Tag: โรคตาแดง
-
5 กลุ่มโรคที่มาพร้อมกับฤดูฝน
5 กลุ่มโรคที่มาพร้อมกับฤดูฝน เพราะในหน้าฝนมีอุณหภูมิที่เริ่มเย็นลง กับมีความชื้นในอากาศที่สูงขึ้น ด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเช่นนี้ ทำให้มีหลายโรคที่ระบาดขึ้นได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งโรคดังกล่าวก็ได้แก่ 5 กลุ่มโรคต่อไปนี้ทำควรป้องกันการติดต่อมากเป็นพิเศษ 1. กลุ่มโรคทางเดินอาหาร ทั้งท้องร่วง ไทรอยด์ บิด อาหารเป็นพิษ เกิดจากการทานอาหารที่มีเชื้อโรคในระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำ อาจมีไข้และปวดบิดในท้อง หากติดเชื้อบิดก็อาจถ่ายเป็นมูกหรือมีเลือดปนออกมากับอุจจาระได้ จึงควรระวังการทานอาหารมากเป็นพิเศษ ควรทานอาหารที่สุกใหม่ ๆ และใช้ช้อนกลางด้วย 2. กลุ่มโรคติดเชื้อทางเยื่อบุผิวหนังหรือบาดแผล ที่พบได้บ่อยก็โรคฉี่หนู อาการจะมีไข้สูง ปวดหัวมาก มักปวดกล้ามเนื้อบริเวณน่องและโคนขาอย่างรนแรง ตาแดง มักเกิดในที่น้ำท่วม ผู้ที่บ้านมีหนูมาก ชาวไร่ชาวสวน ผู้ที่ทำงานกับการแช่น้ำ ในที่เฉอะแฉะ หรือผู้ที่ทำงานลอกท่อระบายน้ำ ทำงานเหมืองแร่ โรงฆ่าสัตว์ คนงานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ ฯลฯ 3. กลุ่มโรคทางเดินหายใจ ได้แก่ หวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบหรือปอดบวม รวมไปถึงโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่มีแหล่งแพร่ระบาดจากสัตว์ปีก ซึ่งเชื้ออาจข้ามสายพันธุ์กับเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในหน้าฝนได้ 4.…
-
การป้องกันโรคฉี่หนู และโรคตาแดง และโรคผิวหนังในช่วงที่มีน้ำท่วม
การป้องกันโรคฉี่หนู และโรคตาแดง และโรคผิวหนังในช่วงที่มีน้ำท่วม โรคที่มักจะระบาดบ่อย ๆ เวลาน้ำท่วมได้แก่ โรคตาแดง โรคฉี่หนู และโรคผิวหนัง โรคฉี่หนูจะมีอาการไข้สูง ปวดหัว เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อน่อง ตาแดง ตาเหลืองได้ ควรหลีกเลี่ยงการแช่น้ำ ลุยย่ำน้ำโคลนโดยไม่จำเป็น แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรสวมรองเท้าบู้ทยางกันน้ำ ยิ่งโดยเฉพาะผู้ที่มีบาดแผลแล้วยิ่งควรระวัง ไม่ควรแช่น้ำนาน ๆ เมื่อขึ้นจากน้ำควรรีบชำระล้างร่างกายให้สะอาดแล้วซับให้แห้ง ทานอาหารในภาชนะที่ปิดมิดชิด เก็บขยะทั้งหมดใส่ถุงพลาสติกและถังขยะที่ปิดมิดชิด ไม่ให้เป็นแหล่งอาหารของหนูได้ และควรดูแลที่พักอาศัยให้ปราศจากหนูด้วย ส่วนโรคตาแดง หรือเยื่อตาขาวอักเสบจากเชื้อไว้รัสนั้น จะมีอาการระคายเคืองตา ปวดตา น้ำตาลไหล กลัวแสง มีขี้ตา ตาแดงหนังตาบวม โดยอาจเริ่มที่ตาข้างหนึ่งก่อนแล้วลามไปอีกข้าง บ้างก็มีไข้ร่วมด้วย ควรป้องกันโดยหมั่นล้างมือให้สะอาด ด้วยน้ำกับสบู่ ไม่ควรขยี้ตาและอย่าให้แมลงตอมตาได้ หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น อาทิเช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว และควรแยกที่นอนจากคนอื่นด้วย ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาหยอดตา ยิ่งหากมีอาการปวดตามาก ตามัว ขี้ตาเหลืองหรือเขียว หรือไม่ทุเลาภายในหนึ่งสัปดาห์ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนค่ะ โรคผิวหนังที่มากับน้ำท่วมนั้น จำแนกอาการของแต่ละโรคได้ดังนี้…. – ผื่นคัน จะมีผื่นหรือมีตุ่มคันบริเวณที่สัมผัสกับน้ำหรือโดนยุงกัด มักเกิดขึ้นพร้อมกันหลาย…
-
ป้องกันโรคตาแดงหรือโรคเยื่อตาขาวอักเสบจากเชื้อไวรัส
