Tag: โรคกระดูกพรุน

  • ผู้หญิงวัยทอง อ้วนง่ายขึ้นนะจ๊ะ

    ผู้หญิงวัยทอง อ้วนง่ายขึ้นนะจ๊ะ

    ผู้หญิงวัยทอง อ้วนง่ายขึ้นนะจ๊ะ ในผู้หญิงวัยทองเมื่อฮอร์โมนหมดไปแล้วจะมีอาการหงุดหงิดได้ง่าย อารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับและใจสั่น ซึ่งอาการก็ไม่ได้รุนแรงมากนัก แต่สิ่งที่รุนแรงกว่าคือโรคเรื้อรังที่เกิดจากวัยหมดประจำเดือน เกิดจากความชราภาพของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายตามกระบวนการธรรมชาติ ซึ่งฮอร์โมนก็เป็นส่วนหนึ่งด้วย หากร่างกายมีภาวะอ้วนน้ำหนักเกิน ความเสี่ยงก็จะยิ่งสูงขึ้นไปอีกที่จะเป็นโรคความดันโลหิต เบาหวาน ไขมันเลือด โรคมะเร็ง โรคหัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาตได้ง่ายมากยิ่งขึ้นด้วย ในช่วงวัยหมดประจำเดือนจึงต้องเป็นช่วงเวลาที่ควบคุมการเพิ่มของน้ำหนักอย่างเข้มงวด เพราะเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุของโรคร้ายแรงที่อาจคร่าชีวิตก่อนวัยอันควรได้ ในวัยอื่นนั้น ปัจจัยที่ทำให้ร่างกายมีความอ้วนน้ำหนักเกินขึ้นอยู่กับการทานอาหารเป็นสำคัญ แต่ในวัยหมดประจำเดือน บางครั้งแม้จะควบคุมอาหารอย่างเต็มที่แล้วก็ยังไม่สามารถควบคุมน้ำหนักไว้ได้ ซึ่งทางที่ดีที่สุดก็คือควรควบคุมไว้ตั้งแต่วัยก่อนหมดประจำเดือน ในสังคมคนเมืองปัจจุบันนี้อาหารการกินกลับเริ่มแย่ลง คนเรากินอาหารฟาสต์ฟู้ดที่มีไขมันสูง ไม่มีคุณค่าทางอาหารมากขึ้น ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนได้ง่าย จริงอยู่ว่าเราอาจไม่สามารถทำอาหารทานเองได้ทุกมื้อ แต่เป็นไปได้ก็ควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ มีไขมันต่ำ มีรสหวานน้อย ๆ เค็มน้อย ๆ แล้วทานผักผลไม้ให้มากขึ้น ก็จะช่วยลดความเสี่ยงได้ตั้งแต่วัยก่อนหมดประจำเดือน ในส่วนของการออกกำลังกาย อย่างน้อยที่สุดควรให้ร่างกายได้ออกกำลังกายบ้าง แต่ละวันให้มีเวลาเดินเล่นอย่างน้อย 30-60 นาที จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นมาก ควรเดินในเวลาที่มีแดดอ่อน ๆ อย่างช่วงเช้า ช่วงเย็น การตากแดดอ่อน ๆ จะช่วยให้ผิวหนังได้รับวิตามินดี ทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้อีกด้วย เพราะเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันรุดหน้าไปมาก…

  • สัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

    สัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

    สัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ในผู้สูงอายุนั้น พบปัญหาข้อเสื่อมและกระดูกพรุนได้มาก มักเกิดกับข้อใหญ่ ๆ ของร่างกาย ได้แก่ ข้อสะโพก กระดูกสันหลัก และข้อเข่าด้วย พบได้มากในเพศหญิงมากกว่าเพศชายเนื่องจากในวัยหมดประจำเดือน ร่างกายผู้หญิงจะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนไปด้วย อีกทั้งหากในวัยหนุ่มสาวไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย เมื่ออายุมากขึ้นเริ่มอ้วนขึ้น เข่าก็ต้องรับน้ำหนักส่วนเกินมากขึ้น ทำให้เกิดเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้ง่าย ซึ่งสัญญาณเตือนที่บอกว่าคุณกำลังเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้ก็ได้แก่ 1. เริ่มเจ็บเข่า ปวดแต่ไม่มาก แรก ๆ จะเริ่มรู้สึกขัด ๆ เข่าเวลาใช้งานก่อน แต่เมื่อพักก็จะดีขึ้น แต่หากทิ้งไว้นานและยังคงใช้งานต่อเนื่องก็อาจปวดจนเดินไม่ไหว 2. เข่าบวม จะพบได้ในระยะที่เข่าเริ่มเสื่อมมากแล้วและได้รับแรงกระแทกสูง เข่าจะบวมจนเห็นได้ชัดและเริ่มมีอาการปวดมากขึ้น หากรักษาอาการบวมก็จะทุเลาปวดได้ แต่หากกลับมาลงน้ำหนักอีกก็จะบวมได้อีก 3. อาการเข่าอ่อนหรือเข่าฝืด จะเป็นในช่วงที่เข่ายังไม่บวม เวลานั่งจะลุกไม่ขึ้นเพราะเข่าอ่อนและเหยียดไม่ออก ต้องค่อย ๆ พยุงตัว อาการจะเป็นมากขึ้นจนสุดท้ายเข่าจะผิดรูปและเข่าโก่งงอได้ เมื่อเริ่มสงสัยว่าตนเองจะมีอาการข้อเข่าเสื่อมแล้วไม่ควรปล่อยให้เป็นมากขึ้น ควรเข้ารับการรักษา และควรดูแลตัวเองเพื่อมิให้อาการลุกลามมากขึ้นดังต่อไปนี้ – รักษาน้ำหนักตัวให้ได้มาตรฐาน อย่าปล่อยให้อ้วน หรือน้ำหนักเกิน – ไม่ควรให้มีแรงกระแทกต่อหัวเข่า เช่น การกระโดดเชือก วิ่ง หรือมีการกระแทกข้อ แต่ให้ออกกำลังเข่าที่ช่วยให้กล้ามเนื้อและเอ็นรอบเข่าแข็งแรง…

  • กระดูกพรุน ภัยร้ายที่คืบคลานอย่างเงียบงัน

    กระดูกพรุน ภัยร้ายที่คืบคลานอย่างเงียบงัน

    กระดูกพรุน ภัยร้ายที่คืบคลานอย่างเงียบงัน ในปัจจุบันนี้มีผู้ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนมากขึ้น เพราะวิธีการใช้ชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลงไป ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้น จึงไม่ค่อยได้ใช้ร่างกายด้วย ประกอบกับที่อายุขัยของคนยุคนี้ยืนยาวขึ้นจึงพบโรคกระดูกพรุนมากตามไปด้วย โรคกระดูกพรุน ไม่ได้หมายถึงกระดูกมีรูพรุน ๆ นะคะ แต่หมายถึงมวลกระดูมีความหนาแน่นที่น้อยลง มักไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า จะทราบได้ก็คือผู้ป่วยมักกระดูกหันไปแล้ว ซึ่งก็มักจะสายเกินไปสำหรับการรักษา สาเหตุของโรคกระดูกพรุนหลัก ๆ ก็ได้แก่ – เชื้อชาติเอเชียและคอร์เคเชี่ยน จะมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุ่นได้ง่ายกว่าคนผิวดำ – ไม่ยอมออกกำลังกาย หรือมีชีวิตที่สะดวกสบายมากเกินไป – โรคบางชนิดที่ทำให้ขาดการเคลื่อนไหว เช่น อัมพฤกษ์อัมพาต – ทานอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอ – ในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคกระดูกพรุน โรคกระดูกพรุนไม่สามารถรักษาให้กระดูกลับมามีสภาพเดิมได้ แต่การทานยาและการเสริมแคลเซียมช่วยให้กระดูกดีขึ้นได้ โดยยาตัวใหม่ ๆ ที่ใช้ในการรักษากระดูกพรุนก็คือยาในกลุ่ม Bisphophonate ในส่วนของการป้องกันโรคกระดูกพรุนนั้น ในผู้หญิงจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าผู้ชายถึงสี่เท่า เพราะผู้หญิงจะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนหลังจากหมดประจำเดือนไปแล้วความหนาแน่นของกระดูกจึงลดลง ในผู้หญิงที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปจึงควรทานแคลเซียมคาร์บอเนตวันละ 1 กรัม เพื่อป้องกันไว้ก่อน นอกจากนี้ยังควรออกกำลังกายด้วยการวิ่งหรือเดินลงน้ำหนักบนพื้นราบ ทานปลาทะเลและปลาที่ทอดกรอบได้ทั้งตัวเพื่อเสริมแคลเซียม รวมทั้งควบคุมน้ำหนักตัวมิให้อ้วนเกินมาตรฐาน เพราะน้ำหนักตัวที่กดทับจะยิ่งเพิ่มปัจจัยให้กระดูกพรุนได้เร็วขึ้น

  • ดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคข้อเสื่อม

    ดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคข้อเสื่อม

    ดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคข้อเสื่อม ปัจจุบันมีคนไทยเป็นโรคข้อเสื่อมและกระดูกพรุนมากถึงกว่าเจ็ดล้านคนเลยทีเดียว พบมากในผู้ที่มีอายุสี่สิบปีขึ้นและผู้สูงอายุด้วย ซึ่งนับวันตัวเลขผู้ป่วยก็จะยิ่งมากขึ้น เพราะประเทศไทยกำลังจะเป็นสังคมผู้สูงอายุนั่นเอง โรคข้อเสื่อมนี้เป็นอาการที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนที่ฉาบผิวกระดูกข้อต่อไว้ไม่ให้เสียดสีกันยามเคลื่อนไหว แต่เมื่อกระดูกอ่อนหรือพรุน กระดูกข้อต่อก็จะเสียดสีกันจนเป็นผลให้เกิดการอักเสบ ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บปวดจนไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ตามปกติ ทำให้กิจวัตรที่เคยทำเป็นประจำมีปัญหาได้ หากคุณไม่อยากเป็นโรคข้อเสื่อมก่อนวัย ควรดูแลร่างกายตัวเองดังต่อไปนี้นะคะ 1. ควบคุมน้ำหนักไว้ให้ได้มาตรฐาน อย่าปล่อยตัวให้อ้วน เพราะนี่คือสาเหตุใหญ่ของโรคข้อเสื่อมเลยก็ว่าได้ ยิ่งอ้วนมากเท่าไร ข้อต่อก็ยิ่งรับน้ำหนักมาขึ้นเท่านั้น หากในช่วงต้นชีวิตที่ยังไม่มีอาการโรคข้อเสื่อม ได้ลดน้ำหนักและรักษาน้ำหนักไว้ในมาตรฐานตลอดเวลา กับทั้งออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็จะเป็นการหลีกเลี่ยงโรคข้อเสื่อมได้ดีเลยทีเดียว 2. ไม่อยู่ในอิริยาบถที่ทำให้เกิดโรคข้อ เช่น การนั่งยอง ๆ นั่งกับพื้น ผุดลุกผุดนั่งบ่อย ๆ ขึ้นลงบันไดเป็นประจำ หรือทิ้งน้ำหนักลงขาข้างเดียว ทำให้ข้อต่อช่วงเข่า ขาลงไปมีปัญหาได้ แม้แต่ผู้ที่นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ หากไม่หมั่นขยับท่าทางบ่อยๆ และนั่งก้มคอหรือก้มหลังทำงานมาก ๆ ก็อาจทำให้ข้อต่อบริเวณคอและกระดูกสันหลังส่วนเอวมีปัญหาได้เช่นกัน หากไม่อยากปวดข้ออย่าก้มคอนาน ๆ ให้นั่งพิงพนักเก้าอี้ไว้ และลุกขึ้นมายืดเส้นยืดสายบ่อย ๆ ด้วยนะคะ 3. ออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อ เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ช่วยพยุงกระดูกเอาไว้ ลดโรคข้อเสื่อมได้ และการออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อนี้ควรปรึกษาเทรนเนอร์หรือผู้ชำนาญจะดีที่สุดค่ะ 4. การใช้อาหารและยา หากเป็นโรคข้อเสื่อในระยะแรก ๆ นั้น…

