Tag: โรคปอดบวม

  • ปลายฝนต้นหนาว ระวังเด็ก ๆ เป็นปอดบวม

    ปลายฝนต้นหนาว ระวังเด็ก ๆ เป็นปอดบวม

    ปลายฝนต้นหนาว ระวังเด็ก ๆ เป็นปอดบวม โรคปอดบวมนั้น หากเกิดขึ้นในผู้ใหญ่แล้วก็ยังไม่ค่อยน่ากังวลเท่าไรนัก เพราะร่างกายผู้ใหญ่มีความแข็งแรงและมีภูมิต้านทานโรคมากกว่า แต่หากเป็นเด็กแล้วก็มีอัตราการป่วยหนักและเสียชีวิตสูงอยู่มาก ดังนั้นในช่วงปลายฝนต้นหนาว ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม จึงเป็นช่วงที่ต้องเฝ้าระวังมิให้ลูก ๆ หลานติดเชื้อปอดบวมเข้าได้ โรคปอดบวมนั้น สามารถติดเชื้อได้ด้วยการหายใจเอาเชื้อที่ล่องลอยในอากาศเข้าสู่ปอด, ติดเชื้อได้จากการไอจามรดกัน หรือการคลุกคลีใกล้ชิดผู้ป่วย อาการเริ่มต้นจะมีไข้หวัดมาก่อนประมาณ 2-3 วัน แล้วจะมีไข้สูงขึ้น ไอหนัก หายใจหายและถี่ หากเป็นมากจะหายใจจะชายโครงบุ๋ม ในเด็กทารกจะซึม ไม่กินนม บางรายไข้สูงมากอาจจะชักได้ บางรายก็มีเสียงหายใจดังวี๊ด ๆ ปากเขียว เล็บเขียว กระสับกระส่าย ดังนั้นหากเด็กป่วยขึ้นมาในระยะปลายฝนต้นหนาว คุณพ่อคุณแม่จึงต้องดูแลหรือพาไปพบแพทย์โดยเร็ว หากมิเช่นนั้นแล้วอาจลุกลามรุนแรงขึ้นไปเป็นโรคอื่น ๆ เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด หรือหูอักเสบได้ นำไปสู่การเสียชีวิตได้เลยทีเดียว ในส่วนของการรักษาแพทย์จะจ่ายยาแล้วให้กลับไปดูแลที่บ้านแล้วจึงนัดมาดูอาการอีกครั้ง ซึ่งการดูแลเด็กที่ป่วยเป็นโรคปอดบวมที่บ้าน ก็ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้ – กินยาตามขนาดและเวลาให้เคร่งครัด ด้วยความที่ยามีหลายขนาน จึงต้องอ่านฉลากยาให้ละเอียดก่อนใช้ ห้ามซื้อยามาให้ผู้ผ่วยกินเอง แม้แต่ยาแก้ไอก็ตาม เพราะอาจเกิดอาการแทรกซ้อนเป็นอันตรายได้ – หากเด็กมีไข้สูง ควรให้ยาลดไข้ตามขนาดที่กำหนดมีระยะเวลาห่างกันอย่างน้อย…

