Tag: โรคปริทันต์

  • ประโยชน์ 14 ข้อจากการออกกำลังกาย

    ประโยชน์ 14 ข้อจากการออกกำลังกาย

    ประโยชน์ 14 ข้อจากการออกกำลังกาย 1. ลดความเจ็บปวดของร่างกายลงได้หากเกิดอุบัติเหตุหรือความเจ็บป่วย เพราะข้อต่อ กล้ามเนื้อต่าง ๆ จะมีความแข็งแรง จึงทำให้ได้รับผลกระทบจากความเจ็บป่วยหรือเหตุไม่คาดฝันต่าง ๆ ได้น้อยลง 2. ภูมิใจในรูปร่างที่เซ็กซี่ของตนเอง มีความมั่นใจมากขึ้น ทำให้รู้สึกดีต่อตัวเองมากขึ้น ช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศให้มากขึ้นด้วย 3. การออกกำลังกายลดการอักเสบในช่องปากได้ จึงมีปัญหาโรคปริทันต์น้อยลงด้วย 4. ช่วยปลอดปล่อยพลังงานสะสมในร่างกายออกมา ลดอาการอ่อนเพลีย เพิ่มความกระปรี้กระเปร่า อารมณ์ดีขึ้น 5. ลดปริมาณไขมันที่เกิดขึ้นจากความเครียด หรือน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นจากความวิตกกังวล 6. ลดความเสี่ยงในการเป็นหวัดลงได้ถึงร้อยละ 33 สร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้มากขึ้น 7. บำรุงสายตาได้ด้วยนะ ลดภาวะจุดรับภาพเสื่อมที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุได้ถึงร้อยละ 70 แต่ระหว่างกายออกกำลังกายกลางแจ้งควรสวมแว่นกันรังสียูวีไว้ด้วยล่ะ 8. ช่วยให้นอนหลับได้ลึกขึ้น ยาวนานขึ้น นอนหลับสนิทขึ้น สุขภาพคุณจึงดีขึ้นหลายส่วน 9. แม้แต่การเดินก็ยังช่วยให้คุณห่างไกลโรคเบาหวานได้อีกหลายก้าวแล้ว 10. การออกกำลังกายช่วยลดไขมันรอบเอว ลดแก๊สในร่างกาย กระตุ้นการหดเกร็งของกล้ามเนื้อลำไส้ ป้องกันอาการท้องผูก ท้องเฟ้อ เร่งให้กระบวนการย่อยอาหารเร็วขึ้น 11. ทำให้สมองสดใสขึ้น มีความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์ลดลง ป้องกันภาวะสมองตื้นสร้างกล้ามเนื้อให้สมองของตนเองได้…

  • สุขภาพช่องปากและการตั้งครรภ์

    สุขภาพช่องปากและการตั้งครรภ์

    สุขภาพช่องปากและการตั้งครรภ์ ในระหว่างการตั้งครรภ์นั้น ช่องปากของคุณแม่ ก็เป็นส่วนที่ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน เพราะมีผลต่อสุขภาพโดยตรงของลูกในครรภ์ได้ค่ะ ไม่ว่าจะเป็น… – การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทำให้ระหว่างตั้งครรภ์ทำให้เกิดเหงือกอักเสบ หรือมีหินปูนจำนวนมาก เป็นโรคปริทันต์ เหงือกบวม อักเสบมีเลือดออกได้ – ในมารดาที่มีภาวะเหงือกอักเสบรุนแรง มักจะคลอดลูกน้ำหนักตัวน้อย และคลอดก่อนกำหนดได้ – การคลื่นไส้แพ้ท้องอาเจียนบ่อย ทำให้มีกรดจากกระเพาะอาหารย้อนขึ้นมาในช่องปาก ทำให้ฟันสึกกร่อนได้เร็ว รวมไปถึงอาหารเปรี้ยว ๆ ก็เช่นกัน – หญิงตั้งครรภ์มักจะทานได้น้อย แต่ทานบ่อย การทานบ่อย ทานของหวาน อาหารเหนียวติดฟันทำให้ฟันผุได้ – การมีฟันผุที่ไม่ได้รักษาจะทำให้มีเชื้อแบคทีเรียในช่องปากเป็นจำนวนมาก อาจส่งผ่านไปสู่ลูกทางพันธุกรรม แต่ส่งผลได้ทางน้ำลาย เช่น การกอดจูบลูก การเป่าอาหาร การกัดแบ่ง และการใช้ช้อนร่วมกับลูก – สำหรับเด็กในครรภ์จะเริ่มสร้างฟันน้ำนมตั้งแต่อายุครรภ์ได้ 4-6 สัปดาห์ ซึ่งต้องการสารอาหารหลายชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งจำพวกแคลเซียม ฟอสฟอรัส ซึ่งจะมีผลให้เคลือบฟันและเนื้อฟันมีความแข็งแรง ดังนั้นคำแนะนำสำหรับคุณแม่ในการดูแลช่องปากระหว่างการตั้งครรภ์ก็คือ 1. แปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันทุกวัน ควรบ้วนปากหรือแปรงฟันทุกครั้งหลังอาหารว่างด้วย 2. หากแพ้ท้องอาเจียน ควรบ้วนปากด้วยน้ำเปล่า หรือน้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ เพื่อลดปริมาณกรดจากกระเพาะอาหาร แต่ห้ามแปรงฟันเป็นเวลาอย่างน้อย…

