Tag: โซเดียม
-
ลดเกลือ ลดโซเดียม ลดโรคร้าย
ลดเกลือ ลดโซเดียม ลดโรคร้าย พฤติกรรมกินเค็ม เป็นพฤติกรรมปกติของคนทั่วไป ลองคิดดูสิจะมีสักกี่คนที่ทานข้าวผัดแล้วไม่เติมพริกน้ำปลา ทานไข่เจียวแล้วไม่เหยาะซอสพริก หรือทานไข่ดาวแล้วจะไม่เหยาะซอส ทานก๊วยเตี๋ยวแล้วไม่เติมน้ำปลาเลย ฯลฯ เรียกได้ว่าหาแทบจะไม่พบเลยทีเดียว ซึ่งแม้พฤติกรรมนี้จะดูเป็นเรื่องเคยชิน แต่ความจริงแล้วความเค็มหรือเกลือเหล่านี้กำลังทำร้ายสุขภาพของคุณอยู่ โดยปัจจุบันนี้จากการสำรวจพบว่าคนไทยบริโภคเกลือเข้าสู่ร่างกายมากกว่าที่ร่างกายต้องการถึง 2 เท่า การทานเกลือแบบนี้ไม่ใช่การตักเกลือเป็นช้อนเข้าปาก แต่เกิดจากการปรุงอาหารด้วยเครื่องปรุงที่มีเกลือเป็นส่วนผสม เช่น ซอสปรุงรส กะปิ น้ำปลา ซี่อิ๊ว ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก ผงชูรส ซอสหอยนางรส น้ำจิ้มสุกี้ น้ำจิ้มไก่ และผงฟูที่ใช้ทำขนมด้วย ซึ่งจากการสำรวจตามร้านอาหารตามสั่งทั่วไปนั้น อาหารจานเดียวทั้งหลายก็มีปริมาณของเกลือโซเดียมแทบจะเท่ากับปริมาณที่ร่างกายควรบริโภคทั้งวันไปแล้ว นอกเหนือจากนี้อาหารชนิดอื่น ๆ ก็ยังปริมาณของเกลือ หรือโซเดียมมากอีกด้วย เช่น เต้าเจี้ยว ปลาร้า กะปิ ของดอง กุ้งแห้ง อาหารกระป๋อง ปลาเค็ม ปลาตากแห้ง เนื้อตากแห้ง ขนมถุงกรุบกรอบ อาหารแปรรูป น้ำผลไม้ เครื่องดื่มเกลือแร่ น้ำพริก เครื่องจิ้มต่าง ๆ อาหารที่ใส่ผงชูรส อาหารที่ใส่ผงฟู…
-
หลีกเลี่ยงโซเดียมในอาหาร หลีกห่างได้หลายโรค
หลีกเลี่ยงโซเดียมในอาหาร หลีกห่างได้หลายโรค บรรดาอาหารที่มีรสเค็มจัดทั้งหลายล้วนมีส่วนประกอบของโซเดียมทั้งสิ้น รวมไปถึงอาหารที่ไม่มีรสเค็มแต่มีโซเดียมอย่าง ผงฟู ชูรส เนยเทียม น้ำสลัดต่าง ๆ ก็ด้วยนั้น สร้างปัญหาต่อสุขภาพได้เช่นกันหากบริหารมากเกินพอดี และมีความเสี่ยงทำให้เป็นโรคความดันโลหิตได้ง่าย ทั้งยังทำให้เกิดการสะสมของน้ำตามส่วนต่าง ๆ ทำให้เกิดภาวะบวมน้ำ แล้วยังทำให้เกิดเลือดแข็งตัวได้ง่ายหากมีระดับเกลือแร่ในเลือดสูงเกินไป อันจะนำไปสู่ภาวะไม่ว่าจะเป็นเส้นเลือดในสมองตีบตัน หัวใจวาย ไตวายได้ มีผลการวิจัยพบว่า การกินเกลือแกงมากกว่า หกกรัมหรือ 1 ช้อนชาต่อวัน จะทำให้มีความเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูงได้ รวมไปถึงมีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารด้วย ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันโรคดังกล่าว เราจึงควรทานอาหารที่มีโซเดียมน้อย ๆ และเค็มน้อย ๆ ด้วย โดยมีเคล็ดลับดังต่อไปนี้ค่ะ 1. ลดการปรุงอาหารด้วยเครื่องปรุงรสต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น กะปิ น้ำปลา ซีอิ๊ว เกลือ ซอส เต้าเจี้ยว ผงชูรส ฯลฯ และชิมก่อนเติมทุกครั้งด้วย รวมทั้งลดการจิ้มน้ำจิ้ม หรือทานน้ำพริก พริกแกงต่าง ๆ เพราะมีเกลืออยู่เยอะมากด้วยเช่นกัน 2. ควรทานอาหารที่ผ่านกระบวนการน้อย ๆ หรืออาหารจากธรรมชาติ…
-
อาหารที่เหมาะสำหรับผู้ที่หลีกเลี่ยงโซเดียม (เกลือ)
อาหารที่เหมาะสำหรับผู้ที่หลีกเลี่ยงโซเดียม (เกลือ) มีผู้ป่วยอยู่หลายโรคที่จำเป็นต้องจำกัดปริมาณของโซเดียม หรือเกลือในอาหาร ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ป่วยโรคไต เพราะโซเดียมนี้จะทำให้เกิดอาการบวม ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ การเลือกทานอาหารจึงจำเป็นต้องระวังอาหารที่มีปริมาณของโซเดียมให้ดี โดยรายการอาหารด้านล่างนี้จะรายชื่อและปริมาณของโซเดียมต่อหน่วย มก. ในอาหารที่มีน้ำหนัก 100 กรัม 1. ผักทั่วไป (ส่วนใหญ่มีโซเดียม 1 – 20 มิลลิกรัมม) ถั่ว (1- 6) และผลไม้ (1 – 15) ดังนั้นหากเป็นผักต้มหรือข้าวโพดต้มจึงไม่ควรเติมเกลือเพิ่ม 2. อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว เผือก มัน ข้าวโพด (มีโซเดียม 2 – 7 มก. / 100 กรัม) แต่หากแปรรูปแล้วจะทำให้มีโซเดียมเพิ่มขึ้นได้ เช่น ซีเรียลคอร์นเฟลค (1,158) มันฝรั่งแผ่น (997) ขนมปังแครกเกอร์ (613) ขนมปังขาว ขนมปังโฮลวีต (541)…