Tag: เชื้อแบคทีเรีย
-
ดูแลเสื้อผ้าให้แห้งสนิท ป้องกันเชื้อราในหน้าฝน
ดูแลเสื้อผ้าให้แห้งสนิท ป้องกันเชื้อราในหน้าฝน ในช่วงฤดูฝนนั้น ปัญหาที่มักพบเจอได้บ่อย ๆ ในครัวเรือนก็คือ ผ้าที่ซักเอาไว้ยังตากไม่ทันแห้งดี ก็โดนฝนสาดเสียแล้ว ทำให้เกิดปัญหาความอับชื้น กลิ่นอับเหม็นจากเชื้อแบคทีเยก หรือมีเชื้อราขึ้นเสื้อผ้าได้อีกด้วย ซึ่งเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้อาจทำให้อันตรายต่อสุขภาพร่างกายเราได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อที่ผิวหนังส่วนต่าง ๆ การติดเชื้อลุกลามเข้าสู่พื้นที่ในร่มผ้า ฯลฯ วันนี้เราจึงมีเทคนิคในการขจัดกลิ่นอับและเชื้อราเหล่านี้มานำเสนอผู้อ่านกันค่ะ 1. ควรทยอยซักเสื้อผ้าไปเรื่อยๆ อย่าหมกไว้มาก ๆ แล้วซักทีเดียว เพราะจะได้มีพื้นที่ในการตากผ้ามากขึ้น ไม่ต้องแขวนเบียด ๆ กันทำให้ผ้าแห้งช้าลง 2. เลือกใช้ผงซักฟอกหรือน้ำยาปรับผ้านุ่มที่มีส่วนผสมของน้ำยาฆ่าเชื้อหรือขจัดกลิ่นอับชื้นเป็นพิเศษ ในปริมาณที่มากกว่าปกติ 3. หากตากฝนมาจากนอกบ้าน ไม่ควรนำเสื้อผ้าเปียกไปกองสุมในตะกร้า เพราะอาจทำให้ผ้าเกิดกลิ่นอับและมีเชื้อราเกิดขึ้นได้ 4. แกว่งสารส้ม ใส่ผงฟูหรือเบกกิ้งโซดา ในน้ำที่แช่ผ้าไว้ 1 คืน จะช่วยลดกลิ่นอับของเสื้อผ้าได้ 5. ตากผ้าในบริเวณที่โดนแสงแดด มีลมพัดผ่าน และอากาศถ่ายเทได้ดี ไม่ควรตากผ้าในห้องน้ำเพราะมีความชื้นสูง อาจทำให้เป็นเชื้อราได้ หากมีแอร์ก็สามารถนำราวผ้าไปตากบริเวณคอยด์ร้อนของแอร์จะช่วยให้ผ้าแห้งเร็วขึ้นมากด้วย 6. หากซักและตากดีทุกอย่างแล้ว แต่ยังมีกลิ่นอับอยู่ บางทีอาจเกิดจากตู้เสื้อผ้าก็เป็นได้ ให้ทำความสะอาดตู้โดยนำเอาเสื้อผ้าและของทุกอย่างออกมาให้หมด แล้วใช้น้ำยาทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อโรคเช็ดให้ทั่ว แล้วเปิดทิ้งไว้ให้ระบายอากาศสักหนึ่งวัน…
-
ระวัง…โรคปอดบวมในช่วงที่อากาศเย็นชื้น
ระวัง…โรคปอดบวมในช่วงที่อากาศเย็นชื้น ระยะปลายฝนต้นหนาวที่ยังมีสายฝนชุ่มฉ่ำ กับอากาศที่เริ่ม ๆ จะเย็นลงนั้น ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ เด็ก คนชรา หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่ ควรรักษาและระมัดระวังสุขภาพให้มาก เพราะช่วงเวลาที่อากาศชื้นและเย็นเช่นนั้นอาจมีโอกาสเสี่ยงให้คุณติดเชื้อโรคปอดบวมและโรคในระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ ได้ง่าย โดยโรคปอดบวมนี้มีความอันตรายร้ายแรงมาก และยังเป็นโรคที่คร่าชีวิตเด็กเล็กเป็นอันดับหนึ่งของโลกมากว่าห้าปี ซึ่งเกือบทั้งหมดเกิดจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส