Tag: เชื้อไวรัส

  • สาว ๆ อย่าเพิ่งตกใจ หากเป็นเริมที่อวัยวะเพศ

    สาว ๆ อย่าเพิ่งตกใจ หากเป็นเริมที่อวัยวะเพศ

    สาว ๆ อย่าเพิ่งตกใจ หากเป็นเริมที่อวัยวะเพศ โรคเริม คือ โรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส แล้วทำให้ผิวหนังมีอาการบวมเป็นตุ่มน้ำและอักเสบ หลังจากนั้นเชื้อจะไปแอบอยู่ตามปมประสาท เมื่อใดที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำลง หรือถูกกระตุ้นจากปัจจัยภายนอก ไม่ว่าจะเป็น ความเครียด แสงแดด หรือรอบเดือนก็อาจจะกลับมาเป็นซ้ำได้อีก คนเรากว่าร้อยละ 80-90 ต่างก็เคยได้รับเชื้อเริมเข้าสู่ร่างกายกันทั้งนั้น แต่อาจไม่ได้แสดงอาการของโรคในทันทีเพราะยังมีภูมิคุ้มกันแข็งแรงอยู่ แล้วโรคเริมนี่ก็สามารถเกิดได้ทั่วร่างกายด้วย จะมีอาการเจ็บ ๆ ตึง ๆ คัน ๆ ก่อน ต่อมาภายในหนึ่งวันจะมีตุ่มน้ำพองใส ๆ ขึ้น แล้วแตกออกเป็นแผลตื้น ๆ ตกสะเก็ดแล้วก็หายไป พบบ่อยบริเวณริมฝีปาก และอวัยวะเพศ จัดได้ว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง โรคนี้สามารถเป็นที่ส่วนใดของร่างกายก็ได้ทั้งสิ้น และมักเป็นซ้ำที่เดินด้วย เป็นเชื้อที่ไม่สามารถขับออกไปจากร่างกายได้ เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้นั้น มีอยู่ด้วยกันสองชนิดก็คือ – Herpes simplex Virus 1 มักเกิดอาการบริเวณปากและผิวหนังเหนือสะดือขึ้นไป ไม่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่ติดต่อกันได้ทางน้ำลายผ่านการจูบ การดื่มน้ำแก้วเดียวกัน ใช้ลิปสติกแท่งเดียวกัน หรือกินข้าวไม่ใช้ช้อนกลางก็ติดต่อได้ – Herpes simplex…

  • ป้องกันโรคตาแดงหรือโรคเยื่อตาขาวอักเสบจากเชื้อไวรัส

    ป้องกันโรคตาแดงหรือโรคเยื่อตาขาวอักเสบจากเชื้อไวรัส

    ป้องกันโรคตาแดงหรือโรคเยื่อตาขาวอักเสบจากเชื้อไวรัส โรคตาแดงหรือโรคเยื่อตาขาวอักเสบจากไวรัส นั้นส่วนใหญ่มักจะมีอาการที่ไม่รุนแรงและสามารถหายได้เองภายในระยะเวลา 1-2 อาทิตย์ จะมีก็ส่วนน้อยเท่านั้นที่มีอาการรุนแรงหรือมีภาวะแทรกซ้อน มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสอะดีโน และกลุ่มเชื้อไวรัสพิคอร์นา ติดต่อได้ด้วยการสัมผัสกับของใช้อื่น ๆ ที่มีเชื้อไวรัสนี้อยู่ ไม่ว่าจะเป็นแว่นตา แก้วน้ำ จานชามช้อน ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า หมอน เครื่องนอน สบู่ ขันน้ำ ลูกบิดประตู มือจับตู้เย็น โทรศัพท์ ฯลฯ หรืออาจเกิดจากการเล่นน้ำในสระที่มีเชื้อปนเปื้อนจากผู้ป่วยที่ลงเล่นน้ำ รวมไปถึงการติดต่อจากผู้ป่วยที่มีอาการไอ เจ็บคอ มาจามรดหน้าหรือสัมผัสกับน้ำลายหรือเสมหะของผู้ป่วย มีระยะฟักตัวประมาณ 5-12 วัน แต่มีบางชนิดที่ทำให้เยื่อตาขาวอักเสบมีเลือดออกใต้ตา จะมีระยะฟักตัวแค่ 1-2 วันเท่านั้น อาการนั้นก็จะมีอาการตาแดง เคืองตาเหมือนมีผงเข้าตา กลัวแสง น้ำตาไหล มีขี้ตาสีขาว หนังตาบวม บางรายอาจมีตาแดงเป็นปื้นเพราะเลือดออกที่ใต้ตาขาว บางรายมีไข้ เจ็บคอ ปวดเมื่อยเนื้อตัวเหมือนเป็นไข้ โดยจะเริ่มมีอาการที่ข้างใดข้างหนึ่งก่อนแล้วลามมาอีกข้างภายใน 2-3 วัน ส่วนมากอาการจะทุเลาในไม่กี่วันและหายได้เองใน 1-2 วัน ในส่วนของการดูแลตัวเองควรปฏิบัติตัวดังนี้ – ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่าตรากตรำทำงานหนัก…

