Tag: โรคซึมเศร้า

  • ดนตรีบำบัด บำบัดทุกข์ทางใจและทางกาย

    ดนตรีบำบัด บำบัดทุกข์ทางใจและทางกาย

    ดนตรีบำบัด บำบัดทุกข์ทางใจและทางกาย ดนตรีบำบัดหมายถึงการนำเอาดนตรีหรือส่วนประกอบอื่น ๆ มาใช้เพื่อบำบัดฟื้นฟูเยียวยาร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ของผู้ป่วย ดนตรีจะทำให้อารมณ์ด้านลบที่ถูกเก็บไว้ในร่างกายและจิตใจเปิดเผยออกมา เมื่อได้รับการดูแลด้วยกระบวนการที่เหมาะสมก็จะทำให้เกิดกำลังใจ และพบความสมดุลของอารมณ์ ทำให้ต่อสู้กับโรคภัยทั้งทางกายทางใจได้ ซึ่งสามารถบำบัดได้ด้วยการฟังและการเล่น เคยมีหลักฐานทางการแพทย์ว่าเสียงดนตรีช่วยบรรเทาความเจ็บปวดในระหว่างการคลอดได้ ด้วยการฟังดนตรีคลาสสิก ปัจจุบันนี้ได้มีการทำดนตรีแนวใหม่ที่เรียกว่า New age music เพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกผ่อนคลาย สร้างสมดุลทั้งร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ มักนิยมเปิดในระหว่างการนั่งสมาธิ เล่นโยคะ หรือระหว่างการพักผ่อนหรือบำบัดในสปา ดนตรีบำบัดนั้นสามารถใช้ได้ทุกวัย และบรรเทาปัญหาที่แตกต่างกันได้หลากหลายทั้งร่างกายและจิตใจ เช่น ปัญหาพัฒนาการบกพร่อง ปัญหาโรคซึมเศร้า โรคอัลไซเมอร์ ความพิการทั้งทางกาย และยังเหมาะสำหรับคนปกติทั่วไปที่ต้องการผ่อนคลายจากความตึงเครียดและปลดปล่อยอารมณ์ด้วย ประโยชน์ของดนตรีบำบัดนั้นมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น.. ช่วยปรับสภาพจิตใจให้สมดุล ลดความวิตกกังวล กระตุ้นประสาทสัมผัส เสริมสร้างความจำ พัฒนาการเรียนรู้ สร้างสมาธิ ช่วยให้มีทักษะหลายด้านดีขึ้น พัฒนาการเคลื่อนไหว ลดความเครียดเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดความเจ็บปวดจากสาเหตุต่าง ๆ สร้างสัมพันธภาพที่ดีในการรักษา และส่งเสริมกระบวนการบำบัดทางจิตเวชได้ดีเยี่ยม ฯลฯ โดยทั่วไปแล้วดนตรีบำบัดสามารถออกแบบให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลได้ โดยไม่มีรูปแบบที่ตายตัว โดยเริ่มจากการประเมินผู้รับบำบัดแล้วค่อยวางแผนการบำบัดและเลือกดนตรีให้เหมาะสมไปสำหรับแต่ละราย ซึ่งการแพทย์ทางเลือกในปัจจุบันเริ่มมีบทบาทที่ชัดเจนในการช่วยการแพทย์แผนปัจจุบันในการรักษาและดูแลสุขภาพของคนไข้ มีหลายโรงพยาบาลที่นำเอาดนตรีบำบัดเข้าไปเป็นส่วนร่วมในการรักษามากขึ้น…

  • ตรวจสอบพฤติกรรมตนเอง ว่าคุณกำลังเป็นโรคซึมเศร้าอยู่หรือเปล่า?!

    ตรวจสอบพฤติกรรมตนเอง ว่าคุณกำลังเป็นโรคซึมเศร้าอยู่หรือเปล่า?!