ซึ่งปัจจัยความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับ – อาการของโรคว่าเป็นแบบเฉียบพลัน หรือค่อยเป็นค่อยไป – อายุของผู้ป่วย หากเป็นเด็กหรือคนชราและมีร่างกายอ่อนแอก็อาจเป็นอันตรายรุนแรงขึ้น – ชนิดของเชื้อ หากพบว่าเป็นเชื้อนิวโมคอกคัสก็จะยิ่งมีความรุนแรง – สภาวะของผู้ป่วย หากเป็นโรคเรื้อรังหรือมีความอ่อนแอก็อาจอันตรายถึงชีวิตได้ โดยอาการในเบื้องต้นของผู้ป่วยนั้นจะมีไข้สูง หอบ ไอลึก หายใจเร็วและลำบาก หากเป็นเด็กเล็กยิ่งต้องดูแลใกล้ชิด ด้วยการเปิดเสื้อสังเกตหน้าอกว่าหายใจแรงจนชายโครงบุ๋มหรือหายใจมีเสียงวี๊ดหรือยัง ถ้าพบว่ามีอาการดังกล่าวรีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน ในด้านของการรักษาโรคปอดบวมนั้นขึ้นอยู่ชนิดของเชื้อโรค หากเกิดจากเชื้อไวรัสจะรักษาตามอาการจนกว่าร่างกายจะกำจัดเชื้อได้เอง และต้องระมัดระวังมิให้ไปติดเชื้อโรคอื่นเพราะช่วงนี้ร่างกายจะอ่อนแอ แต่หากเป็นเชื้อนิวโมคอกคัสที่อยู่ในโพรงจมูกและลำคอ ที่เป็นสาเหตุของโรคไซนัสอักเสบ หูน้ำหนวก หากเชื้อนี้เล็ดลอดเข้าสู่กระแสเลือด จะทำให้ตับวาย ไตวาย หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ เกิดการชัก เกร็ง สมองทำงานผิดปกติ ทำให้ปอดหรือหัวใจหยุดทำงานจนกระทั่งเสียชีวิตได้ หากในครอบครัวมีเด็กเล็กหรือคนที่อ่อนแอกำลังไม่สบาย ควรดูแลสุขภาพอย่างใกล้ชิด หากพบสิ่งผิดปกติควรพาไปพบแพทย์โดยด่วน โรคปอดบวมนั้นระยะแรกหรืออาหารไม่รุนแรงแพทย์อาจสั่งยาให้แล้วกลับมาพักผ่อนที่บ้าน และนัดไปดูอาการภายหลัง…
-
ป้องกันโรคปอดบวมในเด็ก…ในช่วงหน้าฝน
ป้องกันโรคปอดบวมในเด็ก…ในช่วงหน้าฝน โรคปอดบวมเป็นโรคติดเชื้อร้ายแรงเฉียบพลัน ที่รุนแรงและมีอันตรายถึงตายได้เลยในเด็กเล็ก ๆ โรคนี้นั้นโดยประมาณแล้วองค์การอนามัยโลกระบุว่า ทุก ๆ นาทีจะมีเด็กอายุต่ำกว่าห้าขวบเสียชีวิตด้วยโรคปอดบวมอย่างน้อยหนึ่งคน จึงทำให้เด็กเล็กทั่วโลกเสียชีวิตด้วยโรคนี้เฉลี่ยปีละประมาณสองล้านคนแลยทีเดียว โรคปอดบวมนี้เกิดจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียค่ะ มักจะพบในผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ มีภูมิต้านทานโรคต่ำ ไม่ว่าจะเป็น เด็กเล็กอายุน้อยกว่าห้าขวบ, ทารกแรกเกิดไม่แข็งแรง, ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี, ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ รวมไปถึงผู้สูงอายุด้วย โดยระยะที่ระบาดมากที่สุดก็คือช่วงหน้าฝนตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายนของทุกปี โรคนี้ติดต่อกันได้ด้วยการหายใจเอาเชื้อที่ฟุ้งอยู่ในอากาศเข้าสู่ปอด, การไอหรือจามรดกัน, การคลุกคลีกับผู้ป่วยโรคนี้อยู่แล้ว, การสำลักสิ่งแปลกปลอมที่มีเชื้อโรคเข้าไปในจมูกและลำคอ เช่น เด็กที่สำลักน้ำขณะเล่นน้ำก็สามารถเป็นโรคปอดบวมได้ด้วย อาการของโรคนี้จะมีไข้สูง ไอหนัก ไอมาก หายใจเร็ว หรือหายใจลำมาก และถ้าอาการหนักจะหอบถี่ หายใจลำบากหรือมีเสียงดังวี๊ด ๆ หรือหายใจแรงหอบจนซี่โครงบุ๋มตัว เล็บมือเล็บเท้า ริมฝีปากเขียวคล้ำ ซึมหรือกระสับกระส่าย หากมีอาการเช่นนี้แล้วควรรีบน้ำผู้ป่วยไปพบแพทย์โดยด่วนเพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ สำหรับโรคนี้ที่มีความอันตรายมากสามารถป้องกันได้โดย – รักษาสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนนอนหลับอย่างสม่ำเสมอ – กินอาหารที่ประโยชน์ และออกกำลังกายบ่อย ๆ – ไม่ควรพาเด็กไปในที่แออัดหรือมีคนมาก รวมทั้งไม่ควรให้เด็กอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย – สำหรับเด็กที่เลี้ยงในห้องแอร์ควรสวมเสื้อผ้าให้อบอุ่นไว้มาก ๆ – เด็กเล็กควรดื่มน้ำนมแม่เพื่อให้ได้รับภูมิต้านทานให้เต็มที่…
-
ระวังเชื้อสายพันธุ์ใหม่ “สเตรปโตคอกคัส อีไคว”
ระวังเชื้อสายพันธุ์ใหม่ “สเตรปโตคอกคัส อีไคว” เชื้อแบคทีเรียชื่อแปลก ๆ นี้เป็นเชื้อโรคชนิดใหม่ค่ะ ชื่อว่า เชื้อสเตรปโตคอกคัส อีไคว เป็นเชื้อในกลุ่มสเตรปโตคอกคัส กลุ่มซี สามารถเกิดโรคได้ทั้งในคนและในสัตว์ และเป็นโรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คนเท่านั้น ยังไม่มีปรากฏการติดจากคนสู่คนแต่อย่างใด ซึ่งการตรวจพบครั้งแรกนั้นพบที่จังหวัดลำปาง เชื้อนี้สามารถติดต่อสู่คนได้สองทางก็คือ จากการกินเนื้อสัตว์ที่ติดเชื้อนี้อยู่ และการสัมผัสกับชั้อที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมเข้าสู่เนื้อเยื่ออ่อนเช่น ตา ปาก จมูก หรือจากรอยถลอก บาดแผล เมื่อได้รับเชื้อแล้วจะทำให้เกิดอาการ เช่น คออักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ข้ออักเสบ หรือเกิดภาวะอักเสบแทรกซ้อนเป็นไตอักเสบได้ดวย ผู้ที่มีอาการติดเชื้อรุนแรงมาก อาจถึงกับเสียชีวิตได้เลยทีเดียว เชื้อนี้นั้นเชื่อว่าได้กระจายตัวอยู่ทั่วไปในจังหวัดลำปาง และอาจมีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากโรคนี้เกิดขึ้นได้อีก เพื่อเป็นการป้องกันระวังไว้ก่อน ผู้ที่จะเดินทางผ่านจังหวัดลำปางควรปฏิบัติตัวดังนี้ค่ะ – ทานแต่อาหารที่ปรุงจากเนื้อที่ปรุงสุกด้วยความร้อนเท่านั้น หลีกเลี่ยงอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เช่น แหนม ลาบ ลู่ ต่าง ๆ ฯลฯ รวมไปถึงอาหารที่มีเนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบ จำพวก หมูจุ่ม หมูกระทะ หมูย่างเกาหลี ต้องย่างจนแน่ใจว่าสุกจริง…