  • ระวัง…โรคปอดบวมในช่วงที่อากาศเย็นชื้น

    ระวัง…โรคปอดบวมในช่วงที่อากาศเย็นชื้น

    ระวัง…โรคปอดบวมในช่วงที่อากาศเย็นชื้น ระยะปลายฝนต้นหนาวที่ยังมีสายฝนชุ่มฉ่ำ กับอากาศที่เริ่ม ๆ จะเย็นลงนั้น ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ เด็ก คนชรา หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่ ควรรักษาและระมัดระวังสุขภาพให้มาก เพราะช่วงเวลาที่อากาศชื้นและเย็นเช่นนั้นอาจมีโอกาสเสี่ยงให้คุณติดเชื้อโรคปอดบวมและโรคในระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ ได้ง่าย โดยโรคปอดบวมนี้มีความอันตรายร้ายแรงมาก และยังเป็นโรคที่คร่าชีวิตเด็กเล็กเป็นอันดับหนึ่งของโลกมากว่าห้าปี ซึ่งเกือบทั้งหมดเกิดจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส ซึ่งปัจจัยความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับ – อาการของโรคว่าเป็นแบบเฉียบพลัน หรือค่อยเป็นค่อยไป – อายุของผู้ป่วย หากเป็นเด็กหรือคนชราและมีร่างกายอ่อนแอก็อาจเป็นอันตรายรุนแรงขึ้น – ชนิดของเชื้อ หากพบว่าเป็นเชื้อนิวโมคอกคัสก็จะยิ่งมีความรุนแรง – สภาวะของผู้ป่วย หากเป็นโรคเรื้อรังหรือมีความอ่อนแอก็อาจอันตรายถึงชีวิตได้ โดยอาการในเบื้องต้นของผู้ป่วยนั้นจะมีไข้สูง หอบ ไอลึก หายใจเร็วและลำบาก หากเป็นเด็กเล็กยิ่งต้องดูแลใกล้ชิด ด้วยการเปิดเสื้อสังเกตหน้าอกว่าหายใจแรงจนชายโครงบุ๋มหรือหายใจมีเสียงวี๊ดหรือยัง ถ้าพบว่ามีอาการดังกล่าวรีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน ในด้านของการรักษาโรคปอดบวมนั้นขึ้นอยู่ชนิดของเชื้อโรค หากเกิดจากเชื้อไวรัสจะรักษาตามอาการจนกว่าร่างกายจะกำจัดเชื้อได้เอง และต้องระมัดระวังมิให้ไปติดเชื้อโรคอื่นเพราะช่วงนี้ร่างกายจะอ่อนแอ แต่หากเป็นเชื้อนิวโมคอกคัสที่อยู่ในโพรงจมูกและลำคอ ที่เป็นสาเหตุของโรคไซนัสอักเสบ หูน้ำหนวก หากเชื้อนี้เล็ดลอดเข้าสู่กระแสเลือด จะทำให้ตับวาย ไตวาย หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ เกิดการชัก เกร็ง สมองทำงานผิดปกติ ทำให้ปอดหรือหัวใจหยุดทำงานจนกระทั่งเสียชีวิตได้ หากในครอบครัวมีเด็กเล็กหรือคนที่อ่อนแอกำลังไม่สบาย ควรดูแลสุขภาพอย่างใกล้ชิด หากพบสิ่งผิดปกติควรพาไปพบแพทย์โดยด่วน โรคปอดบวมนั้นระยะแรกหรืออาหารไม่รุนแรงแพทย์อาจสั่งยาให้แล้วกลับมาพักผ่อนที่บ้าน และนัดไปดูอาการภายหลัง…

