Tag: โรคต้อหิน
-
ต้อหิน อาจทำให้คุณตาบอดได้แบบไม่รู้ตัว
ต้อหิน อาจทำให้คุณตาบอดได้แบบไม่รู้ตัว โรคต้อหิน เป็นโรคอันตรายที่ทำให้คนไทยตาบอดมากเป็นอันดับต้น ๆ เพราะเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการให้รู้ตัว จึงมักไม่ได้รับการรักษา ปัจจุบันมีคนไทยเป็นโรคนี้เพิ่มมากขึ้น ยิ่งอายุมากขึ้นก็ยิ่งมีโอกาสมาก และพบว่าผู้หญิงมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่าตัว อาการของโรคต้อหินนี้ หมายถึงการเสียสมดุลระหว่างน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา คือเมื่อมีการระบายออกไปน้อยกว่าการสร้างขึ้น จะเกิดการคั่งของน้ำในลูกตา ทำให้เกิดแรงดันในลูกตาสูงขึ้น บางครั้งสูงมากจนลูกตาแข็งเหมือนหิน ความดันในลูกตานี้จะมากจนไปกดเซลล์ประสาทจนตาเสื่อม ทำให้ลานสายตาแคบลง ตามัว และบอดได้ในที่สุด กลุ่มคนที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ ก็มักเป็นคนที่มีกรรมพันธุ์ในครอบครัวอยู่แล้ว, ผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี, คนที่เคยกินหรือฉีด หรือทาสตีรอยด์มาก่อน, เคยผ่าตัดโรคทางตาหรือมีอุบัติเหตุทางตามาก่อน ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน คอพอกเป็นพิษ คนที่สายตาสั้นหรือยาวมาก ทำให้การระบายน้ำในลูกตาออกยาก ฯลฯ อาการของต้อหิน หากเป็นแบบเฉียบพลันผู้ป่วยจะปวดหัว ปวดตารุนแรงมาก มองเห็นไฟเป้นวงแบบรุ้งกินน้ำ ผู้ป่วยจะไปรับการรักษาได้ทัน แต่ส่วนใหญ่มักไม่รู้ตัวเพราะความดันเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ ดังนั้นจึงทุกคนที่อายุเกิน 35 ปีขึ้นไปจึงควรไปตรวจคัดกรองเป็นประจำ เพื่อเฝ้าระวังโรคต้อหิน เพราะหากมีการสูญเสียการมองเห็นแล้ว ก็ไม่สามารถรักษาให้กลับมามองเห็นได้ชัดเจนอีก การตรวจสายตาแบบง่าย ๆ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ก็เพียงนำเอามือปิดตาไว้ทีละข้าง แล้วอ่านหนังสือหรือมองสิ่งของ เปรียบเทียบดูทั้งสองข้างว่าชัดเจนหรือเห็นได้กว้างเท่ากันหรือไม่ หากมีความผิดปกติควรไปขอรับการตรวจจากจักษุแพทย์เพิ่มเติม…
-
เพื่อความปลอดภัยควรตรวจต้อหินอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อความปลอดภัยควรตรวจต้อหินอย่างสม่ำเสมอ ต้อหิน หรือ Glaucoma นั้นเป็นโรคตาที่คนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคชนิดนี้ในระยะแรก มักจะทราบตอนตาใกล้บอดแล้ว หากไม่ได้รับการรักษาอาจตาบอดในที่สุด แต่จะรวดเร็วขนาดไหนขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคในแต่ละคน โรคต้อหิน นั้นแบ่งออกได้เป็นสี่แบบได้แก่ – ต้อหินชนิดมุมปิด พบได้ราวร้อยละ 10 เกิดความผิดปกติของโครงสร้างลูกตาทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำหล่อเลี้ยงในลูกตา หากเกิดเฉียบพลันจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดตา ตาดง ตามอง หรือมองไปที่ดวงไฟจะเห็นเป็นวงกลมจ้ารอบดวงไฟ อาจรุนแรงจนทำให้คลื่นไส้อาเจียน หากไม่รักษาตาจะบอดอย่างรวดเร็วในเวลาเพียงข้ามวัน ส่วนแบบเรื้อรังนั้นผู้ป่วยมักจะไม่ทราบและไม่มีอาการ มักปวดเล็กน้อยเป็นครั้วคราว เป็น ๆ หายๆ อยู่หลายปี รักษาโรคปวดหัวอยู่หลายปีจนไม่ทราบว่าเป็นต้อหิน – ต้อหิน ชนิดมุมเปิด ผู้ป่วยจะไม่มีอาการปวดตาหรือตาแดง แต่ตาจะค่อย ๆ มัวลง อาจเปลี่ยนแปลงในระยะเป็นเดือนหรือเป็นปี หากไม่ได้รับการวินิจฉัยหรือรักษาทันท่วงทีจะตาบอดในที่สุด – ต้อหิน ชนิดแทรกซ้อน มักเกิดจากความผิดปกติอย่างอื่นของดวงตา เช่น ตาอักเสบ ต้อกระจกที่สุกมาก อุบัติเหตุต่อดวงตา หรือเนื่องจากการใช้ยาหยอดตาบางชนิด การเปลี่ยนกระจกตา หรือการผ่าตัดต้อกระจก – ต้อหิน ในเด็กและทารก จะพบความผิดปกติตั้งแต่แรกคลอด อาจมีความผิดปกติทางร่างกายร่วมด้วย และโรคนี้มักถ่ายทอดทางพันธุกรรม อาจสังเกตได้ว่าเด็กมีขนาดลูกตาที่ใหญ่กว่าปกติ…
