Tag: เหงือกอักเสบ
-
สุขภาพช่องปากและการตั้งครรภ์
สุขภาพช่องปากและการตั้งครรภ์ ในระหว่างการตั้งครรภ์นั้น ช่องปากของคุณแม่ ก็เป็นส่วนที่ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน เพราะมีผลต่อสุขภาพโดยตรงของลูกในครรภ์ได้ค่ะ ไม่ว่าจะเป็น… – การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทำให้ระหว่างตั้งครรภ์ทำให้เกิดเหงือกอักเสบ หรือมีหินปูนจำนวนมาก เป็นโรคปริทันต์ เหงือกบวม อักเสบมีเลือดออกได้ – ในมารดาที่มีภาวะเหงือกอักเสบรุนแรง มักจะคลอดลูกน้ำหนักตัวน้อย และคลอดก่อนกำหนดได้ – การคลื่นไส้แพ้ท้องอาเจียนบ่อย ทำให้มีกรดจากกระเพาะอาหารย้อนขึ้นมาในช่องปาก ทำให้ฟันสึกกร่อนได้เร็ว รวมไปถึงอาหารเปรี้ยว ๆ ก็เช่นกัน – หญิงตั้งครรภ์มักจะทานได้น้อย แต่ทานบ่อย การทานบ่อย ทานของหวาน อาหารเหนียวติดฟันทำให้ฟันผุได้ – การมีฟันผุที่ไม่ได้รักษาจะทำให้มีเชื้อแบคทีเรียในช่องปากเป็นจำนวนมาก อาจส่งผ่านไปสู่ลูกทางพันธุกรรม แต่ส่งผลได้ทางน้ำลาย เช่น การกอดจูบลูก การเป่าอาหาร การกัดแบ่ง และการใช้ช้อนร่วมกับลูก – สำหรับเด็กในครรภ์จะเริ่มสร้างฟันน้ำนมตั้งแต่อายุครรภ์ได้ 4-6 สัปดาห์ ซึ่งต้องการสารอาหารหลายชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งจำพวกแคลเซียม ฟอสฟอรัส ซึ่งจะมีผลให้เคลือบฟันและเนื้อฟันมีความแข็งแรง ดังนั้นคำแนะนำสำหรับคุณแม่ในการดูแลช่องปากระหว่างการตั้งครรภ์ก็คือ 1. แปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันทุกวัน ควรบ้วนปากหรือแปรงฟันทุกครั้งหลังอาหารว่างด้วย 2. หากแพ้ท้องอาเจียน ควรบ้วนปากด้วยน้ำเปล่า หรือน้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ เพื่อลดปริมาณกรดจากกระเพาะอาหาร แต่ห้ามแปรงฟันเป็นเวลาอย่างน้อย…
-
การดูแลช่องปากเพื่อป้องกันโรคเหงือกอักเสบ
การดูแลช่องปากเพื่อป้องกันโรคเหงือกอักเสบ โรคเหงือกอักเสบ เป็นโรคที่คนส่วนใหญ่มักไม่ค่อยใส่ใจมากนัก แต่หารู้ไม่ว่าโรคนี้ทำให้เกิดปัญหาลุกลามจนสูญเสียฟันได้เลยทีเดียว โดยสาเหตุของโรคเหงือกอักเสบนั้นเกิดมาจากการขาดการดูแลรักษาความสะอาดภายในช่องปากอย่างถูกวิธี จึงเกิดคราบสะสมของจุลินทรีย์รวมทั้งหินปูนที่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคที่ทำให้เป็นโรคเหงือกอักเสบ เหงือกบวมแดง เลือดออกตามไรฟันโดยเฉพาะเวลาที่แปลกฟัน หากไม่รักษาอาจเป็นสาเหตุให้กระดูรอบรากฟันโดนทำลายจนฟันโยกคลอนและหลุดในที่สุด นอกจากนี้แล้วโรคเหงือกอักเสบยังเป็นสาเหตุของโรคอื่น ๆ ตามร่างกายได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือด ทำให้คนไข้เบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ยาก อาจทำให้ผู้ที่ตั้งครรภ์คลอดก่อนกำหนดได้อีก ฯลฯ การดูแลช่องปากให้ห่างไกลโรคเหงือกอักเสบนั้น ควรทำความสะอาดฟันอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ เลือกใช้แปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่ม ควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งเช้าเย็นโดยใช้ร่วมกับไหม่ขัดฟันด้วยก็ได้ ไม่ควรทานอาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด เช่น ส้ม มะนาว หรือน้ำอัดลมที่มีกรดสูง ไม่ควรแปรงฟันหลังกินอาหารทันทีเพราะทำให้ฟันสึกได้ง่าย ระวังอย่าแปรงฟันนานเกินไปเพราะอาจทำให้เหงือกได้รับการเสียดสีจนอักเสบได้ แล้วอย่าลืมไปตรวจสุขภาพช่องปากปีละอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ขูดหินปูนด้วย ในส่วนของสุขภาพในช่องปากของเด็ก ๆ ควรดูแลการแปรงฟันให้ถูกวิธี หลีกเลี่ยงของหวาน ลูกอม ขนมต่าง ๆ เพื่อป้องกันการกินจุบจิบไปด้วย หันมาทานผักสดผลไม้สดที่ดีต่อสุขภาพ ฟันของคุณและลูก ๆ จะได้อยู่กับเราไปนาน ๆ จนแก่เฒ่าไม่ต้องพึ่งฟันปลอมยังไงล่ะคะ