  • โรคปอดบวม ติดต่อกันได้ง่ายในฤดูหนาว โดยเฉพาะเด็กเล็ก

    โรคปอดบวม ติดต่อกันได้ง่ายในฤดูหนาว โดยเฉพาะเด็กเล็ก

    โรคปอดบวม ติดต่อกันได้ง่ายในฤดูหนาว โดยเฉพาะเด็กเล็ก ปอดบวม เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่รุนแรงและเฉียบพลัน อาจทำให้เด็กเล็กถึงกับเสียชีวิตได้หากรักษาไม่ทันการณ์ ซึ่งแต่ละปีนั้นองค์การอนามัยโลกระบุว่ามีเด็กเสียชีวิตด้วยโรคปอดบวมมากเป็นอันดับหนึ่ง คือโดยเฉลี่ยเด็กจะเสียชีวิตทุก ๆ 20 นาทีเลยทีเดียว เรียกว่าน่ากลัวไม่น้อยเลย สาเหตุของโรคนี้เกิดได้ทั้งจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส ผู้มีเจ็บป่วยอยู่แล้ว มีภูมิต้านทานต่ำ คนชรา และเด็กทารก มักจะติดเชื้อได้ง่าย หากคลุกคลีอยู่กับผู้ป่วย หรืออยู่ในที่ที่แออัดจนสูดหายใจเอาเชื้อที่ฟุ้งในอากาศเข้าไป อาการของโรคก็คือมีไข้สูง ไอหนัก หายใจลำบากหรือหายใจเร็ว ถ้าเป็นมากขึ้นจะหายใจหอบ มีเสียงวี๊ด ๆ หรือหายใจหอบแรงจนซี่โครงบุ๋ม เล็บมือเล็บเท้า และปากซีดคล้ำขียว ซึมหรือกระสับกระส่าย หากไม่ได้รับการรักษาจากแพทย์อาจเป็นอันตรายเสียชีวิตได้ การป้องกันโรคนี้ก็คือควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรงและมีภูมิต้านทานโรคเข้าไว้ ไม่ควรเข้าไปคลุกคลีกับคนไข้หรือเข้าไปอยู่ในชุมชนหรือสถานที่แออัด ที่อาจติดเชื้อได้ รักษาความอบอุ่นของร่างกายไว้ตลอดเวลาในฤดูหนาว หากเป็นเด็กทารกควรเลี้ยงดูด้วยนมแม่จะได้รับภูมิต้านทานผ่านทางนมแม่มาด้วย ในส่วนของเด็กเล็กที่เริ่มเป็นหวัด ผู้ปกครองควรเอาใจใส่บุตรหลานและสังเกตอาการ โดยปกติหวัดทั่วไปเด็กจะหายดีภายในหนึ่งอาทิตย์ โดยให้เด็กกินอาหารอ่อน ๆ ย่อยง่าย จิบน้ำอุ่นบ่อย ๆ เพื่อมิให้ขาดน้ำ เสมหะจะได้อ่อนตัวขับออกง่ายด้วย หากมีไข้สูงให้ยาลดไข้และเช็ดตัวบ่อย ๆ ให้เด็กพักผ่อนนอนหลับมาก ๆ สอนเด็กให้ปิดปากปิดจมูกทุกครั้งเวลาไอหรือจาม และสอนให้ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่บ่อย ๆ…

