Tag: เวียนหัว
-
แยกให้ออกระหว่าง เวียนหัว กับมึนหัว
แยกให้ออกระหว่าง เวียนหัว กับมึนหัว คนเป็นจำนวนมากแยกไม่ออกว่าตัวเองกำลังเวียนหัวหรือกำลังมึนหัวกันแน่ บางครั้งไปขอซื้อยาจากเภสัชกรหรืออธิบายให้แพทย์ฟังก็ไม่ชัดเจน ทำให้ยากที่จะวินิจฉัยโรคและจ่ายยาได้อย่างถูกต้อง วันนี้เรามาเรียนรู้กันค่ะว่าระหว่าง เวียนหัว กับมึนหัวนั้น ต่างกันอย่างไร อาการเวียนหัว คือ อาการที่ทำให้เรารู้สึกหมุนค่ะ มีสองแบบก็คือ แบบแรกตัวเราจะอยู่นิ่ง ๆ แต่สิ่งแวดล้อมรอบตัวเราหมุนหรือไหล แบบที่เรียกว่าบ้านหมุนนั่นเอง และอีกแบบก็คือสิ่งแวดล้อมรอบกายเราอยู่เฉย ๆ แต่ตัวเรารู้สึกหมุน หรือเอียงเหมือนจะล้ม รู้สึกโคลงเคลง ตาลาย สาเหตุของอาการเวียนหัวนั้นเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทการทรงตัวเพียงเล็กน้อย ไม่มีอันตรราย แต่ให้ระวังการเกิดอุบัติเหตุเวลาเวียนหัว หากเป็นคนชราพอเริ่มมีอาการต้องให้ท่านนอนหรือนอนพัก ต้องระวังอย่าให้ล้มหัวฟาด หรือหากคุณเกิดระหว่างการขับรถต้องรีบหาที่จอดพักทันที อาการเวียนหัวนั้นมักเกิดจากการเปลี่ยนท่าแบบฉับพลันทันที บางคนก็อาจเซเล็กน้อย บางคนก็คลื่นไส้ หากไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องหาหมอ แต่ให้ฝึกหัดฝืนความรู้สึกเพื่อทรงตัวไว้ ทำบ่อย ๆ ก็จะหายไปเอง แต่หากทนไม่ไหวก็ควรขอรับคำปรึกษาจากเภสัชกรหรือแพทย์ได้ แต่หากคุณมีอาการเวียนหัวด้วย และมีอาการอื่นร่วมด้วยอย่างเช่น พูดไม่ชัด เห็นภาพซ้อน กลืนลำบาก สำลักบ่อย หรือชาตามตัว ตามมือและขา ชักหรือเป็นอัมพาต นี่เป็นสัญญาณอันตรายอาจเป็นความผิดปกติที่สมอง ควรรีบส่งแพทย์โดยด่วนค่ะ อาการมึนหัว คือ อาการหนักหัว…
-
ดูแลตัวเอง…ไม่ให้หน้ามืดวิงเวียนบ่อย ๆ
ดูแลตัวเอง…ไม่ให้หน้ามืดวิงเวียนบ่อย ๆ โดยทั่วไปแล้วความดันปกติของคนเราจะอยู่ที่ 90 – 130 (ตัวบน) / 60 – 90 (ตัวล่าง) มิลลิเมตรปรอท แต่ถ้ามีค่าความดันโลหิตต่ำกว่า 90 / 60 ก็ถือว่าเป็นผู้ที่มีอาการความดันโลหิตต่ำค่ะ ซึ่งเกิดจากจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ การขาดสารน้ำจากการเสียเหงื่อมาก ท้องเสีย เสียเลือด หรือความอ่อนแอจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ เลือดจาง ฯลฯ โดยบางรายอาจไม่จำเป็นต้องแสดงอาการออกมา แต่บางรายก็มักมีอาการอ่อนเพลียหน้ามืด มึนงง เวลาลุกนั่งหรือเวลายืน หรือเวลาเปลี่ยนท่าเร็ว พาลจะทำให้เป็นลมได้ หากมีอาการเรื้อรัง กับมีอาการดังต่อไปนี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น เจ็บหน้าอกรุนแรง ท้องเสียหรือปวดท้องอย่างมาก อาเจียนมาก ถ่ายเป็นสีดำ ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว เหงื่อแตก ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน แต่หากไม่ได้มีอาการดังกล่าวเป็นแต่เพียงอาการหน้ามืด วิงเวียนบ่อย ๆ เท่านั้นก็ควรดูแลตัวเองด้วยการปฏิบัติดังต่อไปนี้ค่ะ – เวลาเปลี่ยนท่าให้ค่อย ๆ ลุก เช่น หากตื่นนอนควรค่อย ๆ นั่งก่อนสักครู่แล้วจึงค่อยลุกขึ้นยืน…