Tag: โรคมะเร็งรังไข่
-
วิธีเลือกทานผัก…ให้ปลอดจากสารเคมีทางการเกษตร
วิธีเลือกทานผัก…ให้ปลอดจากสารเคมีทางการเกษตร พิษจากสารเคมีทางการเกษตรนั้นทั่วทั้งโลกตระหนักดีกว่าก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บมากมายทั้งตัวของเกษตรกรผู้ผลิตเองและไล่ไปถึงผู้บริโภคด้วย ที่ว่าร้ายก็เป็นเพราะว่าสารเคมีทางการเกษตรนี้ก่อให้เกิดปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งกระเพาะ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งรังไข่และมะเร็งที่ไต เป็นต้น จากการสุ่มตรวจเลือดของประชาชนโดย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขนั้น ได้ดูระดับของเอนไซม์ อะเซทิล โคลิเนสเทอเรส ในเลือด ซึ่งหากลดต่ำลงหากได้รับสารในกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟตและคาบาร์เมต พบว่ามีสัสดส่วนผู้ที่มีความเสี่ยงถึงร้อยละ 54 และจากการศึกษาของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่าผู้ที่มีระดับเอนไซม์อะเซทิล โคลิเนสเทอเรสต่ำนั้นมีความสัมพันธ์กับสภาวะดีเอ็นเอถูกทำลาย จนอาจกลายพันธุ์เป็นมะเร็งได้ในอนาคต ดังนั้นทั้งเราจึงต้องร่วมมือกันในการทำให้อาหารที่บริโภคนั้นปลอดภัยมากยิ่งขึ้น นอกจากเกษตรกรผู้ปลูกจะต้องใส่ใจการผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษ ด้วยการหันมาปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ พืชผักปลอดสารพิษแล้ว ผู้บริโภคก็ต้องหันมาสนับสนุนอาหารเหล่านี้เช่นกัน ด้วยการเลือกผักมาประกอบอาหารดังต่อไปนี้ – ทานผักให้มีความหลากหลาย หมุนเวียนเปลี่ยนชนิดไปเรื่อย ๆ ยิ่งหากทานเป็นผักพื้นบ้านก็จะยิ่งปลอดภัยจากสารเคมีมากยิ่งขึ้น – เลือกอาหารหรือผักอินทรีย์จากแหล่งผลิตที่วางใจได้ – เมื่อนำมาปรุงควรลอกเปลือกชั้นนอกทิ้งไปก่อน เช่น กะหล่ำปลี ผักกาดขาว เพราะใบชั้นนอกจะมีสารเคมีตกค้างมากกว่าใบชั้นใน – ล้างผักด้วยการแช่น้ำ เช่น เปิดน้ำจากก๊อกให้ไหลผ่านผักโดยตรง 2 นาที หรือจะใช้วิธีแช่ผักในน้ำปูนใส น้ำด่างทับทิม น้ำซาวข้าว…
-
โรคมะเร็งรังไข่.. ภัยคร่าชีวิตสตรีที่ต้องระวัง
โรคมะเร็งรังไข่.. ภัยคร่าชีวิตสตรีที่ต้องระวัง มะเร็งทางนรีเวชที่ตรวจพบบ่อยเป็นอันดับหนึ่งก็คงเป็นมะเร็งปากมดลูก แต่อันดับสองเป็นของมะเร็งรังไข่ที่ก็เป็นอันตรายไม่แพ้กัน หากตรวจพบต้องรีบรักษาในทันที สำหรับโรคมะเร็งรังไข่นี้จะเกิดขึ้นประมาณ 5 คน ต่อประชากรสตรี 1 แสนคนต่อปี มีผู้ป่วยมะเร็งรังไข่รายใหม่ประมาณ 1,500 คนต่อปี ยิ่งอายุมากก็ยิ่งมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้นไปด้วย มะเร็งรังไข่นั้น จะไม่ค่อยแสดงอาการนัก จะมีอาการแค่ท้องอืดท้องเฟ้อ จึงเข้าใจว่าเป็นโรคกระเพาะไป จึงทำให้คนไข้พบแพทย์ช้า โรคนี้หากวินิจฉันได้แต่เนิ่น ๆ ก็ยังสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่หากพบเจอในระยะท้าย ๆ แล้วก็คงหายได้ยาก ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เป็นโรคนี้ก็คือ มีญาติใกล้ชิดเป็นโรคนี้ หรือเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้หรืออื่น ๆ โดยเฉพาะหากมีอายุเกิน 40 ปีขึ้นไป หรือชอบรับประทานอาหารที่มีไขมันหรือนมเนยมาก ๆ โดยอาการของมะเร็งรังไข่ ก็คือ ท้องโตขึ้น เนื่องจากมีก้อนหรือน้ำในท้อง มีตั้งแต่น้ำน้อยจนถึงน้ำมาก มีลูกแตงโมในท้อง ส่วนของผู้ป่วยจะมีอาการของระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย ขัด เนื่องจากก้อนของรังไข่ไปกดเบียด ผู้ป่วยจะผอมลง เป็นอาการของมะเร็งทั่วไป อาจมีเลือดออกทางช่องคลอด ซึ่งจะเห็นได้ว่าอาการของมะเร็งรังไข่ไม่จำเพาะเจาะจงชัดเจน …
-
คณะแพทย์ รามา แนะนำวิธีป้องกันมะเร็งมดลูก และ มะเร็งไข่ในผู้หญิง ที่ยังไม่มีลูก
คณะแพทย์ รามา แนะนำวิธีป้องกันมะเร็งมดลูกและมะเร็งไข่ในผู้หญิง ที่ยังไม่มีลูก ในผู้หญิง เมื่อมีการเจริญเติบโตขึ้น ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกายและจิตใจ รวมถึงด้านสังคม ารพัฒนาของระบบเจริญพันธุ์ เกิดการตกไข่และมีประจำเดือน สามารถตั้งครรภ์และมีบุตรได้ กระบวนการเจริญสู่วัยสาว ทำให้เกิดอาการทางร่างกายที่เด็กหญิงไม่เคยประสบมาก่อน เช่น อาการคัดตึงของเต้านม จากการกระตุ้นของฮอร์โมนที่สร้างจากรังไข่ อาการปวดท้องน้อยข้างเดียวจากการตกไข่ อาการปวดหน่วงขณะมีประจำเดือนอันเกิดจากมดลูกบีบตัว ในแต่ละรอบเดือน รังไข่จะสร้างฮอร์โมนเพศหญิงปริมาณมหาศาล ฮอร์โมนเหล่านี้จะไปกระตุ้นอวัยวะของความเป็นหญิง เช่น เต้านม มดลูก ปีกมดลูก และอวัยวะในอุ้งเชิงกราน ในสตรีบางคนการกระตุ้นของฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้เกิดภาวะบางอย่าง เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ซึ่งมักร่วมกับอาการปวดประจำเดือนอย่างมาก ฮอร์โมนอาจกระตุ้นการเจริญของเนื้องอกในตัวมดลูกและเต้านม ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกให้หนาขึ้นจนกลายเป็นมะเร็งได้ การกระตุ้นให้เนื้องอกในมดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือในรายที่เป็นมะเร็งเต้านม อาจกระตุ้นให้มะเร็งแพร่กระจาย สภาวะเหล่านี้จะลดน้อยลง หรือหายไปได้หากปราศจากการกระตุ้นของฮอร์โมนเพศหญิงในรายที่เป็นมะเร็งมดลูก หรือเต้านมจำเป็นต้องกำจัดแหล่งที่มาของฮอร์โมนเพศหญิงให้หมด และอาจจำเป็นต้องผ่าตัดรังไข่ออกทั้งสองข้างหรือให้ยาต่อต้านฮอร์โมนเพศหญิง ในสตรีโสดการทำงานของรังไข่ จะเป็นไปตามรอบเดือนอย่างต่อเนื่อง จึงมีความเสี่ยงจะเกิดภาวะอันเกิดจากฮอร์โมนเพศหญิงได้สูง เช่น เกิดภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เยื่อบุโพรงมดลูกหนา เป็นถุงน้ำหรือก้อนที่เต้านม ติ่งเนื้อหรือเนื้องอกของตัวมดลูก ซึ่งภาวะเหล่านี้จะพบมากขึ้นตามอายุ ในสตรีโสดที่อายุเกิน 40 ปี อาจตรวจพบเนื้องอกตัวมดลูกได้ถึงร้อยละ 30-50 มะเร็งสตรีที่ร้ายแรง คือ…