    ตรวจสอบพฤติกรรมตนเอง ว่าคุณกำลังเป็นโรคซึมเศร้าอยู่หรือเปล่า?! ปัจจุบันนี้โรคซึมเศร้า เริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น แต่ประชากรที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าก็ยังมักจะไม่ทราบว่าตนเองมีอาการของโรคนี้อยู่ มีมากด้วยนะคะเป็นจำนวนถึงร้อยละ 5-7 ของจำนวนประชากรเลยทีเดียว เป็นโรคร้ายแรงที่ให้ผู้ป่วยที่ไม่มากรักษาถึงกับฆ่าตัวตายได้เลยทีเดียว และส่วนหนึ่งของสาเหตุที่สำคัญก็คือมาจากพันธุกรรมด้วย คือหากในครอบครัวหรือพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย คู่แฝดเป็นโรคซึมเศร้าขึ้นมา ก็มักจะมีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมศร้ามากกว่าคนอื่น ๆ ยิ่งถ้าเป็นคู่แฝดกันด้วยแล้ว จะมีโอกาสมากถึงร้อยละ 50 เลยทีเดียว โรคซึมเศร้านี้ไม่จำเป็นว่าชีวิตต้องได้รับความทุกข์เศร้าอะไรก็ป่วยได้ บางคนชีวิตดีทุกอย่าง หน้าที่การงานดี ครอบครัวดี ลูกดี การเงินดี จู่ ๆ ก็เศร้าขึ้นมาได้ ซึ่งก็คือเกิดจากยีนหรือพันธุกรรมนี่แหล่ะ แต่ปัจจัยภายนอกก็มีผลเช่นกัน บางคนมียีนอยู่แล้วมาเจอกับมรสุมชีวิตอีกก็ยิ่งกระตุ้นให้ป่วยได้มากขึ้น แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองเป็นโรคนี้หรือยัง ก็ให้สังเกตจากอาการดังต่อไปนี้ หากมีอาการห้าข้อขึ้นไป ติดต่อกันนานเกินสองอาทิตย์ ให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนว่าอาจเป็นโรคซึมเศร้าแล้ว – อารมณ์ซึมเศร้า ก้าวร้าว หงุดหงิด – ไม่สนใจสิ่งรอบตัว – รู้สึกไม่ค่อยมีสมาธิทำอะไร – อ่อนเพลีย – ทำทุกอย่างชื่องช้าไปหมด – ทานอาหารมากขึ้นหรือทานน้อยลง – นอนมากขึ้นหรือนอนน้อยลง – ตำหนิตัวเอง…

  • โรคซึมเศร้าในฤดูหนาว

    โรคซึมเศร้าในฤดูหนาว

    โรคซึมเศร้าในฤดูหนาว โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล หรือ Seasonal Affective Depression SAD นั้น ไม่ค่อยพบในเมืองไทยมากเท่าไร แต่มักจะพบในประเทศที่มีช่วงฤดูหนาวที่ยาวนาน แต่แม้จะพบได้น้อยแต่ก็ไม่ใช่ไม่พบเลย โดยอาการของโรคก็จะรู้สึกวิตกกังวล ซึมเศร้า หงุดหงิดง่าย ขาดความสนใจในกิจกรรมปกติ ปลีกตัวออกจากสัง และไม่มีสมาธิ รู้สึกหมดเรี่ยวหมดแรง นอนมากขึ้น อยากอาหารมากขึ้น อ้วนขึ้น พบได้มากในผู้ที่มีอายุระหว่าง 20-40 ปี เกิดได้ในเด็ก วัยรุ่น กว่าสามในสี่จะเป็นเพศหญิง สาเหตุของอาการ SAD ยังไม่ชัดเจนนัก แต่คาดว่าน่าจะมีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของแสงอาทิตย์ ซึ่งในหน้าหนาวจะมีแสงอาทิตย์น้อยลง นาฬิกาชีวภาพในร่างกายจะทำงานช้าลงไปด้วย การหลั่งสารเคมีในสมองก็พลอยช้าตามลงไป การบำบัดโรคนี้นั้น ปัจจุบันมีการนำเอาแสงสีฟ้า (light phototherapy) มาบำบัดควบคู่ไปกับอาการซึมเศร้าด้วย นอกจากนี้แล้วผู้ป่วยควรหันกลับมาดูแลตัวเอง เอาร่างกายเอาจิตใจออกมาอยู่กับธรรมชาติภายนอกมากขึ้น ดีกว่าอุดอู้อยู่แต่ในห้องมืด ๆ รับพลังงานจากแสงอาทิตย์จะทำให้มีชีวิตชีวามากขึ้น จัดเวลาทำงานและเวลาพักผ่อนให้สมดุลกัน ไม่ปล่อยให้ความเครียดเข้าจู่โจม ทานอาหารที่สมดุลกับความต้องการของร่างกาย การออกกำลังกายก็ช่วยให้กระชุ่มกระชวยได้มากขึ้น เข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลาและให้พอเพียงกับความต้องการ พูดคุยกับญาติมิตรเพื่อนฝูง หาเวลาไปทำสมาธิ หรือกิจกรรมอื่น ๆ ตามที่ชอบก็ได้