  • ป้องกันโรคปอดบวมในเด็ก…ในช่วงหน้าฝน

    ป้องกันโรคปอดบวมในเด็ก…ในช่วงหน้าฝน

    ป้องกันโรคปอดบวมในเด็ก…ในช่วงหน้าฝน โรคปอดบวมเป็นโรคติดเชื้อร้ายแรงเฉียบพลัน ที่รุนแรงและมีอันตรายถึงตายได้เลยในเด็กเล็ก ๆ โรคนี้นั้นโดยประมาณแล้วองค์การอนามัยโลกระบุว่า ทุก ๆ นาทีจะมีเด็กอายุต่ำกว่าห้าขวบเสียชีวิตด้วยโรคปอดบวมอย่างน้อยหนึ่งคน จึงทำให้เด็กเล็กทั่วโลกเสียชีวิตด้วยโรคนี้เฉลี่ยปีละประมาณสองล้านคนแลยทีเดียว โรคปอดบวมนี้เกิดจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียค่ะ มักจะพบในผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ มีภูมิต้านทานโรคต่ำ ไม่ว่าจะเป็น เด็กเล็กอายุน้อยกว่าห้าขวบ, ทารกแรกเกิดไม่แข็งแรง, ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี, ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ รวมไปถึงผู้สูงอายุด้วย โดยระยะที่ระบาดมากที่สุดก็คือช่วงหน้าฝนตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายนของทุกปี โรคนี้ติดต่อกันได้ด้วยการหายใจเอาเชื้อที่ฟุ้งอยู่ในอากาศเข้าสู่ปอด, การไอหรือจามรดกัน, การคลุกคลีกับผู้ป่วยโรคนี้อยู่แล้ว, การสำลักสิ่งแปลกปลอมที่มีเชื้อโรคเข้าไปในจมูกและลำคอ เช่น เด็กที่สำลักน้ำขณะเล่นน้ำก็สามารถเป็นโรคปอดบวมได้ด้วย อาการของโรคนี้จะมีไข้สูง ไอหนัก ไอมาก หายใจเร็ว หรือหายใจลำมาก และถ้าอาการหนักจะหอบถี่ หายใจลำบากหรือมีเสียงดังวี๊ด ๆ หรือหายใจแรงหอบจนซี่โครงบุ๋มตัว เล็บมือเล็บเท้า ริมฝีปากเขียวคล้ำ ซึมหรือกระสับกระส่าย หากมีอาการเช่นนี้แล้วควรรีบน้ำผู้ป่วยไปพบแพทย์โดยด่วนเพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ สำหรับโรคนี้ที่มีความอันตรายมากสามารถป้องกันได้โดย – รักษาสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนนอนหลับอย่างสม่ำเสมอ – กินอาหารที่ประโยชน์ และออกกำลังกายบ่อย ๆ – ไม่ควรพาเด็กไปในที่แออัดหรือมีคนมาก รวมทั้งไม่ควรให้เด็กอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย – สำหรับเด็กที่เลี้ยงในห้องแอร์ควรสวมเสื้อผ้าให้อบอุ่นไว้มาก ๆ – เด็กเล็กควรดื่มน้ำนมแม่เพื่อให้ได้รับภูมิต้านทานให้เต็มที่…

