Tag: โรคจิต
-
ปัจจัยที่อาจทำให้คนเสี่ยงฆ่าตัวตาย
ปัจจัยที่อาจทำให้คนเสี่ยงฆ่าตัวตาย แต่ละปีนั้น ทั่วโลกมีผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าหนึ่งล้านราย แม้แต่ในประเทศไทยเองก็มีอัตราการฆ่าตัวตายเฉลี่ยถึงหกรายต่อประชากรหนึ่งแสนคน สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจและส่งผลกระทบต่อจิตใจของคนใกล้ตัวอย่างมากด้วย ซึ่งผู้ชายนั้นจะมีการฆ่าตัวตายมากกว่าผู้หญิง นับเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและมีสาเหตุได้มากมาย ซึ่งมีปัจจัยนำที่จะทำให้คนเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายดังต่อไปนี้ – มีปัญหาสุขภาพจิต โรคจิต อารมณ์แปรปรวน ภาวะซึมเศร้า – มีประวัติทำร้ายตนเองมาก่อน – มีปัญหาสุขภาพจิตและใช้ยาเสพติดร่วมด้วย – ในครอบครัวเคยมีคนฆ่าตัวตาย – มีความโดดเดี่ยวสิ้นหวัง ถูกตัดขาดจากสังคมและผู้คน – เกิดความสูญเสียด้านความสัมพันธ์ การเงิน การงาน สังคม – เจ็บป่วย – มีบุคลิกภาพแบบก้าวร้าว หุนหันพลันแล่น – ไม่มีโอกาส หรือมีอุปสรรคในการเข้ารับการรักษาทางจิตเวช – อับอายในปัญหาสุขภาพจิตและการใช้ยาเสพติด จึงไม่เต็มใจรับการช่วยเหลือหรือรักษา – มีประสบการณ์หรืออิทธิพลจากการฆ่าตัวตายของคนรัก ทั้งคนในครอบครัว เพื่อนสนิท ดาราหรือคนดังที่ตนชื่นชอบ ทั้งประสบการณ์ตรงหรือได้รับจากสื่อต่าง ๆ – ศาสนาและลัทธิความเชื่อบางอย่าง ที่เชื่อว่าการฆ่าตัวตายเป็นการแก้ปัญหาที่น่ายกย่อง – มีความสามารถใช้การเข้าถึงอาวุธหรือเครื่องมือทำร้ายตนเองได้ง่าย เช่น มีด ปืน ฯลฯ ดังนั้นหากคนในครอบครัวมีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย…
-
ความเครียด…อาจเป็นต้นเหตุของโรคผิวหนังได้หลายชนิด
ความเครียด…อาจเป็นต้นเหตุของโรคผิวหนังได้หลายชนิด ด้วยการใช้ชีวิตในทุกวันนี้ทำให้เกิดความเครียดในหมูคนไทยกันมากขึ้น ก่อให้เกิดผลเสียหลายประการไม่ว่าจะเป็น ทำให้ไม่มีสมาธิในการทำงาน อารมณ์ไม่มั่นคง หงุดหงิด โมโหง่าย ปวดท้อง ปวดหัว ปวดหลังนอนไม่หลับ แล้วยังอาจเป็นบ่อเกิดของโรคร้ายแรงอื่น ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคกระเพาะอาหาร ต่อมไทรอยเป็นเป็นพิษ รวมไปถึงโรคจิต โรคประสาทได้อีก แต่เชื่อหรือไม่ว่านอกจากนี้แล้ว ความเครียดยังเป็นบ่อเกิดของโรคผิวหนังนานาชนิดได้อีกด้วยค่ะ สามารถแบ่งออกเป็นสามกลุ่มได้ดังนี้ – ในส่วนผู้ที่เป็นโรคผิวหนังอยู่แล้ว การมีความเครียดหรือโรคทางใจทำให้โรคกำเริบได้ เช่น ผมร่วง ภูมิแพ้ผิวหนัง เริม คัน สะเก็ดเงิน สิวเห่อ โรคผิวเปลือกไม้ หูด รวมไปถึงลมพิษ – กลุ่มโรคผิวหนังที่ทำให้จิตป่วยและเครียด คือโรคผิวหนังที่ทำให้ผู้ป่วยมีลักษณะภายนอกไม่น่ามอง เช่น สิวรุนแรง ด่างขาว สะเก็ดเงิน เริ่ม ผู้ป่วยจึงเสียความมั่นใจ รู้สึกอับอาย – กลุ่มโรคทางใจที่ทำให้เกิดอาการทางผิวหนัง เช่น โรคชอบดึงผมเล่นจนร่วง โรคหลงผิดคิดว่ามีแมลงหรือพยาธิไต่ตามผิวหนัง โรคฝังใจว่ามีเส้นใยผุดออกมาจากผิวหนัง โรคไม่พอใจในรูปร่างหน้าตาตนเอง ชอบคิดว่าตนเองไม่สวย ผมบาง ขนดก และชอบเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น…
-
ระวัง..กาแฟอาจทำคุณประสาทหลอน!