  • เทคนิคช่วยรักษาอาการนอนไม่หลับ

    เทคนิคช่วยรักษาอาการนอนไม่หลับ

    เทคนิคช่วยรักษาอาการนอนไม่หลับ หากท่านเคยมีอาการนอนไม่หลับ หรือตื่นมาแล้วไม่สดชื่นเหมือนนอนไม่เต็มอิ่ม กระสับกระส่าย กว่าจะหลับได้ก็นาน หรือตื่นกลางดึกบ่อย ๆ แล้วนอนหลับต่อได้ยาก ทั้งหมดนี้เข้าข่ายอาการนอนไม่หลับได้ทั้งนั้น อาจเกิดในระยะสั้นหรือไม่เกินสองอาทิตย์ ตลอดจนเกินเป็นเดือนได้ หากไม่รีบแก้ไขอาจรบกวนการใช้ชีวิต และสร้างปัญหาให้กับสุขภาพของคุณด้วย ไม่ว่าจะเป็นความเครียด โรคหัวใจ โรคซึมเศร้า และโรคอ้วน ซึ่งสาเหตุที่พบได้มากที่ทำให้นอนไม่หลับ ก็ได้แก่ การใช้โทรศัพท์มือถือก่อนนอน การดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ การใช้คอมพิวเตอร์มากเกินไป รวมไปถึงความเครียดในการทำงาน ล้วนเป็นสาเหตุสำหคัญที่ทำให้นอนไม่หลับได้ทั้งสิ้น เราจึงควรปรับปรุงการนอนหลับเพราะการนอนหลับได้ลึกอย่างมีคุณภาพจะมีผลต่อความเป็นอยู่และสุขภาพ ช่วยลดความดัน ลดความเครียด รักษาน้ำหนักตัวและปริมาณไขมันในร่างกายให้อยู่ในมาตรฐานได้ง่ายขึ้น การนอนหลับยังช่วยซ่อมแซมเซลล์ที่เสื่อมสภาพ ทำให้ร่างกายสดชื่นมีพลัง การจดจำและประสิทธิภาพของสมองดีขึ้น ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าได้อีกด้วยค่ะ วิธีหนึ่งก็คือการทานอาหารที่ทำให้หลับง่าย ได้แก่ ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต ธัญพืชไม่ขัดสี เพราะมีวิตามินบีที่ช่วยในการนอนหลับ ในช่วงเย็นให้กินแต่พอดี อย่ากินอาหารที่มีแก๊สมาก พวก หัวหอม ถั่ว กะหล่ำปลี หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มที่ทำให้ต้องลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำกลางดึก อย่าใช้เตียงเพื่ออ่านหนังสือ นอนเล่น หรือดูทีวี ควรใช้เพื่อการนอนเท่านั้น อีกทั้งควรลุกจากเตียงทันทีที่นอนไม่หลับ เข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลา ไม่ควรงีบหลับในเวลากลางวันด้วย การจัดห้องนอนและพื้นที่สำหรับนอนหลับก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน…

