Tag: เลิกบุหรี่
-
จุดเริ่มต้นของโรคถุงลมโป่งพอง
จุดเริ่มต้นของโรคถุงลมโป่งพอง สาเหตุหนึ่งที่สำคัญมากของโรคถุงลมโป่งพองก็คือ บุหรี่นั่นเอง มักเกิดโรคนี้ในผู้ที่สูบบุหรี่จัดนานกว่า 10-20 ปี ขึ้นไป พิษจากบุหรี่จะทำลายเยื่อบุหลอดลมและถุงลมในปอดทีละน้อยไปเรื่อย ๆ ในที่สุดถุงลมปอดจะพิการ คือไม่สามารถทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนอากาศ หอบเหนื่อยง่าย และมักติดเชื้อที่ปอดซ้ำซาก นอกจากบุหรี่แล้ว การได้รับมลพิษในอากาศ จากควันหุงต้ม การก่อไฟในสถานที่ปิดทึบก็ทำให้เป็นโรคถุงลมโป่งพองได้เช่นกัน อาการของผู้ที่สูบบุหรี่จัดมาหลายปีนั้นจะมีอาการของหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ตื่นนอนตอนเช้าจะไอมีเสมหะหรือขากเสมหะในลำคอตั้งแต่ตื่นนอน ไอมีเสมหะเรื้อรังเป็นเดือนเป็นปี ส่วนมากมักจะนึกว่าเป็นเรื่องปกติจึงไม่ใส่ใจดูแล จนเริ่มไอถี่ขึ้นตลอดวันและมีเสมหะจำนวนมาก ในช่วงแรกเสมหะจะมีสีขาว และกลายเป็นสีเขียวเหรือเหลือง มีไข้หรือหอบเหนื่อยจากการติดเชื้อ หากยังไม่หยุดสูบบุหรี่อาการจะยิ่งหนักไปเรื่อย ๆ เหนื่อยง่าย หอบแม้แต่เวลาเดิน หรือพูด หรือทำกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ในระยะหลังหากอาการกำเริบหนักอาจมีการติดเชื้อแทรกซ้อนจนต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล ในระยะที่รุนแรงนั้น ผู้ป่วยจะเบื่ออาหารผ่ายผอม น้ำหนักลด หอบเหนื่อยและทุกข์ทรมานอยู่ตลอดเวลา โรคนี้เป็นโรคเรื้อรังตลอดชีวิต ต้องพบแพทย์และใช้ยารักษาอย่างต่อเนื่อง หากในระยะแรกเลิกบุหรี่ได้อย่างเด็ดขาดก็จะทำให้โรคไม่ลุกลามมากนัก แต่หากไม่หยุดสูบก็อาจลุกลามรุนแรง และมักเสียชีวิตด้วยภาวการณ์หายใจล้มเหลว ปอกอักเสบหรือปอดทะลุ โดยมากจะเสียชีวิตกว่าร้อยละ 50 ภายใน 10 ปี หลังจากที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคถุงลมโป่งพอง หากตรวจพบว่าเป็นโรคนี้แล้ว ควรปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้ 1. พบแพทย์เพื่อรับยาและทานยาให้สม่ำเสมอ…
-
ฮีโร่ตัวจริงไม่สูบบุหรี่
ฮีโร่ตัวจริงไม่สูบบุหรี่ ในเวลาอาทิตย์แรกสำหรับคนที่เลิกบุหรี่นั้น กว่าร้อยละ 90 มักจะล้มเหลวและกลับไปสูบใหม่ เพราะเป็นช่วงเวลาวัดใจที่ผ่านความทรมานจากการขาดนิโคตินไปได้ยากอย่างยิ่ง อาการถอนยาที่รุนแรงจะเกิดขึ้นในช่วง 2-5 วันแรกในการอดบุหรี่ กว่าจะหายไปอาจใช้เวลาถึงสามถึงสี่อาทิตย์ สำคัญที่ใจอย่างเดียวเท่านั้นว่าสู้หรือเปล่า เพราะกว่าจะเป็นฮีโร่อดบุหรี่ได้จริงต้องอาศัยกำลังใจอย่างมาก แต่ก็ไม่ยากจนเกินไปนัก วันนี้ขอนำเอาทิปส์ช่วยคุณเลิกบุหรี่มาฝากคุณผู้อ่านกันค่ะ – ต้องมีความตั้งใจที่แน่วแน่ ตัดใจหักดิบเลิกไปเลยดีกว่าการลดการสูบ – ท่องโทษของการสูบบุหรี่ไว้ในใจบ่อย ๆ – ชัดเจนถึงเป้าประสงค์ในการเลิกบุหรี่ของคุณ – ขอกำลังใจจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือเพื่อเป็นกำลังใจ – ดื่มน้ำให้มาก ๆ เข้าไปเพื่อชะล้างนิโคตินในร่างกาย – งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ชา กาแฟ ช็อกโกแลต และแอลกอฮอล์ทุกชนิด – หากรู้สึกไม่สดชื่น อ่อนเพลีย เซ็ง เบื่อ ให้ไปอาบน้ำ – กินแต่พอดี เลี่ยงอาหารรสจัด ทานผักผลไม้ให้มากขึ้น – ออกกำลังกายบ่อย ๆ แต่ในระยะแรกให้ค่อย ๆ ปรับตัวไปอย่าเพิ่งหักโหม – บอกคนใกล้ชิด คนในครอบครัว เพื่อนสนิทให้รับรู้ จะได้เข้าใจและเป็นกำลังใจ…
-
ผักผลไม้ และสมุนไพรช่วยเลิกบุหรี่
ผักผลไม้ และสมุนไพรช่วยเลิกบุหรี่ หลายคนทราบดีว่าบุหรี่นั้นเป็นพิษทั้งผู้สูบและคนที่อยู่ใกล้ชิด อยากเลิกแต่ก็เลิกได้ยาก การจะเลิกบุหรี่ให้ได้นั้นต้องอาศัยความตั้งใจเป็นสำคัญ เพราะในช่วงแรกที่ร่างกายขาดนิโคตินนั้นจะรู้สึกหงุดหงิด ไม่มีความสุข และเครียดได้ ดังนั้นการนำเอาผักผลไม้ สมุนไพร รวมทั้งเทคนิคอื่น ๆ มาช่วยให้จิตใจสดใสขึ้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ การออกกำลังกายหรือการเล่นโยคะ การนั่งสมาธิ ก็ช่วยให้คลายเครียดลงได้ ร่างกายหลั่งเอนโดรฟีนออกมามากขึ้น ทำให้มีความสุขช่วยเลิกบุหรี่ได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ยังมีผักผลไม้ที่ช่วยในการเลิกบุหรี่ได้อีกคือ – กล้วยหอม มีสารสำคัญช่วยลดความเครียดลงได้ เพราะในกล้วยหอมมีกรดอะมิโนทริปโตเฟน ซึ่งร่างกายจะเปลี่ยนเป็นซีโรโทนิน เป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายผ่อนคลาย มีความสุข มีวิตามินบีหก และบีสิบสอง โพแทสเซียม แมกนีเซียม ช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วขึ้นจากการขาดนิโคติน อาจทานเป็นกล้อยหอมปั่นผสมน้ำผึ้งได้เช่นกัน (แต่ควรระวังไว้สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน) หรือกินกล้วยหอมแทนขนมจุบจิบก็ได้ หากไม่มีกล้วยหอมใช้กล้วยน้ำว้าแทนก็ได้ผลเช่นกัน – หญ้าดอกขาว มีโพแทสเซียมไนเตรท ทำให้ประสาทรับรสที่ลิ้นชาจึงไม่อยากสูบบุหรี่ – กานพลู หรือลูกจันทร์ ลองอมดอกกานพลูแห้งจะแก้ความอยากบุหรี่และระงับกลิ่นปากไปด้วยในตัว ช่วยเลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้น ส่วนลูกจันทร์จะช่วยความอยากบุหรี่ได้บ้างเป็นการชั่วคราว – มะขามป้อม มีวิตามินซีสูง มีสารแทนนิน ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานสูงขึ้น ลองนำมะขามป้อมมาเคี้ยวสดหรืออมก็ได้เช่นกัน – มะนาว มีรสเปรี้ยวและมีวิตามินซีนู…
-
รณรงค์สร้างครอบครัวไร้ควันบุหรี่