  • ลองฝึกชี่กงเพื่อฟื้นฟูและรักษาสุขภาพกันดูสิคะ

    ลองฝึกชี่กงเพื่อฟื้นฟูและรักษาสุขภาพกันดูสิคะ

    ลองฝึกชี่กงเพื่อฟื้นฟูและรักษาสุขภาพกันดูสิคะ ชี่กงเป็นคำภาษาจีนค่ะ คำว่าชี่ หมายถึง พลังลมปราณ ส่วนคำว่า กง หมายถึง การฝึกฝนปฏิบัติ เมื่อนำมารวมกันแล้วจึงหมายถึงการฝึกฝนปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสมดุลของพลังลมปราณ มีมากว่าห้าพันปีแล้ว มีต้นกำเนิดในประเทศจีนนั่นเองค่ะ โดยมีหลักการก็คือ พลังงานเกี่ยวกับกฎของธรรมชาตินั้น จะมีความเกี่ยวข้องกับพลังงานทั้งสาม ได้แก่ สวรรค์ พื้นโลก และมนุษย์ หากพลังงานทั้งสามถ่ายเทซึ่งกันและกันได้ดี ก็จะมีความสมดุล ไม่ป่วยไข้ โลกก็จะสันติสุข ไม่เกิดภัยพิบัติ ฝนตกตามฤดูกาล พืชพันธ์ออกดอกออกผลตามเวลา แต่ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะเป็นโลกหรือมนุษย์ต่างก็ตกอยู่ในภาวะไม่สมดุล จึงเกิดความวิปริตและโรคภัยนานาชนิดขึ้น การฝึกชี่กงเพื่อรักษาสุขภาพนั้น จะเน้นการปรับสมดุลของพลังลมปราณ เช่น หากหยินหรือหยางพร่องก็จะมีการฝึกท่าทางต่าง ๆ เพื่อเพิ่มหยินหรือหยางที่ขาดไป โดยมีองค์ประกอบสามอย่างได้แก่ การหายใจที่ถูกวิธี การมีสมาธิในขณะที่ฝึก และการใช้ท่วงท่าต่าง ๆ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญรองลงมาจากการหายใจและการใช้สมาธิ เมื่อฝึกชี่กงแล้วนั้นจะมีประโยชน์ก็คือ ทำให้ร่างกายมีความยืดหยุ่นทนทานมากขึ้น ในขณะที่ก็ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้ การหายใจดีขึ้น ป้องกันโรคกระดูกพรุน ลดอาการปวดจากความตึงของกล้ามเนื้อ ลดความดันโลหิตสูง เพิ่มภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย ลดอาการภูมิแพ้ คลายเครียดได้ด้วย ผลข้างเคียงจากการฝึกชี่กง ซึ่งอาจเกิดจากการฝึกที่ไม่ถูกต้องได้ เช่น อาจมีความร้อนสะสมในร่างกาย อาจร้อนวูบวาบเฉพาะที่…

  • ปัจจัยเสี่ยงที่ควรหลีกเลี่ยง เพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน

    ปัจจัยเสี่ยงที่ควรหลีกเลี่ยง เพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน

    ปัจจัยเสี่ยงที่ควรหลีกเลี่ยง เพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน ภาวะกระดูกพรุน มักเกิดได้มากในกลุ่มผู้ที่มีอายุเกินกว่า 65 ปีขึ้นไป และพบได้มากในเพศหญิง เกิดจากเนื้อกระดูกที่บางตัวลง เพราะการสลายตัวของกระดูกมีมากกว่าสร้าง กระดูกจึงยุบตัวหรือหักได้ง่าย มักเกิดได้กับกระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก กระดูกข้อมือ แม้ผู้ที่กระดูกยังไม่หักก็มักจะพบอาการ ปวดหลัง กระดูกสันหลังยุบตัว ตัวเตี้ยลง หลั่งค่อม กระดูกส่วนอื่นเปราะหักง่าย บางทีก็ทำให้เกิดความพิการ จนเกิดภาวะแทรกซ้อนจากกระดูกหัก เช่น แผลกดทับ ติดเชื้อ ปอดบวม อวัยวะทำงานไม่ได้ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเสียชีวิตในผู้สูงวัย ดังนั้นก่อนที่กระดูกของคุณจะมีปัญหาดังกล่าว ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้ – หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้ร่างกายมีภาวะเป็นกรด เพราะแคลเซียมที่ช่วยรักษาสมดุลระหว่างความเป็นกรดด่างของเลือดจะไปสะเทินฤทธิ์กรดดังกล่าว การสูบบุหรี่จึงเร่งแคลเซียมให้สลายออกจากกระดูกมากขึ้น – งดดื่มเหล้า เพราะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมในทางเดินอาหาร และส่งผลต่อตับที่ช่วยกระตุ้นวิตามินดีที่มีบทบาทสำคัญในการดูดซึมแคลเซียมด้วย – ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา ช็อกโกแลต เครื่องดื่มชูกำลังอื่น ๆ ฯลฯ ที่จะทำให้ร่างกายขับแคลเซียมออกมามากเกินไป – ลดการดื่มน้ำอัดลม เพราะกรดฟอสฟอริกในน้ำอัดลมจะทำให้ร่างกายได้รับฟอสฟอรัสมากเกินไป ร่างกายจะสลายแคลเซียมออกจากกระดูกออกมาเพื่อสะเทินฟอสฟอรัสในเลือดไม่ให้สูงจนเป็นอันตราย – หากได้รับเกลือมากเกินไปก็จะทำให้ร่างกายสลายแคลเซียมออกจากกระดูกมากเช่นกัน –…