  • ภาวะซึมเศร้า ทำให้โรคทรุดลง

    ภาวะซึมเศร้า ทำให้โรคทรุดลง

    ภาวะซึมเศร้า ทำให้โรคทรุดลง ภาวะซึมเศร้านั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงและตัวพยากรณ์โรคที่สำคัญของโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมไปถึงโรคอื่น ๆ ด้วย เช่น ภาวะซึมเศร้าจะทำให้เพิ่มโอกาสในอ้วนขึ้นร้อนละ 58 และในทางตรงข้างความอ้วนก็เพิ่มโอกาสซึมเศร้าด้วยร้อนละ 27-55 ภาวะซึมเศร้าเพิ่มโอกาสกล้ามเนื้อตายได้มากกว่าครึ่ง และผู้ที่ป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย หากมีอาการซึมเศร้าด้วยจะเพิ่มโอกาสเสียชีวิตได้มากกว่าสองเท่าเลยทีเดียว เมื่อเทียบกับผู้ป้วยที่ไม่เป็นโรคซึมเศร้า การใช้จิตบำบัดจึงช่วยลดความซึมเศร้าได้ดีกว่าการใช้ยาอยู่บ้าง การทำจิตบำบัดง่าย ๆ สำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องนอนอยู่บ้านจนเกิดความรู้สึกหมดหวังแล้วนั้น ลองพูดคุย ชวนคนอื่น ๆ มาเยี่ยมเยียนบ่อย ๆ และสนับสนุนให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเอง ช่วยเหลือผู้อื่นบ้าง หรือหาอะไรให้เขาทำแก้เซ็งแบบที่เขาชอบ บางรายก็ใช้วิธีการนวดกดจุดเพื่อลดปวด และใช้การทำสมาธิบำบัดเข้ามาช่วยด้วย การทำสมาธิบำบัดนั้นจะช่วยลดอการปวดได้ ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวได้ดีขึ้น การทำจิตบำบัดด้วยการทำสมาธิเป็นการเยียวยาตนเอง ทำให้ร่างกายหลังเอนโดรฟีนส์ ทำให้มีความสุขใจมากขึ้น เบิกบาน สดชื่นและมองโลกในแง่ดี อาการซึมเศร้าจะลดลง ความทุกข์ทรมานจะลดลงและเพิ่มภูมิคุ้มกันอีกด้วย ซึ่งการทำสมาธิบำบัดนี้สามารถประยุกต์ใช้ในคนไข้โรคเรื้องรังอื่น ๆ ได้อีกหลายโรค เพียงการหายใจเข้าออก ลึก ๆ ยาว ๆ อย่างน้อยหนึ่งร้อยครั้งในแต่ละวัน ก็ช่วยได้มากแล้ว ยิ่งหากฝึกไปเรื่อย ๆ จะพบว่าจิตใจมีความสบาย ร่างกายมีความเจ็บปวดน้อยลงไปเองจริง ๆ

  • สารสื่อประสาทที่มีประโยชน์ต่อความจำในผู้สูงวัย

    สารสื่อประสาทที่มีประโยชน์ต่อความจำในผู้สูงวัย

    สารสื่อประสาทที่มีประโยชน์ต่อความจำในผู้สูงวัย สมองของผู้สูงวัยนั้น นอกจากจะต้องการการออกกำลังกาย การใช้ความคิด หัดใช้สมองอยู่ตลอดเวลา รวมไปถึงการกินอาหารที่มีประโยชน์แล้ว ยังต้องการสารสื่อประสาทเพื่อช่วยให้สมองสั่งการ รับรู้ เคลื่อนไหว จดจำ และรู้สึก ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์สมองและส่วนต่าง ๆ ของร่างกายด้วย สารสื่อประสาทเหล่านี้มีมากกว่าหกสิบชนิด เช่น – เอนดอร์ฟิน ทำให้สมองรู้สึกปลอดโปร่งโล่งสบาย – ซีโรโทนิน ทำให้นอนหลับได้ดี ลดความกังวลใจ – โพรแอนโทรไซยานิดินส์ ช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองและรับออกซิเจนได้มากขึ้น ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ประสาท พบได้มากในดาร์คช็อกโกแลต ที่มีส่วนผสมของโกโก้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 – อะเซทิลโคลีน รักษาความจำ ลดความขี้ลืม ซึมเศร้า มีลักษณะคล้ายไขมัน หากขาดสารนี้จะมีปัญหาเกี่ยวกับความจำ หากร่างกายได้รับโคลีนมากขึ้นจะช่วยให้ความจำดีขึ้น โคลีนนี้พบได้มากในไข่แดง เครื่องใน ตับวัว นมสด ถั่วลิสง ข้าวกล้อง ธัญพืช มันฝรั่ง กะหล่ำปลี กล้วย ฯลฯ นอกจากการมีสารสื่อประสาทในสมองแล้ว ร่างกายของผู้สูงวัยยังต้องการอาหารดี ๆ และการบำรุงสุขภาพอีกด้วย โดยควรดูแลสุขภาพและปฏิบัติตัวได้แก่ ทานอาหารให้มีความพอเพียงกับความต้องการของร่างกาย…

