Tag: แสงแดด
-
ป้องกันภัยจากแสงแดด
ป้องกันภัยจากแสงแดด ประโยชน์ของแสงแดดนั้นช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่กระแสเลือดได้มากขึ้น โดยผิวหนังของคนเราจะสามารถสร้างวิตามินดีได้เมื่อได้รับแสงยูวีบี โดยที่ไม่จำเป็นต้องรับแสงแดดมากนัก เพียงปล่อยให้แสงแดดอ่อนยามเช้าก่อนแปดโมงได้ส่องไปทั่วใบหน้าแขนขา เป็นเวลา 10-15 นาที สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ไปตลอดทั้งปีก็เพียงพอแล้ว แต่แม้แสงแดดจะมีประโยชน์ แต่ก็ก่อโทษกับผิวหนังได้ด้วยเช่นกัน ในแสงแดดนั้นประกอบไปด้วยรังสีที่ตาเปล่ามองไม่เห็นก็คือ รังสียูวี ก่อให้เกิดโทษต่อผิวหนังได้แก่ – เมื่อผิวหนังสัมผัสกับรังสียูวีเพียงเล็กน้อยในยามแดดจัดก็ทำให้คอลลาเจนใต้ผิวหนังเสื่อมสภาพได้ ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระขึ้นใต้ผิวหนัง จนอาจทำลายเซลล์รอบ ๆ เกิดเป็นมะเร็งผิวหนัง – แสงแดดทำร้ายผิวของเราได้ทุกฤดูกาล ไม่จำกัดว่าเป็นแดดอ่อน หรือแดดจัด ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาและความเข้มของรังสียูวีในแสงแดด – ผิวที่เหี่ยวย่น โรยรานั้นเกิดจากการที่ผิวต้องตรากตรำอยู่กลางแดด ทำให้ดูแก่ก่อนวัย ส่วนใหญ่พบได้ในคนที่ทำงานกลางแจ้งได้แก่ ผู้ใช้แรงงาน ชาวสวน ชาวนา ชาวไร่ จึงดูแก่กว่าคนที่นั่งทำงานในห้องแอร์ วิธีป้องกันแสงแดดนั้น 1. อย่าออกไปตากแดดจัดกลางแจ้งเป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลา 10.00-16.00 น. เพราะรังสียูวีกว่าร้อยละ 80 จะส่องลงมาในเวลาดังกล่าว สามารถสะท้อนได้ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นผิวน้ำ พื้นถนน ซีเมนต์ ป้ายโฆษณา กระจก ทราบ ผนังอาคาร ฯลฯ…
-
อาการร้อนจัด ระวังโรคหวัดแดด
อาการร้อนจัด ระวังโรคหวัดแดด ช่วงนี้อากาศในเมืองไทยร้อนจนแผ่นดินแทบเดือนกันเลยทีเดียว นอกจากแสงแดดจะทำร้ายทำลายผิวแล้ว ความร้อนจากอากาศยังอาจทำให้เสียสุขภาพได้อีกด้วย เพราะอุณหภูมิสูง ๆ ของแดดร้อน ๆ ทำให้ร่างกายมีอาการเพลียแดด แม้จะเป่าพัดลมหรือดื่มน้ำแล้ว ความร้อนก็ดูจะไม่ยอมจางลงเลย แต่ทำท่าจะสะสมอยู่ข้างในเหมือนคนเป็นไข้เข้าไปอีก ยิ่งคนที่ทำงานกลางแจ้งยิ่งต้องระวัง ไม่ควรดื่มน้ำเย็นจัดเพื่อดับร้อนทันที ควรดื่มน้ำธรรมดาดีกว่า และพยายามใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดหน้าเข้าจะช่วยบรรเทาอากาศร้อนได้นะคะ แม้แต่คนที่ทำงานนั่งห้องแอร์ก็ไม่ควรชะล่าใจนัก เพราะถ้าออกไปปะทะกับอากาศร้อนแล้วจะทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน มีอาการเหมือนจับไข้ได้ แม้จะดูไม่หนักหนาแต่ก็ไม่ยอมหายขาดเสียที ทำให้ร่างกายอ่อนแอลงเรื่อย ๆ โอกาสติดเชื้อจากโรคอื่น ๆ ก็มากขึ้น ซึ่งอาการของโรคหวัดแดดนั้นเป็นดังนี้ค่ะ 1. มีไข้ต่ำ ๆรุม ๆ ปากแห้งแข็ง แต่ไม่แตกลอก 2. ปากแห้ง คอแห้ง แสบคอ 3. ปวดศีรษะ แต่บางท่านที่ร้อนจัด ๆ อาจะรู้สึกเหมือนถูกกระตุก 4. ขมปากทานอาหารไม่อร่อย เบื่ออาหาร 5. นอนไม่ค่อยหลับ หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ 6. ขับถ่ายไม่ปกติ ถ่ายยาก ไม่เป็นเวลา…
-
เคล็ดลับ…บรรเทาอาการผิวไหม้เกรียมแดด
เคล็ดลับ…บรรเทาอาการผิวไหม้เกรียมแดด แม้จะเข้าหลังช่วงสงกรานต์มาแล้ว แต่แสงแดดและอากาศก็ยังร้อนแรงอยู่มาก อีกทั้งสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งก็ยังเหมาะสำหรับการท่องเที่ยวในช่วงฤดูร้อนนี้ด้วย บางท่านไปท่องเที่ยวจนเพลิดเพลินลืมดูแลผิวตนเอง ปล่อยให้โดนแดดเผาจนไหม้เกรียม บางท่านก็ลืมตัวปล่อยให้แดดเผาจนไหม้เกรียม แสบร้อน วันนี้เรามีวิธีง่าย ๆ ในการดูแลและรักษาผิวที่ไหม้เกรียมจากแสงแดด หรือจะนำเอาวิธีที่จะกล่าวต่อไปนี้ไปปฐมพยาบาลผู้ที่โดนแดดเผามาก็ได้เช่นกัน มาดูกันเลยค่ะ – ชงชาซองแบบเข้มข้นมาก ๆ ประมาณ 4-6 ถุง ชงแล้วนำไปแช่ช่องฟรีซจนเย็นจัด แต่ยังไม่เป็นน้ำแข็ง แล้วนำมาฉีดใส่ผิวที่ไหม้เกรียมแดด หรือเทใส่ผ้าขนหนูขนนุ่ม ๆ มาวางโปะบนผิวก็ได้ – นำน้ำส้มสายชูกลั่น หรือน้ำส้มสายชูแอปเปิ้ลก็ได้ นำมาพ่นฉีดลงบนผิวที่ไหม้แดด หรือจะเทใส่ผ้าขนหนูแล้วโปะบนผิวก็ได้เช่นกัน – นำผ้าขนหนูชุบนมสดแบบพร่องมันเนยเย็น ๆ แล้วโปะบนรอยไหม้แดด แล้วจุ่มน้ำนมใหม่ทุก ๆ สองนาที หรือจะแช่ตัวเลยก็ได้ ด้วยการผสมนมหนึ่งแกลลอนกับน้ำเย็น แล้วลงไปแช่ทั้งตัว – นำโยเกิร์ตควักจากกระปุกแล้วทาลงบนรอยไหม้ตรง ๆ เลยก็ได้ – ปอกเปลือกว่านหางจระเข้ออก ล้างน้ำสะอาดให้หมดเมือกแล้วนำวุ้นมาทาลงบนรอยไหม้แดด จะช่วยลดอาการแสบร้อนได้ดี – นำเบกกิ้งโซดา 1-2 ถ้วย เทลงในน้ำในอ่าง แล้วลงไปแช่ หรือละลายในน้ำเย็นแล้วนำมาฉีดผิวก็ได้…