Tag: เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

  • ระวัง…โรคปอดบวมในช่วงที่อากาศเย็นชื้น

    ระวัง…โรคปอดบวมในช่วงที่อากาศเย็นชื้น

    ระวัง…โรคปอดบวมในช่วงที่อากาศเย็นชื้น ระยะปลายฝนต้นหนาวที่ยังมีสายฝนชุ่มฉ่ำ กับอากาศที่เริ่ม ๆ จะเย็นลงนั้น ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ เด็ก คนชรา หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่ ควรรักษาและระมัดระวังสุขภาพให้มาก เพราะช่วงเวลาที่อากาศชื้นและเย็นเช่นนั้นอาจมีโอกาสเสี่ยงให้คุณติดเชื้อโรคปอดบวมและโรคในระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ ได้ง่าย โดยโรคปอดบวมนี้มีความอันตรายร้ายแรงมาก และยังเป็นโรคที่คร่าชีวิตเด็กเล็กเป็นอันดับหนึ่งของโลกมากว่าห้าปี ซึ่งเกือบทั้งหมดเกิดจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส ซึ่งปัจจัยความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับ – อาการของโรคว่าเป็นแบบเฉียบพลัน หรือค่อยเป็นค่อยไป – อายุของผู้ป่วย หากเป็นเด็กหรือคนชราและมีร่างกายอ่อนแอก็อาจเป็นอันตรายรุนแรงขึ้น – ชนิดของเชื้อ หากพบว่าเป็นเชื้อนิวโมคอกคัสก็จะยิ่งมีความรุนแรง – สภาวะของผู้ป่วย หากเป็นโรคเรื้อรังหรือมีความอ่อนแอก็อาจอันตรายถึงชีวิตได้ โดยอาการในเบื้องต้นของผู้ป่วยนั้นจะมีไข้สูง หอบ ไอลึก หายใจเร็วและลำบาก หากเป็นเด็กเล็กยิ่งต้องดูแลใกล้ชิด ด้วยการเปิดเสื้อสังเกตหน้าอกว่าหายใจแรงจนชายโครงบุ๋มหรือหายใจมีเสียงวี๊ดหรือยัง ถ้าพบว่ามีอาการดังกล่าวรีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน ในด้านของการรักษาโรคปอดบวมนั้นขึ้นอยู่ชนิดของเชื้อโรค หากเกิดจากเชื้อไวรัสจะรักษาตามอาการจนกว่าร่างกายจะกำจัดเชื้อได้เอง และต้องระมัดระวังมิให้ไปติดเชื้อโรคอื่นเพราะช่วงนี้ร่างกายจะอ่อนแอ แต่หากเป็นเชื้อนิวโมคอกคัสที่อยู่ในโพรงจมูกและลำคอ ที่เป็นสาเหตุของโรคไซนัสอักเสบ หูน้ำหนวก หากเชื้อนี้เล็ดลอดเข้าสู่กระแสเลือด จะทำให้ตับวาย ไตวาย หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ เกิดการชัก เกร็ง สมองทำงานผิดปกติ ทำให้ปอดหรือหัวใจหยุดทำงานจนกระทั่งเสียชีวิตได้ หากในครอบครัวมีเด็กเล็กหรือคนที่อ่อนแอกำลังไม่สบาย ควรดูแลสุขภาพอย่างใกล้ชิด หากพบสิ่งผิดปกติควรพาไปพบแพทย์โดยด่วน โรคปอดบวมนั้นระยะแรกหรืออาหารไม่รุนแรงแพทย์อาจสั่งยาให้แล้วกลับมาพักผ่อนที่บ้าน และนัดไปดูอาการภายหลัง…

  • ระวังเชื้อสายพันธุ์ใหม่ “สเตรปโตคอกคัส อีไคว”

    ระวังเชื้อสายพันธุ์ใหม่ “สเตรปโตคอกคัส อีไคว”

    ระวังเชื้อสายพันธุ์ใหม่ “สเตรปโตคอกคัส อีไคว” เชื้อแบคทีเรียชื่อแปลก ๆ นี้เป็นเชื้อโรคชนิดใหม่ค่ะ ชื่อว่า เชื้อสเตรปโตคอกคัส อีไคว เป็นเชื้อในกลุ่มสเตรปโตคอกคัส กลุ่มซี สามารถเกิดโรคได้ทั้งในคนและในสัตว์ และเป็นโรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คนเท่านั้น ยังไม่มีปรากฏการติดจากคนสู่คนแต่อย่างใด ซึ่งการตรวจพบครั้งแรกนั้นพบที่จังหวัดลำปาง เชื้อนี้สามารถติดต่อสู่คนได้สองทางก็คือ จากการกินเนื้อสัตว์ที่ติดเชื้อนี้อยู่ และการสัมผัสกับชั้อที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมเข้าสู่เนื้อเยื่ออ่อนเช่น ตา ปาก จมูก หรือจากรอยถลอก บาดแผล เมื่อได้รับเชื้อแล้วจะทำให้เกิดอาการ เช่น คออักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ข้ออักเสบ หรือเกิดภาวะอักเสบแทรกซ้อนเป็นไตอักเสบได้ดวย ผู้ที่มีอาการติดเชื้อรุนแรงมาก อาจถึงกับเสียชีวิตได้เลยทีเดียว เชื้อนี้นั้นเชื่อว่าได้กระจายตัวอยู่ทั่วไปในจังหวัดลำปาง และอาจมีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากโรคนี้เกิดขึ้นได้อีก เพื่อเป็นการป้องกันระวังไว้ก่อน ผู้ที่จะเดินทางผ่านจังหวัดลำปางควรปฏิบัติตัวดังนี้ค่ะ – ทานแต่อาหารที่ปรุงจากเนื้อที่ปรุงสุกด้วยความร้อนเท่านั้น หลีกเลี่ยงอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เช่น แหนม ลาบ ลู่ ต่าง ๆ ฯลฯ รวมไปถึงอาหารที่มีเนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบ จำพวก หมูจุ่ม หมูกระทะ หมูย่างเกาหลี ต้องย่างจนแน่ใจว่าสุกจริง…

  • เนื้อสัตว์ดิบๆ ทำให้คุณเสียชีวิตโดยไม่ทันรู้ตัว

    เนื้อสัตว์ดิบๆ ทำให้คุณเสียชีวิตโดยไม่ทันรู้ตัว

    เนื้อสัตว์ดิบๆ ทำให้คุณเสียชีวิตโดยไม่ทันรู้ตัว แทบทุกภาคของประเทศไทย ต่างก็มีอาหารประจำภาคที่นำเอาเนื้อสัตว์ดิบ ๆ มาทำเป็นอาหารทั้งนั้น นัยว่าอร่อยถูกปากกว่าเนื้อสัตว์ที่ปรุงจนสุก เช่น ลาบหรือหลู้ทางภาคเหนือมักนิยมใช้เนื้อหมูปนเลือดสด หรือเนื้อวัว เนื้อควายมาปรุงทาน เพราะมีรสอร่อยกว่า ทั้งที่ความจริงแล้วอาหารแบบนี้เสี่ยงต่ออันตรายอย่างมาก เพราะในเนื้อดิบ ๆ นั้นมีเชื้อแบคทีเรียและพยาธิอื่น ๆ ปะปนอยู่มาก ดังที่มีข่าวการเสียชีวิตจากการทานของดิบ ๆ อยู่เนือง ๆ เพราะมีคนที่มักเข้าใจผิดเอาความอร่อยเพียงไม่กี่มื้อแลกกับชีวิตของตัวเองมากนักต่อนักแล้วนั่นเอง เนื้อสัตว์ดิบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นหมู วัว ควาย นก สัตว์ป่าต่าง ๆ รวมไปถึงปลาน้ำจืด กุ้ง ปลาดิบ อาหารหมักดองพวก แหนม ปลาส้ม ปลาจ่อม อาหารทะเลสุก ๆ ดิบ ๆ ทำให้เกิดความเสี่ยงการเกิดโรคภัยต่อร่างกายนับไม่ถ้วน ทั้งโรคจากพยาธิที่ปนเปื้อนในเนื้อสัตว์ พยาธิใบไม้ตับ พยาธิขึ้นสมอง มะเร็งท่อน้ำดี เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ที่ทำให้มีไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน หูดับ ตาบอด ชัก เป็นอัมพาต บางอาจก็อาจทำให้เยื่อหุ้มหัวใจ…