  • มาทำความเข้าใจ….กับโรคซึมเศร้า กันเถอะ!!!

    มาทำความเข้าใจ….กับโรคซึมเศร้า กันเถอะ!!!

    มาทำความเข้าใจ….กับโรคซึมเศร้า กันเถอะ!!! มีหลายคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าอยู่มาก วันนี้ลองมาทำความรู้จักกับโรคนี้กันค่ะ โรคซึมเศร้านี้เป็นโรคทางอารมณ์ชนิดหนึ่ง มีอาการซึมเศร้าในระดับที่แตกต่างกันไปตั้งแต่น้อยไปหามาก อาการก็คือจะมีอารมณ์ที่ไม่แจ่มใส เศร้าหมอง หดหู่ เป็นทุกข์ จนถึงท้อแท้ เบื่อชีวิต คิดว่าตนเองไม่มีค่า อยากตายและอาจฆ่าตัวตายได้ โดยสาเหตุของโรคนี้มาจากปัจจัยหลายด้านของจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นสังคม สิ่งแวดล้อมและชีวภาพ โดยมักเกิดอาการหลังจากความสูญเสียหรือพลัดพรากที่กระทบกระเทือนใจอย่างแรง เช่น บุคคลที่รักตายจาก คนรักตีจาก ความกดดันด้านการเงิน การงาน การเรียน ความว้าเหว่ โดดเดี่ยว ขาดความรักความอบอุ่น เป็นต้น และผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยเช่น เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ น้ำหนักลด ผอม ขาดสมาธิ ความจำเสื่อม อ่อนเพลีย เบื่อหน่ายกิจกรรมและการงานที่เคยชอบทำ ความรู้สึกทางเพศหมดไป อาจเก็บตัว ไม่เข้าสังคม ขาดความมั่นใจในตนเอง เครียดและวิตกกังวลง่าย เห็นแต่แง่ร้าย ไม่เห็นทางแก้ปัญหา โดยโรคนี้ที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการทางจิตร่วมด้วย เช่น หลงผิด หูแว่ว มักเกิดกับผู้ใหญ่วัยต้นจนถึงวันกลางคน เกิดได้ง่ายไม่จำเป็นต้องมีความเครียดเป็นสาเหตุ เป็นอันตรายตรงที่อาจฆ่าตัวตายได้ทุกเมื่อ แต่โรคนี้สามารถตอบสนองการรักษาได้ดี ด้วยการใช้ยาและจิตบำบัดก็จะทำให้หายป่วยได้…