ป้องกันโรคตาแดงหรือโรคเยื่อตาขาวอักเสบจากเชื้อไวรัส โรคตาแดงหรือโรคเยื่อตาขาวอักเสบจากไวรัส นั้นส่วนใหญ่มักจะมีอาการที่ไม่รุนแรงและสามารถหายได้เองภายในระยะเวลา 1-2 อาทิตย์ จะมีก็ส่วนน้อยเท่านั้นที่มีอาการรุนแรงหรือมีภาวะแทรกซ้อน มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสอะดีโน และกลุ่มเชื้อไวรัสพิคอร์นา ติดต่อได้ด้วยการสัมผัสกับของใช้อื่น ๆ ที่มีเชื้อไวรัสนี้อยู่ ไม่ว่าจะเป็นแว่นตา แก้วน้ำ จานชามช้อน ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า หมอน เครื่องนอน สบู่ ขันน้ำ ลูกบิดประตู มือจับตู้เย็น โทรศัพท์ ฯลฯ หรืออาจเกิดจากการเล่นน้ำในสระที่มีเชื้อปนเปื้อนจากผู้ป่วยที่ลงเล่นน้ำ รวมไปถึงการติดต่อจากผู้ป่วยที่มีอาการไอ เจ็บคอ มาจามรดหน้าหรือสัมผัสกับน้ำลายหรือเสมหะของผู้ป่วย มีระยะฟักตัวประมาณ 5-12 วัน แต่มีบางชนิดที่ทำให้เยื่อตาขาวอักเสบมีเลือดออกใต้ตา จะมีระยะฟักตัวแค่ 1-2 วันเท่านั้น อาการนั้นก็จะมีอาการตาแดง เคืองตาเหมือนมีผงเข้าตา กลัวแสง น้ำตาไหล มีขี้ตาสีขาว หนังตาบวม บางรายอาจมีตาแดงเป็นปื้นเพราะเลือดออกที่ใต้ตาขาว บางรายมีไข้ เจ็บคอ ปวดเมื่อยเนื้อตัวเหมือนเป็นไข้ โดยจะเริ่มมีอาการที่ข้างใดข้างหนึ่งก่อนแล้วลามมาอีกข้างภายใน 2-3 วัน ส่วนมากอาการจะทุเลาในไม่กี่วันและหายได้เองใน 1-2 วัน ในส่วนของการดูแลตัวเองควรปฏิบัติตัวดังนี้ – ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่าตรากตรำทำงานหนัก…
-
วิธีป้องกันโรคตาแดงในระยะระบาด
วิธีป้องกันโรคตาแดงในระยะระบาด โรคที่พบได้บ่อยในหน้าฝนและช่วงที่มีน้ำท่วมมากนั้น โรคหนึ่งที่ระบาดมากในระยะนี้ก็ได้แก่ โรคตาแดงนั่นเอง โรคตาแดงเป็นโรคติดต่อได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ มีอาการไม่รุนแรงมากนัก มักเกิดจากเชื้อไวรัส แต่หากไม่ได้รับการรักษาอาจติดเชื้อแบคทีเรียจนเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้อีก โดยการติดต่อของโรคตาแดงนั้นเกิดจาก การสัมผัสโดยตรงกับน้ำตา ขี้ตา ขี้มูกของผู้ป่วย หรือการใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย รวมไปถึงแมลงวันแมลงหวี่ตอมตาด้วย ระยะฟักเชื้อนั้นจะมีเวลาแค่ 1-2 วันเท่านั้นแล้วจะอาการระคายเคืองตา ปวดตา น้ำตาไหล กลัวแสง มีขี้ตามาก หนังตาบวม เยื่อบุตาขาวอักเสบแดง โดยมักจะเริ่มที่ตาข้างใดข้างหนึ่งก่อนแล้วลุกลามไปอีกข้างที่เหลือ การป้องกันโรคตาแดงในระยะระบาดจึงมีคำแนะนำดังต่อไปนี้ค่ะ – หากมีน้ำสกปรกหรือขี้ฝุ่นเข้าตา ให้รีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที – หากเริ่มมีอาการดังกล่าวมาข้างต้นให้รีบไปพบแพทย์เพื่อขอรับยามาป้ายหรือหยอดตา เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ติดต่อกันให้หมดตามคำสั่งแพทย์ หากมีไข้ให้ทานยาลดไข้ได้ตามอาการ – หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ ไม่ว่าจะเป็นการหลังจากออกจากห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ ก่อนทานอาหารด้วย – อย่าขยี้ตา อย่าปล่อยให้แมลงมาตอมตาและไม่ควรใช้สายตามากด้วย – ผู้ที่ป่วยเป็นโรคตาแดงควรนอนแยกจากคนอื่น ๆ และไม่ใช่สิ่งของร่วมกัน ปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า ควรซักให้สะอาดอีกครั้งหลังจากหายป่วยแล้ว –…
-
หลีกเลี่ยงหวัดในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง
หลีกเลี่ยงหวัดในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง ในระยะที่อากาศเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เริ่มมีฝนตกมากขึ้น ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายค่อนข้างต่ำ หรือสุขภาพอ่อนแอเพราะปรับตัวไม่ทัน จึงเจ็บป่วยได่ง่าย ยิ่งโดยเฉพาะโรคติดเชื้อทางลมหายใจจำพวกโรคหวัด หรือไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อกันได้ง่ายนั้น เราจึงยิ่งจำเป็นต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมในการป้องกันโรคติดต่อเหล่านี้นั่นเอง ซึ่งมีวิธีการดูแลตัวเองง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ค่ะ – เมื่อรู้ตัวว่าเริ่มป่วย เริ่มเป็นไข้ ไม่สบายรู้สึกอ่อนเพลีย นอนไม่พอ ยิ่งไม่ควรเข้าไปเสี่ยงในแหล่งชุมชนที่มีคนอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นตลาด ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล เพราะว่าร่างกายในช่วงที่มีภูมิต้านทานต่ำจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย – หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือหากไม่สะดวกในการล้างมือจะใช้เจลแอลกอฮอล์มาเช็ดก็ได้ ช่วยป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ดี ยิ่งหากอยู่ในช่วงที่กำลังมีอาการไอหรือจาม ยิ่มควรหมั่นล้างมือบ่อย ๆ เพราะหากนำมือไปป้ายตาก็อาจติดเชื้อตาอักเสบได้ หรือไปหยิบจับสิ่งของก็จะเท่ากับเป็นการแพร่เชื้อให้ผู้อื่นอีกทาง – หลีกเลี่ยงและอยู่ห่างจากผู้ป่วยที่มีอาการเป็นหวัด ซึ่งหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ควรสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง จะช่วยป้องกันเชื้อหวัดและโรคทางเดินหายใจได้ดี – หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แล้วพักผ่อนให้เพียงพอ – ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ สองลิตร – หากในบ้านของเรามีเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุที่ป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ และควรป้องกันการแพร่เชื้อให้แก่ผู้อื่นด้วยการไม่คลุกคลีกับผู้ใกล้ชิด ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูกเมื่อไอหรือจาม และหมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วย – สำหรับกลุ่มผู้เสี่ยงสูง…
-
เตือนภัยสุขภาพช่วงสงกรานต์
เตือนภัยสุขภาพช่วงสงกรานต์ นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ได้กล่าวว่า นอกจากการต้องเฝ้าระวังในเรื่องของอุบัติเหตุในการเดินทางระหว่างวันหยุดช่วงเทศกาลสงกรานต์แล้ว สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามก็คือการระวังการติดเชื้อจากการเล่นสาดน้ำสงกรานต์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องระวังมากที่สุด เพราะน้ำที่นำมาสาดเล่นกันนั้น อาจมีการปนเปื้อนเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ ได้ โดยตลอดหลายปีที่ผ่านมาพบผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อโรคที่มากับน้ำในช่วงสงกรานต์ของทุกปี โดยดวงตาของผู้ป่วยจะเป็นจุดที่เสี่ยงต่อการติดโรคมากที่สุด เพราะ ดวงตาสามารถสัมผัสกับน้ำหรือเชื้อโรคที่ปนเปื้อนได้ง่ายที่สุดนั้นเอง ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการเปลือกตาและเยื่อบุตา ตลอดจนกระจกตาอักเสบ หรือติดเชื้อรุนแรง จนอาจลุกลามเข้าในไปในช่องลูกตาได้ ทำให้ลูกตาอักเสบจนกระทั่งรุนแรงจนตาบอดได้ด้วย อีกทั้งหากเป็นน้ำที่ปะปนฝุ่น