  • ระวังโรคมือ เท้า ปาก ระบาดหนักในเด็ก

    ระวังโรคมือ เท้า ปาก ระบาดหนักในเด็ก

    ระวังโรคมือ เท้า ปาก ระบาดหนักในเด็ก โรคมือ เท้า ปาก นั้นเป็นโรคที่ติดจากเชื้อไวรัสหลายชนิด สามารถติดต่อได้จากคนสู่คนเท่านั้น (เป็นคนละชนิดกับโรคปากเท้าเปื่อยในสัตว์กีบ พวก วัว ควาย หมู นะคะ) โดยโรคนี้ระบาดหนักมากในช่วงหน้าฝนที่มีอาการเย็นชื้น ผู้ป่วยมากจะเป็นเด็กทารก และเด็กที่อายุน้อยกว่าห้าขวบ ส่วนเด็กที่อายุไม่เกินสิบขวบจะพบได้น้อยลงแล้ว และในผู้ใหญ่มักจะมีภูมิคุ้มกันแล้วเพราะได้รับเชื้อนี้มาตั้งแต่เด็ก การติดเชื้อของโรคมือ เท้า ปากนั้น ส่วนมากมักติดจากการนำสิ่งของเข้าปาก หรือจากอาหารการกิน ที่ปนเปื้อนเชื้อจากน้ำลาย น้ำมูก น้ำเลือดน้ำหนองจากแผล หรืออุจจาระ ปัสสาวะของผู้ที่ป่วย บางครั้งแค่จามไอรดกันก็สามารถติดต่อกันได้แล้ว การแพร่เชื้อก็ง่ายมากสามารถแพร่ได้ตั้งแต่อาทิตย์แรกที่รับเชื้อ ต่อให้หายแล้วก็ยังสามารถแพร่เชื้อได้อีกถึง หกสัปดาห์ เพราะเชื้อยังถูกขับออกมาทางอุจจาระอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อนั้นจะเริ่มแสดงอาการตั้งแต่ 3-5 วันแรกเลย โดยอาการที่เห็นได้ก็คือ มีไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ต่อจากนั้นอีก 1-2 วัน จึงเริ่มมีตุ่มแดงในปาก ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม ฝ่ามือ นิ้วมือและนิ้วเท้า (ซึ่งเป็นที่มาของชื่อโรค มือ เท้า ปาก) และยังสามารถพบผื่นได้บริเวณก้น…

  • ป้องกันไข้เลือดออกอย่างมั่นใจ ต้องใช้ 4ป.

    ป้องกันไข้เลือดออกอย่างมั่นใจ ต้องใช้ 4ป.

    ป้องกันไข้เลือดออกอย่างมั่นใจ ต้องใช้ 4ป. เพื่อสภาวะอากาศของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป จึงทำให้วงจรของยุงลายซึ่งเป็นพาหะสำคัญของโรคไข้เลือดออก มีระยะที่สั้นลง นั้นจึงทำให้แพร่พันธุ์ได้เร็วมากขึ้น โอกาสในการแพร่เชื้อของยุงก็มากขึ้นไปด้วย จะเห็นได้ว่าเมื่อไรที่ประเทศไทยเข้าสู่หน้าฝน ไข้เลือดออกก็ระบาดอย่างหนัก หากผู้ติดเชื้อเป็นเด็กอายุ 5-14 ปีแล้วล่ะก็ มีความเสี่ยงมากที่จะเสียชีวิต จะเห็นได้ว่าปีหลัง ๆ ที่ผ่านมามีผู้ป่วยเป็นแสนคน และเสียชีวิตกันเป็นหลักพัน และขยายความเสี่ยงออกมาสู่เด็กโตและวัยผู้ใหญ่ก็ป่วยด้วยไข้เลือดออกกันมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งการจัดการกับต้นกำเนิดของยุงลายพาหะของโรคไข้เลือดออกนั้น จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนในชุมชน ให้ลงมือช่วยกันอย่างเอาจริงเอาจังและมีความต่อเนื่อง จึงจะสามารถควบคุมการระบาดได้ โดยอาศัยมาตรการ 4 ป. ดังต่อไปนี้ 1. ปิด คือการใช้ฝาไปปิดภาชนะเก็บน้ำต่าง ๆ ให้หมด ไม่ว่าจะเป็นกระถางต้นไม้ อ่างน้ำ โอ่ง แทงค์เก็บน้ำ ฯลฯ 2. เปลี่ยน คือการหมั่นเปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม้ หรือจานรองขาตู้กับข้าว โดยการหมั่นเปลี่ยนทุกอาทิตย์ หรือหยอดเกลือหรือผสมน้ำส้มสายชูลงในน้ำดังกล่าว ป้องกันการวางไข่ของยุงลายได้ 3. ปล่อย ก็คือการปล่อยปลาหางนกยูง ปลาสอด ลงไปในอ่างบัว บ่อน้ำ โอ่งน้ำเพื่อกินลูกน้ำเป็นอาหาร ถือเป็นการตัดตอนการแพร่พันธุ์ของยุงลายไปได้ 4. ปรับปรุง บ้านทุกหลังในหมู่บ้านหรือชุมชน…