  • ดูแลพ่อแม่ ผู้เฒ่าผู้แก่ในบ้านให้ดีก่อนเกิดอันตราย

    ดูแลพ่อแม่ ผู้เฒ่าผู้แก่ในบ้านให้ดีก่อนเกิดอันตราย

    ดูแลพ่อแม่ ผู้เฒ่าผู้แก่ในบ้านให้ดีก่อนเกิดอันตราย เวลาผ่านไปเร็วนะคะ แป๊บ ๆ เราก็โตกันเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้ว และในทางเดียวกันพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ของเราก็แก่ลงไปด้วยเช่นกัน หันไปดูแลท่านกันหน่อยนะคะว่าสุขภาพท่านเป็นอย่างไรบ้าง แม้จะไม่มีโรคร้ายปรากฎออกมาให้เห็นแต่การที่ท่านอายุมากขึ้นแล้ว ก็อาจต้องการความเชื่อเหลือดูแลอยู่บ้างแล้วล่ะค่ะ ลองสังเกตดูว่า… 1. ท่านมีน้ำหนักลดลงบ้างหรือไม่ หากจู่ ๆ ก็น้ำหนักลดลงโดยไม่มีสาเหตุ แสดงว่าอาจมีบางอย่างผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคขาดสารอาหาร ซึมเศร้า ความจำเสื่อม โรคมะเร็งหรือหัวใจล้มเหลว ควรพาไปพบแพทย์ตรวจสุขภาพให้เป็นประจำนะคะ 2. ดูว่าชีวิตประจำวันท่านเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ เช่น ยังมีแรงอาบน้ำแปรงฟันเองหรือเปล่า มีแรงทำกับข้าว หรือแต่งเนื้อแต่งตัวอยู่หรือเปล่า หรือยังทำงานบ้านอยู่เหมือนเดิมได้หรือเปล่า 3. ลองสังเกตการณ์เดินของท่านดูว่ายังเดินเป็นปกติหรือเปล่า สามารถเดินไกล ๆ ไหวหรือเปล่า หรือต้องใช้ไม้เท้าช่วยพยุง 4. อีกทั้งยังควรสังเกตในบ้านด้วยว่ายังเรียบร้อยอยู่หรือไม่ เช่น หลอดไฟขาดเปลี่ยนหรือเปล่า หญ้าตัดหรือไม่ หนังสือพิมพ์หน้าบ้านเก็บหรือเปล่า จานไม่ได้ล้างหลาย ๆ วันเพราะอะไร เครื่องใช้ไฟฟ้าเปิดทิ้งไว้บ่อย ๆ หรือเปล่า เป็นต้น เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติก็ได้ 5. ท่านยังสามารถเดินขึ้นลงบันไดชันๆ…

  • พิษร้ายจากแอลกอฮอล์ ลดได้ทั้งอีคิว และไอคิว

    พิษร้ายจากแอลกอฮอล์ ลดได้ทั้งอีคิว และไอคิว

    พิษร้ายจากแอลกอฮอล์ ลดได้ทั้งอีคิว และไอคิว แม้สารเคมีและแอลกอฮอล์ในเหล้า หรือเครื่องดื่มมึนเมาทั้งหลายจะทำให้ผู้ดื่มรู้สึกครึ้มอกครึ้มใจ และผ่อนคลาย รวมทั้งอารมณ์ดีสนุกสนานขึ้นเมื่อดื่มก็ตาม แต่หากดื่มเป็นระยะเวลานาน ๆ ในปริมาณมากแล้ว แอลกอฮอล์จะกลายเป็นพิษร้ายที่ทำลายสุขภาพได้อย่างชะงัด ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมลงทั้งร่างกายและจิตใจไปด้วย ลุกลามไปถึงสร้างปัญหาในทางบุคลิกภาพและทางสังคมในระยะยาวอีกด้วยค่ะ – การดื่มสุราทำให้ผู้ดื่มมีระดับเชาวน์ปัญญาลดลง โดยพบว่ากลุ่มที่เพิ่งเริ่มดื่มในช่วงอายุ 20-29 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มวัยเรียนและวันทำงานนั้น มีระดับของสติปัญญาที่ลดลงมากกว่าผู้ที่เริ่มดื่มสุราในช่วงอายุอื่น ๆ – จากการศึกษาขององค์การอนามัยโลกพบว่ากว่าร้อยละ 30 หรือ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยที่มีปัญหาทางจิตมีสาเหตุมาจากการดื่มสุรา โดยสารพิษที่เกิดจากการเผาผลาญแอลกอฮอล์ในร่างกายจะเข้าทำลายสารเคมีในสมอง ส่วนที่ทำให้คนเรารู้สึกสงบและเป็นปกติสุข คนที่ดื่มสุราจนติดจึงมีจิตใจที่อ่อนไหวและอารมณ์ที่ไม่มั่นคง มีความอดทนต่อความเครียดและความกดดันลดน้อยลง ขาดสมาธิ และมีปัญหาบุคลิกภาพได้ในที่สุด ทำให้เกิดอาการประสาทหลอน หวาดระแวง ความจำเสื่อม โรคซึมเศร้า โรคหวาดกลัวผิดปกติ ฯลฯ ซึ่งอาการทางจิตจากการดื่มสุรานี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งเพศชายและเพศหญิง – ผู้ที่ดื่มสุรามักมีแนวโน้มเป็นคนที่รุนแรง เพราะการดื่มแอลกอฮอล์จะเข้าไปกดการทำงานของสมองส่วนที่ควบคุมความรู้สึกผิดชอบชั่วดี สมองส่วนอื่น ๆ จึงมีอิทธิพลต่อความคิดมากขึ้น ผู้ดื่มจึงขาดความยับยั้งชั่งใจจากที่เคยมีในเวลาปกติ เป็นสาเหตุให้ต่อความรุนแรง และมีพฤติกรรมที่เดือดร้อน เป็นอันตรายต่อตัวเองและผู้อื่น รวมทั้งเด็กที่เติบโตในครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงนี้ จะมีปัญหาบุคลิกภาพตามไปด้วย และมีโอกาสที่จะเติบโตไปมีบุคลิกภาคและพฤติกรรมที่ชอบดื่มเหมือนคนในครอบครัวที่เคยเห็นในวัยเด็กได้อีก…

