอร์ผ่านเข้าใต้ผิวหนังและเเสงเลเซอร์นี้จะถูกดูดซับโดยตัวเชื้อมาลาเรียเท่านั้นเนื่องจากความยาวของตัวคลื่นที่ใช้ และตัวเชื้อมาลาเรียจะตอบสนองต่อคลื่นแสงเลเซอร์นี้ด้วยการแตกตัว ผลการทดลองตรวจหาเชื้อมาลาเรียด้วยเครื่องสแกนด้วยลำเเสงเลเซ่อร์นี้ยังไม่มีความผิดพลาดเลย ถือว่ามีความถูกต้องเเม่นยำอย่างมาก และสามารถตรวจพบเชื้อได้แม้เเต่ในระยะเริ่มต้นของการติดเชื้อซึ่งมีความสำคัญมากเพราะการรักษาเเต่เนิ่นๆจะมีประสิทธิิภาพมากที่สุด อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์การตรวจด้วยแสงเลเซ่อร์ที่เคลื่อนที่สะดวกและใช้ถ่านเเบตเตอร์รี่นี้ราคาไม่ถูก ค่าผลิตอยู่ที่เครื่องละ 10,000-20,000 ดอลล่าร์สหรัฐ แต่เครื่องตรวจเเต่ละเครื่องจะสามารถตรวจผู้เข้ารับการตรวจได้ถึงปีละสองแสนคน หากคำนวณตามจำนวนของผู้เข้ารับการตรวจจะคิดเป็นค่าใช้จ่ายครึ่งดอลล่าร์สหรัฐต่อคนหรือประมาณ 15 บาทเท่านั้นและไม่จำเป็นต้องใช้เจ้าหน้าที่เทคนิคที่ได้รับการฝึกฝนในการตรวจเเต่อย่างใด
-
หลังการรณรงค์ต่อต้านมาลาเรียอย่างเข้มข้น ยังมี ชาวแอฟริกา 184 ล้านคนที่เสี่ยงต่อโรคมาลาเรีย
หลังการรณรงค์ต่อต้านมาลาเรียอย่างเข้มข้น ยังมี ชาวแอฟริกา 184 ล้านคนที่เสี่ยงต่อโรคมาลาเรีย การวิจัยชิ้นใหม่พบว่าหลังการรณรงค์ต่อต้านมาลาเรียอย่างเข้มข้นนานกว่าสิบปี ยังมีชาวแอฟริการาว 184 ล้านคนที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อมาลาเรียตั้งแต่ระดับปานกลางถึงระดับสูงแม้ว่าจะเป็นตัวเลขนี้จะลดลงมาจากเกือบ 220 ล้านคนเมื่อ 14 ปีที่แล้วก็ตามข้อสรุปของผลการวิจัยนี้ได้จากข้อมูลสำรวจชุมชนหลายพันเเห่งใน ประเทศแอฟริกา 44 ชาติและดินแดนต่างๆ ประเทศเหล่านี้เป็นเเหล่งระบาดของมาลาเรียDr. Abisalan Noor และศาสตราจารย์ Robert Snow หัวหน้าทีมวิจัยนี้ทำงานประจำที่สถานบันการวิจัยทางการแพทย์ Kenyan Medical Research Institute-Wellcome Trust Research Program สมาชิกของทีมวิจัยประกอบด้วยนักวิจัยจำนวนหนึ่งจากมหาวิทยาลัย Oxford และองค์การอนามัยโลก การศึกษานี้เป็นภาพสะท้อนผลของการรณรงค์ต่อต้านมาลาเรียของโครงการ Roll Back Malaria Campaign และโครงการปรามปรามมาลาเรียอื่นๆ โครงการ Roll Back Malaria นี้เป็นการระดมความร่วมมือในหลายระดับจากองค์กรเอกชนและหน่วยงานพัฒนาเอกชนเพื่อมุ่งลดจำนวนคนเสียชีวิตจากมาลาเรียลงครึ่งหนึ่งให้ได้ภายในปีพุทธศักราช 2553 ที่ผ่านไปแล้ว โครงการดังกล่าวเริ่มต้นไม่ราบรื่นนักและถูกวิจารณ์ว่าไม่มีความคืบหน้าหลังจากการเริ่มต้นโครงการผ่านไปได้หลายปี ในบรรดาชาติแอฟริกาที่มีอัตราการติดเชื้อมาลาเรียสูงอยู่หรือยังไม่เปลี่ยนแปลงเลย ได้แก่ คองโก ยูกันดา มาลาวี และเซ้าท์ซูดาน แม้ว่ายังจะมีคนในแอฟริกาจำนวนมากที่ยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อมาลาเรีย Dr.…