Tag: โรคฉี่หนู
-
การป้องกันโรคฉี่หนู
การป้องกันโรคฉี่หนู ในช่วงฤดูฝนที่มักมีน้ำท่วมขัง เป็นระยะที่มีการระบาดของโรคเลปโตสไปโรซิสหรือโรคฉี่หนูได้ง่ายมาก ดังนั้นเราจึงควบคุมดูแล และป้องกันโรคฉี่หนูด้วยการปฏิบัติตัวตามนี้ค่ะ 1. กำจัดหนูในบริเวณที่อยู่อาศัย บ้านพัก สถานที่ทำงาน ร้านอาหาร ตลาด สถานที่ท่องเที่ยว ทุกที่ที่ต้องมีคนเข้าไปใช้งาน 2. ไม่ควรทานอาหารค้างคืนที่เก็บไม่มิดชิด เพราะอาจมีหนูมากินก็ได้ 3. หากต้องทำงานลุยน้ำ ลุยโคลนหรือต้องเกี่ยวข้องกับสัตว์ที่เป็นพาหะ ควรสวมถุงมือยาง รองเท้าบู้ตให้มิดชิด และอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายด้วยสบู่ให้หมดจดหลังจากเสร็จงาน 4. ไม่ควรลงไปเล่นน้ำหรือว่ายน้ำในแหล่งที่อาจมีเชื้อโรคปนเปื้อน เช่น แหล่งน้ำกินของวัว ควาย หมู ทั้งหลาย และควรดูแลเด็ก ๆ ไม่ให้เล่นน้ำด้วย 5. เกษตรกรที่ทำปศุสัตว์ควรแยกบริเวณเลี้ยงสัตว์กับคนอยู่อาศัยให้ชัดเจน กั้นคอกให้เป็นบริเวณ แยกภาชนะใส่น้ำของสัตว์และของคนออกจากกัน ห้ามใช้ร่วมกัน 6. แม้สัตว์จะได้รับการฉีดวัคซีนไม่ให้แสดงอาการของโรคแล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่าจะรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายไม่ได้ ดังนั้นก็ยังควรระวังจะแพร่เชื้อมาสู่คนได้อยู่ดี 7. ในวัคซีนที่ฉีดให้คนนั้นไม่ได้ป้องกันโรคฉี่หนูได้ทุกเชื้อ และการไล่ฉีดทุกเชื้อก็เป็นไปได้ยากด้วย และเป็นวัคซีนที่ไม่ได้ป้องกันตลอดชีวิตเหมือนวัคซีนชนิดอื่น ๆ จึงไม่แนะนำให้ฉีด 8. แม้จะเคยเป็นโรคนี้มาแล้ว ผู้ป่วยก็จะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อย่อยชนิดนี้เท่านั้น แต่ไม่ได้ป้องกันเชื้อย่อยชนิดอื่น ๆ ดังนั้นก็อาจเป็นใหม่จากเชื้อย่อยตัวอื่นได้อีก 9. หากในบ้านมีผู้ป่วยก็ไม่จำเป็นต้องแยกห้องนอน…
-
เดินลุยน้ำช่วงหน้าฝน ระวังโรคฉี่หนู
เดินลุยน้ำช่วงหน้าฝน ระวังโรคฉี่หนู ในหน้าฝนของทุกปีนั้น นอกจากโรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออกทั้งหลายแล้ว โรคที่ควรระวังอีกโรคหนึ่งก็คือ โรคฉี่หนู หรือ เลปโตสไปโรสิส นั่นเอง เป็นโรคที่ติดต่อจากสัตว์มาสู่คนได้ โดยสัตว์ที่เป็นพาหะพบได้บ่อยก็คือหนูทุกชนิด โดยเชื้อโรคจะมาจากปัสสาวะของหนู แต่ก็สามารถพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นด้วยเช่น หมู วัว ควาย ม้า แกะ แพะ นก กระรอก หมา แมว ฯลฯ เมื่อสัตว์ที่มีเชื้อเหล่านี้ฉี่ลงในแหล่งน้ำที่เราไปเหยียบย่ำเข้า เชื้อโรคก็จะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนังที่มีบาดแผลหรือเยื่อบุอ่อน ๆ หรือจากการกินน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อน รวมไปถึงการหายใจเอาละอองเชื้อเข้าไป โรคนี้ยังไม่พบการติดต่อจากคนสู่คนโดยตรง เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อนี้ไปแล้วจะมีระยะฟักตัวประมาณ 1-2 อาทิตย์ แล้วแสดงอาการสองแบบ แบบแรกก็คืออาการไม่รุนแรงนัก มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ หนาวสั่น มีไข้ติดต่อกันหลายวันสลับกับระยะไข้ลด ปวดหัวมาก มีเลือดออกที่เยื่อบุตา คลื่นไส้ อาเจียน ปวดกล้ามเนื้อมากโดยเฉพาะปวดน่องสองข้าง และอาจปวดท้องและหลังด้วย สามารถรักษาให้หายได้ แต่แบบที่สองนั้นจะรุนแรงจนสามารถเสียชีวิตได้เลย จะมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ราว 5-15% ผู้ป่วยจะมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ตับและม้ามโต ตับวายไตวายเฉียบพลัน ตับอ่อนอักเสบรุนแรง…
-
5 กลุ่มโรคที่มาพร้อมกับฤดูฝน
5 กลุ่มโรคที่มาพร้อมกับฤดูฝน เพราะในหน้าฝนมีอุณหภูมิที่เริ่มเย็นลง กับมีความชื้นในอากาศที่สูงขึ้น ด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเช่นนี้ ทำให้มีหลายโรคที่ระบาดขึ้นได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งโรคดังกล่าวก็ได้แก่ 5 กลุ่มโรคต่อไปนี้ทำควรป้องกันการติดต่อมากเป็นพิเศษ 1. กลุ่มโรคทางเดินอาหาร ทั้งท้องร่วง ไทรอยด์ บิด อาหารเป็นพิษ เกิดจากการทานอาหารที่มีเชื้อโรคในระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำ อาจมีไข้และปวดบิดในท้อง หากติดเชื้อบิดก็อาจถ่ายเป็นมูกหรือมีเลือดปนออกมากับอุจจาระได้ จึงควรระวังการทานอาหารมากเป็นพิเศษ ควรทานอาหารที่สุกใหม่ ๆ และใช้ช้อนกลางด้วย 2. กลุ่มโรคติดเชื้อทางเยื่อบุผิวหนังหรือบาดแผล ที่พบได้บ่อยก็โรคฉี่หนู อาการจะมีไข้สูง ปวดหัวมาก มักปวดกล้ามเนื้อบริเวณน่องและโคนขาอย่างรนแรง ตาแดง มักเกิดในที่น้ำท่วม ผู้ที่บ้านมีหนูมาก ชาวไร่ชาวสวน ผู้ที่ทำงานกับการแช่น้ำ ในที่เฉอะแฉะ หรือผู้ที่ทำงานลอกท่อระบายน้ำ ทำงานเหมืองแร่ โรงฆ่าสัตว์ คนงานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ ฯลฯ 3. กลุ่มโรคทางเดินหายใจ ได้แก่ หวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบหรือปอดบวม รวมไปถึงโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่มีแหล่งแพร่ระบาดจากสัตว์ปีก ซึ่งเชื้ออาจข้ามสายพันธุ์กับเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในหน้าฝนได้ 4.…
-
การป้องกันโรคฉี่หนู และโรคตาแดง และโรคผิวหนังในช่วงที่มีน้ำท่วม