-
สาเหตุและชนิดของโรคต้อหิน
สาเหตุและชนิดของโรคต้อหิน ต้อหิน เป็นสาเหตุใหญ่ของการตาบอดของคนในโลกนี้รวมทั้งประเทศไทยด้วย มักพบได้บ่อยในผู้ทีมีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติเป็นต้อหินในครอบคัว สายตาสั้นหรือสายตายาวมากผิดปกติ เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีประวัติใช้ยาบางชนิดเป็นเวลานาน หรือเคยประสบอุบัติเหตุทางตามาก่อน กลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงในการเป็นต้อหินสูงขึ้น อาการของโรคต้อหิน จะเริ่มจากการสูญเสียการมองเห็นของลานสายตารอบนอกก่อน เมื่อโรครุนแรงขึ้น ลานสายตาจะแคบลงเรื่อย ๆ จนตาบอดในที่สุดหากไม่ได้รับการรักษา ซึ่งสาเหตุของการเกิดต้อหิน แบ่งออกได้ดังนี้ 1. ต้อหินแบบมุมเปิด พบได้มากโดยเฉพาะคนที่อายุมากกว่า 40 ปี มักไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า เกิดการสูญเสียการมองเห็นจากรอบนอกลานสายตาและค่อย ๆ ลามเข้ามาตรงกลางจนมืดในที่สุด 2. ต้อหินแต่กำเนิด พบได้ตั้งแต่เด็กทารกแรกเกิดจนถึงอาย 3 ขวบ เกิดจากระบบระบายน้ำในลูกตาไม่สมบูรณ์ตั้งแต่ในครรภ์ 3. ต้อหินแบบมุมปิดเฉียบพลัน พบมากในคนเอเชียเกิดจากการมีการอุดตันของทางระบายน้ำทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ปวดตาและหัวคิ้วอย่างรุนแรง ตาแดง การมองเห็นลดลงอย่างรวดเร็ว คลื่นไส้อาเจียนด้วย ต้อหินกลุ่มนี้ต้องรักษาอย่างทันทีเพื่อลดอาการและป้องกันอาการตาบอด ซึ่งเกิดขึ้นได้ในช่วงข้ามวัน หากไม่ได้รับการลดความดันลูกตา 4. ต้อหินจากสาเหตุอื่น ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน อุบัติเหตุ การอุดตันของการระบายน้ำในลูกตาทำให้ความดันตาขึ้น อาจค่อยเป็นค่อยไปหรือเฉียบพลันก็ได้ การตรวจต้อหินนั้นทำได้ด้วยการตรวจสุขภาพทั่วไป วัดความดันลูกตา ตรวจลานสายตาและดูลักษณะของทางระบายน้ำในลูกตา…
-
ภาวะต้อกระจกและการรักษา
ภาวะต้อกระจกและการรักษา ต้อกระจก นี้เป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และยังเป็นสาเหตุอับดับต้น ๆ ของภาวะสายตาพิการในคนชราด้วย โดยอาการของต้อกระจกจะเป็นภาวะที่แก้วตาหรือเลนสด์ตามีลักษณะขุ่นขาว มัวลง ทึบแทบ ไม่ยอมให้แสงผ่านเข้าสู่ลูกตาไปกระทบจอตา จึงทำให้สายตาฝ้าฟางและมองไม่เห็นได้ในที่สุด สาเหตุของโรคนี้นั้นส่วนใหญ่เกิดจากความเสื่อมสภาพตามวัย ส่วนใหญ่ผู้ที่อายุเกิด 60 ปีแล้วก็มักจะเป็นทุกราย แต่มีบางรายซึ่งเป็นส่วนใหญ่ที่เป็นมาแต่กำเนิดพบได้ในทารกที่เป็นหัดเยอรมันแต่กำเนิด หรือการได้รับบาดเจ็บหรือกระทบกระเทือนที่ตาอยางรุนแรง มีความผิดปกติของตา หรือเกิดจากการใช้ยาหยอดตาที่มีสเตียรอยด์ หรือกินสเตียรอยด์เข้าไปนาน ๆ การกินยาลดความอ้วนบางชนิด เกิดจากการถูกรังสีที่ตาเป็นเวลานาน รวมไปถึงการถูกแสงแดดหรือแสงยูวีก็ทำให้เกิดต้อกระจกได้ ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ที่มีภาวะขาดอาหาร สูบบุหรี่ ดื่มเหล้าจัด ก็ทำให้เกิดต้อกระจกได้เร็วกว่าคนทั่วไป อาการของต้อกระจกนี้ ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าตาค่อย ๆ มัวลง แรก ๆ จะเหมือนหมอกบัง มองที่มืดชัดกว่าที่สว่าง หรือถูกแสงสว่างตาจะพร่ามัว สู้แสงไม่ไหว เห็นภาพซ้อน ไม่เจ็บปวดหรือตาแดงแต่อย่างใด อาการตามัวจะแสดงอาการหนักขึ้นเรื่อย ๆ กินเวลาเป็นแรมเดือนแรมปี จนแก้วตาขุ่นขาวหมด (ต้มสุก) ก็จะมองไม่เห็น ต้อกระจกนี้คนชรามักจะมีอาการทั้งสองข้าง แต่จะสุกไม่พร้อมกัน ระยะแรกแก้วตาจะขุ่นบริเวณตรงกลาง มองในมืดรูม่านตาจะขยายเปิดทางใหแสงผ่านเข้าแก้วตาส่วนรอบนอกที่ยังใสจึงทำให้เห็นภาพได้ชัด แต่เมื่อมองในที่สว่างรูม่านตาจะหดเล็กลง แสงจะผ่อนเฉพาะแก้วตาส่วนกลางจึงทำให้ภาพพร่ามัว การรักษาโรคนี้ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนแก้วตา หรือใช้วิธีสลายต้อด้วยคลื่นความถี่สูง…