Tag: แอฟริกา
-
แอฟริกาใต้ เริ่มใช้ยาต้านไวรัส HIV ควบคู่ ยาต้านไวรัสชนิดอื่นๆ
แอฟริกาใต้ เริ่มใช้ยาต้านไวรัส HIV ควบคู่ ยาต้านไวรัสชนิดอื่นๆ ในศูนย์บำบัดผู้ติดเชื้อเอชไอวีด้วยยาต้านไวรัสศูนย์เล็กๆ ทางเหนือของเมือง Pretoria แอฟริกาใต้แห่งนี้ ผู้หญิงชาวแอฟริกาใต้คนหนึ่งกำลังอ่านป้ายรณรงค์ส่งเสริมการบำบัดเอดส์ด้วยยาเม็ดชนิดใหม่ ป้ายนี้เขียนว่ายาต้านไวรัสเอดส์แบบกินเม็ดเดียวแต่ได้ผลเท่ากับยาต้านไวรัสเอดส์แบบกินทีละสามเม็ด และสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีในประเทศแอฟริกาใต้แล้ว การบำบัดเอดส์ด้วยยาเม็ดเดี่ยวจะทำให้ชีวิตประจำวันของพวกเขาเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น ปัจจุบันแอฟริกาใต้มีผู้ติดเชื้อไวรัสเอดส์มากที่สุดในโลกและทางการประเทศนี้หวังว่าการรักษาเอดส์ด้วยยาเม็ดแบบกินเม็ดเดียวต่อวันนี้จะช่วยให้ประเทศสามารถรักษาผู้ป่วยได้จำนวนมากขึ้น รัฐบาลประเทศแอฟริกาใต้ได้เริ่มนำยาต้านไวรัสเอดส์ตัวใหม่ออกมาใช้กับผู้ป่วยแล้วเมื่อวันที่หนึ่งเมษายนที่ผ่านมา แทนที่ผู้ป่วยต้องรับประทานยาต้านไวรัสครั้งละสามเม็ด สองครั้งต่อวันเหมือนเคย พวกเขาจะรับประทานยาตัวใหม่แต่วันละเม็ดเท่านั้น รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขอาฟริกาใต้กล่าวว่าทางการอาฟริกาใต้ตั้งเป้าว่าจะใช้ยาต้านไวรัสตัวใหม่รักษาผู้ป่วยได้หนึ่งแสนแปดหมื่นคนภายในช่วงสามเดือนเเรก แอฟริกาใต้มีผู้ติดเชื้อเอดส์ 1 ล้าน 6 แสนคน ถือเป็น 17 เปอร์เซ็นต์ของผู้ติดเชื้อทั้งหมดทั่วโลก
-
นักวิจัย ศึกษา เรื่องโรคระบาดจากอูฐที่เคนยา ว่าสามารถติดต่อสู่คนได้หรือไม่
นักวิจัย ศึกษา เรื่องโรคระบาดจากอูฐที่เคนยา ว่าสามารถติดต่อสู่คนได้หรือไม่ ในแถบแอฟริกาตะวันออก รวมทั้งประเทศเคนยา “อูฐ” เป็นแหล่งน้ำนมของผู้อาศัยในพื้นที่แถวนั้น เนื่องจากพื้นที่แถวนั้นเป็นพื้นที่แห้งแล้ง แต่อูฐสามารถเก็บกักน้ำได้เป็นเวลาเป็นปีๆ ซึ่งปัจจุบันอูฐโหนกเดียวได้เพิ่มปริมาณขึ้นอย่างมาก นักวิจัยเลยได้ทำการศึกษาในเรื่องของโรคระบาด เพราะเกรงว่า การที่น้ำสัตว์ต่างถิ่นเข้าไปเลี้ยงในพื้นที่ใหม่ๆ อาจจะทำให้เกิดโรคระบาดกับสัตว์ที่มาต่างถิ่นได้ ปัจจุบมันมีชาวเคนยา และชาวแอฟริกา เป็นจำนวนมากที่ดื่มนมจากอูฐ โดยไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อโรค นักวิจัยกล่าวว่า อูฐเป็นสัตว์ที่ผลิตน้ำนมได้แม้จะอยู่ในสภาพที่แห้งแล้ง ซึ่งต่างกับสัตว์ปศุสัตว์ชนิดอื่นๆ ที่เมื่อเจออากาศที่แห้งแล้วจะเสียชีวิตลง แต่อูฐไม่ใช่ นักวิจัยที่เลือกศึกษาโรคในอูฐ ได้ทำการตรวจเช็คสุขภาพของอูฐเหล่านี้ ก็พบว่า นอกจากกจะสามารถติดต่อถึงคนผ่านการดื่มน้ำนมอูฐที่ไม่ได้รับการฆ่าเชื้อเเล้ว ยังเป็นโรคที่อาจจะเเพร่ไปสู่สัตว์ป่าที่อุดมสมบูรณ์ของเคนยาได้ด้วยโดยเฉพาะม้าลายและช้างป่า เชื่อว่าโรค Q fever ในอูฐจะเป็นโรคที่ต้องจับตามอง เพราะอาจทำให้คนเเละสัตว์ในพื้นที่เสี่ยงต่อโรคได้ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าในขั้นต่อไป ทางทีมงานจะทำการศึกษาโรค Q fever ในแนวลึกเพื่อดูว่าโรคนี้มีผลกระทบต่อปศุสัตว์ ผู้คนและสัตว์ป่าในพื้นที่อย่างไร ผู้เชี่ยวชาญอเมริกันกล่าวปิดท้ายรายงายงานของ ผู้สื่อข่าววีโอเอว่าเธอยังจะทำงานวิจัยนี้ร่วมกันกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ชาวเคนยาต่อไปเพื่อสร้างเเนวทางพื้นฐานในการดูแลอูฐให้เเข็งเเรงโดยเรียกแนวทางนี้ว่า ‘อูฐ 101’
-
นักวิจัยจากสถาบันสุขภาพและโรคร้อน พบว่า ทวีปแอฟริกา เป็นแหล่งกำเนิดของวัณโรค
นักวิจัยจากสถาบันสุขภาพและโรคร้อน พบว่า ทวีปแอฟริกา เป็นแหล่งกำเนิดของวัณโรค การศึกษาชิ้นล่าสุดเปิดเผยว่ามนุษย์กับเชื้อวัณโรคกำเนิดและวิวัฒนาการมาพร้อมๆกันในทวีปแอฟริกา ทีมนักวิจัยที่สถาบันสุขภาพและโรคเขตร้อนแห่งสวิสเซอร์เเลนด์ (Swiss Tropical and Public Health Institute) นำโดยศาสตราจารย์เซบ้าสเตียน แก็กโน ค้นพบว่าเชื้อวัณโรคกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริกาอย่างน้อยเมื่อ 70,000 ปีที่แล้ว ศาสตราจารย์แก็กโนอธิบายว่าทำไมทีมวิจัยต้องการศึกษาประวัติของเชื้อวัณโรค วิวัฒนาการของมนุษย์กับวิวัฒนาการของเชื้อวัณโรคตั้งแต่ในอดีต ไม่แค่เกิดขึ้นพร้อมๆกันแต่น่าจะพูดได้ว่าเกิดขึ้นพร้อมๆกันภายในร่างกายของมนุษย์เพราะเชื้อเเบคทีเรียอาศัยทั้งบนร่างกายคนและภายในร่างกายคน แบคทีเรียช่วยให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้ ทีมนักวิจัยกำลังพยายามศึกษาว่าเชื้อวัณโรคมีอันตรายต่อมนุษย์มาตั้งแต่ในอดีตหรือไม่ ระยะเวลาที่เชื้อวัณโรคอยู่ในร่างกายคนโดยไม่ทำให้เกิดอาการป่วยนี้อาจจะยาวนานหลายสิบปีและคนส่วนใหญ่ที่มีเชื้อวัณโรคในร่างกายอยู่ในขณะนี้อาจจะไม่ป่วยด้วยโรคนี้ในอนาคต น่าสนใจว่าทำไมกลุ่มคนห้าถึงสิบเปอร์เซ็นต์ของผู้ติดเชื้อวัณโรคจึงเเสดง อาการป่วย ผู้เชี่ยวชาญรู้ดีว่ามีปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นเกี่ยวข้องด้วย อาทิ ผู้ติดเชื้อป่วยด้วยโรคเอดส์หรืออาจมีภาวะขาดอาหารร่วมด้วย นอกจากนี้โรคเบาหวานก็เป็นปัจจัยหนึ่งด้วยที่เพิ่มความเสี่ยงให้ผู้ที่มีเชื้อวัณโรคในร่างกายเเสดงอาการป่วย