Tag: เมาแล้วขับ

  • อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการดื่มสุรา

    อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการดื่มสุรา

    อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการดื่มสุรา กว่าครึ่งของการตายจากอุบัติเหตุที่เกิดบนท้องถนนนั้น เกิดจากผู้ขับขี่เมาสุรา นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุในเกิดอุบัติเหตุตามสถานที่ต่าง ๆ ทั้งที่บ้าน ที่ทำงานและที่สาธารณะอื่น ๆ อีกด้วย ในผู้ที่ดื่มสุราจนมีระดับของแอลกอฮอล์ในเลือดจะมีอัตราการเสี่ยงอุบัติเหตุสูงขึ้น และหากดื่มจนมีอัตราแอลกอฮอล์สูงขึ้นไปถึง 80 และ 150 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์แล้ว ก็จะมีอัตราความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุสูงขึ้นไปถึง 2-3 เท่าและ 25-50 เท่าของคนที่ไม่ดื่มสุราเลยทีเดียว ในระหว่างการเกิดอุบัติเหตุนั้น ผู้ดื่มสุราจะแสดงพฤติกรรมออกมาก็คือ ก่อนเกิดเหตุสมองของผู้ดื่มจะสั่งการได้ช้า และตัดสินใจหลบอันตรายได้ช้ากว่าคนปกติ ขาดความยั้งคิดไม่คำนึงถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น ส่วนคนที่เกิดเหตุไปแล้ว มักจะไม่รู้สึกตัวในระหว่างการช่วยเหลือตนเอง ส่วนหลังเกิดเหตุก็มักจะหลบหนีหรือซ่อนตัว หรือมาหาแพทย์ช้ากว่าคนอื่น ๆ คงต้องย้ำเตือนกันอีกครั้งว่าผู้ที่ต้องการดื่มสุรานั้น ควรหลีกเลี่ยงหากจำเป็นต้องขับขี่ยวดยานพาหนะ หากจำเป็นต้องดื่มก็ไม่ควรขับเอง แต่ควรให้เพื่อนที่ไม่ดื่มช่วยขับไปส่งดีกว่า หรือนอนค้างที่บ้านเพื่อนเลย ตลอดจนใช้บริการรถสาธารณะแทนจะปลอดภัยกว่ามาก สุรานั้นแม้จะให้ความสนุก ความสำราญในขณะที่ดื่ม แต่ก็เป็นพิษเป็นภัยในภายหลัง เสียสติปัญญา ทรัพย์สิน สุขภาพ บุคลิกภาพ ทางที่ดี ควรหลีกเลี่ยงการดื่มไปเลยจะดีกว่านะคะ

  • หลับใน.. ตายง่ายกว่าเมาแล้วขับ

    หลับใน.. ตายง่ายกว่าเมาแล้วขับ

    หลับใน.. ตายง่ายกว่าเมาแล้วขับ เพราะปัจจุบันยังไม่มีมาตรการทางกฎหมายใดมาบังคับใช้ได้ว่า คนง่วงไม่สามารถขับรถได้ อุบัติเหตุจากการหลับในจึงยังเกิดขึ้นอยู่เสมอ มากกว่าเมาแล้วขับเสียด้วยซ้ำไป ผู้ที่มีอาการหลับในนั้นนอกจากจะเกิดจาการอดนอนหรือนอนไม่พอแล้วยังเกิดจาก.. – ป่วยไข้ไม่สบาย กำลังกินยาแก้หวัด ยาลดน้ำมูกหรือยาแก้แพ้อยู่ อาจเสี่ยงต่อการหลับในขณะขับรถได้ อาการวูบหลับแค่ 3 วินาทีนั้นอาจเกิดอุบัติเหตุร้างแรงที่ไม่คาดคิดได้ เพราะรถพุ่งไปข้างหน้าด้วยความเร็วอย่างปราศจากความควบคุม อาจประสานงากับรถคันอื่น เกยข้างทาง ชนต้นไม้หรือปีนเกาะไปชนกับอีกฝั่ง รวมไปถึงขับตกเหวได้เลยทีเดียว ฯลฯ คนที่อ่อนเพลียหรืออดนอนมักจะง่วงมากในตอนบ่าย หลังอาหารเที่ยง หรือหลังเที่ยงคืน ดังนั้นช่วงเวลาเหล่านี้จึงมีอุบัติเหตุบนท้องถนนบ่อยครั้งที่สุด – เมาแล้วง่วง แล้วก็ขับรถอีก ก็อันตรายอย่างมาก เพราะประสาทสัมผัสทุกอย่างจะช้าลงไปหมด สมองตื้อทำให้การสั่งการไปยังอวัยวะต่าง ๆ ช้าลง หากเกิดภาวะคับขันทำให้การตัดสินใจช้าและผิดพลาดได้ การขับรถทางไกลจึงควรเตรียมตัวเองให้พร้อมด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ งดเครื่องมึนเมาทั้งหลาย – ผู้ที่อ้วนน้ำหนักเกิน หรือนอนกรนจนหลับไม่สนิทก็ไม่ควรขับรถทางไกลคนเดียวโดยลำพัง หากมีคนนั่งไปด้วยควรชวนคุยเพื่อไม่ให้ง่วงหรือเปลี่ยนกันขับ หากเริ่มรู้สึกง่วงแล้วให้ลองผ้าเช็ดเช็ดหน้า เช็ดลำคอ หน้าอก หรือจิบน้ำเย็น ๆ หรืออมน้ำเข็งก็จะทำให้สดชื่นขึ้น ลองหาลูกอมรสชาติเปรี้ยว ๆ ซ่า ๆ หรือเผ็ด ๆ จัด ๆ อมไว้ก็ช่วยให้ตื่นตัวได้เช่นกัน…