ดิน ทราย เศษเหล็ก เศษแก้ว ก็อาจไปเกาะติดกับเยื่อบุตา หากมีการขยี้ตาอย่างรุนแรง ก็อาจทำให้สิ่งเหล่านี้ขูดขีดกระจกตา ทำให้เกิดแผลถลอกและติดเชื้อเป็นแผลบนกระจกตาได้ ดังนั้นผู้ปกครองควรใส่ใจและดูแลเด็ก ๆ ที่เล่นน้ำอย่างใกล้ชิด หากพบว่ามีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา ควรให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยการล้างน้ำสะอาด หรือลืมตาในน้ำแล้วกลอกตาไปมา เพื่อให้สิ่งแปลกปลอมหลุดออก แต่ถ้ามีสารเคมีปะปนในน้ำด้วย ควรล้างน้ำด้วยการให้น้ำไหลผ่านตามาก ๆ แล้วรีบนำส่งแพทย์โดยด่วน อีกทั้งในช่วงสงกรานต์ซึ่งมีอากาศร้อนยังมีโรคที่ต้องเฝ้าระวังอื่น ๆ อีก เช่น โรคทางเดินอาหาร โรคทางเดินหายใจ โรคตาแดง ไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่ ตลอดจน โรคปอดบวมและอุจจาระร่วง จึงควรระวังในเรื่องของอาหารการกินและน้ำดื่มที่ต้องดื่มแต่น้ำสะอาด สำหรับโรคทางเดินหายใจมักจะเกิดจากเล่นน้ำในขณะที่อากาศร้อนจัด ซึ่งมักเกิดกับผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ…
-
แพทย์เตือนภัยจากสงกรานต์ สาดน้ำเปียกเสี่ยง 5 โรค
แพทย์เตือนภัยจากสงกรานต์ สาดน้ำเปียกเสี่ยง 5 โรค เทศกาลสงกรานต์ นับเป็นเทศกาลแห่งความสุขของคนไทย ส่วนมากคนไทยมักจะกลับไปกราบไหว้ รดน้ำดำหัว ผู้ใหญ่ เพราะถือเป็นวันปีใหม่ของไทย และยังเป็นเทศกาลเล่นน้ำคลายร้อนอย่างสนุกสนาน แต่จะรู้หรือไม่ว่า มีอันตรายจากโรคต่างๆ ที่จะตามมาทีหลังได้จากการเล่นน้ำสงกรานต์ แล้วยิ่งเป็นน้ำที่ไม่สะอาดด้วยแล้วหละก็ ยิ่งไปตัวนำของโรคที่จะเข้าสูร่างกายเราได้ผ่าน ทาง ตา หู จมูก ปาก หรือแม้กระทั่งการสัมผัส ทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัสต่างๆ ยิ่งในช่วงอากาศร้อนอบอ้าวด้วยแล้ว ความเสี่ยงในการเกิดโรคก็ยิ่งมีโอกาสเพิ่มมากขึ้น เรามาดูกันดีกว่าว่าโรคอะไรบ้างที่มากับอากาศร้อนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อเตรียมตัวในการรับมือได้อย่างถูกวิธี 1.โรคอาหารเป็นพิษ โรคท้องร่วง โรคอหิวาตกโรค โรคไวรัสตับอักเสบเอ เนื่องจากในช่วงเทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงที่อากาศร้อนและแห้งเหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคโดยเฉพาะแบคทีเรียส่งผลให้อาหารที่ทำออกมารับประทานนั้นอาจบูดเสียได้ง่าย โดยเฉพาะพวกแกงที่มีส่วนผสมของกะทิหรือนมด้วยแล้ว รวมถึงการทานอาหารหรือน้ำที่ไม่สะอาดปนเปื้อนเชื้อโรค อาจทำให้เกิดโรคดังกล่าวได้ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการถ่ายเหลว ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน แต่หากมีภาวะขาดน้ำรุนแรงจะทำให้เกิดภาวะช็อค หมดสติ และเสียชีวิตได้ 2.โรคไข้หวัดและปอดอักเสบ เนื่องจากการเล่นน้ำสงกรานต์ทำให้ร่างกายเปียกชื้นเป็นเวลานาน ยิ่งในต่างจังหวัดมีการเล่นติดต่อกันตั้งแต่เช้าถึงเย็นด้วยแล้ว ควรต้องระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำและในกลุ่มเด็ก ไม่ควรสาดแรงจนเกินไปอาจทำให้สำลักน้ำ จนกลายเป็นที่มาของโรคปอดอักเสบได้ หากรู้สึกมีไข้หรือไม่สบายควรงดเล่นน้ำทันที เพราะจะทำให้อาการยิ่งรุนแรงมากขึ้น 3.โรคตาแดง เป็นอีกโรคที่พบบ่อย เมื่อเราเล่นน้ำแล้วน้ำที่ไม่สะอาดที่มีเชื้อโรคปะปน เช่น น้ำในคลอง น้ำบาดาล หากน้ำกระเด็นเข้าตาและมือเราที่ไม่สะอาดอาจไปขยี้ตาก็จะทำให้เกิดการติดเชื้อและอักเสบบวมแดงขึ้นมาได้ ถ้ามีอาการเคืองตา…