การป้องกันโรคฉี่หนู และโรคตาแดง และโรคผิวหนังในช่วงที่มีน้ำท่วม โรคที่มักจะระบาดบ่อย ๆ เวลาน้ำท่วมได้แก่ โรคตาแดง โรคฉี่หนู และโรคผิวหนัง โรคฉี่หนูจะมีอาการไข้สูง ปวดหัว เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อน่อง ตาแดง ตาเหลืองได้ ควรหลีกเลี่ยงการแช่น้ำ ลุยย่ำน้ำโคลนโดยไม่จำเป็น แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรสวมรองเท้าบู้ทยางกันน้ำ ยิ่งโดยเฉพาะผู้ที่มีบาดแผลแล้วยิ่งควรระวัง ไม่ควรแช่น้ำนาน ๆ เมื่อขึ้นจากน้ำควรรีบชำระล้างร่างกายให้สะอาดแล้วซับให้แห้ง ทานอาหารในภาชนะที่ปิดมิดชิด เก็บขยะทั้งหมดใส่ถุงพลาสติกและถังขยะที่ปิดมิดชิด ไม่ให้เป็นแหล่งอาหารของหนูได้ และควรดูแลที่พักอาศัยให้ปราศจากหนูด้วย ส่วนโรคตาแดง หรือเยื่อตาขาวอักเสบจากเชื้อไว้รัสนั้น จะมีอาการระคายเคืองตา ปวดตา น้ำตาลไหล กลัวแสง มีขี้ตา ตาแดงหนังตาบวม โดยอาจเริ่มที่ตาข้างหนึ่งก่อนแล้วลามไปอีกข้าง บ้างก็มีไข้ร่วมด้วย ควรป้องกันโดยหมั่นล้างมือให้สะอาด ด้วยน้ำกับสบู่ ไม่ควรขยี้ตาและอย่าให้แมลงตอมตาได้ หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น อาทิเช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว และควรแยกที่นอนจากคนอื่นด้วย ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาหยอดตา ยิ่งหากมีอาการปวดตามาก ตามัว ขี้ตาเหลืองหรือเขียว หรือไม่ทุเลาภายในหนึ่งสัปดาห์ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนค่ะ โรคผิวหนังที่มากับน้ำท่วมนั้น จำแนกอาการของแต่ละโรคได้ดังนี้…. – ผื่นคัน จะมีผื่นหรือมีตุ่มคันบริเวณที่สัมผัสกับน้ำหรือโดนยุงกัด มักเกิดขึ้นพร้อมกันหลาย…
-
ชาวสวนชาวไร่ระวังโรคฉี่หนูในฤดูฝน
ชาวสวนชาวไร่ระวังโรคฉี่หนูในฤดูฝน ในหน้าฝนที่มีน้ำขังเฉอะแฉะ และในนาข้าวในไร่สวนต่าง ๆ นั้น เป็นช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงต่อเชื้อโรคฉี่หนูมาก เพราะเชื้อจะแฝงตัวอยู่ตามแหล่งน้ำขังต่าง ๆ พบได้ตั้งแต่ในช่วงฤดูฝนจนถึงต้นฤดูหนาว ผู้ที่มีโอกาสติดเชื้อก็คือผู้ที่เหยียบย่ำหรือทำงานอยู่ในแหล่งน้ำขัง รวมทั้งชาวสวน ชาวไร่ ชาวนา คนเลี้ยงสัตว์ คนขุดลอกคลองบึง หรือเด็ก ๆ ที่ชอบกระโดดน้ำเล่นตามแหล่งน้ำธรรมชาติด้วย เชื้อฉี่หนู หรือเชื้อเลปโตสไปโรซิสนั้นจะอาศัยอยู่บริเวณท่อไตของสัตว์กัดแทก จำพวก หนู กระรอก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น ๆ โดยพบว่าหนูทุกชนิดเป็นตัวแพร่เชื้อที่สำคัญ ซึ่งเชื้อจะถูกขับออกมากับปัสสาวะของสัตว์และปนเปื้อนตามแหล่งน้ำ พื้นดินแฉะทั่วไป เชื้อโรคนี้สามารถแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล หรือเยื่อบุอ่อนต่าง ๆ เช่น จมูก ตา หรือในปาก ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ การกินน้ำและกินอาหารที่ปนเปื้อนฉี่ของสัตว์เหล่านี้ก็ทำให้เกิดโรคได้เหมือนกัน อาการของโรคฉี่หนูจะมีอาการตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงรุนแรงเสียชีวิตได้ ขึ้นอยู้กับปริมาณของเชื้อและภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย โดยจะฟักตัวในร่างกายประมาณ 2-3 