  • ดูแลเด็ก ๆ ให้ห่างไกลโรคหวัดลงกระเพาะ

    ดูแลเด็ก ๆ ให้ห่างไกลโรคหวัดลงกระเพาะ

    ดูแลเด็ก ๆ ให้ห่างไกลโรคหวัดลงกระเพาะ โรคไวรัสโรต้า หรือโรคหวัดลงกระเพาะนั้น มักจะทำให้เด็กเล็ก ๆ ที่มีอายุน้อยกว่าห้าขวบ มีอาการไข้สูง ท้องเสีย ปวดท้อง ถ่ายเป็นน้ำ จนทำให้ร่างกายขาดน้ำและเสียชีวิตจากโรคนี้กันได้ปีหนึ่งเป็นแสนรายจากทั่วโลกเลยทีเดียว  และในเมืองไทยก็มีเด็กที่เสียชีวิตจากเชื้อนี้เป็นจำนวนมากเช่นกัน  โดยมากเด็กมักจะติดโรคนี้ในช่วงที่มีอากาศเย็น   โรคนี้มีชื่อเรียกกันว่า หวัดลงกระเพาะ หรือ ไวรัสลงลำไส้ เพราะว่าในผู้ป่วยบางรายนั้นจะมีแสดงอาการคล้ายไข้หวัดนำมาก่อนนั่นเอง โรคนี้นั้นพบได้มากที่สุดในเด็กทารกและเด็กเล็ก ๆ ที่อายุน้อยกว่าสองขวบ  หากอายุมากกว่านี้ก็จะพบได้น้อยลง  ส่วนในวัยผู้ใหญ่หรือเด็กโตแล้วนั้นมักจะมีภูมิคุ้มกันโรค  เรียกได้ว่าเด็กเล็ก ๆ ที่เข้าโรงพยาบาลเพราะอาการท้องเสียนั้นเกือบครึ่งนั้นมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสโรต้า นี้ได้เลย  และเรียกได้ว่าเด็กทารกแทบทุกคนนั้นเคยติดเชื้อนี้อย่างน้อยก็หนึ่งครั้งในชีวิต    เชื้อนี้ติดต่อกันได้ง่ายมากเพราะแพร่กระจายได้จากน้ำมูก น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระที่ปนเปื้อนอยู่กับ พื้นบ้าน ของใช้ สิ่งของ ของเล่นต่าง ๆ และเชื้อนี้ก็ยังแข็งแรงมากพอที่จะอยู่ได้เป็นวัน ๆ  เมื่อเด็กได้รับเชื้อเข้าไปก็จะมีระยะเวลาฟักเชื้อที่ค่อนข้างน้อยคือเพียงแค่ 1-2 วันเท่านั้น  แล้วจึงแสดงอาการปวดท้อง อาเจียน ไข้ขึ้นสูง  จนเกิดอาการชัก ร่วมกันถ่ายเหลว  เด็กบางคนได้รับเชื้อรุนแรงมาก อาจถ่ายได้ถึงวันละ 20 ครั้งเลยทีเดียว ในปัจจุบันนี้ยังไม่มียาใดที่รักษาเชื้อไวรัสโรต้านี้ได้  ดังนั้นหากเด็ก ๆ…