  • ดูแลลูก ๆ ให้ห่างไกลจากโรคหูอักเสบในฤดูฝนนี้

    ดูแลลูก ๆ ให้ห่างไกลจากโรคหูอักเสบในฤดูฝนนี้

    ดูแลลูก ๆ ให้ห่างไกลจากโรคหูอักเสบในฤดูฝนนี้ ในช่วงหน้าฝนจะเป็นฤดูที่เด็ก ๆ มักมีความเสี่ยงเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบมากกว่าฤดูอื่นของประเทศไทย ซึ่งมักมาพร้อมกับโรคหวัดในหน้าฝน  หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจทำให้ลุกลามจนกลายเป็นโรคหูหนวกได้ในอนาคต  กลุ่มที่น่าเป็นห่วงก็คือเด็กที่อายุน้อยกว่า 3 ขวบ จากสถิติแล้วกว่าร้อยละ 80 นั้นเคยเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต ซึ่งสาเหตุของโรคหูชั้นกลางอักเสบนี้เกิดจากการติดเชื้ไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย แล้วเกิดการอักเสบและบวมแดงของแก้วหู  จนเกิดเป็นน้ำหรือหนองในเยื่อแก้วหู  บางรายที่รุนแรงก็ทำให้เยื่อแก้วหูฉีกขาดได้  เด็กที่มีความเสี่ยงมากนอกจากจะเป็นเด็กที่อายุน้อยกว่า 3 ขวบแล้ว ยังเป็นเด็กที่อยู่ในโรงเรียนอนุบาล หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก รวมไปถึงเด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้ ไม่แข็งแรง ป่วยง่าย ติดเชื้อโรคหวัด คออักเสบ หรือโพรงจมูกอักเสบมาจากเพื่อน ๆ  ช่วงที่ติดต่อกันได้ง่ายก็คือหน้าฝน ที่ทำให้เยื่อบุในท่อยูสเตเชี่ยนที่เชื่อมต่อระหว่างูไปยังคอและโพรงจมูกเกิดการบวมและคั่งน้ำ  ทำให้เกิดแรงดันในหูมากขึ้น จนเชื้อแพร่กระจายเข้าสู่หูชั้นกลางได้ง่ายขึ้นนั่นเอง ส่วนมากอาการเหล่านี้จะดีขึ้นในระยะไม่เกิน 5 วัน  แต่ในรายที่รุนแรงเชื้ออาจเข้าไปยังสมองทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือฝีในสมอง  ซึ่งนอกจากนี้หากเชื้อพลัดหลงเข้าไปในกระแสเลือดยังทำให้เกิดโรคติดเชื้อในกระแสเลือดได้อีก  หากลุกลามไปยังปอดก็ทำให้ปอดอักเสบรุนแรงได้  ซึ่งการรักษาจะยิ่งยุ่งยากมากขึ้นและเด็กบางรายก็มีโอกาสเสียชีวิตด้วย การป้องการเชื้อเหล่านี้เป็นเรื่องที่ผู้ปกครองและคุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจให้มาก  การป้องกันตั้งแต่ทารกก็คือให้ลูกกินนมแม่เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง  ทานอาหารที่เหมาะสมกับภัย และเสริมภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดวัคซีนให้ครบ  รวมไปถึงวัคซีนไอพีดีพลัสปอด-หูอักเสบ  ซึ่งช่วยป้องกันโรครุนแรงอันกได้แก่ โรคไอพีดี ปอดบวม โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคติดเชื้อในกระแสเลือดแล้วยังช่วยป้องกันการเกิดโรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็กเล็กด้วย สำหรับในฤดูฝนนี้คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเด็ก…