Tag: โรคทางเดินอาหาร

  • วิธีป้องกันและรักษาโรคติดต่อทางเดินอาหารเบื้องต้น

    วิธีป้องกันและรักษาโรคติดต่อทางเดินอาหารเบื้องต้น

    วิธีป้องกันและรักษาโรคติดต่อทางเดินอาหารเบื้องต้น ในฤดูร้อนและฤดูฝนที่บางครั้งก็มีฝนตกหนักจนน้ำท่วมนั้น เป็นระยะที่มีการระบาดของโรคท้องเดิน อาหารเป็นพิษ อหิวาห์ ไข้ไทฟอยด์ได้ ซึ่งอาการของโรคเหล่านี้ได้แก่ ถ่ายเหลว หรือถ่ายเป็นถ่าย ถ่ายมีมูกเลือด มักปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และมีไข้ร่วมด้วย ไข้ไทฟอยด์นั้นมักจะมีไข้สูงตลอดเวลานานเป็นอาทิตย์ ปวดหัวและนอนซม ซึ่งโรคติดต่อทางเดินอาหารเหล่านี้สามารถป้องกันได้ด้วย – ทานอาหารที่ปรุงสุกและสะอาด ไม่บูดเสีย ไม่กินอาหารที่มีกลิ่นบูด หรือทิ้งค้างคืนและอาหารที่มีแมลงวันตอม – ให้ดื่มแต่น้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุก น้ำดื่มบรรจุขวด – หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ ทั้งก่อนปรุงอาหาร เตรียมอาหาร ก่อนทานอาหารและหลังจากเข้าห้องน้ำ – หากต้องติดอยู่ในที่น้ำท่วม ห้ามถ่ายอุจจาระลงน้ำ ควรถ่ายลงส้วมดัดแปลงหรือถ่ายใส่ถุงพลาสติกแล้วใส่ปูนขาวลงไปจำนวนพอสมควรแล้วปิดปากถุงให้แน่นแล้วนำไปใส่ไว้ในถุงดำ หรือถุงขยะ แต่หากมีอาการท้องเดินแล้ว ให้รักษาตัวเบื้องต้นดังต่อไปนี้ – ดื่มน้ำตาลเกลือแร่โออาร์เอส หรือน้ำข้าวต้มใส่เกลือ น้ำอัดลมใส่เกลือ หรือจะปรุงเองโดยใช้น้ำตาลทราย สองช้อนโตะ และเกลือครึ่งช้อนชาเล็ก ดื่มบ่อย ๆ ครั้งละครึ่งแก้วให้เพียงพอกับที่ถ่ายออกไป จะสังเกตได้ว่าปัสสาวะจะมากและใส – ให้ทานยาแก้ไข้พาราเซตามอลหากมีไข้สูง – สำหรับเด็กเล็กนั้นให้ดื่มนมแม่ตามปกติ ถ้ากินนมผงให้ผสมนมให้จางลงครึ่งหนึ่งจากที่เคยชงจนกว่าอาการจะเริ่มทุเลา…

  • 4 เคล็ดลับป้องกันการเกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร

    4 เคล็ดลับป้องกันการเกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร

    4 เคล็ดลับป้องกันการเกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร แก๊สที่อยู่ในกระเพาะหรือทางเดินอาหารของเรานั้น ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการที่เรากลืนลงท้องไปนั่นเอง อาจจะติดตามไปกับการกลืนอาหาร กลืนน้ำ กลืนน้ำลาย และอีกส่วนก็คือการเกิดแก๊สในร่างกายจากย่อยอาหารในลำไส้ เช่น พวกนมหรือถั่วเป็นต้น การระบายแก๊สในกระเพาะส่วนมากก็จะเป็นการเรอออกมา หากเป็นแก๊สในลำไส้นั้นสามารถซึมผ่านผนังลำไส้ใหญ่ได้ แต่หากดูดซึมไม่ทันก็อาจเกิดสิ่งที่เรียกว่า การผายลมออกมาได้ การผายลมและการอุจจาระนั้นต้องนับว่าเป็นเรื่องเดียวกัน เพราะเป็นการระบายของเสียออกจากร่างกายด้วยการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ เพียงแต่การผายลมจะเป็นแก๊ส หากไม่มีการผายลม แก๊สก็จะสะสมอยู่ในทางเดินอาหารจนรู้สึกอึดอัด ปวดมวนแน่นท้อง ทำให้ท้องอืดขึ้นจึงควรป้องกันปัญหาเหล่านี้โดย – เวลาทานอาหารให้เคี้ยวให้ละเอียดที่สุด เพื่อให้อาหารถูกย่อยได้ง่ายขึ้น ไม่ควรพูดคุยมากเกินไปเพราะจะทำให้อากาศเข้าสู่ทางเดินอาหารมากเกินไปด้วย – หลีกเลี่ยงการอมลูกอม สูบบุหรี่ ดื่มน้ำอัดลมเคี้ยวหมากฝรั่ง เพราะทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารได้ – กินอาหารที่หลากหลาย และให้ครบหมู่ จะทำให้การย่อยอาหารดีขึ้น ไม่ควรกินเนื้อสัตว์มากไปเพราะจะเกิดการหมักหมมและเกิดแก๊สมากขึ้น รวมไปถึงถั่วชนิดต่าง ๆ กะหล่ำปลี ดอกกะล่ำ ขนมปังสด กาแฟ ช็อกโกแลต แตงกวา ของทอด นม ก็ทำให้เกิดแก๊สได้มากเช่น การ ดื่มนมโยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยวจะช่วยให้ระบบการย่อยอาหารดีขึ้น ลดการเกิดแก๊สได้ – ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ระบบทางเดินอาหารทำงานดีขึ้น ช่วยขับลมด้วย ซึ่งจะออกมาทั้งในรูปแบบของการเรอและการผายลมนั่นเอง ผู้ที่มักมีปัญหาอึดอัดแน่นท้อง…

  • 10 บัญญัติเพื่อป้องกันโรคทางเดินอาหารทุกชนิด

    10 บัญญัติเพื่อป้องกันโรคทางเดินอาหารทุกชนิด

    10 บัญญัติเพื่อป้องกันโรคทางเดินอาหารทุกชนิด การกินเนื้อสัตว์ดิบ ๆ เป็นวัฒนธรรมการกินของชาวภาคเหนือ รวมไปถึงภาคอื่น ๆ ในบางจังหวะด้วย ซึ่งการทานอาหารเช่นนี้ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก ดังนั้นวิธีที่ง่ายที่สุดที่จะหลีกหนีภัยเช่นนี้ก็คือทานอาหารสุกสะอาดทุกชนิดนั้นเอง รับรองว่าปลอดภัยอย่างแน่นอน แล้วนอกจากนั้นเรายังนำบัญญัติ 10 ประการมาให้คุณ ๆ ทั้งหลายได้ปฏิบัติตามเพื่อป้องกันการติดเชื้อในทางเดินอาหารแทบทุกโรคด้วยค่ะ 1. ทานอาหารที่ปรุงสุกเต็มที่ด้วยความร้อนแล้วเท่านั้น หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์สุก ๆ ดิบ ๆ ไม่ว่าจะอร่อยขนาดไหนก็ตาม 2. ทานอาหารที่ปรุงเสร็จใหม่ ๆ ร้อน ๆ เพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่เติบโตได้ในอากาศร้อน 3. อาหารที่ปรุงสุกแล้วหากยังไม่ทานทันที ควรเก็บใส่กล่องให้ปลอดภัยจากแมลง หรือในตู้เย็น ก่อนการนำมาทานทุกครั้งควรอุ่นให้ร้อนอย่างทั่วถึงก่อนทานด้วย และไม่ควรเก็บไว้ค้างมื้อ 4. แยกมีด แยกเขียง ช้อนและอุปกรณ์การทำอาหารทั้งหมดออกจากกันระหว่างอาหารที่สุกแล้วและอาหารที่ยังดิบอยู่ หรือยังไม่ได้ล้าง เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อระหว่างกัน 5. เลือกทานแต่อาหารที่ผลิตอย่างสะอาดและปลอดภัย ไว้ใจได้ ผักผลไม้ต้องล้างให้สะอาดปลอดจากสารเคมีให้มากที่สุด 6. ก่อนทานอาหารและหลังการทานอาหารต้องล้างมือด้วยน้ำสะอาดและสบู่ทุกครั้ง รวมทั้งภายหลังการเข้าห้องน้ำ ควรใช้ช้อนกลางตักอาหารทุกครั้งด้วย 7. ทำความสะอาดอุปกรณ์การทำครัว โต๊ะปรุงอาหาร ล้างน้ำ ต้องล้างให้สะอาดทุกครั้งหลังการทำอาหารสด เพราะเชื้อโรคอาจปนเปื้อนบนพื้นที่เหล่านี้ได้ง่าย…