-
ดูแลลูก ๆ ให้ห่างไกลจากโรคหูอักเสบในฤดูฝนนี้
ดูแลลูก ๆ ให้ห่างไกลจากโรคหูอักเสบในฤดูฝนนี้ ในช่วงหน้าฝนจะเป็นฤดูที่เด็ก ๆ มักมีความเสี่ยงเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบมากกว่าฤดูอื่นของประเทศไทย ซึ่งมักมาพร้อมกับโรคหวัดในหน้าฝน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจทำให้ลุกลามจนกลายเป็นโรคหูหนวกได้ในอนาคต กลุ่มที่น่าเป็นห่วงก็คือเด็กที่อายุน้อยกว่า 3 ขวบ จากสถิติแล้วกว่าร้อยละ 80 นั้นเคยเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต ซึ่งสาเหตุของโรคหูชั้นกลางอักเสบนี้เกิดจากการติดเชื้ไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย แล้วเกิดการอักเสบและบวมแดงของแก้วหู จนเกิดเป็นน้ำหรือหนองในเยื่อแก้วหู บางรายที่รุนแรงก็ทำให้เยื่อแก้วหูฉีกขาดได้ เด็กที่มีความเสี่ยงมากนอกจากจะเป็นเด็กที่อายุน้อยกว่า 3 ขวบแล้ว ยังเป็นเด็กที่อยู่ในโรงเรียนอนุบาล หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก รวมไปถึงเด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้ ไม่แข็งแรง ป่วยง่าย ติดเชื้อโรคหวัด คออักเสบ หรือโพรงจมูกอักเสบมาจากเพื่อน ๆ ช่วงที่ติดต่อกันได้ง่ายก็คือหน้าฝน ที่ทำให้เยื่อบุในท่อยูสเตเชี่ยนที่เชื่อมต่อระหว่างูไปยังคอและโพรงจมูกเกิดการบวมและคั่งน้ำ ทำให้เกิดแรงดันในหูมากขึ้น จนเชื้อแพร่กระจายเข้าสู่หูชั้นกลางได้ง่ายขึ้นนั่นเอง ส่วนมากอาการเหล่านี้จะดีขึ้นในระยะไม่เกิน 5 วัน แต่ในรายที่รุนแรงเชื้ออาจเข้าไปยังสมองทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือฝีในสมอง ซึ่งนอกจากนี้หากเชื้อพลัดหลงเข้าไปในกระแสเลือดยังทำให้เกิดโรคติดเชื้อในกระแสเลือดได้อีก หากลุกลามไปยังปอดก็ทำให้ปอดอักเสบรุนแรงได้ ซึ่งการรักษาจะยิ่งยุ่งยากมากขึ้นและเด็กบางรายก็มีโอกาสเสียชีวิตด้วย การป้องการเชื้อเหล่านี้เป็นเรื่องที่ผู้ปกครองและคุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจให้มาก การป้องกันตั้งแต่ทารกก็คือให้ลูกกินนมแม่เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ทานอาหารที่เหมาะสมกับภัย และเสริมภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดวัคซีนให้ครบ รวมไปถึงวัคซีนไอพีดีพลัสปอด-หูอักเสบ ซึ่งช่วยป้องกันโรครุนแรงอันกได้แก่ โรคไอพีดี ปอดบวม โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคติดเชื้อในกระแสเลือดแล้วยังช่วยป้องกันการเกิดโรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็กเล็กด้วย สำหรับในฤดูฝนนี้คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเด็ก…