  • ระวัง…โรคปอดบวมในช่วงที่อากาศเย็นชื้น

    ระวัง…โรคปอดบวมในช่วงที่อากาศเย็นชื้น

    ระวัง…โรคปอดบวมในช่วงที่อากาศเย็นชื้น ระยะปลายฝนต้นหนาวที่ยังมีสายฝนชุ่มฉ่ำ กับอากาศที่เริ่ม ๆ จะเย็นลงนั้น ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ เด็ก คนชรา หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่ ควรรักษาและระมัดระวังสุขภาพให้มาก เพราะช่วงเวลาที่อากาศชื้นและเย็นเช่นนั้นอาจมีโอกาสเสี่ยงให้คุณติดเชื้อโรคปอดบวมและโรคในระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ ได้ง่าย โดยโรคปอดบวมนี้มีความอันตรายร้ายแรงมาก และยังเป็นโรคที่คร่าชีวิตเด็กเล็กเป็นอันดับหนึ่งของโลกมากว่าห้าปี ซึ่งเกือบทั้งหมดเกิดจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส ซึ่งปัจจัยความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับ – อาการของโรคว่าเป็นแบบเฉียบพลัน หรือค่อยเป็นค่อยไป – อายุของผู้ป่วย หากเป็นเด็กหรือคนชราและมีร่างกายอ่อนแอก็อาจเป็นอันตรายรุนแรงขึ้น – ชนิดของเชื้อ หากพบว่าเป็นเชื้อนิวโมคอกคัสก็จะยิ่งมีความรุนแรง – สภาวะของผู้ป่วย หากเป็นโรคเรื้อรังหรือมีความอ่อนแอก็อาจอันตรายถึงชีวิตได้ โดยอาการในเบื้องต้นของผู้ป่วยนั้นจะมีไข้สูง หอบ ไอลึก หายใจเร็วและลำบาก หากเป็นเด็กเล็กยิ่งต้องดูแลใกล้ชิด ด้วยการเปิดเสื้อสังเกตหน้าอกว่าหายใจแรงจนชายโครงบุ๋มหรือหายใจมีเสียงวี๊ดหรือยัง ถ้าพบว่ามีอาการดังกล่าวรีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน ในด้านของการรักษาโรคปอดบวมนั้นขึ้นอยู่ชนิดของเชื้อโรค หากเกิดจากเชื้อไวรัสจะรักษาตามอาการจนกว่าร่างกายจะกำจัดเชื้อได้เอง และต้องระมัดระวังมิให้ไปติดเชื้อโรคอื่นเพราะช่วงนี้ร่างกายจะอ่อนแอ แต่หากเป็นเชื้อนิวโมคอกคัสที่อยู่ในโพรงจมูกและลำคอ ที่เป็นสาเหตุของโรคไซนัสอักเสบ หูน้ำหนวก หากเชื้อนี้เล็ดลอดเข้าสู่กระแสเลือด จะทำให้ตับวาย ไตวาย หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ เกิดการชัก เกร็ง สมองทำงานผิดปกติ ทำให้ปอดหรือหัวใจหยุดทำงานจนกระทั่งเสียชีวิตได้ หากในครอบครัวมีเด็กเล็กหรือคนที่อ่อนแอกำลังไม่สบาย ควรดูแลสุขภาพอย่างใกล้ชิด หากพบสิ่งผิดปกติควรพาไปพบแพทย์โดยด่วน โรคปอดบวมนั้นระยะแรกหรืออาหารไม่รุนแรงแพทย์อาจสั่งยาให้แล้วกลับมาพักผ่อนที่บ้าน และนัดไปดูอาการภายหลัง…

  • ป้องกันโรคปอดบวมในเด็ก…ในช่วงหน้าฝน

    ป้องกันโรคปอดบวมในเด็ก…ในช่วงหน้าฝน

    ป้องกันโรคปอดบวมในเด็ก…ในช่วงหน้าฝน โรคปอดบวมเป็นโรคติดเชื้อร้ายแรงเฉียบพลัน ที่รุนแรงและมีอันตรายถึงตายได้เลยในเด็กเล็ก ๆ โรคนี้นั้นโดยประมาณแล้วองค์การอนามัยโลกระบุว่า ทุก ๆ นาทีจะมีเด็กอายุต่ำกว่าห้าขวบเสียชีวิตด้วยโรคปอดบวมอย่างน้อยหนึ่งคน จึงทำให้เด็กเล็กทั่วโลกเสียชีวิตด้วยโรคนี้เฉลี่ยปีละประมาณสองล้านคนแลยทีเดียว โรคปอดบวมนี้เกิดจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียค่ะ มักจะพบในผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ มีภูมิต้านทานโรคต่ำ ไม่ว่าจะเป็น เด็กเล็กอายุน้อยกว่าห้าขวบ, ทารกแรกเกิดไม่แข็งแรง, ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี, ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ รวมไปถึงผู้สูงอายุด้วย โดยระยะที่ระบาดมากที่สุดก็คือช่วงหน้าฝนตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายนของทุกปี โรคนี้ติดต่อกันได้ด้วยการหายใจเอาเชื้อที่ฟุ้งอยู่ในอากาศเข้าสู่ปอด, การไอหรือจามรดกัน, การคลุกคลีกับผู้ป่วยโรคนี้อยู่แล้ว, การสำลักสิ่งแปลกปลอมที่มีเชื้อโรคเข้าไปในจมูกและลำคอ เช่น เด็กที่สำลักน้ำขณะเล่นน้ำก็สามารถเป็นโรคปอดบวมได้ด้วย อาการของโรคนี้จะมีไข้สูง ไอหนัก ไอมาก หายใจเร็ว หรือหายใจลำมาก และถ้าอาการหนักจะหอบถี่ หายใจลำบากหรือมีเสียงดังวี๊ด ๆ หรือหายใจแรงหอบจนซี่โครงบุ๋มตัว เล็บมือเล็บเท้า ริมฝีปากเขียวคล้ำ ซึมหรือกระสับกระส่าย หากมีอาการเช่นนี้แล้วควรรีบน้ำผู้ป่วยไปพบแพทย์โดยด่วนเพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ สำหรับโรคนี้ที่มีความอันตรายมากสามารถป้องกันได้โดย – รักษาสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนนอนหลับอย่างสม่ำเสมอ – กินอาหารที่ประโยชน์ และออกกำลังกายบ่อย ๆ – ไม่ควรพาเด็กไปในที่แออัดหรือมีคนมาก รวมทั้งไม่ควรให้เด็กอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย – สำหรับเด็กที่เลี้ยงในห้องแอร์ควรสวมเสื้อผ้าให้อบอุ่นไว้มาก ๆ – เด็กเล็กควรดื่มน้ำนมแม่เพื่อให้ได้รับภูมิต้านทานให้เต็มที่…

