Tag: โรคผิวหนัง
-
การดูแลผิวหนังสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
การดูแลผิวหนังสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน กว่าร้อยละสามสิบของผู้ป่วยเบาหวานมักเกิดปัญหาผิวหนัง ได้แก่ อาการคัน ผิวหนังอักเสบ การติดเชื้อ ฝีหนอง แผลหายยาก ดังนั้นผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงควรดูแลผิวหนังของตนเองอย่างสม่ำเสมอ ได้แก่ – ทำความสะอาดผิวหนังและซับให้แห้งไว้เสมอ – บริเวณขาหนีบหรือรักแร้หลังอาบน้ำให้ซับให้แห้งและโรยแป้งฝุ่นไว้ ไม่ควรปล่อยให้อับชื้น โดยเฉพาะคนที่อ้วนเพราะอาจทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย – หากเป็นคนที่มีผิวแห้ง ควรทาโลชั่นหรือครีมเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหนัง หากมีเหงื่อออกมาสามารถทาแป้งฝุ่นบาง ๆ ให้สบายตัวขึ้นได้ – หากจำเป็นต้องออกแดด ควรทาครีมกันแดดทุกครั้ง – หลีกเลี่ยงการเกาหรือขีดข่วนอื่น ๆ – สำรวจผิวหนังตนเองสม่ำเสมอว่ามีตุ่ม ผื่น ก้อนหรือบาดแผลหรือไม่ – หากต้องฉีดอินซูลินควรดูว่าบริเวณที่ฉีดมีแผลหรือการอักเสบหรือเปล่า – ไม่ควรอาบน้ำร้อนเกินไป หรือแช่ฟองสบู่เพราะผิวจะยิ่งแห้ง ไม่ควรฟอกสบู่ยาหรือสบู่ที่มีฤทธิ์ทำให้ผิวแห้ง และหลังอาบน้ำควรทาครีมบำรุงผิวให้ความชุ่มชื้นด้วย ยกเว้นบริเวณซอกนิ้วเพราะอาจทำให้เกิดเชื้อราได้ – หากมีบาดแผลควรทำแผลให้ถูกวิธี สำหรับแผลสดให้ใช้น้ำเกลือทำแผล ห้ามใช้แอลกอฮอล์ ยาแดง หรือไอโอดีนเพราะจะระคายเคือง และควรปิดบาดแผลด้วยผ้าทำแผลที่สะอาด – ในช่วงฤดูหนาว หรืออากาศแห้งและเย็น ให้ใช้เครื่องทำความชื้นในบ้าน เพราะบาดแผลบนผิวหนังของผู้ป่วยโรคเบาหวานจะหายยาก ดังนั้นควรรักษาสุขภาพผิวหนังไว้ก่อนจะดีกว่าค่ะ
-
ผื่นลมพิษอาจกำเริบในหน้าหนาวได้
ผื่นลมพิษอาจกำเริบในหน้าหนาวได้ ผื่นลมพิษ ก็คือการคันบนผิวหนัง อาจมีลักษณะบวมเป็นผื่นปื้นแดง มีขนาดต่าง ๆ กันไป ไม่มีขึ้น เกิดขึ้นและกระจายตัวได้เร็ว มักอยู่ไม่นาน หายได้เองโดยไม่มีร่องรอยอะไร แต่ก็อาจมีผื่นใหม่เกิดขึ้นในที่อื่น ๆ ได้อีก ซึ่งมีสาเหตุที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็น… – อากาศที่หนาวเย็นลง – ผื่นที่เกิดขึ้นจากความร้อน เช่น เกิดลมพิษทุกครั้งหลังเล่นกีฬาจนเหงื่อออก – ผื่นบริเวณที่ถูกเข็มขัดหรือยางยืดเสื้อผ้าที่สวมอยู่กดรัดแน่นเกินไป – แพ้อาหาร หรือสิ่งที่ผสมอยู่ในอาหาร ไม่ว่าจะเป็นสารแต่งสี แต่งรส แต่งกลิ่น สารกันบูด หรือสิ่งปนเปื้อนอื่น ๆ – การแพ้ยา บางชนิดก็อาจเป็นยาที่นึกไม่ถึงได้ เช่น วิตามิน ยาถ่าย ยาระบาย ยาหยอดตา หยอดหู หรือยาแผนโบราณต่าง ๆ – เกิดลมพิษเพราะติดเชื้อ ที่พบได้บ่อยก็คือการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบนเช่น หวัด ไซนัสอักเสบ ทอนซิลอักเสบ เป็นต้น เมื่อเกิดผื่นลมพิษไม่ควรเกาผิวหนัง เพราะอาจทำให้เป็นแผลและอักเสบได้ หากคันมากให้ทาด้วยคาลามายน์โลชั่นเพื่อลดอาการคัน ในรายที่เป็นรุนแรง (ซึ่งอาจพบได้น้อยมาก)…