-
เพราะเหตุใดการจัดฟัน ต้องถอนฟันคุดออกก่อน
เพราะเหตุใดการจัดฟัน ต้องถอนฟันคุดออกก่อน ทุกครั้งของการจัดฟัน ทันตแพทย์จะต้องถอนฟันกรามซี่ที่สาม หรือฟันคุดออกเสียก่อน เพื่อให้การเคลื่อนฟันซี่อื่น ๆ ทำได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังเป็นการป้องกันมิให้แรงดันจากฟันคุดมาผลักฟันที่ได้รับการจัดไว้บิดซ้อนหรือเกอีก ทันตแพทย์จัดฟันจึงแนะนำให้ถอนฟันคุดออกกอ่นให้เครื่องมือจัดฟันทุกครั้ง ในส่วนของฟันคุดนั้น แม้จะไม่ได้ทำการจัดฟัน การถอนฟันคุดที่ขึ้นเคยหรือขึ้นอย่างไม่สมบูรณ์ออกก็เป็นเรื่องที่ควรทำ เพราะฟันคุดที่ขึ้นมาไม่พ้นเหงือกจะทำให้ทำความสะอาดได้ยาก มีเศษอาหารและเชื้อโรคหมักหมมอยู่ในช่องเหงือกที่ขึ้นมาปกคลุมฟันคุดไว้ อาจทำให้เกิดกลิ่นปากเมื่อมีอาการเหงือกอักเสบ และอาจลุกลามจนกลายเป็นรากฟัน กรามและลำคอติดเชื้ออักเสบตามไปด้วยในกรณีที่ร้ายแรงที่สุด ดังนั้นไม่ว่าคุณจะจัดฟันหรือไม่ก็ตาม หากฟันคุดของคุณขึ้นไม่เป็นระเบียบ การถอนออกไปก็เท่ากับเป็นป้องกันเหงือกอักเสบและโรคอื่น ๆ ที่จะตามมาได้ในอนาคตด้วยค่ะ
-
8 โรคต้องระวัง เมื่อเข้ารับบริการ ขูดหินปูน
8 โรคต้องระวัง เมื่อเข้ารับบริการ ขูดหินปูน กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดเผยว่าหากที่ต้องการเข้ารับการขูดหินปูน เป็นผู้ป่วยด้วยโรค 8 โรคนี้จำเป็นต้องแจ้งทันตแพทย์ก่อนทุกครั้งก่อนรับการทำฟันหรือขูดหินปูนก็คือ กลุ่มที่เป็นโรคเลือดออกง่ายและหยุดไหลยาก ได้แก่ 1. โรคเกล็ดเลือดต่ำหรือโรคลูคีเมีย อาจมีจ้ำเลือดหรือจุดเลือดออกตามร่างกายร่วมด้วย 2. โรคไตและผู้ที่มีประวัติเคยล้างไต เพราะจะได้รับยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด 3. ผู้ที่มีประวัติการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจและการใช้ยาละลายลิ่มเลือด รวมไปถึงกลุ่มที่สองเป็นกลุ่มที่อาจแสดงอาการในระหว่างการทำฟัน ได้แก่ 1. โรคหัวใจอาจมีอาการเจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย ใจสั่น 2. โรคหอบหืดอาจมีอาการหอบเหนื่อย ต้องมียาพ่นประจำ และได้รับยา Steriod 3. โรคลมชักและโรคความดันโลหิตสูง 4. โรคเบาหวานเพราะมีผลกระทบทำให้แผลหายยาก เหล่านี้จำเป็นต้องแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบก่อนเผื่อในกรณีที่อาการกำเริบจะได้ช่วยเหลือได้ทันการณ์ อีกทั้ง ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย ยังเปิดเผยอีกว่าการขูดหินปูนหรือหินน้ำลายนี้ก็เพื่อป้องกันอาการเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์ได้ ด้วยการใช้เครื่องมือขจัดหินปูนที่มีความสั่นสะเทือนทำให้หินปูนหลุดออกมา แล้วใช้เครื่องมือชิ้นเล็กกว่าขูดหินปูนละเอียดอีกครั้ง ซึ่งขั้นตอนนี้อาจทำให้มีเลือดออกได้บ้างเล็กน้อย แต่จะไม่มากจนมีผลใด ๆ ต่อสุขภาพผู้ป่วย ซึ่งหินปูนหรือหินน้ำลายนี้เป็นคราบจุลินทรีย์ที่มีการสะสมของแคลเซียมในน้ำลาย จนแข็งตัวคล้ายหินปูน ที่สะสมเชื้อโรคไว้หลายชนิดอีกทั้งยังเป็นแหล่งผลิตสารพิษที่ทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์ได้ การป้องกันการเกิดหินปูนก็คือการจำกัดคราบจุลินทรีย์โดยการแปรงฟันโดยเฉพาะคอฟันให้สะอาดวันละอย่างน้อย 2 ครั้ง เพื่อไม่ให้บริเวณนี้เป็นที่สะสมของคราบจุลินทรีย์จนกลายเป็นหินปูนได้ อีกทั้งยังควรมาตรวจสุขภาพช่องปากทุกปีและหากมีหินปูนก็ควรขูดหินปูนออกอย่างน้อยปีละครั้ง…