  • ระวังโรคไบกอเร็กเซีย – โรคที่คิดว่าตัวเองตัวเล็กเกินไป

    ระวังโรคไบกอเร็กเซีย – โรคที่คิดว่าตัวเองตัวเล็กเกินไป

    ระวังโรคไบกอเร็กเซีย – โรคที่คิดว่าตัวเองตัวเล็กเกินไป นายแพทย์ วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ รองผอ.สำนักยุทธศาสตร์สุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต ได้กล่าวถึงโรคทางจิตชนิดหนึ่งที่อาจจะไม่ค่อยคุ้นหูคนไทยเท่าไรนัก ก็คือโรค ไบกอเร็กเซีย (Bigorexia) หรือโรคที่คิดว่าร่างกายตัวเองเล็กเกินไป เป็นโรคที่ผู้ป่วยมักคิดว่าตัวเองยังมีรางกายที่ไม่กำยำหรือล่ำสันมากพอ จึงมักชอบส่องกระจกบ่อย ๆ ทั้งที่ตัวเองก็มีร่างกายที่กำยำอยู่แล้วทำให้ต้องเข้าฟิตเนส หรือเล่นเวทบ่อย ๆ หากไม่ได้เล่นก็จะเกิดอาการเครียดและซึมเศร้า โดยโรคนี้จะเกิดกับกลุ่มชายวัยรุ่นหรือวัยกลางคน ซึ่งเป็นโรคที่อยู่ในกลุ่มที่คิดว่าตัวเองมีรูปร่างหรืออวัยวะที่ผิดปกติหรือ Body Dsymophic Diorder : BDD มีอาการผิดปรกติต่อการประเมินภาพลักษณ์ของตนเอง หมกมุ่นและย้ำคิดย้ำทำ กับเรื่องของรูปลักษณ์ตัวเอง ทั้งที่มีรูปร่างที่ปกติ แต่ก็สามารถหาจุดตำหนิได้เสมอ จนเกิดความทุกข์ ความเครียดซึมเศร้า จนกระทบต่อการใช้ชีวิต การทำงานและความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ ซึ่งข้อสังเกตของผู้ป่วยในกลุ่มนี้ก็คือ 1. มักจะชอบส่องกระจกนาน ๆ แล้วก็หมกมุ่นกับภาพลักษณ์ของตัวเองจนเป็นสุขและสูญเสียความรับผิดชอบในภารกิจส่วนตัว 2. ชอบเอ่ยปากถามถึงรูปร่างหน้าตาของตนเองกับคนอื่นเสมอ แม้คนอื่นจะยืนยันความปกติแต่ก็ไม่เคยเชื่อ และมักจะถามย้ำเสมอ ๆ 3. หมดความมั่นใจในตัวเอง จนไม่กล้าเข้าสังคม มักแยกตัวจากคนอื่น สูญเสียการสร้างสัมพันธ์ภาพกับคนอื่น และสุดท้ายก็คือการโรคซึมเศร้า โดยโรคนี้ยังไม่มีการศึกษาในประเทศไทย แต่ในสหรัฐอเมริกาพบได้มากถึงร้อยละ…