อาทิตย์แล้วจึงแสดงอาการ ไข้สูง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมากโดยเฉพาะบริเวณน่อง มีรอยเขียวช้ำบริเวณผิวหนัง เยื่อบุตาอักเสบมีเลือดไหลออกในลูกตา ผู้ที่รักษาไม่ทันอาจตายเพราะภาวะไตวาย ตับวายหรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ด้วย หากคนในครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิดมีอาการดังกล่าวมาหลังจากไปสัมผัสแหล่งน้ำท่วม ควรรีบพาไปพบแพทย์ ผู้ที่จำเป็นต้องเหยียบย่ำเข้าไปในแหล่งน้ำชื้นแฉะควรแต่งกันให้รัดกุม สวมรองเท้าบู้ทกันน้ำได้ ทำความสะอาดร่างกายทุกครั้งหลังจากเสร็จงาน ไม่ควรใช้น้ำตามแหล่งน้ำนั้นล้างหน้าหรือล้างแผง หากมีบาดแผลหรือแผลถลอกควรใช้พลาสติกกันน้ำปิดแผลและหลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำขังหรือพื้นดินชื้นแฉะด้วย…
-
หน้าฝนระวังโรคฉี่หนู
หน้าฝนระวังโรคฉี่หนู ในระยะเวลาที่ฝนกำลังตกพรำไม่เว้นแต่ละวันในระยะนี้ ทำให้ผู้ที่ไม่ค่อยดูแลรักษาตัวเองเท่าไรอาจป่วยเป็นโรคฉี่หนูได้ ซึ่งโรคฉี่หนูนี้เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากสัตว์ประเภทสัตว์กัดแทะขนาดเล็ก เช่น หนู กะรอก และยังสามารถพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นได้ไม่ว่าจะเป็น หมา แมว วัว ควาย ฯลฯ ซึ่งหนูนั้นเป็นตัวการแพร่เชื้อที่สำคัญมาก โดยเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคเลปโตสไปโรซิสหรือฉี่หนูนี้จะถูกขับออกมาจากปัสสาวะของหนู แล้วปนเปื้อนอยู่ตามแหล่งน้ำสกปรก ท่อน้ำขัง ที่เฉอะแฉะ พื้นดินแฉะ ๆ ผู้ที่เข้าไปเดินย่ำหรือสัมผัสกับแหล่งน้ำเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นชาวไรชาวสวน ผู้ที่ทำปศุสัตว์ ผู้ที่ขุดลอกคูคลอง ผู้ทำประมง หาปลา ปู หรือเด็ก ๆ ที่เล่นน้ำ เมื่อสัมผัสกับน้ำที่มีเชื้อแบคทีเรียนี้เข้าไป จะทำให้เชื้อโรคแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลเล็ก ๆ หรือเยื่อบุบอบบาง ไม่ว่าจะเป็น จมูก ตา ปาก ก็จะทำให้เกิดโรคได้ นอกจากนี้การทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อก็สามารถติดโรคได้ด้วย อาการของโรคฉี่หนูนี้ มีหลายระดับ ซึ่งอาจแสดงอาการเพียงเล็กน้อยหรือแสดงอาการรุนแรงจนเสียชีวิตได้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกายผู้ติดเชื้อ ภูมิคุ้มกันและปริมาณของเชื้อด้วย ซึ่งระยะแสดงอาการจะอยู่ที่ราว 2-3 สัปดาห์ อาการนั้นจะแสดงออกมาเป็น การมีไข้สูง มักปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมากยิ่งโดยเฉพาะบริเวณน่อง ปรากฏรอยจ้ำเลือดหรือรอยช้ำเขียวตามผิวหนัง เยื่อบุตาอักเสบและมีเลือดออกในลูกตา หากมีอาการที่รุนแรงแล้วไม่ยอมรับการรักษาอาจเสียชีวิตจากตับวายหรือไตวาย และเยื่อหุ้นสมองอักเสบได้…