  • 8 โรคต้องระวัง เมื่อเข้ารับบริการ ขูดหินปูน

    8 โรคต้องระวัง เมื่อเข้ารับบริการ ขูดหินปูน

     8 โรคต้องระวัง เมื่อเข้ารับบริการ ขูดหินปูน กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดเผยว่าหากที่ต้องการเข้ารับการขูดหินปูน เป็นผู้ป่วยด้วยโรค 8 โรคนี้จำเป็นต้องแจ้งทันตแพทย์ก่อนทุกครั้งก่อนรับการทำฟันหรือขูดหินปูนก็คือ กลุ่มที่เป็นโรคเลือดออกง่ายและหยุดไหลยาก ได้แก่ 1. โรคเกล็ดเลือดต่ำหรือโรคลูคีเมีย อาจมีจ้ำเลือดหรือจุดเลือดออกตามร่างกายร่วมด้วย 2. โรคไตและผู้ที่มีประวัติเคยล้างไต เพราะจะได้รับยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด 3. ผู้ที่มีประวัติการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจและการใช้ยาละลายลิ่มเลือด รวมไปถึงกลุ่มที่สองเป็นกลุ่มที่อาจแสดงอาการในระหว่างการทำฟัน ได้แก่ 1. โรคหัวใจอาจมีอาการเจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย ใจสั่น 2. โรคหอบหืดอาจมีอาการหอบเหนื่อย ต้องมียาพ่นประจำ และได้รับยา Steriod 3. โรคลมชักและโรคความดันโลหิตสูง 4. โรคเบาหวานเพราะมีผลกระทบทำให้แผลหายยาก เหล่านี้จำเป็นต้องแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบก่อนเผื่อในกรณีที่อาการกำเริบจะได้ช่วยเหลือได้ทันการณ์ อีกทั้ง ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย ยังเปิดเผยอีกว่าการขูดหินปูนหรือหินน้ำลายนี้ก็เพื่อป้องกันอาการเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์ได้ ด้วยการใช้เครื่องมือขจัดหินปูนที่มีความสั่นสะเทือนทำให้หินปูนหลุดออกมา แล้วใช้เครื่องมือชิ้นเล็กกว่าขูดหินปูนละเอียดอีกครั้ง ซึ่งขั้นตอนนี้อาจทำให้มีเลือดออกได้บ้างเล็กน้อย แต่จะไม่มากจนมีผลใด ๆ ต่อสุขภาพผู้ป่วย ซึ่งหินปูนหรือหินน้ำลายนี้เป็นคราบจุลินทรีย์ที่มีการสะสมของแคลเซียมในน้ำลาย จนแข็งตัวคล้ายหินปูน ที่สะสมเชื้อโรคไว้หลายชนิดอีกทั้งยังเป็นแหล่งผลิตสารพิษที่ทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์ได้ การป้องกันการเกิดหินปูนก็คือการจำกัดคราบจุลินทรีย์โดยการแปรงฟันโดยเฉพาะคอฟันให้สะอาดวันละอย่างน้อย 2 ครั้ง เพื่อไม่ให้บริเวณนี้เป็นที่สะสมของคราบจุลินทรีย์จนกลายเป็นหินปูนได้ อีกทั้งยังควรมาตรวจสุขภาพช่องปากทุกปีและหากมีหินปูนก็ควรขูดหินปูนออกอย่างน้อยปีละครั้ง…