รณรงค์สร้างครอบครัวไร้ควันบุหรี่ มีผลการวิจัยพบว่า เด็กที่เติบโตในครอบครัวที่มีผู้ปกครองหรือคนในบ้านสูบบุหรี่นั้น กว่าร้อยละ 40 เมื่อโตขึ้นจะกลายเป็นคนที่สูบบุหรี่ด้วย ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดที่จะไม่ให้เด็กสูบบุหรี่ก็คือ ผู้ใหญ่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี ต้องเลิกบุหรี่ให้ได้ก่อน เด็กจึงจะทำตาม นอกจากนี้แล้วยังควรสอดส่องคนอื่นไม่ให้มาสูบบุหรี่ในสนามเด็กเล่น โรงเรียน ศูนย์เลี้ยงเด็ก รวมไปถึงสถานที่ปลอดควันบุหรี่อื่น ๆ อีกทั้งยังไม่ควรพาเด็กเข้าไปในสถานที่ที่มีการอนุญาตให้สูบบุหรี่ด้วย ไม่ว่าจะเป็น ร้านอาหาร หรือสถานที่ใด ๆ หากลูกๆ เริ่มไปสูบบุหรี่เข้าแล้ว อยากช่วยให้เข้าเลิกก็ต้องมาทำความเข้าใจร่วมกันคือ 1. ชวนลูกคุยทำความเข้าใจถึงผลร้ายของการสูบบุหรี่ อีกทั้งการสูบบุหรี่ก่อนอายุ 18 ปีนั้นก็เป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายด้วย 2. ดูแลและให้เวลาลูกอย่างใกล้ชิด ให้ความสนิทสนมเปิดโอกาสให้ปรึกษาได้ทุกเรื่อง และควรเปิดโอกาสให้ลูกได้รับรู้ถึงปัญหาและผลร้ายของยาเสพติด เลือกใช้ภาษาที่ดี ไม่ใช่การตำหนิหรือดุด่า 3. จับตาดูบ้างว่าเพื่อนในกลุ่มของลูกใช้สารเสพติดหรือไม่ 4. สร้างค่านิยมที่ดีให้กับลูก และสอนลูกว่าการสูบบุหรี่ไม่ใช่เรื่องของคนเท่ แต่เป็นเรื่องน่ารังเกียจ 5. สร้างสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น จะพัฒนาความรักความอบอุ่นในครอบครัว ระหว่างพ่อแม่และลูก การมีครอบครัวเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจจะช่วยให้เด็ก ๆ ห่างไกลยาเสพติดได้อย่างแน่นอนค่ะ หากในวันนี้มีสมาชิกในครอบครัวยังสูบบุหรี่อยู่ ควรพากันเลิกเถอะค่ะ เพื่อโลกที่สดใส ไร้ควันพิษ เพื่อชีวิตของคนที่เรารักทุกคนด้วยค่ะ
-
เทคนิคการเลิกบุหรี่ ที่มีคนทำตามแล้วได้ผล
เทคนิคการเลิกบุหรี่ ที่มีคนทำตามแล้วได้ผล สาเหตุที่บุหรี่เป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ เพราะนิโคตินที่มีอยู่ในบุหรี่นั้นทำให้เกิดความดันโลหิตสูง มีอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นทำให้หลอดเลือดที่มาเลี้ยงหัวใจหดเกร็ง หัวใจจึงต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น คาร์บอนมอนนอกไซด์สามารถจับกับเม็ดเลือดแดงได้อย่างถาวร จึงเหลือเม็ดเลือดแดงที่จะนำพาออกซิเจนและคาร์บอนมอนนอกไซด์ได้น้อยลง จึงไม่เพียงพอ เม็ดเลือดแดงที่กระด้าง ทำให้ผนังหลอดเลือดเป็นแผล หากเป็นหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ จะทำให้หัวใจขาดเลือด ยิ่งหากมีไขมันในเลือดสูง เป็นโรคอ้วน หรือไม่ออกกำลังกาย และมีความเครียดด้วยแล้ว ความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจนี้ยิ่งมีเพิ่มมากขึ้น หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่ต้องการเลิกบุหรี่อย่างจริงจัง ลองทำตามเทคนิคเหล่านี้ดู ได้ผลอย่างแน่นอนค่ะ 1. ต้องตั้งใจที่จะเลิกบุหรี่อย่างเด็ดขาดเสียก่อน 2. ขอกำลังใจจากคนใกล้ชิดและคนในครอบครัว 3. ดื่มน้ำให้มากอย่างน้อยวันละสองลิตร จะช่วยกำจัดนิโคตินจากร่างกาย 4. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน พวกชากาแฟอื่น ๆ รวมไปถึงแอลกอฮอล์ด้วย 5. หากรู้สึกง่วงนอน อ่อนพลีย หงอยเหงา ไม่สบายตัวควรอาบน้ำ หรือใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตัว จะทำให้สดชื่นขึ้นแล้วค่อยไปหากิจกรรมอื่น ๆ ทำ 6. ไม่ควรทานอาหารอิ่มเกินไปหรืออาหารที่มีรสจัดจะทำให้อยากบุหรี่เพิ่มขึ้น 7. ทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น แทนอาหารที่ทานอยู่ประจำ 8. หมั่นออกกำลังกายทุกวันอย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายหลั่งสารเอนโดรฟีนออกมา