  • ดูแลลูก ๆ ให้ห่างไกลจากโรคหูอักเสบในฤดูฝนนี้

    ดูแลลูก ๆ ให้ห่างไกลจากโรคหูอักเสบในฤดูฝนนี้

    ดูแลลูก ๆ ให้ห่างไกลจากโรคหูอักเสบในฤดูฝนนี้ ในช่วงหน้าฝนจะเป็นฤดูที่เด็ก ๆ มักมีความเสี่ยงเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบมากกว่าฤดูอื่นของประเทศไทย ซึ่งมักมาพร้อมกับโรคหวัดในหน้าฝน  หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจทำให้ลุกลามจนกลายเป็นโรคหูหนวกได้ในอนาคต  กลุ่มที่น่าเป็นห่วงก็คือเด็กที่อายุน้อยกว่า 3 ขวบ จากสถิติแล้วกว่าร้อยละ 80 นั้นเคยเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต ซึ่งสาเหตุของโรคหูชั้นกลางอักเสบนี้เกิดจากการติดเชื้ไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย แล้วเกิดการอักเสบและบวมแดงของแก้วหู  จนเกิดเป็นน้ำหรือหนองในเยื่อแก้วหู  บางรายที่รุนแรงก็ทำให้เยื่อแก้วหูฉีกขาดได้  เด็กที่มีความเสี่ยงมากนอกจากจะเป็นเด็กที่อายุน้อยกว่า 3 ขวบแล้ว ยังเป็นเด็กที่อยู่ในโรงเรียนอนุบาล หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก รวมไปถึงเด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้ ไม่แข็งแรง ป่วยง่าย ติดเชื้อโรคหวัด คออักเสบ หรือโพรงจมูกอักเสบมาจากเพื่อน ๆ  ช่วงที่ติดต่อกันได้ง่ายก็คือหน้าฝน ที่ทำให้เยื่อบุในท่อยูสเตเชี่ยนที่เชื่อมต่อระหว่างูไปยังคอและโพรงจมูกเกิดการบวมและคั่งน้ำ  ทำให้เกิดแรงดันในหูมากขึ้น จนเชื้อแพร่กระจายเข้าสู่หูชั้นกลางได้ง่ายขึ้นนั่นเอง ส่วนมากอาการเหล่านี้จะดีขึ้นในระยะไม่เกิน 5 วัน  แต่ในรายที่รุนแรงเชื้ออาจเข้าไปยังสมองทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือฝีในสมอง  ซึ่งนอกจากนี้หากเชื้อพลัดหลงเข้าไปในกระแสเลือดยังทำให้เกิดโรคติดเชื้อในกระแสเลือดได้อีก  หากลุกลามไปยังปอดก็ทำให้ปอดอักเสบรุนแรงได้  ซึ่งการรักษาจะยิ่งยุ่งยากมากขึ้นและเด็กบางรายก็มีโอกาสเสียชีวิตด้วย การป้องการเชื้อเหล่านี้เป็นเรื่องที่ผู้ปกครองและคุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจให้มาก  การป้องกันตั้งแต่ทารกก็คือให้ลูกกินนมแม่เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง  ทานอาหารที่เหมาะสมกับภัย และเสริมภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดวัคซีนให้ครบ  รวมไปถึงวัคซีนไอพีดีพลัสปอด-หูอักเสบ  ซึ่งช่วยป้องกันโรครุนแรงอันกได้แก่ โรคไอพีดี ปอดบวม โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคติดเชื้อในกระแสเลือดแล้วยังช่วยป้องกันการเกิดโรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็กเล็กด้วย สำหรับในฤดูฝนนี้คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเด็ก…