-
สาว ๆ อย่าเพิ่งตกใจ หากเป็นเริมที่อวัยวะเพศ
สาว ๆ อย่าเพิ่งตกใจ หากเป็นเริมที่อวัยวะเพศ โรคเริม คือ โรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส แล้วทำให้ผิวหนังมีอาการบวมเป็นตุ่มน้ำและอักเสบ หลังจากนั้นเชื้อจะไปแอบอยู่ตามปมประสาท เมื่อใดที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำลง หรือถูกกระตุ้นจากปัจจัยภายนอก ไม่ว่าจะเป็น ความเครียด แสงแดด หรือรอบเดือนก็อาจจะกลับมาเป็นซ้ำได้อีก คนเรากว่าร้อยละ 80-90 ต่างก็เคยได้รับเชื้อเริมเข้าสู่ร่างกายกันทั้งนั้น แต่อาจไม่ได้แสดงอาการของโรคในทันทีเพราะยังมีภูมิคุ้มกันแข็งแรงอยู่ แล้วโรคเริมนี่ก็สามารถเกิดได้ทั่วร่างกายด้วย จะมีอาการเจ็บ ๆ ตึง ๆ คัน ๆ ก่อน ต่อมาภายในหนึ่งวันจะมีตุ่มน้ำพองใส ๆ ขึ้น แล้วแตกออกเป็นแผลตื้น ๆ ตกสะเก็ดแล้วก็หายไป พบบ่อยบริเวณริมฝีปาก และอวัยวะเพศ จัดได้ว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง โรคนี้สามารถเป็นที่ส่วนใดของร่างกายก็ได้ทั้งสิ้น และมักเป็นซ้ำที่เดินด้วย เป็นเชื้อที่ไม่สามารถขับออกไปจากร่างกายได้ เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้นั้น มีอยู่ด้วยกันสองชนิดก็คือ – Herpes simplex Virus 1 มักเกิดอาการบริเวณปากและผิวหนังเหนือสะดือขึ้นไป ไม่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่ติดต่อกันได้ทางน้ำลายผ่านการจูบ การดื่มน้ำแก้วเดียวกัน ใช้ลิปสติกแท่งเดียวกัน หรือกินข้าวไม่ใช้ช้อนกลางก็ติดต่อได้ – Herpes simplex…
-
การป้องกันโรคฉี่หนู และโรคตาแดง และโรคผิวหนังในช่วงที่มีน้ำท่วม
การป้องกันโรคฉี่หนู และโรคตาแดง และโรคผิวหนังในช่วงที่มีน้ำท่วม โรคที่มักจะระบาดบ่อย ๆ เวลาน้ำท่วมได้แก่ โรคตาแดง โรคฉี่หนู และโรคผิวหนัง โรคฉี่หนูจะมีอาการไข้สูง ปวดหัว เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อน่อง ตาแดง ตาเหลืองได้ ควรหลีกเลี่ยงการแช่น้ำ ลุยย่ำน้ำโคลนโดยไม่จำเป็น แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรสวมรองเท้าบู้ทยางกันน้ำ ยิ่งโดยเฉพาะผู้ที่มีบาดแผลแล้วยิ่งควรระวัง ไม่ควรแช่น้ำนาน ๆ เมื่อขึ้นจากน้ำควรรีบชำระล้างร่างกายให้สะอาดแล้วซับให้แห้ง ทานอาหารในภาชนะที่ปิดมิดชิด เก็บขยะทั้งหมดใส่ถุงพลาสติกและถังขยะที่ปิดมิดชิด ไม่ให้เป็นแหล่งอาหารของหนูได้ และควรดูแลที่พักอาศัยให้ปราศจากหนูด้วย ส่วนโรคตาแดง หรือเยื่อตาขาวอักเสบจากเชื้อไว้รัสนั้น จะมีอาการระคายเคืองตา ปวดตา น้ำตาลไหล กลัวแสง มีขี้ตา ตาแดงหนังตาบวม โดยอาจเริ่มที่ตาข้างหนึ่งก่อนแล้วลามไปอีกข้าง บ้างก็มีไข้ร่วมด้วย ควรป้องกันโดยหมั่นล้างมือให้สะอาด ด้วยน้ำกับสบู่ ไม่ควรขยี้ตาและอย่าให้แมลงตอมตาได้ หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น อาทิเช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว และควรแยกที่นอนจากคนอื่นด้วย ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาหยอดตา ยิ่งหากมีอาการปวดตามาก ตามัว ขี้ตาเหลืองหรือเขียว หรือไม่ทุเลาภายในหนึ่งสัปดาห์ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนค่ะ โรคผิวหนังที่มากับน้ำท่วมนั้น จำแนกอาการของแต่ละโรคได้ดังนี้…. – ผื่นคัน จะมีผื่นหรือมีตุ่มคันบริเวณที่สัมผัสกับน้ำหรือโดนยุงกัด มักเกิดขึ้นพร้อมกันหลาย…
-
ความแตกต่างของโรคกลากและโรคเกลื้อน
ความแตกต่างของโรคกลากและโรคเกลื้อน ทั้งโรคกลากและโรคเกลื้อนนั้นเป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราและเชื้อยีนส์ มิได้เป็นโรคทางพันธุกรรมแต่อย่างใด ลักษรของกลากนั้นจะเห็นเป็นวงแดง มีขุยเป็นขอบอยู่ด้านนอก หากเป็นตามลำตัวตัวเรียกว่ากลาก หากเป็นที่ขาหนีบเรียกสังคัง นอกจากนี้แล้วยังพบได้ที่ฝ่าเท้า ง่ามนิ้วเท้า ที่เล็บและหนังศีรษะได้ด้วย โรคกลากบางแห่งนั้นแค่ใช้ยาทาก็หาย เช่น กลากบนลำตัว แต่ต้องทาให้ครบตามที่ระบุไว้บนฉลากยา แต่หากเป็นกลากที่เล็บมือ เล็บเท้าแล้วอาจต้องกินยาด้วยหลายเดิน จึงควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยให้แน่ชัดว่าเป็นกลาก หรือเป็นโรคอื่นกันแน่ ซึ่งหากเป็นโรคอื่นหรือโรคที่เกิดจากเชื้อราแล้ว แต่ละชนิดจะต้องมีการรักษาและการใช้ยาที่แตกต่างกันไป ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์จะดีกว่า ในส่วนของโรคเกลื้อนนั้นจะเกิดจากเชื้อยีนส์ที่อยู่บนผิวหนังของเราอยู่แล้ว อาการจะเห็นเป็นรอยจุดขาวตามรูขุนขน บางรายก็อาจเห็นเป็นผื่นสีชมพู สีน้ำตาลหรือสีดำก็ได้ คันหรือไม่คันก็ได้ การรักษาโรคเกลื้อนทั่วไปก็อาจใช้ยาทาฆ่าเชื้อราชนิดที่ฆ่าเชื้อยีสต์ได้ด้วย เช่น คีโทโคนาโซล โคลไทรมาโซล หรือแชมพูซิงก์ไพริไทออน หากเป็นมากทั้งตัว อาจใช้ยากินเช่น คีโทโคนาโซลด้วย แต่เนื่องจากยานี้อาจเป็นพิษต่อตับได้ จึงควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยให้ได้ก่อน การป้องกันและการปฏิบัติตัวในช่วงรักษาโรคผิวหนังนั้นควรสวมใส่เสื้อผ้าที่ซักสะอาดและตากแห้งสนิท เพราะเชื้อเหล่านี้จะชอบอยู่ตามบริเวณที่อบ อับชื้น มืดมิด และมีเหงื่อไคล หากชอบออกกำลังกายที่มีเหงื่อมากควรอาบน้ำให้สะอาดแล้วซับตัวให้แห้งทุกครั้ง ไม่ควรสวมถุงเท้าซ้ำ หรือรองเท้าที่เปียกแฉะ ควรสวมถุงเท้าซักใหม่ และรองเท้าที่แห้งสะอาดทุกครั้ง รวมไปถึงเสื้อผ้าสำหรับเล่นกีฬา ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้าต่าง ๆ ด้วย การเล่นกับสัตว์บางชนิดที่มีโรคผิวหนังอยู่แล้วก็อาจทำให้ติดเชื้อได้เช่นกัน ไม่ควรสวมกางเกงที่หนาและคับ หรือสวมกางเกงในซ้ำ ๆ…
-
อากาศร้อนอับชื้น ระวังเป็นกลาก
