Tag: โรคนิ้วล็อค

  • หนุ่มนักกอล์ฟ และหนุ่มนักกล้าม ระวังนิ้วล็อค

    หนุ่มนักกอล์ฟ และหนุ่มนักกล้าม ระวังนิ้วล็อค

    หนุ่มนักกอล์ฟ และหนุ่มนักกล้าม ระวังนิ้วล็อค มีคำเตือนจาก  นพ.วิชัย วิจิตรพรกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลิดสิน ในฐานะแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเชี่ยวชาญด้านนิ้วล็อค ได้กล่าวเตือนหนุ่ม ๆ ทั้งนักกอล์ฟและนักกล้ามทั้งหลาย ที่เล่นอย่างหักโหมและไม่สวมเครื่องป้องกัน ระวังจะเป็นโรคนิ้วล็อคได้  แม้โรคนี้จะพบได้มากเพศหญิงมากกว่าแต่สำหรับคนหนุ่มที่ไม่มีการป้องกันตัวจากการยกของหนัก ทั้งเล่นเวตและตีกอล์ฟก็มีความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน สาเหตุของการเป็นโรคนิ้วล็อกนั้นเกิดจากการใช้มือ กระแทก บด และกระทำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน  ปลอกฐานนิ้วจะแข็ง มีอาการเจ็บ กำไม่ลง หรือเมื่อกำลงก็จะเกิดอาการนิ้วล็อคเหยียดไม่ออก เช่นเดียวกับการตีกอล์ฟ เพราะทุกครั้งที่ตีจะเกิดแรงกระแทกกับนิ้วมือ เหมือนกับอาชีพกลุ่มช่างอื่น ๆ ได้แก่ ช่างตัดไม้ ที่ใช้เลื่อย ใช้ค้อน อีกด้วย นายแพทย์วิชัยได้กล่าวไว้ว่า “การตีกอล์ฟนั้น หากตีไม่หักโหมก็ไม่มีปัญหา  แต่หากตีกระแทกแรง ๆ ก็อาจเกิดปัญหานิ้วล็อคได้แม้แต่โปรกอล์ฟเองก็มีหลายรายที่มารักษาอยู่หลายรอบ เพราะเป็นทีละนิ้ว  สำหรับผู้ที่เล่นกล้ามหรือผู้ที่เล่นเวตนั้น จะเกิดกับผู้ที่เล่นแบบหนัก ๆ อยากได้กล้ามเนื้อเพราะโอกาสเกิดแรงกระแทกต่อมือมีมากกว่า แต่ผู้ที่ยกน้ำหนักไม่มากพวกนี้จะมีความเสี่ยงในการเป็นนิ้วล็อคน้อยกว่าผู้ที่เล่นหนัก ๆ” และไม่ว่าจะเป็นกีฬาตีกอล์ฟหรือเล่นเวต  ก็จำเป็นต้องมีการสวมถุงมือเพื่อป้องกัน หรือลดแรงกระแทก  แต่ก็ไม่สามารถป้องกันได้ 100%  ที่ควรทำก็คืออย่าหักโหม ใช้มือให้น้อยลง การแช่น้ำอุ่นและฝึกกำแบมือก็พอช่วยได้  ซึ่งการรักษาในระยะแรกสามารถแช่น้ำอุ่นและประคบร้อนได้ แต่หากเป็นระยะที่สองต้องฉีกยารักษา…

  • นิ้วล็อค ภัยเงียบที่เกิดกับผู้หญิง แพทย์เตือนควรระวัง และย้ำไม่ควรมองข้าม

    นิ้วล็อค ภัยเงียบที่เกิดกับผู้หญิง แพทย์เตือนควรระวัง และย้ำไม่ควรมองข้าม

    นิ้วล็อค ภัยเงียบที่เกิดกับผู้หญิง แพทย์เตือนควรระวัง และย้ำไม่ควรมองข้าม แพทย์เตือนระวัง “โรคนิ้วล็อก” พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย พบมากในผู้หญิงวัย 40 ปีขึ้นไป ที่ใช้มือทำงานซ้ำๆ และผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือโรครูมาตอยด์ แนะควรพักการใช้มือและออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อมือเป็นระยะ… เมื่อวันที่ 2 เม.ย.57 นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคนิ้วล็อกเป็นความผิดปกติของนิ้วมือ ที่มีการสะดุดหรือล็อก ไม่สามารถกำหรือเหยียดนิ้วมือได้เป็นปกติ พบในเพศหญิงร้อยละ 80 และพบในเพศชายร้อยละ 20 โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป อาจเป็นเพราะผู้หญิงใช้มือทำงานซ้ำๆ มากกว่าผู้ชาย เช่น หิ้วถุงหนักๆ บิดผ้าซักผ้า กวาดบ้านถูบ้าน สับหมูสับไก่ และมีพฤติกรรมเหล่านี้เป็นระยะเวลานานๆ รวมถึงผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ที่เป็นโรครูมาตอยด์มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากขึ้น อาการของโรคนิ้วล็อก คือในระยะแรกจะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือกำมือไม่ถนัด หรือกำได้ไม่เต็มที่โดยเฉพาะตอนเช้าหลังตื่นนอน เวลางอที่จะเหยียดนิ้วมือมักจะได้ยินเสียงดังกึก ต่อมาจะมีอาการนิ้วล็อกคือ เวลางอนิ้วจะเหยียดขึ้นเองไม่ได้ มักเกิดกับมือข้างถนัดที่ใช้งาน ซึ่งอาจเป็นเพียงนิ้วเดียว หรือเป็นพร้อมกันหลายนิ้วก็ได้ บางรายอาจรุนแรงถึงนิ้วบวมชา ติดแข็งจนไม่สามารถใช้งานได้ สำหรับวิธีการรักษาโรคนิ้วล็อก มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับอาการ และความรุนแรงของโรค…