Tag: โรคท้องร่วง
-
ผักสด ผลไม้สด .. ไม่ใช่ทุกคนจะทานได้
ผักสด ผลไม้สด .. ไม่ใช่ทุกคนจะทานได้ ผักสดผลไม้สดนั้นเป็นอาหารที่ทำให้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาล ที่สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานและให้รสหวาน เกลือแร่และวิตามินที่เสริมสร้างความสมบูรณ์ของอวัยวะต่าง ๆ เส้นใยอาหารที่ช่วยให้การขับถ่ายเป็นไปได้ด้วย และลดการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ ลดเบาหวานได้ด้วย และพืชบางชนิดให้ไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกายด้วยเช่นกัน ฯลฯ การบริโภคผักสดและผลไม้สด จึงเป็นเรื่องที่ควรแนะนำและส่งเสริม แต่ทุกอย่างในโลกก็ต้องมีสองด้านเสมอ แม้แต่ในผักสด ผลไม้สดก็ตาม การบริโภคสด ๆ โดยไม่ผ่านความร้อนอาจได้รับอันตรายบางประการได้ เช่น ในผักอาจมีไข่พยาธิหรือพยาธิเจือปนอยู่ หากล้างไม่สะอาดอาจทำให้เกิดโรคท้องร่วงได้ รวมไปถึงผักผลไม้บางชนิดอาจมีสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงตกค้างอยู่ อาจก่อให้เกิดสารพิษสะสมในร่างกาย อีกทั้งผู้ที่ป่วยด้วยบางโรคจำเป็นต้องระวังผักสดผลไม้สดบางชนิดด้วย เช่น ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไตจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโปตัสเซี่ยมสูง ๆ เช่น กล้วย หรือส้ม เป็นต้น รวมไปถึงคนไข้อีกบางพวกที่การทานผักสดผลไม้สด เป็นเรื่องต้องห้ามที่สุด ก็คือ คนไข้ที่ได้รับเคมีบำบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็ง เพราะคนไข้จำพวกนี้ภายหลังจากที่ได้รับยาแล้วจะทำให้ปริมาณเม็ดเลือดขาว ซึ่งทำหน้าที่ในการกำจัดเชื้อโรคต่ำลง ผู้ป่วยจึงอ่อนแอเกิดโรคติดเชื้อแทรกซ้อนได้ง่าย หากต้องการผักผลไม้ ต้องเป็นผ่านการทำให้สุกด้วยความร้อนแล้วเท่านั้น อีกทั้งผลไม้บางชนิดที่ต้องรับประทานทั้งเปลือกก็ห้ามรับประทานด้วย หากต้องการทานต้องปอกเปลือกทิ้งไปแล้วให้ทานในทันทีห้ามปล่อยทิ้งไว้ แม้การทานผักสดผลไม้สดจะเป็นเรื่องที่ดี แต่ผู้ป่วยบางโรคก็เป็นเรื่องต้องห้ามเช่นกัน ดังนั้นหากท่านเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนดีกว่านะคะ
-
หลีกเลี่ยงหวัดในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง
หลีกเลี่ยงหวัดในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง ในระยะที่อากาศเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เริ่มมีฝนตกมากขึ้น ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายค่อนข้างต่ำ หรือสุขภาพอ่อนแอเพราะปรับตัวไม่ทัน จึงเจ็บป่วยได่ง่าย ยิ่งโดยเฉพาะโรคติดเชื้อทางลมหายใจจำพวกโรคหวัด หรือไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อกันได้ง่ายนั้น เราจึงยิ่งจำเป็นต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมในการป้องกันโรคติดต่อเหล่านี้นั่นเอง ซึ่งมีวิธีการดูแลตัวเองง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ค่ะ – เมื่อรู้ตัวว่าเริ่มป่วย เริ่มเป็นไข้ ไม่สบายรู้สึกอ่อนเพลีย นอนไม่พอ ยิ่งไม่ควรเข้าไปเสี่ยงในแหล่งชุมชนที่มีคนอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นตลาด ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล เพราะว่าร่างกายในช่วงที่มีภูมิต้านทานต่ำจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย – หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือหากไม่สะดวกในการล้างมือจะใช้เจลแอลกอฮอล์มาเช็ดก็ได้ ช่วยป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ดี ยิ่งหากอยู่ในช่วงที่กำลังมีอาการไอหรือจาม ยิ่มควรหมั่นล้างมือบ่อย ๆ เพราะหากนำมือไปป้ายตาก็อาจติดเชื้อตาอักเสบได้ หรือไปหยิบจับสิ่งของก็จะเท่ากับเป็นการแพร่เชื้อให้ผู้อื่นอีกทาง – หลีกเลี่ยงและอยู่ห่างจากผู้ป่วยที่มีอาการเป็นหวัด ซึ่งหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ควรสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง จะช่วยป้องกันเชื้อหวัดและโรคทางเดินหายใจได้ดี – หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แล้วพักผ่อนให้เพียงพอ – ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ สองลิตร – หากในบ้านของเรามีเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุที่ป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ และควรป้องกันการแพร่เชื้อให้แก่ผู้อื่นด้วยการไม่คลุกคลีกับผู้ใกล้ชิด ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูกเมื่อไอหรือจาม และหมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วย – สำหรับกลุ่มผู้เสี่ยงสูง…
-
โรคท้องเสีย อาการธรรมดาที่อาจไม่ธรรมดา
โรคท้องเสีย อาการธรรมดาที่อาจไม่ธรรมดา อย่าเพิ่งแปลกใจที่หัวข้อเรื่องนี้อาจขัดความคิดของใครหลาย ๆ คน เพราะเข้าใจมาตลอดว่าอาการท้องเสียนั้นเป็นเรื่องธรรมดา แต่บทความในวันนี้จะนำคุณผู้อ่านได้ไปเห็นว่าความจริงแล้วอาการท้องเสียนั้น อาจนำไปสู่อาการที่คาดไม่ถึงและเสียชีวิตได้เช่นกัน หากชะล่าใจ เรามาระแวดระวังเรื่องนี้ด้วยการใส่ใจกับอาการท้องเสียและหาความรู้กันใหม่ก่อนดีกว่า โรคท้องร่วง ท้องเสีย หรืออุจจาระร่วงนั้น หมายถึงการถ่ายอุจจาระเหลว หรืออุจจาระเป็นน้ำเกินกว่า 2 ครั้งในวันเดียว หรือการอุจจาระเป็นมูกปนเลือดเพียงครั้งเดียวก็ถือว่าท้องเสียแล้ว ซึ่งในอดีตนั้นจะเรียกการถ่ายอุจจาระที่ปนมูกเลือดว่าเป็นโรคบิด เพราะผู้ป่วยจะมีอาการปวดบิดในท้องขณะที่เบ่งอุจจาระไปด้วย โรคท้องเสียนั้นแบ่งออกได้เป็นสองชนิดก็คือ 1. โรคท้องเสียแบบเฉียบพลัน มักจะเกิดจากอาหารเป็นพิษ หรือติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย พยาธิในลำไส้ 2. โรคท้องเสียแบบเรื้อรัง ซึ่งมักมีอาการท้องเสียนานกว่า 2 อาทิตย์เป็นต้นไป มักไม่ได้เกิดจากอาหารเป็นพิษ หรือติดเชื้อ แต่เกิดจากการย่อยอาหารและการดูดซึมที่ผิดปกติ การอักเสบจากภูมิแพ้ หรือติดเชื้อ ตลอดจนเป็นมะเร็งในทางเดินอาหาร ดังนั้นโรคท้องเสียชนิดนี้จึงเป็นเรื่องไม่ธรรมดา หรือแม้แต่ท้องเสียแบบเฉียบพลันเอง ก็อาจพบได้ว่าทำให้เสียชีวิตได้เหมือนกัน ถ้าได้รับการรักษาไม่ถูกต้องหรือช้าเกินไป ส่วนใหญ่การเสียชีวิตจะเกิดจากภาวะช็อก หรือภาวะที่เกิดจากการขาดน้ำและเกลือแร่เป็นจำนวนมาก ส่วนน้อยที่จะเกิดจากภาวะโลหิตเป็นพิษ ซึ่งทั้งสองแบบมีอาการเตือนแต่อาจถถูกละเลยจากแพทย์และผู้ป่วยเอง เพราะถ้าสังเกตได้ทันก็จะรอดชีวิต ซึ่งทุกคนควรสังเกตอาการเหล่านี้เอาไว้ โดยสัญญาณอันตรายมีทั้งหมด 6 ข้อดังต่อไปนี้ และผุ้ป่วยต้องรีบบอกแพทย์ไม่ว่าแพทย์จะถามหรือไม่ก็ตาม อีกทั้งสัญญาณเตือน 6 ข้อนี้ยังสามารถใช้กับโรคที่เกิดอาการช็อกแทรกซ้อนอื่น…
-
7 เคล็ดลับการทานอาหารนอกบ้านอย่างไร ปลอดภัยจากโรคท้องร่วง
7 เคล็ดลับการทานอาหารนอกบ้านอย่างไร ปลอดภัยจากโรคท้องร่วง ในช่วงไตรมาสแรกของปี หรือในช่วงสามเดือนนี้ อธิบดีกรมควบคุมโรค นายแพทย์โสภพ เมฆธน ได้เปิดเผยว่า คนไทยป่วยเป็นโรคอาหารเป็นพิษแล้วถึง สามหมื่นกว่าคน อีกทั้งยังมีความเกรงกลัวต่อโรคท้องร่วงอาหารเป็นพิษมากที่สุดเมื่อเดินทางไปข้างนอกบ้าน พร้อมแนะวิธีเลือกอาหารเวลาต้องทานข้าวนอกบ้านให้ห่างไกลจากโรคท้องร่วงด้วย อีกทั้งนพ.โสภณ เมฆธน ยังเปิดเผยอีกว่าจากข้อมูลเฝ้าระวังโรคอาหารเป็นพิษ โดยสำนักระบาดวิทยา ในช่วงสามเดือนแรกของปี พบผู้ป่วยแล้ว 31,627 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 49.79 ต่อแสนประชากร ซึ่งอันดับสูงสุด 5 อันดับแรกคือ อุดรธานี หนองบัวลำภู อุบลราชธานี บุรีรัมย์ จังหวัดตราด ซึ่งโรคอาหารเป็นพิษดังกล่าวเกิดจากการกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคหรือสารพิษที่เชื้อโรคสร้างเข้าไป ซึ่งการปนเปื้อนอาจเกิดตั้งแต่แหล่งผลิตอาหาร แหล่งปรุง เสิร์ฟอาหาร หรือแม้กระทั่งปนเปื้อนขณะกิน สำหรับอาการของโรคที่พบได้มากก็คือ มีอาการท้องร่วง อุจจาระเหลว มีอาการปวดท้องมาก คลื่นไส้อาเจียน มีไข้และปวดเมื่อยเนื้อตัว รวมทั้งปวดข้ออีกด้วย ฯลฯ “ผู้ที่ป่วยเป็นโรคอาหารเป็นพิษมักไม่ค่อยมีอาการรุงแรง ยกเว้นได้รับเชื้อชนิดรุนแรง หรือในรายที่เสียน้ำในร่างกายไปมาก รวมไปถึงคนแก่และเด็กเป็นต้น โดยโรคนี้สามารถรักษาตามอาการด้วยการให้สารละลายเกลือแร่ทดแทน และน้ำตาลทางปาก” อธิบดี คร. กล่าว โดยวิธีป้องกันโรคท้องร่วงและอาหารเป็นพิษนั้นต้องป้องกันกันที่ต้นเหตุก็คือ…
-
แพทย์เตือนภัยจากสงกรานต์ สาดน้ำเปียกเสี่ยง 5 โรค
แพทย์เตือนภัยจากสงกรานต์ สาดน้ำเปียกเสี่ยง 5 โรค เทศกาลสงกรานต์ นับเป็นเทศกาลแห่งความสุขของคนไทย ส่วนมากคนไทยมักจะกลับไปกราบไหว้ รดน้ำดำหัว ผู้ใหญ่ เพราะถือเป็นวันปีใหม่ของไทย และยังเป็นเทศกาลเล่นน้ำคลายร้อนอย่างสนุกสนาน แต่จะรู้หรือไม่ว่า มีอันตรายจากโรคต่างๆ ที่จะตามมาทีหลังได้จากการเล่นน้ำสงกรานต์ แล้วยิ่งเป็นน้ำที่ไม่สะอาดด้วยแล้วหละก็ ยิ่งไปตัวนำของโรคที่จะเข้าสูร่างกายเราได้ผ่าน ทาง ตา หู จมูก ปาก หรือแม้กระทั่งการสัมผัส ทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัสต่างๆ ยิ่งในช่วงอากาศร้อนอบอ้าวด้วยแล้ว ความเสี่ยงในการเกิดโรคก็ยิ่งมีโอกาสเพิ่มมากขึ้น เรามาดูกันดีกว่าว่าโรคอะไรบ้างที่มากับอากาศร้อนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อเตรียมตัวในการรับมือได้อย่างถูกวิธี 1.โรคอาหารเป็นพิษ โรคท้องร่วง โรคอหิวาตกโรค โรคไวรัสตับอักเสบเอ เนื่องจากในช่วงเทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงที่อากาศร้อนและแห้งเหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคโดยเฉพาะแบคทีเรียส่งผลให้อาหารที่ทำออกมารับประทานนั้นอาจบูดเสียได้ง่าย โดยเฉพาะพวกแกงที่มีส่วนผสมของกะทิหรือนมด้วยแล้ว รวมถึงการทานอาหารหรือน้ำที่ไม่สะอาดปนเปื้อนเชื้อโรค อาจทำให้เกิดโรคดังกล่าวได้ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการถ่ายเหลว ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน แต่หากมีภาวะขาดน้ำรุนแรงจะทำให้เกิดภาวะช็อค หมดสติ และเสียชีวิตได้ 2.โรคไข้หวัดและปอดอักเสบ เนื่องจากการเล่นน้ำสงกรานต์ทำให้ร่างกายเปียกชื้นเป็นเวลานาน ยิ่งในต่างจังหวัดมีการเล่นติดต่อกันตั้งแต่เช้าถึงเย็นด้วยแล้ว ควรต้องระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำและในกลุ่มเด็ก ไม่ควรสาดแรงจนเกินไปอาจทำให้สำลักน้ำ จนกลายเป็นที่มาของโรคปอดอักเสบได้ หากรู้สึกมีไข้หรือไม่สบายควรงดเล่นน้ำทันที เพราะจะทำให้อาการยิ่งรุนแรงมากขึ้น 3.โรคตาแดง เป็นอีกโรคที่พบบ่อย เมื่อเราเล่นน้ำแล้วน้ำที่ไม่สะอาดที่มีเชื้อโรคปะปน เช่น น้ำในคลอง น้ำบาดาล หากน้ำกระเด็นเข้าตาและมือเราที่ไม่สะอาดอาจไปขยี้ตาก็จะทำให้เกิดการติดเชื้อและอักเสบบวมแดงขึ้นมาได้ ถ้ามีอาการเคืองตา…