อากาศร้อนอับชื้น ระวังเป็นกลาก สภาพอากาศในประเทศไทยที่มีความร้อนทำให้เหงื่อออกได้ง่าย สร้างความอับชื้นให้กับผิวหนังนั้น ทำให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดี จึงเป็นสาเหตุให้เกิดโรคกลากได้บ่อย ๆ โรคกลากนี้ทำให้ผู้เป็นขาดความหมั่นใจได้ ติดต่อได้ง่ายจากการสัมผัส การใช้สิ่งของร่วมกัน ติดต่อจากคนสู่คน จากสัตว์สู่คนและจากพื้นดินได้ เพราะเชื้อกลากนั้นอยู่ในรูปของสปอร์ เมื่อมีสภาวะที่เหมาะสมจะขยายเส้นใยเข้าทำลายผิวหนังกำพร้า เส้นผมหรือเล็บ กินโปรตีนเคราตินบนผิวหนังเป็นอาหาร บริเวณที่กลากมักจะขึ้นนั้น เกิดตามส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น หนังหัว เส้นผม ใบหน้า แขนขา ลำตัว มือเท้า ขาหนีบ หรือแม้แต่แผ่นเล็ก มักมีลักษณะเป็นผื่นแดงมีวงขอบชัดเจน ผื่นแห้งเป็นขุย บางรายก็อักเสบอย่างรุนแรงขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันแต่ละคน หากเป็นกลากที่บริเวณผมจะมีปลอกเชื้อราหุ้มอยู่ ผมจะหักและเปราะได้ง่าย ส่วนกลากเล็บอาจเริ่มที่ปลายหรือโคนเล็บก็ได้ทั้งสิ้น สีของเล็บจะเปลี่ยนไปเป็นสีขาว น้ำตาล เขียว หรือเทา เล็บเปราะและเปื่อยง่าย การรักษาสามารถใช้ยาได้หลายกลุ่ม มีทั้งยาทาและยากิน โดยแพทย์จะพิจารณาจากลักษณะของผื่นและบริเวณที่เป็น ผู้เป็นกลากไม่ควรซื้อยาใช้เอง ควรไปหาหมอรับการวินิจฉัย หากในบ้านเป็นกันหลายคนควรรักษาพร้อมกันเพื่อป้องกันการติดต่อและเป็นซ้ำได้อีก อาจใช้เวลานานในการรักษาและไม่ควรหยุดยาเองแม้อาการจะดีขึ้นแล้วก็ตาม การป้องกันโรคกลาก ก็คือการรักษาความสะอาดของร่างกาย อาบน้ำฟอกสบู่ให้สะอาดทุกวัน ซับตัวให้แห้ง สวมเสื้อผ้าที่ระบายเหงื่อได้ดี อย่าปล่อยให้ร่างกายอับชื้น ยิ่งโดยเฉพาะซอก ข้อพับต่าง ๆ…
-
รู้จักกับโรคหิดและการดูแลรักษา
รู้จักกับโรคหิดและการดูแลรักษา โรคหิดเป็นโรคระบาดทางผิวหนังชนิดหนึ่งเกิดจากการติดเชื้อพยาธิ มักพบได้ตามผู้ที่อยู่กันอย่างแออัด เช่น ตามวัด โรงเรียน โรงงาน ค่ายทหาร เป็นโรคที่สามารถรักษาและป้องกันได้เช่นเดียวกับโรคผิวหนังอื่น ๆ แต่หากปล่อยไว้อาจกลายเป็นแผลพุพองและกลายเป็นโรคหน่วยไตอักเสบเฉียบพลันแทรกซ้อนได้เหมือนกัน สาเหตุของโรคนี้ เกิดจากเชื้อหิดซึ่งมีลักษณะเป็นตัวไรเล็ก ๆ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เป็นตัวเมียที่เมื่อผสมพันธุ์แล้วจะขุดรูอยู่บนผิวหนัง ทำให้มีตุ่มนูนแดงตรงรูขุนขนและมีอาการคัน สามารถติดต่อร่วมกันได้ด้วยการสัมผัสหรือใช้ของร่วมกัน บางรายอาจติดต่อทางการมีเพศสัมพันธ์ ทำให้เกิดเป็นตุ่มคันบริเวณอวัยวะเพศได้ ถือเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อีกชนิดหนึ่งนั่นเอง โดยอาการของโรคหิดนั้น จะมีตุ่มน้ำใส่และเป็นตุ่มหนอง คันขึ้นกระจายเหมือนกันทั้งสองด้านของร่างกาย พบมากตามง่ามนิ้วมือ นิ้วเท้า ข้อมือ ข้อศอก รักแร้ รอบหัวนม รอบสะดือ ก้น ข้อเท้า