-
ฟังประสบการณ์ที่คุณภรรยาสามารถช่วยเหลือให้สามีเลิกบุหรี่สำเร็จได้
ฟังประสบการณ์ที่คุณภรรยาสามารถช่วยเหลือให้สามีเลิกบุหรี่สำเร็จได้!!! วันนี้ขอนำประสบการณ์ของคุณภรรยาท่านหนึ่ง ที่สามารถช่วยให้สามีเลิกบุหรี่ได้สำเร็จมาฝากกัน เผื่อคุณภรรยาท่านใดจะนำไปช่วยเหลือคุณสามีบ้างนะคะ เรื่องมีอยู่ว่าคุณภรรยาท่านนี้ คลอดลูกก่อนกำหนดและเด็กมีน้ำหนักแรกคลอดน้อยมาก ซึ่งหมอบอกว่าเพราะสามีสูบบุหรี่มากกว่ายี่สิบมวนต่อวันทั้งในบ้านและนอกบ้าน จึงกระทบต่อการตั้งครรภ์ เด็กโตช้ากว่าปกติ คุณสามีทราบดังนี้จึงอยากเลิกบุหรี่ แต่ก็เลิกได้เพียงเดือนเดียวก็กลับมาสูบอีก แม้จะไม่สูบในบ้านก็ตาม ควันบุหรี่ทำให้ลูกป่วยบ่อย เป็นหวัดเรื้อรัง หายใจลำบาก คุณภรรยาจึงตัดสินใจหาความรู้จากคู่มือและเจ้าหน้าที่เพื่อช่วยเหลือคุณสามีให้เลิกบุหรี่ได้ เธอทำแบบนี้ค่ะ 1. ให้กำลังใจเขาเสมอ ไม่พูดให้คุณสามีเสียกำลังใจ แสดงความห่วงใยต่อสุขภาพของตัวเขาและรับผิดชอบสุขภาพของคนอื่นในครอบครัว 2. เนื่องจากสามีเป็นทหาร ภรรยาจึงได้เชิญหัวหน้าและเพื่อนร่วมงานของสามีมาเป็นพยานในพิธีสัจจะอธิษฐานไม่สูบบุหรี่ ให้สามีนำบุหรี่ไฟแช็คใส่พานถวายเสด็จเตี่ยกรมหลวงชุมพรฯ ทำให้ตั้งแต่วันนั้นมาสามีไม่แตะต้องบุหรี่อีกเลย 3. ช่วยให้สามีได้ออกกำลังกายทุกวัน วันละสามสิบนาทีขึ้นไป การออกกำลังกายทำให้หลั่งเอนโดรฟีนออกมามากขึ้น และได้ทำแปลงผักปลูกผักสวนครัวไว้รอบ ๆ บ้านด้วย 4. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีเนื้อสัตว์ รสเผ็ด หรือมัน เพราะจะทำให้อยากบุหรี่ เมื่อมีความอยากให้อมลูกอม มะขามป้อมหรือมะนาว และงดกิจกรรมไปสังสรรค์กินเหล้ากับเพื่อน ๆ ซึ่งอาจกลับไปสู่การสูบบุหรี่ได้อีก ภายหลังจากที่สามีเลิกบุหรี่ได้ ชีวิตในครอบครัวก็กลับมาผาสุกเช่นเดิม ลูกชายก็แข็งแรงขึ้น สามีดูมีผิวพรรณที่สดใสขึ้น ไม่มีกลิ่นบุหรี่ติดตามเสื้อผ้าหรือลอยในห้องน้ำอีก นอกจากนี้แล้วยังสามารถเก็บเงินจากค่าบุหรี่และค่าขายผักสวนครัวเพิ่มได้อีกเดือนละกว่าสองพันบาทด้วย คุณภรรยาคนไหนอยากให้สามีเลิกบุหรี่ลองนำเอาวิธีของเธอคนนี้ไปปรับใช้ได้นะคะ
-
หลักการดูแลสุขภาพ…เพื่อชีวิตห่างไกลมะเร็ง