ระวัง..กาแฟอาจทำคุณประสาทหลอน! เป็นความจริงที่ได้รับเปิดเผยมาจาก นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเดอแรมในประเทศอังกฤษ ที่ได้ประกาศว่าผู้ที่กินกาแฟ ชา ช็อกโกแลต หรือเครื่องดื่มชูพลัง ที่ผสมคาเฟอีนมาก ๆ อาจทำให้ประสาทหลอนหรือหูแว่วได้ โดยเฉพาะผู้ที่ดื่มกาแฟเกินกว่าวันละ 3 ถ้วย หรือเทียบเท่ากับกาแฟสำเร็จรูปถึง 7 ถ้วย ซึ่งมีโอกาสมีอาการทางประสาทได้มากกว่าคนอื่น ๆ ที่ดื่มกาแฟวันละถ้วยถึง 3 เท่าเลยทีเดียว! แต่อาการประสาทหลอนนั้นไม่ใช่เครื่องแสดงอาการทางจิตที่แน่ชัด เพราะคนทั่วไปก็มักมีโอกาสได้ยินเสียงแปลก ๆ อยู่ถึง 3% ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่ากาแฟนั่น เข้าไปช่วยซ้ำเติมให้ความเครียดของจิตใจและอารมณ์ให้กลับมากขึ้น และมีอาการประสาทหลอนมากกว่าเดิมนั่นเอง
-
ระวังโรคไบกอเร็กเซีย – โรคที่คิดว่าตัวเองตัวเล็กเกินไป
ระวังโรคไบกอเร็กเซีย – โรคที่คิดว่าตัวเองตัวเล็กเกินไป นายแพทย์ วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ รองผอ.สำนักยุทธศาสตร์สุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต ได้กล่าวถึงโรคทางจิตชนิดหนึ่งที่อาจจะไม่ค่อยคุ้นหูคนไทยเท่าไรนัก ก็คือโรค ไบกอเร็กเซีย (Bigorexia) หรือโรคที่คิดว่าร่างกายตัวเองเล็กเกินไป เป็นโรคที่ผู้ป่วยมักคิดว่าตัวเองยังมีรางกายที่ไม่กำยำหรือล่ำสันมากพอ จึงมักชอบส่องกระจกบ่อย ๆ ทั้งที่ตัวเองก็มีร่างกายที่กำยำอยู่แล้วทำให้ต้องเข้าฟิตเนส หรือเล่นเวทบ่อย ๆ หากไม่ได้เล่นก็จะเกิดอาการเครียดและซึมเศร้า โดยโรคนี้จะเกิดกับกลุ่มชายวัยรุ่นหรือวัยกลางคน ซึ่งเป็นโรคที่อยู่ในกลุ่มที่คิดว่าตัวเองมีรูปร่างหรืออวัยวะที่ผิดปกติหรือ Body Dsymophic Diorder : BDD มีอาการผิดปรกติต่อการประเมินภาพลักษณ์ของตนเอง หมกมุ่นและย้ำคิดย้ำทำ กับเรื่องของรูปลักษณ์ตัวเอง ทั้งที่มีรูปร่างที่ปกติ แต่ก็สามารถหาจุดตำหนิได้เสมอ จนเกิดความทุกข์ ความเครียดซึมเศร้า จนกระทบต่อการใช้ชีวิต การทำงานและความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ ซึ่งข้อสังเกตของผู้ป่วยในกลุ่มนี้ก็คือ 1. มักจะชอบส่องกระจกนาน ๆ แล้วก็หมกมุ่นกับภาพลักษณ์ของตัวเองจนเป็นสุขและสูญเสียความรับผิดชอบในภารกิจส่วนตัว 2. ชอบเอ่ยปากถามถึงรูปร่างหน้าตาของตนเองกับคนอื่นเสมอ แม้คนอื่นจะยืนยันความปกติแต่ก็ไม่เคยเชื่อ และมักจะถามย้ำเสมอ ๆ 3. หมดความมั่นใจในตัวเอง จนไม่กล้าเข้าสังคม มักแยกตัวจากคนอื่น สูญเสียการสร้างสัมพันธ์ภาพกับคนอื่น และสุดท้ายก็คือการโรคซึมเศร้า โดยโรคนี้ยังไม่มีการศึกษาในประเทศไทย แต่ในสหรัฐอเมริกาพบได้มากถึงร้อยละ…