  • ดูแลลูก ๆ ให้ห่างไกลจากโรคหูอักเสบในฤดูฝนนี้

    ดูแลลูก ๆ ให้ห่างไกลจากโรคหูอักเสบในฤดูฝนนี้

    ดูแลลูก ๆ ให้ห่างไกลจากโรคหูอักเสบในฤดูฝนนี้ ในช่วงหน้าฝนจะเป็นฤดูที่เด็ก ๆ มักมีความเสี่ยงเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบมากกว่าฤดูอื่นของประเทศไทย ซึ่งมักมาพร้อมกับโรคหวัดในหน้าฝน  หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจทำให้ลุกลามจนกลายเป็นโรคหูหนวกได้ในอนาคต  กลุ่มที่น่าเป็นห่วงก็คือเด็กที่อายุน้อยกว่า 3 ขวบ จากสถิติแล้วกว่าร้อยละ 80 นั้นเคยเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต ซึ่งสาเหตุของโรคหูชั้นกลางอักเสบนี้เกิดจากการติดเชื้ไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย แล้วเกิดการอักเสบและบวมแดงของแก้วหู  จนเกิดเป็นน้ำหรือหนองในเยื่อแก้วหู  บางรายที่รุนแรงก็ทำให้เยื่อแก้วหูฉีกขาดได้  เด็กที่มีความเสี่ยงมากนอกจากจะเป็นเด็กที่อายุน้อยกว่า 3 ขวบแล้ว ยังเป็นเด็กที่อยู่ในโรงเรียนอนุบาล หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก รวมไปถึงเด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้ ไม่แข็งแรง ป่วยง่าย ติดเชื้อโรคหวัด คออักเสบ หรือโพรงจมูกอักเสบมาจากเพื่อน ๆ  ช่วงที่ติดต่อกันได้ง่ายก็คือหน้าฝน ที่ทำให้เยื่อบุในท่อยูสเตเชี่ยนที่เชื่อมต่อระหว่างูไปยังคอและโพรงจมูกเกิดการบวมและคั่งน้ำ  ทำให้เกิดแรงดันในหูมากขึ้น จนเชื้อแพร่กระจายเข้าสู่หูชั้นกลางได้ง่ายขึ้นนั่นเอง ส่วนมากอาการเหล่านี้จะดีขึ้นในระยะไม่เกิน 5 วัน  แต่ในรายที่รุนแรงเชื้ออาจเข้าไปยังสมองทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือฝีในสมอง  ซึ่งนอกจากนี้หากเชื้อพลัดหลงเข้าไปในกระแสเลือดยังทำให้เกิดโรคติดเชื้อในกระแสเลือดได้อีก  หากลุกลามไปยังปอดก็ทำให้ปอดอักเสบรุนแรงได้  ซึ่งการรักษาจะยิ่งยุ่งยากมากขึ้นและเด็กบางรายก็มีโอกาสเสียชีวิตด้วย การป้องการเชื้อเหล่านี้เป็นเรื่องที่ผู้ปกครองและคุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจให้มาก  การป้องกันตั้งแต่ทารกก็คือให้ลูกกินนมแม่เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง  ทานอาหารที่เหมาะสมกับภัย และเสริมภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดวัคซีนให้ครบ  รวมไปถึงวัคซีนไอพีดีพลัสปอด-หูอักเสบ  ซึ่งช่วยป้องกันโรครุนแรงอันกได้แก่ โรคไอพีดี ปอดบวม โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคติดเชื้อในกระแสเลือดแล้วยังช่วยป้องกันการเกิดโรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็กเล็กด้วย สำหรับในฤดูฝนนี้คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเด็ก…

