Tag: โรคธาลัสซีเมีย
-
โรคเลือดจางกรรมพันธุ์หรือโรคธาลัสซีเมีย
โรคเลือดจางกรรมพันธุ์หรือโรคธาลัสซีเมีย โรคธาลัสซีเมียหรือเลือดจางทางกรรมพันธุ์ จะทำให้ผู้ป่วย มีลักษณะที่มองดูภายนอกคล้ายกันไปหมด ก็คือ มีหน้าผากโหนก ดั้งจมูกแบน ฟันบนเหยิน หัวโต ตาเหลืองและตัวแคระแกร็น เด็กที่เกิดขึ้นใหม่อาจเป็นได้โดยพ่อกับแม่ไม่ต้องรู้ล่วงหน้ามาก่อนเลยว่าตนเองมีกรรมพันธุ์ชนิดนี้อยู่ ในประเทศไทยเองก็มีอัตราผู้ป่วยเป็นโรคนี้สูง โดยเฉลี่ยมีเด็กเกิดใหม่เป็นโรคนี้เกิดมาราวชั่วโมงละ 2 คนเลยทีเดียว โรคธาลัสซีเมียนี้เป็นความผิดปกของยีนที่ควบคุมการสร้างฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่าปกติ แบ่งออกได้เป็นสองแบบก็คือ – แบบที่เป็นโรค ผู้ป่วยจะซีดเรื้อรังเนื่องจากเม็ดเลือดแดงถูกม้ายจับทำลายและเม็ดเลือดแดงมีอายุสั้น มีอาการที่มากหรือน้อยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์ที่ได้รับมาจากพ่อแม่ หากรุนแรงอาจตายได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือหลังคลอดไม่เกิน 1 วัน ขณะที่แม่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนเช่น ครรภ์เป็นพิษได้ โรคธาลัสซีเมียแบบรุนแรงจะสังเกตอาการได้ชัดเจนตั้งแต่อายุ 3-6 เดือน เด็กจะเลี้ยงยาก งอแง ป่วยบ่อย อ่อนเพลีย ท้องป่องเนื่องจากม้ามโต และซีดมากต้องได้รับเลือด ในส่วนของเด็กที่ป่วยในระยะปานกลางและรุนแรงไม่มาก จะมีอาการซีดมากเมื่อมีไข้ ซึ่งผู้ป่วยชนิดนี้จะมีประมาณร้อยละ 1 หรือราวหกแสนกว่าคนในประเทศไทย รักษาไม่หาย นอกจากการปลูกถ่ายไขกระดูกซึ่งยุ่งยากซับซ้อนและมีข้อกำจัดกมากมาย การรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ให้เลือด ให้ยาขับเหล็กหรือผ่าตัดม้าม เป็นต้น – แบบที่เป็นพาหะแฝง หรือคนที่มีกรรมพันธุ์โรคนี้ในตัวแต่สภาพร่างกายปกติดี แข็งแรงดี แต่จะถ่ายทอดกรรมพันธุ์นี้ไปสู่ลูกได้ ซึ่งคนไทยเป็นพาหะธาลัสซีเมียมากเป็นอันดับหนึ่งในโลก…
-
รู้จักกับโรคธาลัสซีเมีย
รู้จักกับโรคธาลัสซีเมีย โรคธาลัสซีเมียคือ โรคทางเลือดชนิดหนึ่งที่ติดต่อได้ทางกรรมพันธุ์ มีการสร้างฮีโมโกลบินทำให้เม็ดเลือดแดงผิดปกติและแตกง่าย ทำให้เกิดอาการซีด เลือดจางเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคนี้มักจะได้รับยีนที่ผิดปกติมาจากพ่อแม่ มีอาการก็คือ ซีด ตัวเหลือง ตับและม้ามโตทำให้ท้องป่องและแน่นอึดอัด ตัวแคระแกร็น ใบหน้ามีลักษณะผิดปกติในทางการแพทย์เรียกว่า ใบหน้าธาลัสซีเมีย มีดั้งจมูกแฟบ ตาห่างกัน กระดูกโหนกแก้ม หน้าผากและขากรรมไกรด้านบนนูนแน่น ถ้าซีดมากจะเหนื่อยต้องให้เลือด แต่ถ้ารุนแรงอาจต้องได้รับเลือดทุกสองอาทิตย์หรือทุกเดือน และเลือดที่ได้รับไปมาก ๆ นั้นจะไปทำลายเนื้อเยื่อต่าง ๆ จนเกิดโรคตามมาได้อีก การรักษาโรคธาลัสซีเมียสามารถทำได้ดังต่อไปนี้ – ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงมีอนามัยดี กินอาหารที่ช่วยสร้างเลือดได้แก่ นม ไข่ ถั่ว และดื่มน้ำชาเพื่อลดการดูดซึมธาตุเหล็กจากลำไส้ – ให้เลือด ซึ่งแบ่งออกเป็นการให้เลือดเพื่อประคับประคองให้หายอ่อนเพลีย มึนงงจากการขาดออกซิเจน และการให้เลือดจนกว่าจะหายซีด เพิ่มระดับฮีโมโกลบินให้สูงใกล้เคียงคนปกติ – การรักษาโดยการตัดม้าม จะทำให้หายอึดอัดและอัตราการให้เลือดจะลดลงมาก แต่อาจทำให้ติดเชื้อได้ง่าย – ให้ยาขับธาตุเหล็ก – การปลูกถ่ายไขกระดูกทำให้หายขาดได้โดยการใช้ไขกระดูกของพี่หรือน้องที่มีเม็ดเลือดขาวเข้ากันได้กับผู้ป่วย ไปปทดแทนให้ผู้ป่วย วิธีนี้มีโอกาสหายขาดได้ร้อยละ 70-80 โรคธาลัสซีเมียนี้เป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบได้มากในเมืองไทย มีอาการเรื้อรังและรักษาให้หายขาดได้ยาก คู่สามีภรรยาสามารถลดความเสี่ยงการมีลูกเป็นธาลัสซีเมียได้ด้วยการคุมกำเนิดไว้ หรือเลือกใช้อสุจิผู้อื่นแทน หรือจะใช้วิธีปฏิสนธิในหลอดแก้วแทน