ทำให้นักวิจัยเกิดความสงสัยว่าการติดเชื้อวัณโรคแบบไม่ก่อให้เกิดโรคอาจจะมีคุณต่อร่างกายคนเราเพราะอาจจะช่วยปกป้องร่างกายจากโรคติดต่อชนิดอื่นๆได้ ศาสตราจารย์แก็กโนชี้ว่าแม้ข้อสงสัยนี้ยังพิสูจน์ไม่ได้ นักวิจัยไม่สามารถเพิกเฉยต่อข้อสงสัยนี้ เชื้อวัณโรคหายไปจากทวีปแอฟริกาเมื่อมนุษย์เริ่มย้ายไปจากทวีปนี้ เมื่อราว 65,000 ถึง 70,000 ปีที่แล้ว แต่เมื่อราวหนึ่งหมื่นปีที่แล้ว เกิดการเปลี่ยนแปลงทางลักษณะประชากรในมนุษย์ยุคหินใหม่ เป็นช่วงที่มนุษย์เริ่มทำการเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ และนี่เป็นช่วงที่โรคติดต่อแพร่จากสัตว์เลี้ยงสู่คนเป็นครั้งแรก ศาสตราจารย์แก็กโน กล่าวว่านั่นทำให้เกิดความเชื่อกันอยู่นานหลายปีว่าเชื้อวัํณโรคเเพร่จากสัตว์สู่คน อย่างไรก็ตามผลการวิจัยครั้งนี้พบว่าเชื้อวัณโรคเกิดขึ้นมานานก่อนหน้าที่มนุษย์จะเริ่มเลี้ยงสัตว์เสียอีก และเชื้อวัณโรคได้ปรับตัวเพื่อให้สามารถอาศัยอยู่ในร่างกายคนได้เนื่องจากไม่สามารถอยู่รอดได้ด้วยตนเองในสิ่งเเวดล้อมทั่วไป ทีมนักวิจัยหวังว่าการศึกษาเข้าใจถึงประวัติที่มาของเชื้อวัณโรคจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิธีบำบัดวัณโรควิธีใหม่ๆ และวัคซีนชนิดใหม่ๆออกมาป้องกันโรคนี้ ในปัจจุบัน พบว่ามีผู้ป่วยจากเชื้อวัณโรคแบบดื้อยาเพิ่มมากขึ้น นักวิจัยหวังว่าความรู้ที่ได้จากการศึกษานี้จะช่วยคาดเดาถึงลักษณะการแพร่ระบาดของวัณโรคในอนาคตได้
-
AVAC สรุปความคืบหน้าเรื่อง โรคเอดส์ ในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา
AVAC สรุปความคืบหน้าเรื่อง โรคเอดส์ ในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา รายงานฉบับนี้ชื่อว่า Research and Reality ที่ถูกนำเสนอที่งานประชุมนานาชาติว่าด้วยเรื่อง AIDS และโรคที่แพร่จากการมีเพศสัมพันธ์ในทวีปแอฟริกา AVAC ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่หวังผลกำไรซึ่งมีภารกิจรณรงค์ต่อสู้การแพร่ของเชื้อ HIV เปิดเผยรายงานล่าสุดที่สรุปความคืบหน้าของการวิจัยเรื่อง AIDS ในรอบ 30 กว่าปีที่ผ่านมา รายงานฉบับนี้ชื่อว่า Research and Reality ที่ถูกนำเสนอที่งานประชุมนานาชาติว่าด้วยเรื่อง AIDS และโรคที่แพร่จากการมีเพศสัมพันธ์ในทวีปแอฟริกา ซึ่งมีแอฟริกาใต้เป็นเจ้าภาพ Mitchel Warren ผู้อำนวยการบริหารของ AVAC กล่าวว่า หน่วยงานของสหประชาชาติตั้งเป้าหมายว่า ภายในอีก 2 ปีจากนี้ ควรจะมีประชากรโลก 15 ล้านคนที่ได้รับการบำบัดโรค AIDS ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายที่ต้องอาศัยการเตรียมตัวหลายเรื่อง ทั้งนี้ แม้ว่าปัจจุบันจะมีการคิดค้นวิธีลดการแพร่ของเชื้อ HIV เช่น เจลฆ่าเชื้อและยาต้านไวรัส แต่สิ่งเหล่านี้ยังไม่ได้ถูกใช้อย่างสม่ำเสมอและกว้างขวางเท่าที่ควร Mitchel Warren แนะนำว่านอกจากการเพิ่มช่องทางการแก้ปัญหาแล้ว ควรมีการณรงค์ในระดับท้องถิ่นด้วย