  • เตือนภัยสุขภาพช่วงสงกรานต์

    เตือนภัยสุขภาพช่วงสงกรานต์

    เตือนภัยสุขภาพช่วงสงกรานต์ นายแพทย์สุวรรณชัย  วัฒนายิ่งเจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ได้กล่าวว่า นอกจากการต้องเฝ้าระวังในเรื่องของอุบัติเหตุในการเดินทางระหว่างวันหยุดช่วงเทศกาลสงกรานต์แล้ว  สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามก็คือการระวังการติดเชื้อจากการเล่นสาดน้ำสงกรานต์  ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องระวังมากที่สุด เพราะน้ำที่นำมาสาดเล่นกันนั้น อาจมีการปนเปื้อนเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ ได้  โดยตลอดหลายปีที่ผ่านมาพบผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อโรคที่มากับน้ำในช่วงสงกรานต์ของทุกปี โดยดวงตาของผู้ป่วยจะเป็นจุดที่เสี่ยงต่อการติดโรคมากที่สุด เพราะ ดวงตาสามารถสัมผัสกับน้ำหรือเชื้อโรคที่ปนเปื้อนได้ง่ายที่สุดนั้นเอง  ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการเปลือกตาและเยื่อบุตา ตลอดจนกระจกตาอักเสบ หรือติดเชื้อรุนแรง จนอาจลุกลามเข้าในไปในช่องลูกตาได้  ทำให้ลูกตาอักเสบจนกระทั่งรุนแรงจนตาบอดได้ด้วย  อีกทั้งหากเป็นน้ำที่ปะปนฝุ่น ดิน ทราย เศษเหล็ก เศษแก้ว ก็อาจไปเกาะติดกับเยื่อบุตา หากมีการขยี้ตาอย่างรุนแรง ก็อาจทำให้สิ่งเหล่านี้ขูดขีดกระจกตา ทำให้เกิดแผลถลอกและติดเชื้อเป็นแผลบนกระจกตาได้ ดังนั้นผู้ปกครองควรใส่ใจและดูแลเด็ก ๆ ที่เล่นน้ำอย่างใกล้ชิด หากพบว่ามีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา ควรให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยการล้างน้ำสะอาด หรือลืมตาในน้ำแล้วกลอกตาไปมา เพื่อให้สิ่งแปลกปลอมหลุดออก  แต่ถ้ามีสารเคมีปะปนในน้ำด้วย ควรล้างน้ำด้วยการให้น้ำไหลผ่านตามาก ๆ แล้วรีบนำส่งแพทย์โดยด่วน อีกทั้งในช่วงสงกรานต์ซึ่งมีอากาศร้อนยังมีโรคที่ต้องเฝ้าระวังอื่น ๆ อีก เช่น โรคทางเดินอาหาร โรคทางเดินหายใจ โรคตาแดง ไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่ ตลอดจน โรคปอดบวมและอุจจาระร่วง  จึงควรระวังในเรื่องของอาหารการกินและน้ำดื่มที่ต้องดื่มแต่น้ำสะอาด  สำหรับโรคทางเดินหายใจมักจะเกิดจากเล่นน้ำในขณะที่อากาศร้อนจัด  ซึ่งมักเกิดกับผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ…