  • หน้าฝน “ป้องกันยุงเกิด.. อย่าให้ยุงกัด” ลดความเสี่ยงไข้เลือดออก

    หน้าฝน “ป้องกันยุงเกิด.. อย่าให้ยุงกัด” ลดความเสี่ยงไข้เลือดออก

    หน้าฝน “ป้องกันยุงเกิด.. อย่าให้ยุงกัด” ลดความเสี่ยงไข้เลือดออก. ฤดูฝนที่กำลังมาเยือนนี้ มีโรคระบาดที่น่าเป็นห่วงมากสำหรับเด็ก ๆ ก็คือ โรคไข้เลือดออกนั่นเอง เป็นโรคที่มักระบาดในช่วงที่มีฝนตกชุกจนเกิดน้ำขังตามภาชนะและสิ่งของต่าง ๆ ที่รองน้ำเก็บไว้โดยไม่เกิดการหมุนเวียนถ่ายเท ยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรคนี้จึงแพร่พันธุ์เกิดขึ้นได้มากมาย โดยเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของไข้เลือดออกนี้ชื่อว่า “ไวรัสเดงกี่” ที่จะอยู่ในตัวยุงลายที่ไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก แล้วไปกัดคนอื่น ๆ แพร่เชื้อต่อไปเรื่อย ๆ เพราะยุงตัวเมียที่พกพาไวรัสไปด้วยนี้จะมีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 4-6 อาทิตย์ เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อไวรัสเดงกี่นี้ไปแล้วจะใช้เวลาฟักตัวประมาณ 2-7 วัน ผู้ป่วยจึงมักมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน หน้าแดง ตัวแดง ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร มีผื่นหรือจุดแดงตามลำตัว แขนและขา กับทั้งมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน รวมทั้งอาจมีอาการปวดท้อง เลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล ถ่ายสีดำได้ รวมไปถึงอาจเกิดอาการช็อกได้อีกโดยให้สังเกตว่าแม้ไข้จะลดแล้ว แต่ผู้ป่วยยังมีอาการซึม ตัวเย็น กระสับกระส่ายปวดท้อง อาเจียนหรือหมดสติอยู่ ทั้งหมดนี้อาจเกิดขึ้นได้หากไม่สังเกตอาการและรักษาไม่ทันการ ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรดูแลเด็กๆ และบุตรหลานอย่างใกล้ชิด หากเด็กมีไข้สูงเฉียบพลัน ควรเช็ดตัวลดไข้และให้ยาลดไข้พาราเซตามอลชนิดน้ำเชื่อมเพื่อให้ทานง่าย และใช้ตามขนาดที่กำหนดทุก ๆ 4-6 ชั่วโมง เมื่อไข้ลดแล้วจึงหยุดยา (หลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพรินเพราะอาจทำให้เกิดอาการช็อกรุนแรงได้)…

  • เผยยอดผู้เสียชีวิตจากเชื้อ “อีโบลา” พุ่ง 90 ศพ พบในประเทศมาลีเป็นที่แรก

    เผยยอดผู้เสียชีวิตจากเชื้อ “อีโบลา” พุ่ง 90 ศพ พบในประเทศมาลีเป็นที่แรก

    เผยยอดผู้เสียชีวิตจากเชื้อ “อีโบลา” พุ่ง 90 ศพ พบในประเทศมาลีเป็นที่แรก หน่วยข่าวเอเจนซีส์ และ ASTV ผู้จัดการออนไลน์  เผยยอดผู้เสียชีวิตจากเชื้อมรณะ “อีโบล่า” ในพุ่งทะลุกว่า 90 ศพแล้วในทวีปแอฟริกาตะวันตก ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 5 เมษายน  ซึ่งผู้เสียชีวิตรายแรกนั้นยืนยันว่าเป็นประเทศมาลี  อีกทั้งองค์การแพทย์ไร้พรมแดนยังเปิดเผยในวันเดียวกันอีกว่ามีจำนวนผู้เสียชีวิตจากเชื้อในในประเทศกีนีและไลบีเรียเพิ่มมากกว่า 90 คน ซึ่งในจำนวนนี้เป้นผู้เสียชีวิตในประเทศกินีอยู่ 86 คน  และยังมีแนวโน้มพบผู้เสียชีวิตเพิ่ม จากแถลงการณ์ของรัฐบาลประเทศมาลีที่กรุงบามาโก  ยืนยันผลจาการตรวจสอบในห้องแลปที่สหรัฐอเมริกาว่าพบผู้เสียชีวิตรายแรกเป็นเหยื่อของเชื้อ “อีโบล่า” แล้ว  โดยผู้ที่เสียชวิตนี้ไม่มีการเปิดเผยชื่อเป็นหนึ่งในสามของผู้ที่ติดเชื้อในประเทศมาลี  ซึ่งการระบาดครั้งล่าสุดของไวรัสชนิดนี้ยังไม่มีทางรักษา เกิดขึ้นในป่าลึกของภาคตะวันออกเฉียงใต้ของกินีตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ แล้วจึงระบาดไปยังประเทศข้างเคียงอย่างเซียร์ราลีโอนและประเทศไลบีเรีย และล่าสุดมีรายงานว่าประเทศแกมเบียกักตัวผู้ต้องสงสัยไว้ 2  ว่าอาจเกิดการติดเชื้อไวรัสมรณะนี้ไว้ดูอาการก่อน  นับตั้งพบการระบาดของไวรัสชนิดนี้ตั้งแต่ปี 1976  ในประเทศคองโก ก็พบผู้เสียชีวิตไปแล้วกว่า 1,500 ราย  ไวรัสชนิดนี้นั้นมีอัตราผู้เสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 90 เลยทีเดียว