-
นักวิทยาศาสตร์แอฟริกา คว้ารางวัลจากวิธีการกำจัดยุง ให้พ้นจากโรคมาลาเรีย
นักวิทยาศาสตร์แอฟริกา คว้ารางวัลจากวิธีการกำจัดยุง ให้พ้นจากโรคมาลาเรีย นักวิทยาศาสตร์จากแอฟริกาได้รับรางวัลผลการวิจัยยอดเยี่ยมจาก Royal Society แห่งสหราชอณาจักร หลังจากสามารถค้นพบวิธีการใหม่ในการกำจัดฝูงยุงที่เป็นพาหะของไข้มาลาเรีย สิ่งที่สำคัญมากของระบบการผสมพันธุ์ของยุงนี้ก็คือว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่เขาเดินเข้าไปในจุดที่ศึกษา เขาจะพบฝูงยุงบินอยู่ในจุดนั้นเป็นประจำทุกๆวัน นี่ทำให้การกำจัดยุงทำได้ง่ายมากขึ้น ประเทศ Burkina Faso เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการติดเชื้อมาลาเรียสูงที่สุดในโลก ด็อกเตอร์เดียเบทพบว่า ในช่วงฤดูฝนใน Burkina Faso บางบ้านมียุงอยู่ภายในบ้านถึงเก้าร้อยตัว หากสามารถทำลายยุงตัวผู้ได้สำเร็จ จะส่งผลให้จำนวนประชากรยุงตัวผู้ลดลงอย่างมาก จนมีจำนวนยุงตัวเมียมากกว่า เขากล่าวว่า ยุงตัวเมียต้องมียุงตัวผู้ผสมพันธุ์จึงจะสามารถออกไข่ได้ แต่เมื่อไม่มียุงตัวผู้ผสมพันธุ์ด้วย ก็จะไม่สามารถออกไข่และทำให้ไม่มีลูกยุง และเมื่อไม่มียุง ก็หมายความว่าไม่มีเชื้อมาลาเรีย ผลการวิจัยเรื่องนี้จะนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยี ในการควบคุมการระบาดของไข้มาลาเรียแบบใหม่ๆต่อไป อาทิ การใช้ยุงตกแต่งพันธุกรรมและการควบคุมประชากรยุงด้วยการทำหมันยุงตัวผู้ ถึงขณะนี้ การควบคุมการระบาดของไข้มาลาเรียต้องพึ่งพาการกางมุ้งเคลือบยากันยุงเป็นหลัก แต่มีความกังวลกันว่าจะไม่ได้ผลเพราะยุงเริ่มพัฒนาแรงต่อต้านต่อสารเคมีที่ใช้ ดังนั้นเขาเห็นว่ามีความจำเป็นในการพัฒนาวิธีใหม่ๆออกมาเพื่อควบคุมยุงที่เป็นพาหะของไข้มาลาเรีย แม้จะมีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น ไข้มาลาเรียเป็นสาเหตุให้คนเสียชีวิตราวปีละหกแสนหกหมื่นคน ส่วนใหญ่เป็นเด็ก ในปีหน้า บริษัทยาอังกฤษ GlaxoSmithKline วางแผนที่จะยื่นขอใบอนุญาติเป็นผู้นำวัคซีนป้องกันไข้มาลาเรียออกสู่ตลาดเป็นรายแรกของโลก วัคซีนนี้เรียกว่า RTSS องค์การอนามัยโลกชี้ว่าอาจจะสามารถนำวัคซีนป้องกันไข้มาลาเรียไปใช้ได้ในราวอีกสองปีข้างหน้า