หลักการดูแลสุขภาพ…เพื่อชีวิตห่างไกลมะเร็ง ไม่มีใครอยากให้ร่างกายที่เราแสนรักนี้เป็นโรคหรอกค่ะ ไม่ว่าจะเป็นโรคใดก็ตาม ยิ่งหากเป็นโรคร้ายที่รักษายากหรือมีเกณฑ์การเสียชีวิตสูงแล้ว เราคงแทบจะตายกันไปในวันที่ทราบข่าวนั้นเลย โรคมะเร็งนี้เป็นหนึ่งในโรคที่คุกคามร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยและคนใกล้ชิดมาก ดังนั้นเรามาใช้ชีวิตตามหลักธรรมดาเพื่อดูแลร่างกายของเราให้ห่างไกลจากมะเร็งกันดีกว่าค่ะ 1. เลิกบุหรี่ ไม่ควรสูบบุหรี่ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่ในรูปแบบไหน อีกทั้งยังไม่ควรเข้าไปสูดดมควันบุหรี่จากผู้อื่นด้วย เพราะพิษจากควันบุหรี่นั้นสามารถทำให้เป็นมะเร็งได้หลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งปอด มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ การเลิกสูบบุหรี่สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอดได้ถึงร้อยละ 90 แล้วยังทำให้คนใกล้ชิดปลอดภัยจากโรคนี้เพิ่มขึ้นด้วย 2. เลิกมีพฤติกรรมสำส่อนทางเพศ ไม่ว่าจะเพศใดการสำส่อนทางเพศก็เป็นต้นตอของโรคมะเร็งได้ทั้งนั้น ยิ่งโดยเฉพาะเพศหญิงที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย และมีหลายคู่ รวมไปถึงการติดเชื้อไวรัสหูดจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูกมาก ดังนั้นทุกครั้งจึงควรสวมถุงยางอนามัยและเลิกพฤติกรรมสำส่อนทางเพศ 3. เลิกเหล้า หากดื่มอยู่ก็ควรลดละเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้หมด หรือไม่ดื่มเลยจะดีที่สุด หากต้องการดื่มให้ดื่มได้วันละ 2 แก้ว สำหรับเพศชายและ 1 แก้วเท่านั้นสำหรับเพศหญิง เพราะการดื่มหนัก ๆ จะทำให้สะสมสารก่อมะเร็งในช่องปาก กดภูมิต้านทานโรค ทำให้เป็นพิษต่อตับและตับอ่อน จึงเสี่ยงต่อมะเร็งตับมาก 4. หลบแดดเสมอ โดยเฉพาะแสงแดดที่มีรังสียูวีจัดจ้าในช่วงเวลาตั้งแต่แปดโมงเช้า ถึงบ่ายสี่โมงหรือจำเป็นต้องออกแดดก็ให้ทาครีมกันแดด แล้วสวมหมวก กางร่ม สวมแว่นกันแดด หรือสวมเสื้อแขนยาวสำหรับการรังสียูวีด้วยจะดีค่ะ 5. หลีกเลี่ยงการทานปลาน้ำจืดดิบ ๆ สุก ๆ…
-
ใช้ชีวิตอย่างไร…ห่างไกลมะเร็งร้าย
ใช้ชีวิตอย่างไร…ห่างไกลมะเร็งร้าย คุณทราบหรือไม่คะว่า หากเราบริหารจัดการวิถีการใช้ชีวิตให้ดีแล้ว จะสามารถป้องกันการเป็นโรคมะเร็งได้ถึงร้อยละ 30-40 เชียวนะคะ แล้วยังสามารถป้องกันโรคอื่น ๆ ที่ร้ายแรงได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ อาการไขมันในเส้นเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ตลอดจนโรคกระดูกพรุนได้ด้วย วันนี้มาดูคำแนะนำในการใช้ชีวิตเพื่อให้ห่างไกลจากมะเร็งกันนะคะ 1. คุณควรเลิกบุหรี่ เพราะคุณทราบหรือไม่คะว่าหากคุณสูบบุหรี่มากกว่า 1 ซอง หรือ 20 มวนต่อวันเป็นเวลา 10 ปีนั้น คุณจะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า! เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ และหากคุณสูบอยู่แล้วเกิดอยากเลิกขึ้นมาก็สามารถป้องกันโรคมะเร็งได้ถึงร้อยละ 60 การสูบบุหรี่ไม่ได้เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอดอย่างเดียว แต่ยังเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ หรือโรคถุงลมโป่งพองได้อีกด้วย 