Tag: แบคทีเรีย
-
“แผ่นเปิดเหยียบประตู” เครื่องช่วยชิ้นใหม่เพื่ออนามัยที่ดี
“แผ่นเปิดเหยียบประตู” เครื่องช่วยชิ้นใหม่เพื่ออนามัยที่ดี บางคนไม่ชอบเข้าหรอกค่ะ ห้องน้ำสาธารณะเนี่ย เพราะลูกบิดประตูเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคและแบคทีเรียอย่างมาก เพราะหลายคนเข้าห้องน้ำแล้วไม่ยอมล้างมือ ผู้ชายหลายคนจึงรู้สึกสกปรกเวลาต้องจับประตูหนังออกจากห้องน้ำสาธารณะ นวัตกรรมใหม่ที่จะนำมาเสนอในวันนี้คือ “แผ่นเหยียบเปิดประตู” นั่นเอง ที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการจับลูกบิดที่เต็มไปด้วยเชื้อโรคต่าง ๆ แผ่นเหยียบประตูนี้จะทำมาจากเหยียบแล้วติดตั้งเข้ากับขอบมุมของประตูด้วยน๊อตเท่านั้น การใช้ก็เพียงเหยียบแผ่นออกแรงให้ประตูเปิดเข้าไป ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีประโยชน์ต่ออนามัยของมือเรามาก เพราะหากมือเรามีบาดแผลอยู่แล้วไปจับบานประตูหรือลูกบิดแล้วติดเชื้อโรคต่าง ๆ เข้าก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อมีแผลอักเสบหรือเน่าได้ การใช้แผ่นเหยียบเปิดประตูนี้จึงช่วยลดการสัมผัสกับแบคทีเรียและเชื้อโรคนานาชนิดจากการใช้ห้องน้ำสาธารณะได้เกือบ 100% เลยทีเดียว หวังอยากให้เมืองไทยได้นำเอานวัตกรรมนี้มาใช้บ้าง เราจะได้กล้าเข้าไปใช้ห้องน้ำสาธารณะมากขึ้น ปลอดจากเชื้อโรคติดมือมาสร้างปัญหาให้กับสุขภาพของเราต่อไปในอนาคต
-
โยเกิร์ตรสธรรมชาติ สามารถลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานได้
โยเกิร์ตรสธรรมชาติ สามารถลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานได้ โรคเบาหวานเป็นหนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยในปัจจุบัน เมื่อเกิดโรคเบาหวานขึ้นแล้วหากไม่ควบคุมหรือดูแลตัวเองให้ดีก็จะทำให้เกิดโรคเรื้อรังที่ตามมาทั้งโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต และโรคระบบประสาท ซึ่งก่อให้เกิดการสูญเสียทั้งคุณภาพชีวิตและค่าใช้จ่ายที่สูง อาหารเป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถเป็นทั้งตัวเร่งและตัวชะลอการเกิดโรคเบาหวาน โดยปกติแล้วอาหารที่มีน้ำตาลสูงจะเป็นตัวเร่งให้ตับอ่อนทำงานหนักนานวันเข้าการทำงานของตับอ่อนก็จะลดลงจนอาจทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ ส่วนอาหารที่ช่วยชะลอการเกิดโรคเบาหวานจะเป็นอาหารในกลุ่มที่ให้สารต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาผลของการรับประทานโยเกิร์ตรสธรรมชาติกับการลดความเสี่ยงของโรคเบาหวาน โยเกิร์ต เป็นผลิตภัณฑ์จากนมที่ทำจาก นม นมพร่องมันเนย หรือนมขาดมันเนยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน โดยผ่านกระบวนการหมักด้วยแบคทีเรียหลัก 2 ชนิด คือ Lactobacillus bulgaricus และ Streptococcus thermophilus แบคทีเรียจะย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมให้เป็นกรดแลคติก ทำให้มีรสเปรี้ยวและมีลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลว โยเกิร์ตให้คุณค่าทางอาหารสูง