อวัยวะเพศ หากเป็นเด็กเล็กอาจขึ้นที่หน้าและหัวได้ด้วย บางรายอาจเป็นผื่นนูนแดงเป็นเส้นคดเคี้ยวขนาดเท่าเส้นด้าย ขนาดประมาณ 2-3 มม. มีอาการคันมากตอนกลางคืน และผู้ป่วยบางคนอาจเกาจนผิวหนังติดเชื้อซ้ำซ้อนได้อีก การดูแลตนเองเมื่อพบกับตุ่มคันตามร่างกายนั้นก็ให้รักษาตามอาการเบื้องต้นก่อน เช่น หากแพ้ยุงหรือแมลงกัดรวมทั้งผื่นสัมผัส ให้ใช้ครีมสเตียรอยด์ทา และหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ หากเป็นแผลพุพองให้ปรึกษาแพทย์ ซึ่งอาจจ่ายยาปฏิชีวนะให้คุณทาน นอกจากการใช้ยารักษาโรคหิดตามแพทย์สั่งแล้ว ก็ควรปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการติดเชื้อด้วย ได้แก่ ควรรักษาทุกคนในบ้านไปพร้อม ๆ กัน ในส่วนของเสื้อผ้า…
-
โรคสะเก็ดเงิน สาเหตุและการรักษา
โรคสะเก็ดเงิน สาเหตุและการรักษา หากคำนวณตามจำนวนประชากรโลกใบนี้แล้ว โรคสะเก็ดเงินสามารถพบได้ประมาณร้อยละ 2 เท่านั้น พบได้ทั้งเพศชายและเพศหญิงพอ ๆ กัน ซึ่งพบได้หลายรูปแบบดังนี้ – ผิวหนังเป็นปื้นนูนหนาขนาดใหญ่ และเป็นเรื้อรัง ปื้นมีขอบเขตชัดเจน สีชมพูถึงแดง มีสะเก็ดสีเงินปกคลุม พบได้มากบริเวณ ข้อต่อ ข้อศอก ข้อเข่า แขนขา และหลังส่วนล่าง – ปื้นรูปหยดน้ำ พบได้มากในเด็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่ตอนต้น เป็นปื้นนูนขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร ขึ้นเป็นจำนวนมาก บริเวณลำตัว แขนขา และมีอาการหลังจากการเจ็บคอ – เป็นผื่นบริเวณข้อพับ ขาหนีบ รักแร้ ราวนม – ผื่นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า เป็นผื่นหนา ๆ ที่ทำให้ฝ่ามือ ฝ่าเท้าแตกและเจ็บ – เป็นตุ่มหนองทั่วร่างกาย มีไข้ ไม่สบายเจ็บผิวหนัง – เป็นผื่นแดงทั่วตัว มีผิวหนังอักเสบทั่วร่างกายกว่าร้อยละ 90 ขึ้นไป…
-
ความเครียด…อาจเป็นต้นเหตุของโรคผิวหนังได้หลายชนิด
ความเครียด…อาจเป็นต้นเหตุของโรคผิวหนังได้หลายชนิด ด้วยการใช้ชีวิตในทุกวันนี้ทำให้เกิดความเครียดในหมูคนไทยกันมากขึ้น ก่อให้เกิดผลเสียหลายประการไม่ว่าจะเป็น ทำให้ไม่มีสมาธิในการทำงาน อารมณ์ไม่มั่นคง หงุดหงิด โมโหง่าย ปวดท้อง ปวดหัว ปวดหลังนอนไม่หลับ แล้วยังอาจเป็นบ่อเกิดของโรคร้ายแรงอื่น ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคกระเพาะอาหาร ต่อมไทรอยเป็นเป็นพิษ รวมไปถึงโรคจิต โรคประสาทได้อีก แต่เชื่อหรือไม่ว่านอกจากนี้แล้ว ความเครียดยังเป็นบ่อเกิดของโรคผิวหนังนานาชนิดได้อีกด้วยค่ะ สามารถแบ่งออกเป็นสามกลุ่มได้ดังนี้ – ในส่วนผู้ที่เป็นโรคผิวหนังอยู่แล้ว การมีความเครียดหรือโรคทางใจทำให้โรคกำเริบได้ เช่น ผมร่วง ภูมิแพ้ผิวหนัง เริม คัน สะเก็ดเงิน สิวเห่อ โรคผิวเปลือกไม้ หูด รวมไปถึงลมพิษ – กลุ่มโรคผิวหนังที่ทำให้จิตป่วยและเครียด คือโรคผิวหนังที่ทำให้ผู้ป่วยมีลักษณะภายนอกไม่น่ามอง เช่น สิวรุนแรง ด่างขาว สะเก็ดเงิน เริ่ม ผู้ป่วยจึงเสียความมั่นใจ รู้สึกอับอาย – กลุ่มโรคทางใจที่ทำให้เกิดอาการทางผิวหนัง เช่น โรคชอบดึงผมเล่นจนร่วง โรคหลงผิดคิดว่ามีแมลงหรือพยาธิไต่ตามผิวหนัง โรคฝังใจว่ามีเส้นใยผุดออกมาจากผิวหนัง โรคไม่พอใจในรูปร่างหน้าตาตนเอง ชอบคิดว่าตนเองไม่สวย ผมบาง ขนดก และชอบเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น…