  • 7 วิธีป้องกันกระดูกพรุนเมื่อเข้าสู่วัยชรา

    7 วิธีป้องกันกระดูกพรุนเมื่อเข้าสู่วัยชรา

    7 วิธีป้องกันกระดูกพรุนเมื่อเข้าสู่วัยชรา จะเห็นได้ว่าเมื่อคนสูงอายุกันมากขึ้น ร่างกายจะดูเตี้ยลง หลังค่อมและขาโก่งขึ้น บางคนแค่เพียงประสบอุบัติเหตุลื่นหกล้มหรือโดนกระแทกเบา ๆ กระดูกก็หักแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เกิดจากภาวะกระดูกพรุนหรือกระดูกบางตัวลงนั่นเอง กระบวนการนี้เกิดจากการที่กระดูกเรามีการสร้างตัวและสลายตัวออกมาในรูปของแคลเซียมเข้าสู่กระแสเลือดตลอดเวลา หากร่างกายได้รับแคลเซียมไม่มากพอก็จะสูญเสียมวลกระดูกไปเรื่อย ๆ จนกระดูกบางในที่สุด ในเด็กจะมีการสร้างมวลกระดูกมากกว่าสลายตัว กระดูกจึงแข็งแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงจุดสูงสุดเมื่ออายุ 30-35 ปี แล้วหลังจากนั้นก็จะค่อย ๆ บางตัวลงเพราะมีการสลายตัวมากกว่าสร้าง ยิ่งผู้หญิงด้วยแล้วยิ่งมีการสลายตัวมากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า เนื่องจากภาวะของฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงในวัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน การดูแลสุขภาพของกระดูกจึงควรเริ่มต้นตั้งแต่ก่อนอายุ 30 ปี หากพ้นจากนี้แล้วร่างกายจะไม่สามารถสะสมเนื้อกระดูกให้แข็งแรงได้ การป้องกันกระดูกพรุนจึงควรเตรียมพร้อมไว้ดังต่อไปนี้ 1. ทานอาหารที่มีแคลเซียมให้มาก ไม่ว่าจะเป็น นม โยเกิร์ต ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งฝอย กระดูกอ่อนของสัตว์ เต้าหู้แข็ง ถั่วแดง ผักใบเขียว ทานสลับกันไปทุกวัน เพราะการจะมีกระดูกแข็งแรงได้นั้นมิได้อาศัยแต่เพียงแคลเซียมอย่างเดียว แต่ต้องการสารอาหารที่หลากหลายด้วย 2. ควรหมั่นออกกำลังกายที่มีการลงน้ำหนัก เช่น การเดิน การวิ่ง การขึ้นลงบนได กระโดดเชือก เต้นแอโรบิก เพราะกระตุ้นให้ร่างกายดูดแคลเซียมให้มากขึ้น…