  • สังเกตโรคร้ายให้ดี คุณอาจเป็น “ปอดบวม”

    สังเกตโรคร้ายให้ดี คุณอาจเป็น “ปอดบวม”

    สังเกตโรคร้ายให้ดี คุณอาจเป็น “ปอดบวม” โรคที่มักเกิดขึ้นในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง และมีฝนตกหนักก็คือ โรคปอดบวมนั้นเอง ซึ่งกรมควบคุมโรคได้เปิดเผยว่าโรคปอดบวมนี้ คร่าชีวิคคนไทยเป็นอันดับหนึ่งถึงร้อยละ 78 เลยทีเดียว ซึ่งวิธีการสังเกตว่าตนเองหรือคนที่รักเป็นโรคปอดบวมแล้วหรือยัง ให้สังเกตอากาศดังต่อไปนี้ค่ะ 1. เป็นไข้ตัวร้อน และเมื่อเป็นแล้วมักจะไม่ค่อยลด 2. ไอมาก ไอหนัก ไอถี่ขึ้นเรื่อย ๆ 3. หายใจหอบหนัก หายใจไม่ทั่วท้อง หายใจไม่ทัน 4. ลักษณะของน้ำมูกจะเปลี่ยนสีไปจากเดิม คือจากใส ๆ เป็นสีขุ่นข้นและสีเขียว ยิ่งโดยเฉพาะหากเป็นลูกเล็ก ๆ ที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ ให้สังเกตว่าหากเด็กมีอาการไข้สูง ซึม ไม่กินน้ำหรือกินนม รวมทั้งไอมีเสมหะ หายใจหอบเร็ว หรือหายใจมีเสียงวี๊ด หรือหายใจจนกระทั่งชายโครงบุ๋มลง ขอให้รีบนำเด็กไปพบแพทย์ทันที เพื่อรักษาแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่อาการจะทรุดตัวลงอย่างรวดเร็ว และอาจทำให้เสียชีวิตได้  

  • 4 โรคต้องระวังสำหรับคนชอบขึ้นภู

    4 โรคต้องระวังสำหรับคนชอบขึ้นภู

    4 โรคต้องระวังสำหรับคนชอบขึ้นภู สำหรับคนที่ชอบเดินทางไปขึ้นภู ดูหมอกสวย ๆ ในหน้าหนาวทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศนั้น ทางคลินิกเวชศาสตร์ท่องเที่ยวและการเดินทาง โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เตือนว่านักท่องเที่ยวที่มีความนิยมการท่องเที่ยวแบบดังกล่าวมักพบอาการป่วยได้ง่ายถึง 4 โรคด้วยกัน ซึ่งควรระวังป้องกันไว้รวมทั้งควรฟิตร่างกายให้มีความแข็งแรงก่อนออกไปเผชิญอาการหนาวเย็นดังกล่าวด้วย โรคทั้ง 4 ได้แก่.. – ปอดบวม เกิดจากการติดเชื้ออักเสบของปอด หลอดลม ถุงลมซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส ทำให้มีของเหลวเกิดขึ้นในถุงลง มักเป็นโรคที่แทรกซ้อนเข้ามาหลังจากการป่วยเป็นไข้หวัดได้ 2-3 วันซึ่งมีอาการก็คือไอ เจ็บหน้าอก มีไข้สูง และหอบ – โรคหัด ระบาดมากในช่วงฤดูหนาวถึงฤดูร้อน มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสที่ติดต่อกันทางน้ำลายของผู้ป่วย ที่สัมผัสการไอ จาม หรือการหายใจรดกัน ตลอดจนใช้สิ่งของร่วมกัน มีอาการระยะแรกคล้ายไข้หวัด มีไข้สูง กินยาแก้ไขก็ไม่ลด และถ่ายเหลวบ่อย ๆ เหมือนท้องเสีย สำหรับเด็กอาจชักได้เพราะมีไข้สูง – ภูมิแพ้อากาศ มักเป็นได้ในช่วงฤดูหนาว เพราะร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้ทางการหายใจ มีอาการชัด ๆ ก็คือคันตา คันจมูก น้ำมูกใส จามบ่อย และแน่นจมูกในตอนเช้า…