2. คุณควรเลิกดื่มสุรา หรือหากจำเป็นต้องดื่มเพื่อเข้าสังคมก็จำกัดไว้แค่วันละไม่เกิน 1 แก้ว ผู้ที่ดื่มสุรามากกว่า 3 แก้วต่อวันจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้นถึงเกือบสิบเท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ดื่ม แต่ถ้าคุณยังไม่เลิกดื่มแล้วยังสูบบุหรี่มากกว่าวันละ 1 ซองอีก ก็จะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคมะเร็งมากขึ้นเป็น 50 เท่าเลยทีเดียว! น่ากลัวเอามาก ๆ ค่ะ 3. คุณควรปรับพฤติกรรมการกิน ดังต่อไปนี้…
-
แพทย์ ชี้แจง การสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อชีวิตกว่าที่คิดไว้
แพทย์ ชี้แจง การสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อชีวิตกว่าที่คิดไว้ แพทย์ชี้แจงว่า การสูบบุหรี่เป็นตัวก่อให้เกิดโรคเบาหวาน มะเร็งตับ และมะเร็งลำไส้ใหญ่ และการสูบบุหรี่มีผลก่อให้เกิดความบกพร่องแก่ทารกในครรภ์ ในปี 2507 แพทย์สหรัฐรายงายว่า การสูบบุหรี่มีผลเสียต่อสุขภาพ และช่วยกระตุ้นให้เกิดมะเร็งปอดและหัวใจ และปัจจุบันใน 50 ปีให้หลัง แพทย์ได้ออกรายงานฉบับใหม่ นำเสนอเพิ่มว่าบุหรี่ มีผลเสียต่อสุขภาพมากขึ้น แพทย์กล่าวว่าในเรื่องนี้ อยากให้ทุกคนต้องร่วมมือกัน เพื่อสร้างสังคมที่ปลอดจากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ทุกคนต้องเข้าใจถึงความเกี่ยวโยงระหว่างสุขภาพกับการสูบบุหรี่เสียก่อน รายงานนี้เร่งเร้าให้เพิ่มความเข้มข้นของมาตรการต่างๆ ที่ใช้ในการควบคุมการสูบบุหรี่ ซึ่งรวมทั้งการเพิ่มราคาบุหรี่และขยายมาตรการห้ามสูบบุหรี่ในตัวอาคารให้ใช้กันอย่างเเพร่หลายรายงานประจำปีพุทธศักราช 2557 นี้ ยังเร่งเร้าให้นักวิจัยทำการศึกษาดูว่าการลดปริมาณสารนิโคตินในบุหรี่สามารถช่วยผู้สูบบุหรี่ เลิกบุหรี่ได้หรือไม่ นอกจากนี้รายงานชิ้นนี้ยังมีข้อมูลใหม่ๆ อีกด้วย แพทย์ใหญ่สหรัฐยังกล่าวด้วยว่า การสูบบุหรี่มีผลกระทบต่อระบบภูมิต้านทานในร่างกายทำให้ผู้สูบบุหรี่ติดเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น และสำหรับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ รายงานชิ้นใหม่นี้ชี้ว่าเเม้คุณไม่สูบบุหรี่แต่ก็มีโอกาสเสี่ยงสูงขึ้นต่อการเกิดโรคหลอดเลือดในสมองอุดตันจากสารพิษในควันบุหรี่ที่มาจากผู้สูบบุหรี่ที่อยู่ใกล้ชิดรายงานผลการวิจัยชิ้นล่าสุดจากรักษาการแพทย์ใหญ่สหรัฐนี้ ยังชี้ถึงผลเสียอันตรายต่อทารกในครรภ์ด้วยโดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ที่สูบบุหรี่ ทารกมีโอกาสสูงที่จะเป็นโรคปากแหว่งและเพดานโหว่ นอกจากนี้สารพิษในควันบุหรี่ยังมีผลเสียอย่างถาวรต่อการพัฒนาทางสมองของทารกในครรภ์ รักษาการแพทย์ใหญ่สหรัฐชี้ว่าอยากให้ราคาบุหรี่สูงขึ้น มีการรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้น เพิ่มการบริการช่วยเหลือผู้ต้องการเลิกบุหรี่และเน้นการป้องกันไม่ให้เด็กวัยรุ่นสูบบุหรี่