  • ทำความเข้าใจกันใหม่ แคลเซียมไม่ได้รักษากระดูกได้ทุกโรคเสมอไป

    ทำความเข้าใจกันใหม่ แคลเซียมไม่ได้รักษากระดูกได้ทุกโรคเสมอไป

    ทำความเข้าใจกันใหม่ แคลเซียมไม่ได้รักษากระดูกได้ทุกโรคเสมอไป หากจะพูดถึงโรคกระดูกที่พบกันได้มากในประเทศไทยนั้น ก็เห็นจะไม่พ้น โรคกระดูกเสื่อม กระดูกพรุน และกระดูกอ่อน ซึ่งทั้งสามโรคนี้ไม่ได้เป็นโรคเดียวกัน การรักษาก็มีความแตกต่างกันไป แต่ก็ยังการถูกนำไปโฆษณาขายแคลเซียมกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีการให้ข้อมูลและคำแนะนำที่ผิด ๆ เกี่ยวกับแคลเซียมและการรักษาโรคกระดูกอยู่มาก แม้แต่แพทย์หลายท่านก็ยังนิยมให้ผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อ ทานแคลเซียม โดยไม่ได้พิจารณาถึงชนิดของโรคที่เป็นจริง ๆ นอกจากไม่ได้ประโยชน์แล้วยังอาจสิ้นเปลืองโดยใช้เหตุอีกด้วย ทำให้เกิดผลข้างเคียงและฤทธิ์ไม่พึงประสงค์ของแคลเซียมอีกต่างหาก การจะใช้แคลเซียมมารักษาโรคกระดูกได้ตรงจุดนั้นควรรู้จักกับโรคกระดูกทั้งสามแบบข้างต้นเพื่อให้เห็นความแตกต่างก่อน ดังต่อไปนี้ 1. โรคกระดูกเสื่อม เป็นโรคที่มีการเสื่อมของกระดูกอ่อนของข้อที่มีการเคลื่อนไหวมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อเท้า ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อมือ ข้อศอก ฯลฯ การเสื่อมนี้หมรยถึงการเสียความยืดหยุ่น เกิดความเสื่อมและสึกหรอ จึงทำให้ปวดขัดตามข้อ ข้อโปนและผิดรูป พบมากในผู้ใช้แรงงาน ผู้ที่ใช้ร่างกายมาก และผู้สูงอายุ ซึ่งการรักษาในโรงพยาบาล หมอก็จะจ่ายยาแก้ปวด แก้อักเสบ ลดกรด ยาเคลือบกระเพาะ แคลเซียม และกลูโคซามีนให้ด้วย แต่หมอไม่ได้รู้เลยว่า แคลเซียมและยาลดกรดนั้นกินด้วยกันอาจทำให้ท้องผูก และแคลเซียมไม่มีประโยชน์อะไรกับโรคเลย การรักษานั้นก็คือการให้ยาบรรเทาปวด ลดการใช้งานข้อนั้น และให้ยาเสริมกระดูกพวกกลูโคซามีนเท่านั้นก็เพียงพอ 2. โรคกระดูกพรุนหรือกระดูกโปร่งบาง หรือเรียกว่ากระดูกผุ เป็นการเสื่อมของกระดูกแข็งซึ่งมีเนื้อเยื่อกระดูกและแคลเซียมลดลง…