มีโปรตีนที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย เป็นแหล่งของวิตามินที่ละลายในน้ำ (วิตามินบี 12 และไรโบฟลาวิน) และวิตามินที่ละลายในไขมัน (วิตามินเอ ดี และเค) มีแร่ธาตุหลายชนิด ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม และโพแทสเซียม สารสำคัญที่มีอยู่ในโยเกิร์ตคือโพรไบโอติก (Probiotics) เป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ จากการศึกษาพบว่าโพรไบโอติดจะช่วยสารอนุมูลอิสระในร่างกาย และช่วยต้านการอักเสบ ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และช่วยเพิ่มความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนี้อาจจะมีผลช่วยในการปรับระดับไขมันในเลือด ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจได้อีกด้วย ดังนั้น การรับประทานโยเกิร์ตธรรมชาติที่…
-
ผลวิจัยชิ้นใหม่ ของโรคเรื้อน อาจนำไปสู่การวินิจฉัยและบำบัดโรคได้แต่เนิ่นๆ
ผลวิจัยชิ้นใหม่ ของโรคเรื้อน อาจนำไปสู่การวินิจฉัยและบำบัดโรคได้แต่เนิ่นๆ องค์การอนามัยโลกเริ่มต้นโครงการกำจัดโรคเรื้อนหรือที่เรียกกันว่าโรค Hansen’s disease แต่องค์การอนามัยโลกรายงานว่าพบผู้ติดเชื้อโรคเรื้อนรายใหม่ทั่วโลกมากกว่าสองแสนสองหมื่นแปดพันรายในปีพุทธศักราช 2553 ทีมนักวิจัยไม่รู้แน่ชัดว่าผู้ป่วยติดเชื้อโรคเรื้อนได้อย่างไร สำหรับเชื้อแบคทีเรียไมโครแบคทีเรียม เลพพรี จะเเพร่เชื้อเข้าในเซลล์ประสาทพิเศษในแขนและขาบางจุดที่ทำหน้าที่แยกสัญญาณกระแสไฟฟ้าจากสมองที่เรียกว่า ชะวานเซลล์ส (Schwann cells) เชื้อแบคทีเรียเข้าไปรบกวนการทำงานของยีนในเซลล์ Schwann และแปรสภาพเซลล์บางตัวเป็นสเต็มเซลล์หรือเซลล์ตั้งต้น ซึ่งเป็นเซลล์ชนิดพิเศษที่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์ชนิดต่างๆในร่างกายมนุษย์ได้ ทีมนักวิจัยทดลองฉีดสเต็มเซลล์ที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อโรคเรื้อนเข้าไปในหนูทดลอง เพื่อสังเกตุดูว่าเซลล์ที่เกิดจากการติดเชื้อแปรสภาพไปเป็นเซลล์กล้ามเนื้อชนิดต่างๆได้อย่างไร เซลล์ที่ได้รับเชื้อแบคทีเรียโรคเรื้อนสามารถแปรสภาพเป็นเซลล์ผิวหนัง ทำให้เกิดลักษณะรูปร่างผิดเพี้ยนซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคเรื้อนหรือไม่ ทางองค์การอนามัยโลก หวังว่าผลการศึกษาครั้งนี้จะนำไปสู่การพัฒนาวิธีตรวจเลือดที่ช่วยวินิจฉัยและบำบัดโรคเรื้อนได้แต่เนิ่นๆ
-
นักวิจัยพบเชื้อแบคทีเรียในสัตว์ ที่สามารถติดเชื้อไปสู่คนได้
นักวิจัยพบเชื้อแบคทีเรียในสัตว์ ที่สามารถติดเชื้อไปสู่คนได้ นักวิจัยพบแบคทีเรียชนิดใหม่บนร่างกายคนงานฟาร์มปศุสัตว์ขนาดใหญ่ที่ใช้ยาปฏิชีวนะเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์ ขณะที่คนงานปศุสัตว์ที่ฟาร์มที่ไม่ได้ใช้ยาปฏิชีวนะไม่มีแบคทีเรียชนิดดังกล่าวบนร่างกาย การศึกษาชิ้นนี้ทดลองกับผู้ที่ทำงานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ในรัฐ North Carolina ของสหรัฐ นักวิจัยได้กล่าวว่า เชื้อที่ว่านี้ชื่อ staph aureus bacteria ซึ่งดื้อยา methicillin