  • การอมน้ำมันแล้วบ้วนทิ้ง หรือ Oil Pulling ช่วยล้างพิษและรักษาโรคได้จริงหรือ

    การอมน้ำมันแล้วบ้วนทิ้ง หรือ Oil Pulling ช่วยล้างพิษและรักษาโรคได้จริงหรือ

    การอมน้ำมันแล้วบ้วนทิ้ง หรือ Oil Pulling ช่วยล้างพิษและรักษาโรคได้จริงหรือ   การทำออยพูลลิ่ง หรือการอมน้ำมันแล้วบ้วนทิ้งนี้มีในอินเดียมานานแล้ว เพื่อเชื่อว่าหากอมน้ำมันไว้ในปากจะสามารถดึงเอาจุลินทรีย์ในซอกฟัน ผิวฟัน เหงือก ลิ้น กระพุ้งแก้ว เพดานปาก ออกมาผสมกับน้ำมันแล้วบ้วนทิ้งไป เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เชื้อโรคทั้งหลายถูกกลืนลงท้องและเข้าไปเป็นพิษต่อร่างกายในส่วนต่าง ๆ การทำแบบนี้จึงช่วยรักษาได้หลายโรค ซึ่งจากคู่มือการอบรมโครงการฟื้นฟูและส่งเสริมสุขภาพองค์รวม 8 อ. ซึ่งจัดทำโดย ชุมชนศีรษะอโศก ได้ทำการเผยแพร่และปฏิบัติแบบนี้เพื่อดูแลสุขภาพมาแล้ว และได้อธิบายว่า การอมน้ำมันกลั่นเย็นนี้ โดยให้น้ำมันไหลผ่านช่องฟันไปมา จนกระทั่งน้ำมันผสมกับน้ำลายจนคลายความข้นหนืดแล้วจึงบ้วนทิ้ง จะสามารถรักษาโรคปวดหัว ปวดฟัน โรคหลอดเลือด โรคหัวใจ โรคแผลเป็น แผลเปื่อยมีหนอง หรือเป็นฝีต่าง ๆ โรคทางเดินอาหาร รวมไปถึงโรคเฉพาะผู้หญิง แล้วยังป้องกันเนื้องอกกลับมาเกิดใหม่ได้ รักษาโรคเลือด อัมพาต โรคเส้นประสาท อวัยวะภายใน หรือรักษาอาการนอนไม่หลับได้ด้วย หากคิดว่ามันจะน่ามหัศจรรย์เกินไปหรือไม่ที่แค่อมน้ำมันแล้วบ้วนทิ้งจะมีสรรพคุณมากมายขนาดนี้ ลองมาดูการอธิบายของ ดร.บรูซ ไฟฟ์ ประธานศูนย์วิจัยมะพร้าวแห่งโคโรลาโด กันบ้าง เขาได้อธิบายเอาไว้ในหนังสือชื่อ Oil Pulling Therapy ว่า…

  • ระวังนะ นั่งเก้าอี้รถเมล์นาน ๆ โรคจะถามหา

    ระวังนะ นั่งเก้าอี้รถเมล์นาน ๆ โรคจะถามหา

    ระวังนะ นั่งเก้าอี้รถเมล์นาน ๆ โรคจะถามหา คนที่ต้องโดยสารรถเมล์เป็นประจำเนี่ย แต่ละวันหากได้ขึ้นไปแล้วเจอเก้าอี้ได้นั่งบ้างก็บุญแล้ว แต่เบาะที่อุตส่าห์ได้นั่งก็ช่างแตกต่างกันเหลือเกินในรถแต่ละคน บางคนก็นั่งสบายดี บางคันก็เบาะชันหรือเอนมากจนปวดหลังเหลือเกิน ทั้งยังบางคันที่เบาะแข็งยังกับไม้อีก ปวดทั้งหลังปวดทั้งก้นไปหมด หากนั่งนาน ๆ เข้าเจ้าเบาะแผ่นเล็ก ๆ นี่ก็สร้างปัญหาให้กับร่างกายได้เหมือนกันนะคะ มาลองไล่กันดูค่ะ 1. ปัญหาต่อกล้ามเนื้อและโรคกระดูก การนั่งอยู่บนเบาะที่ไม่พอดีกับแนวกระดูกสันหลังในท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ ทำให้ต้องเกร็งหลังตั้งฉากให้พอดีกับเบาะตลอดเวลา หากนั่งท่านี้สัก 1 ชม.ก็พอได้อยู่ แต่หากใครบ้านไกลเกินชั่วโมงแล้ว อาการกล้ามเนื้ออักเสบถามหาแน่นอน ยิ่งถ้าหากนั่งติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ หลาย ๆ เดือนหรือหลายปีก็อาจทำให้กล้ามเนื้อผิดปกติ และมีอาการปวดหลังตามมาอีกได้แน่ๆ และหากสะสมมากขึ้นก็อาจทำให้เกิดแนวกระดูกผิดปกติ กระดูกคดหรือเคลื่อนได้เลยทีเดียว และหากเป็นผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ก็อาจทำให้กระดูกสันหลังเสื่อมด้วย น่ากลัวไม่ใช่เล่นเลย 2. โรคทางเดินอาหาร การนั่งท่าเดิมนาน ๆ 2 ชั่วโมงขึ้นไปมากกว่า 1 สัปดาห์จะทำให้กระเพาะอาหาร ลำไส้ บีบตัวน้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการท้องผูก ท้องอืดตามมาได้ 3. สมรรถภาพทางเพศถดถอย เพราะบ้านเรามีอากาศร้อนอบอ้าว…