  • หัวใจหลัก 3 ประการห่างไกลโรคกระดูกพรุน

    หัวใจหลัก 3 ประการห่างไกลโรคกระดูกพรุน

    หัวใจหลัก 3 ประการห่างไกลโรคกระดูกพรุน หากคุณอยู่ในช่วงอายุหรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะมีปัญหาโรคกระดูกพรุน เรามาป้องกันไว้ก่อนดีกว่า ด้วยหัวใจหลัก 3 ประการดังต่อไปนี้ค่ะ หัวใจหลักข้อที่ 1 ทำให้ร่างกายได้รับวิตามินดีอย่างเพียงพอ เหตุผลก็เป็นเพราะว่าผิวหนังของเราจะผลิตวิตามินดีออกมาเมื่อถูกแสงแดด ส่วนอาหารที่เป็นแหล่งของวิตามินดีนั้นมีจำกัด พบได้น้อยในไขมันปลา และไข่เท่านั้น คนส่วนใหญ่ในโลกไม่ค่อยได้รับวิตามินดีจากแสงแดดเท่าไร เป็นเพราะหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการที่ท้องฟ้ามีเมฆปกคลุมและมลพิษอยู่มาก การสวมเสื้อผ้าที่ปกปิดมิดชิด การใช้ครีมกันแดด ผู้คนเริ่มใช้ชีวิตในร่มกันมากขึ้น ฯลฯ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ผลิตวิตามินดีได้น้อยกว่าคนหนุ่มสาวถึงสี่เท่า จึงควรกินวิตามินดีชนิดที่เป็นอาหารเสริมช่วยลดความเสี่ยงในการกระดูกเปราะแตกได้ถึงร้อยละ 20 หัวใจหลักข้อที่ 2 ทานอาหารที่มีแคลเซียมและโปรตีนให้พอเพียง ด้วยการดื่มนม ทานผักใบเขียว และถั่วต่าง ๆ รวมทั้งผลไม้ที่มีแคลเซียมสูง น้ำแร่ก็ใช่ด้วย การที่ต้องเสริมโปรตีนเข้าไปด้วยนั้นก็เพื่อให้กล้ามเนื้อทั่วร่างมีความแข็งแรงมีมวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยกระดูกในการรับแรง เสริมแรงกระดูกมิให้แตกหักง่ายได้อีกประการหนึ่ง ในผู้สูงอายุที่ได้รับโปรตีนไม่เพียงพอก็จะมีความเสี่ยงเกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง และมวลกล้ามเนื้อลดลง จนส่งผลให้หกล้มกระดูกหักได้ง่าย หัวใจหลักข้อที่ 3 ออกกำลังกายที่มีการลงน้ำหนัก เพิ่มแรงกดให้กับกระดูก และสร้างความแข็งแกร่งให้กล้ามเนื้อ อย่างเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นการวิ่ง การเดินขึ้นลงบันได กระโดดเชือก สเตปแอโรบิค ก็ได้เช่นกัน แล้วยังเสริมความคล่องตัว และความสมดุลของร่างกาย ลดโอกาสการหกล้มลงได้ร้อยละ 25-40…

  • ปรับไลฟ์สไตล์ ป้องกันกระดูกพรุนแต่เนิ่น ๆ

    ปรับไลฟ์สไตล์ ป้องกันกระดูกพรุนแต่เนิ่น ๆ

    ปรับไลฟ์สไตล์ ป้องกันกระดูกพรุนแต่เนิ่น ๆ สำหรับสตรีแล้วมีความเสี่ยงในการกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนได้ถึงร้อยละ 30-40 เลยทีเดียว การกระดูกหักในช่วงวัยชรานั้นเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตที่ทุกข์ทรมานอีกสาเหตุหนึ่งเลยทีเดียว โดยผู้ที่มีอาการของกระดูกพรุนนั้น ก็คือมักจะกระดูกหักเพราะอุบัติเหตุเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ส่วนที่มักจะหักก็คือข้อต่อสะโพก กระดูกสันหลัง และกระดูกข้อมือ และส่งผลต่อเนื่องให้เกิดการยุบตัวของกระดูกสันหลังทำให้ปวดหลัง หรือมีอาการปวดหลังเรื้อรัง , หลงดูโก่งขึ้น หรือกระดูกแตกหักง่าย ซึ่งเป็นอันตรายมาก ควรรับรับการรักษาทันที และป้องกันไว้ก่อนที่จะลุกลามไปมากกว่านี้ 1. ทานอาหารให้ครบถ้วยทุกหมวดหมู่ โดยเฉพาะอาหารตามธรรมชาติที่ผ่านกระบวนการต่าง ๆ ให้น้อยที่สุด เพื่อให้ร่างกายรับสารอาหารอย่างเต็มที่ ควรทานอาหารให้หลากหลายเพื่อรับวิตามินและแร่ธาตุให้ครบถ้วนตามที่ต้องการ 2. ทานอาหารที่มีแคลซียมทั้งหลาย เช่น นมไขมันต่ำ เต้าหู ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง กุ้งฝอย ผักใบเขียวและธัญพืช ฯลฯ 3. หลีกเลี่ยงการดื่มเหล้า น้ำอัดลม และอาหารที่ไขมันสูง ที่อาจทำให้เกิดการสลายแคลเซียมจากกระดูก รวมไปถึงลดการบริโภคเนื้อสัตว์ ธัญพืชที่ผ่านกระบวนการมากเกินไป และน้ำตาลด้วย เพราะอาหารเหล่านี้ทำให้เลือดมีภาวะเป็นกรด ส่งผลให้มีการสลายแร่ธาตุบางอย่างรวมถึงแคลเซียมด้วย 4. ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ไม่ว่าจะเป็น ชา กาแฟ…