-
หลีกเลี่ยงหวัดในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง
หลีกเลี่ยงหวัดในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง ในระยะที่อากาศเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เริ่มมีฝนตกมากขึ้น ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายค่อนข้างต่ำ หรือสุขภาพอ่อนแอเพราะปรับตัวไม่ทัน จึงเจ็บป่วยได่ง่าย ยิ่งโดยเฉพาะโรคติดเชื้อทางลมหายใจจำพวกโรคหวัด หรือไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อกันได้ง่ายนั้น เราจึงยิ่งจำเป็นต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมในการป้องกันโรคติดต่อเหล่านี้นั่นเอง ซึ่งมีวิธีการดูแลตัวเองง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ค่ะ – เมื่อรู้ตัวว่าเริ่มป่วย เริ่มเป็นไข้ ไม่สบายรู้สึกอ่อนเพลีย นอนไม่พอ ยิ่งไม่ควรเข้าไปเสี่ยงในแหล่งชุมชนที่มีคนอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นตลาด ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล เพราะว่าร่างกายในช่วงที่มีภูมิต้านทานต่ำจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย – หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือหากไม่สะดวกในการล้างมือจะใช้เจลแอลกอฮอล์มาเช็ดก็ได้ ช่วยป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ดี ยิ่งหากอยู่ในช่วงที่กำลังมีอาการไอหรือจาม ยิ่มควรหมั่นล้างมือบ่อย ๆ เพราะหากนำมือไปป้ายตาก็อาจติดเชื้อตาอักเสบได้ หรือไปหยิบจับสิ่งของก็จะเท่ากับเป็นการแพร่เชื้อให้ผู้อื่นอีกทาง – หลีกเลี่ยงและอยู่ห่างจากผู้ป่วยที่มีอาการเป็นหวัด ซึ่งหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ควรสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง จะช่วยป้องกันเชื้อหวัดและโรคทางเดินหายใจได้ดี – หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แล้วพักผ่อนให้เพียงพอ – ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ สองลิตร – หากในบ้านของเรามีเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุที่ป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ และควรป้องกันการแพร่เชื้อให้แก่ผู้อื่นด้วยการไม่คลุกคลีกับผู้ใกล้ชิด ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูกเมื่อไอหรือจาม และหมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วย – สำหรับกลุ่มผู้เสี่ยงสูง…