เป็นสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า MRSA แม้ว่าคนงานที่มีเชื้อดังกล่าวอยู่บนร่างกาย แต่พวกเขาไม่มีอาการติดเชื้อ หากว่ามีอาการติดเชื้อการรักษาจะทำได้ยาก นอกจากนั้นหน่วยงานควบคุมโรคของอเมริกาชี้ว่าคนไข้ที่ติดเชื้อขั้นรุนแรงมีโอกาสเสียชีวิตสูงถึง 50% ที่ยุโรป พบว่ามีการแพร่ของเชื้อแบคทีเรียจากฟาร์มปศุสัตว์สู่โรงพยาบาล และชุมชนได้ ดังนั้นจึงน่าศึกษาต่อไปว่าเหตุการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้นที่สหรัฐได้หรือไม่ นอกจากนั้นควรศึกษาถึงโอกาสของคนงานปศุสัตว์ที่จะติดเชื้อดังกล่าวด้วย
-
นักวิจัยเชื่อว่าการเกิดโรคอ้วน แบคทีเรียในท้องคนเรา มีบทบาทสำคัญต่อน้ำหนัก
นักวิจัยเชื่อว่าการเกิดโรคอ้วน แบคทีเรียในท้องคนเรา มีบทบาทสำคัญต่อน้ำหนัก นักวิจัยเชื่อว่าการเกิดโรคอ้วนนั้นอาจมีอะไรมากกว่าปริมาณอาหารที่รับประทาน หรือปริมาณการออกกำลังกาย แบคทีเรียที่อยู่ในท้องของเราอาจมีบทบาทสำคัญที่จะทำให้เราอ้วนหรือผอมได้ ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้อาจทำให้เราเข้าใจถึงการรับประทานอาหารอย่างถูกต้องและมีประโยชน์มากยิ่งขึ้น นักวิจัยเริ่มต้นด้วยการนำหนูทดลองกลุ่มหนึ่งซึ่งถูกเลี้ยงภายใต้สภาพแวดล้อมที่ฆ่าเชื้อโรคแล้ว ทำให้ไม่มีเชื้อโรคอยู่ในท้องของหนูเหล่านั้น จากนั้นนำจุลินทรีย์ที่เติบโตในท้องของมนุษย์แฝดคู่หนึ่งมาใส่ไว้ในท้องของหนูทดลอง โดยยีนของแฝดคู่นี้เหมือนกันทุกประการ แต่คนหนึ่งเป็นโรคอ้วน ส่วนอีกคนไม่เป็น ผลการทดลองปรากฎว่า หนูทดลองที่มีจุลินทรีย์จากท้องของแฝดที่เป็นโรคอ้วนมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าหนูตัวที่ได้รับจุลินทรีย์จากแฝดที่ไม่เป็นโรคอ้วน และพบว่าหนูที่มีจุลินทรีย์โรคอ้วนมีปัญหาที่ระบบการเผาผลาญอาหาร ซึ่งเป็นปัญหาเดียวกับที่พบในคนที่เป็นโรคอ้วน นอกจากนี้ นักวิจัยยังพบความน่าสนใจบางอย่าง เมื่อนำหนูทดลองที่มีจุลินทรีย์โรคอ้วนกับหนูที่มีจุลินทรีย์ที่ไม่เป็นโรคอ้วย มาขังไว้ในกรงเดียวกัน เมื่อจุลินทรีย์ที่อยู่ในหนูทดลองตัวผอมย้ายที่อยู่เข้าไปอาศัยในท้องของหนูทดลองที่เป็นโรคอ้วน จะมีผลช่วยชะลอให้น้ำหนักตัวของหนูทดลองตัวนั้นไม่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการศึกษาค้นคว้าต่อไป หากต้องการผลิตยาผสมเชื้อจุลินทรีย์ชนิดดี เพื่อช่วยควบคุมน้ำหนักและป้องกันไม่ให้เป็นโรคอ้วน ถึงกระนั้น นักวิจัยชี้ว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือการควบคุมอาหารการกิน
-
นักวิจัยเชื่อว่าจุลินทรีย์ชนิดไม่ดี เป็นสาเหตุของโรคอ้วน
นักวิจัยเชื่อว่าจุลินทรีย์ชนิดไม่ดี เป็นสาเหตุของโรคอ้วน นักวิจัยเชื่อว่าการเกิดโรคอ้วนนั้นอาจมีอะไรมากกว่าปริมาณอาหารที่รับประทาน หรือปริมาณการออกกำลังกาย เพราะรายงานชิ้นล่าสุดของนักวิจัยที่ Washington University ระบุว่า แบคทีเรียที่อยู่ในท้องของเราอาจมีบทบาทสำคัญที่จะทำให้เราอ้วนหรือผอมได้ ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้อาจทำให้เราเข้าใจถึงการรับประทานอาหารอย่างถูกต้องและมีประโยชน์มากยิ่งขึ้น