  • เตือนภัยสุขภาพช่วงสงกรานต์

    เตือนภัยสุขภาพช่วงสงกรานต์

    เตือนภัยสุขภาพช่วงสงกรานต์ นายแพทย์สุวรรณชัย  วัฒนายิ่งเจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ได้กล่าวว่า นอกจากการต้องเฝ้าระวังในเรื่องของอุบัติเหตุในการเดินทางระหว่างวันหยุดช่วงเทศกาลสงกรานต์แล้ว  สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามก็คือการระวังการติดเชื้อจากการเล่นสาดน้ำสงกรานต์  ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องระวังมากที่สุด เพราะน้ำที่นำมาสาดเล่นกันนั้น อาจมีการปนเปื้อนเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ ได้  โดยตลอดหลายปีที่ผ่านมาพบผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อโรคที่มากับน้ำในช่วงสงกรานต์ของทุกปี โดยดวงตาของผู้ป่วยจะเป็นจุดที่เสี่ยงต่อการติดโรคมากที่สุด เพราะ ดวงตาสามารถสัมผัสกับน้ำหรือเชื้อโรคที่ปนเปื้อนได้ง่ายที่สุดนั้นเอง  ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการเปลือกตาและเยื่อบุตา ตลอดจนกระจกตาอักเสบ หรือติดเชื้อรุนแรง จนอาจลุกลามเข้าในไปในช่องลูกตาได้  ทำให้ลูกตาอักเสบจนกระทั่งรุนแรงจนตาบอดได้ด้วย  อีกทั้งหากเป็นน้ำที่ปะปนฝุ่น ดิน ทราย เศษเหล็ก เศษแก้ว ก็อาจไปเกาะติดกับเยื่อบุตา หากมีการขยี้ตาอย่างรุนแรง ก็อาจทำให้สิ่งเหล่านี้ขูดขีดกระจกตา ทำให้เกิดแผลถลอกและติดเชื้อเป็นแผลบนกระจกตาได้ ดังนั้นผู้ปกครองควรใส่ใจและดูแลเด็ก ๆ ที่เล่นน้ำอย่างใกล้ชิด หากพบว่ามีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา ควรให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยการล้างน้ำสะอาด หรือลืมตาในน้ำแล้วกลอกตาไปมา เพื่อให้สิ่งแปลกปลอมหลุดออก  แต่ถ้ามีสารเคมีปะปนในน้ำด้วย ควรล้างน้ำด้วยการให้น้ำไหลผ่านตามาก ๆ แล้วรีบนำส่งแพทย์โดยด่วน อีกทั้งในช่วงสงกรานต์ซึ่งมีอากาศร้อนยังมีโรคที่ต้องเฝ้าระวังอื่น ๆ อีก เช่น โรคทางเดินอาหาร โรคทางเดินหายใจ โรคตาแดง ไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่ ตลอดจน โรคปอดบวมและอุจจาระร่วง  จึงควรระวังในเรื่องของอาหารการกินและน้ำดื่มที่ต้องดื่มแต่น้ำสะอาด  สำหรับโรคทางเดินหายใจมักจะเกิดจากเล่นน้ำในขณะที่อากาศร้อนจัด  ซึ่งมักเกิดกับผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ…