Tag: โรคท้องผูก
-
ดูแลตัวเองอย่าให้อุจจาระคั่งค้างจนท้องผูกได้
ดูแลตัวเองอย่าให้อุจจาระคั่งค้างจนท้องผูกได้ อุจจาระที่ร่างกายของเราย่อย และเตรียมขับถ่ายออกมาจากร่างกายนั้น หากเราไม่ได้ถ่ายออกมาจะเกิดการบูดเน่าและมีสารพิษขึ้น หากปล่อยทิ้งไว้ในร่างกาย สารพิษเหล่านี้จะถูกดูดซึมกลับเข้าสู่ร่างกายใหม่ ยิ่งคุณไม่ยอมถ่ายนานเท่าไรร่างกายก็ยิ่งได้รับพิษนานขึ้นไปนั่นเอง ทำให้ร่างกายเกิดความไม่ปกติต่าง ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็น เป็นสิว ป่วยบ่อย ปวดหัวบ่อย ๆ เป็นต้น อุจจาระที่คั่งค้างอยู่ในร่างกายเรานั้น เพียงแค่ไม่นานก็รู้สึกอึดอัดแล้ว แต่หากทิ้งไว้เป็นระยะนานอุจจาจะจับตัวเป็นก้อนแข็ง ๆ ทำให้เกิดปัญหาการขับถ่ายที่เรียกว่าท้องผูกนั่นเอง ความจริงแล้วความถี่ในการถ่ายอุจจาระของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน เพราะต่างก็มีวิถีชีวิตที่ต่างกันไป ทั้งอาหารการกิน การออกกำลังกาย การดื่มน้ำ ฯลฯ ทำให้บางคนถ่ายท้องทุกวัน บางคนก็วันเว้นวันก็มี ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน แต่แน่ใจได้ว่าทุกคนต้องไม่อยากท้องผูกเป็นแน่ ดังนั้นเรามาดูแลตัวเองอย่าให้อุจจาระคั่งค้างจนเกิดอาการท้องผูกกันด้วยวิธีดังต่อไปนี้ดีกว่าค่ะ 1. ทานอาหารที่มีกากใยมา ๆ พวกผักผลไม้ต่าง ๆ จะช่วยดูดซับน้ำในลำไส้ใหญ่ไว้ ช่วยเพิ่มปริมาณอุจจาระ ทำให้ถ่ายออกได้ง่าย 2. ดื่มน้ำให้ได้มากกว่าวันละสองลิตรขึ้นไป เมื่อร่างกายมีน้ำเหลือใช้จะถูกดูดซับเก็บไว้ในอุจจาระมากขึ้น อุจจาระจะอุ้มน้ำ พองตัว นิ่มเหลวและถ่ายออกได้ง่ายด้วย 3. ออกกำลังกาย หรือออกำลังด้วยกล้ามเนื้อมัดใหญ่อย่างต่อเนื่องจะช่วยกระตุ้นลำไส้ให้ขับถ่ายอุจจาระออกมาได้ง่าย สำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูกอยู่แล้วลองนำหลักการทั้งสามข้อนี้ไปแก้ปัญหาดูนะคะ อีกทั้งยังควรจัดเวลาให้เข้าห้องน้ำขับถ่ายตรงเวลากันทุกวันด้วยก็จะดี หากนำไปลองทำตามแล้วไม่เกิดผลดีขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์จะดีกว่าค่ะ
-
อาการท้องผูกและการดูแลรักษาตัวเอง
อาการท้องผูกและการดูแลรักษาตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการขับถ่าย หรือการกินอาหาร ต่างก็มีความสำคัญพอ ๆ กัน เพราะแม้เราจะกินอาหารดี ๆ เข้าไปแล้ว แต่ระบบย่อยอาหารทำงานไม่เป็นปกติ กากอาหารมีการคั่งค้างอยู่ในลำไส้นาน ๆ ก็จะเกิดการเน่าเสีย และกลายเป็นสารพิษได้ ยิ่งคั่งค้างอยู่ในร่างกายนานเท่าใด ร่างกายก็จะดูดซึมพิษเหล่านี้กลับเข้าสู่ระบบต่าง ๆ มากเท่านั้น จนอาจทำให้ร่างกายมีความผิดปกติต่าง ๆ นาๆ ได้ การที่อุจจาระค้างอยูในลำไส้นั้น แม้จะเป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ ก็ทำให้รู้สึกอึดอัดแล้ว แต่ถ้าเป็นเวลายาวนาน ก็จะจับตัวแข็งทำให้ถ่ายออกมายากขึ้น ก็คืออาการของท้องผูกนั่นเอง การขับถ่ายเป็นเรื่องเฉพาะตัว มีความฉี่และลักษณะของอุจจาระที่ไม่เท่ากัน เพราะแต่ละคนจะมีพฤติกรรมการกินอาหาร ดื่มน้ำ และออกกำลังกายที่แตกต่างกันไป บางคนถ่ายทุกวัน บางคนวันเว้นวัน หรือวันเว้นสองวันก็ยังมี แต่หากใครที่ขาดการดูแลตนเอง อาการท้องผูกก็มาเยือนเอาให้ทรมานได้อยู่เหมือนกัน ดังนั้นควรดูแลตนเองเพื่อป้องกันอาการท้องผูก ซึ่งสามารถทำได้โดย 1. ทานผักและผลไม้ให้มาก เพราะจะมีเส้นใยอาหารที่ช่วยในการดูดซักน้ำในลำไส้ใหญ่ไว้ เพิ่มปริมาณและเพิ่มความลื่นให้กับอุจจาระทำให้ถ่ายได้ง่าย 2. ดื่มน้ำวันละสองลิตรขึ้นไปต่อวัน จะทำให้มีน้ำที่พอเพียงต่อการหล่อเลี้ยงอุจจาระให้ลื่น อุจจาระที่อุ้มน้ำดีจะพองตัว นิ่ม เหลว และขับถ่ายออกมาได้ง่ายด้วย 3. ออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดใหญ่อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ช่วยกระตุ้นลำไส้ใหญ่ให้ทำงาน จนบีบขับอุจจาระออกมาได้ง่ายมากขึ้น…
-
ปัญหาท้องผูกในคนไทย
ปัญหาท้องผูกในคนไทย ภาวะท้องผูกเป็นภาวะที่พบได้มากถึงราวร้อยละ 15 ของประชากรในประเทศไทยเลยทีเดียว ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ทำให้ปวดแน่นท้อง หงุดหงิดไม่สบายตัว นอนไม่หลับ เสียสมาธิการทำงาน ในผู้ใหญ่ยังส่งผลต่อคุณภาพชีวิตทั้งทางด้านกาย ใจ และสังคมอย่างชัดเจน ทำให้เกิดอารมณ์หงุดหงิด โกรธง่าย ผู้ที่ท้องผูกเรื้อรังนาน ๆ ยังทำให้คุณภาพชีวิตลดลงไปเรื่อย ๆ พอๆ กับโรคร้ายอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น เบาหวาน เข่าเสื่อมเรื้อรัง โรคข้อรูมาตอยด์ ฯลฯ โรคท้องผูกจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรได้รับการแก้ไขทั้งในเด็กและผู้ใหญ่เลยทีเดียว จากการศึกษาพบว่าท้องผูกนั้นมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ โรคอ้วน ร่างกายขาดความกระฉับกระเฉงเพราะไม่ได้ออกกำลังกายอีกด้วย และในตลาดยานั้นพบว่ายาแก้อาการท้องผูกเป็นยาอีกชนิดที่ขายดีติดอันดับ อาการท้องผูกจึงเป็นอาการที่พบได้มากในคนไทยโรคหนึ่งเลยทีเดียวค่ะ อาการท้องผูกนี้ยิ่งอายุมากขึ้นก็ยิ่งมีโอกาสท้องผูกมากขึ้น และตามมาด้วยอาการเบาหวาน คอเลสเตอรอลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน ภาวะซึมเศร้า ฯลฯ แล้วจะทำอย่างไรดีหากมีอาการท้องผูกเรื้อรัง – หากเป็นคนที่ทานอาหารที่มีกากใยน้อย ควรทานผักสดอย่างน้อยประมาณสองฝ่ามือต่อวัน – ทานผลไม้ 15 คำต่อวัน และควรหาธัญพืชชนิดต่าง ๆ มาทานด้วย ไม่ว่าจะเป็น ลูกเดือย ถั่วชนิดต่าง ๆ ข้าวกล้อง…
-
ดูแลตนเองอย่างไร ห่างไกลท้องผูก
ดูแลตนเองอย่างไร ห่างไกลท้องผูก หากเราไม่ได้ถ่ายอุจจาระทุกวัน กากอาหารหรืออุจจาระที่คั่งค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่นั้นจะทำให้รู้สึกอึดอัด ท้องอืด แต่ถ้าค้างอยู่มากและเป็นเวลานาน จะจับตัวเป็นก้อนแข็ง ถ่ายลำบากมาก แบบที่เราเรียกว่าท้องผูกนั่นเอง อุจจาระที่ค้างอยู่ในลำไส้นาน ๆ จะเกิดการบูดเน่าและสารพิษจากการเน่าเสียของกากอาหารนี้จะถูกดูดซึมกลับเข้าสู่ร่างกายอีกครั้ง ยิ่งอุจจาระค้างอยู่ในร่างกายนานเท่าไร ร่างกายก็ยิ่งได้รับสารพิษเพิ่มขึ้น จนทำให้เกิดปัญหาร่างกายอื่น ๆ ตามมา ดังนั้นเราจึงไม่ควรปล่อยให้ร่างกายเรามีปัญหาท้องผูกอีกต่อไป ด้วยการดูแลตนเองให้ห่างไกลจากอาการท้องผูกด้วยการดูแลสุขภาพของตนเองดังต่อไปนี้ – ทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารให้มาก อย่างเช่นผักสด ผลไม้สดต่าง ๆ เพราะเส้นใยเหล่านี้จะไม่ถูกย่อย จึงช่วยดูดซึมน้ำในลำไส้ใหญ่ไว้ให้อุจจาระนิ่มและเพิ่มปริมาณอุจจาระให้มากขึ้น การขับถ่ายจึงเป็นรอบปกติ ไม่ตกค้างนาน – ดื่มน้ำให้มาก ประมาณสองลิตรต่อวันขึ้นไป ช่วยหล่อลื่นอุจจาระให้นิ่ม ถ่ายออกจากร่างกายง่าย – ออกกำลังกายให้มากขึ้น อย่างน้อยวันละสามสิบนาที ยิ่งโดยเฉพาะการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดใหญ่อย่างต่อเนื่อง ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ใหญ่ ซึ่งจะบีบตัวให้ถ่ายอุจจาระออกมาได้อย่างง่ายดายขึ้น การขับถ่ายเป็นเรื่องสำคัญพอ ๆ กับการเลือกทานอาหาร จึงควรฝึกให้ร่างกายได้ขับถ่ายอย่างเป็นเวลา และสม่ำเสมอ ผู้ที่มักมีอาการท้องผูกควรนำเอาเคล็ดลับข้างต้นนี้ไปใช้ อาการท้องผูกจะทุเลาขึ้นแน่นอน แต่หากยังไม่ดีขึ้น ให้ไปพบแพทย์เพื่อขอรับคำปรึกษาจะดีกว่าค่ะ อย่างปล่อยทิ้งไว้จนเกิดปัญหากับร่างกายส่วนอื่นเลยค่ะ
-
ระวังนะ นั่งเก้าอี้รถเมล์นาน ๆ โรคจะถามหา
ระวังนะ นั่งเก้าอี้รถเมล์นาน ๆ โรคจะถามหา คนที่ต้องโดยสารรถเมล์เป็นประจำเนี่ย แต่ละวันหากได้ขึ้นไปแล้วเจอเก้าอี้ได้นั่งบ้างก็บุญแล้ว แต่เบาะที่อุตส่าห์ได้นั่งก็ช่างแตกต่างกันเหลือเกินในรถแต่ละคน บางคนก็นั่งสบายดี บางคันก็เบาะชันหรือเอนมากจนปวดหลังเหลือเกิน ทั้งยังบางคันที่เบาะแข็งยังกับไม้อีก ปวดทั้งหลังปวดทั้งก้นไปหมด หากนั่งนาน ๆ เข้าเจ้าเบาะแผ่นเล็ก ๆ นี่ก็สร้างปัญหาให้กับร่างกายได้เหมือนกันนะคะ มาลองไล่กันดูค่ะ 1. ปัญหาต่อกล้ามเนื้อและโรคกระดูก การนั่งอยู่บนเบาะที่ไม่พอดีกับแนวกระดูกสันหลังในท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ ทำให้ต้องเกร็งหลังตั้งฉากให้พอดีกับเบาะตลอดเวลา หากนั่งท่านี้สัก 1 ชม.ก็พอได้อยู่ แต่หากใครบ้านไกลเกินชั่วโมงแล้ว อาการกล้ามเนื้ออักเสบถามหาแน่นอน ยิ่งถ้าหากนั่งติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ หลาย ๆ เดือนหรือหลายปีก็อาจทำให้กล้ามเนื้อผิดปกติ และมีอาการปวดหลังตามมาอีกได้แน่ๆ และหากสะสมมากขึ้นก็อาจทำให้เกิดแนวกระดูกผิดปกติ กระดูกคดหรือเคลื่อนได้เลยทีเดียว และหากเป็นผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ก็อาจทำให้กระดูกสันหลังเสื่อมด้วย น่ากลัวไม่ใช่เล่นเลย 2. โรคทางเดินอาหาร การนั่งท่าเดิมนาน ๆ 2 ชั่วโมงขึ้นไปมากกว่า 1 สัปดาห์จะทำให้กระเพาะอาหาร ลำไส้ บีบตัวน้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการท้องผูก ท้องอืดตามมาได้ 3. สมรรถภาพทางเพศถดถอย เพราะบ้านเรามีอากาศร้อนอบอ้าว…