-
หน้าฝนระวังโรคฉี่หนู
หน้าฝนระวังโรคฉี่หนู ในระยะเวลาที่ฝนกำลังตกพรำไม่เว้นแต่ละวันในระยะนี้ ทำให้ผู้ที่ไม่ค่อยดูแลรักษาตัวเองเท่าไรอาจป่วยเป็นโรคฉี่หนูได้ ซึ่งโรคฉี่หนูนี้เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากสัตว์ประเภทสัตว์กัดแทะขนาดเล็ก เช่น หนู กะรอก และยังสามารถพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นได้ไม่ว่าจะเป็น หมา แมว วัว ควาย ฯลฯ ซึ่งหนูนั้นเป็นตัวการแพร่เชื้อที่สำคัญมาก โดยเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคเลปโตสไปโรซิสหรือฉี่หนูนี้จะถูกขับออกมาจากปัสสาวะของหนู แล้วปนเปื้อนอยู่ตามแหล่งน้ำสกปรก ท่อน้ำขัง ที่เฉอะแฉะ พื้นดินแฉะ ๆ ผู้ที่เข้าไปเดินย่ำหรือสัมผัสกับแหล่งน้ำเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นชาวไรชาวสวน ผู้ที่ทำปศุสัตว์ ผู้ที่ขุดลอกคูคลอง ผู้ทำประมง หาปลา ปู หรือเด็ก ๆ ที่เล่นน้ำ เมื่อสัมผัสกับน้ำที่มีเชื้อแบคทีเรียนี้เข้าไป จะทำให้เชื้อโรคแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลเล็ก ๆ หรือเยื่อบุบอบบาง ไม่ว่าจะเป็น จมูก ตา ปาก ก็จะทำให้เกิดโรคได้ นอกจากนี้การทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อก็สามารถติดโรคได้ด้วย อาการของโรคฉี่หนูนี้ มีหลายระดับ ซึ่งอาจแสดงอาการเพียงเล็กน้อยหรือแสดงอาการรุนแรงจนเสียชีวิตได้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกายผู้ติดเชื้อ ภูมิคุ้มกันและปริมาณของเชื้อด้วย ซึ่งระยะแสดงอาการจะอยู่ที่ราว 2-3 สัปดาห์ อาการนั้นจะแสดงออกมาเป็น การมีไข้สูง มักปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมากยิ่งโดยเฉพาะบริเวณน่อง ปรากฏรอยจ้ำเลือดหรือรอยช้ำเขียวตามผิวหนัง เยื่อบุตาอักเสบและมีเลือดออกในลูกตา หากมีอาการที่รุนแรงแล้วไม่ยอมรับการรักษาอาจเสียชีวิตจากตับวายหรือไตวาย และเยื่อหุ้นสมองอักเสบได้…
-
เชื้อราแคนดิดา อัลไบแคนส์ และ แบคทีเรียกสเตรปโทค็อกคัซ มูแทนส์ ตัวการก่อฟันผุ
เชื้อราแคนดิดา อัลไบแคนส์ และ แบคทีเรียกสเตรปโทค็อกคัซ มูแทนส์ ตัวการก่อฟันผุ เชื้อราแคนดิดา อัลไบแคนส์ และ แบคทีเรีย สเตรปโทค็อกคัซ มูแทนส์ ตัวการก่อฟันผุ มีผลการศึกษาถึงความเชื่อมโยงระหว่าง เชื้อแบคทีเรียสเตรปโทค็อกคัซ มูแทนส์ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดคราบเพลก, คราบจุลินทรีย์ และไบโอฟิล์ม ที่นำเป็นต้นเหตุของฟันผุ กับเชื้อราแคนติดา อัลไบแคนส์ เชื้อหาที่จะสะสมบริเวณลิ้นและกระพุ้งแก้มหากมีการติดเชื้อ พบว่า ในกรณีที่ผู้ป่วยมีประวัติฟันดุแต่เด็ก จะพบแบคทีเรียสเตรปโทค็อกคัซ และเชื้อรา แคนดิดาเกาะอยู่กับคราบเพลกบนฟัน ที่สเตรปโทค็อกคัซ ใช้กระบวนการย่อยสลายเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรต และน้ำตาล เป็นสารเหนียวเคลือบฟัน ทั้งยังเพิ่มความเสียหายต่อการสลายแร่ธาตุซึ่งเป็นโครงสร้างของฟัน จึงทำให้ฟันผุได้ง่ายกว่าการตรวจพบแต่เชื้อแบคทีเรียกสเตปโทค็อกคัซ เพียงตัวเดียว อีกทั้งผู้เชี่ยวชาญยังแนะนำอีกว่า แม้ฟันผุในวัยเด็กจะเป็นฟันน้ำนม แต่ความเคยตัวในการกินแต่อาหารหวานและน้ำอัดลม รวมไปถึงการละเลยไม่ทำความสะอาดฟัน เป็นปัจจัยเสี่ยงของฟันผุร้ายแรงได้เมื่อเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่
-
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคไซนัสอักเสบ
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคไซนัสอักเสบ โรคไซนัสอักเสบ ที่หลายคนรู้จักชื่อกันดีนี้ มักจะมีหลายคนที่เข้าใจผิดคิดว่าเป็นโรคนี้ ทั้งที่ป่วยเป็นไข้หวัดคัดจมูกธรรมดาเท่านั้น กับทั้งยังคิดว่าเป็นโรคที่รักษาไม่หาย เป็นแล้วต้องกลับมาเป็นอีก ซึ่งนี่คือความเข้าใจที่ผิดทั้งสิ้น ความจริงแล้วโรคไซนัสอักเสบนั้นมักเกิดจากเชื้อไวรัสหวัดทั่วไปแล้วติดเชื้อในโพรงจมูกจนลุกลามเข้าไปในโพรงไซนัส ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะหายได้เอง แต่ในบางครั้งอาจมีเชื้อแบคทีเรียติดมาบ้างทำให้โรคไม่หายขาดและรุนแรงขึ้น การรักษาเพื่อที่จะไม่กลับมาเป็นอีกก็คือต้องพบแพทย์เพื่อรักษาให้หายขาดนั่นเอง อาการของไซนัสอักเสบที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียนั้น ผู้ป่วยจะมีอาการคัดแน่นจมูก มีน้ำมูกหรือเสมหะลงคอสีเหลืองหรือเขียว มีอาการปวดบริเวณ หัวตา หว่างคิ้ว ใบหน้า และตามโหนกแก้ม การได้กลิ่นลดลงและมีอาการเกิน 10 วัน หรือมีอาการแย่ลงใน 5 วันแรกก็ควรมาพบแพทย์ได้แล้ว อาการของโรคแบ่งออกเป็นกลุ่มเฉียบพลันและเรื้อรัง ซึ่งกลุ่มเฉียบพลันจะมีอาการน้อยกว่า 12 สัปดาห์ และกลุ่มเรื้อรังจะมีอาการมาเกิน 12 สัปดาห์ขึ้นไป ทำให้การรักษามีความแตกต่างกัน โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากจะเป็นกลุ่มที่ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ที่รับยากดภูมิระหว่างการทำเคมีบำบัด หรือภาวะขาดภูมิคุ้มกันตั้งแต่เกิดเป็นต้น โรคไซนัสอักเสบไม่มีสาเหตุจากพันธุกรรม อีกทั้งยังเป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้เข้าใจผิดคิดว่าตนป่วยเป็นโรคไซนัสอักเสบได้ ดังนั้นจึงควรพบแพทย์เพื่อรักการวินิจฉัย โดยในปัจจุบันนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดได้ว่าผู้ป่วยจมูกอักเสบภูมิแพ้เกิดจากไซนัสอักเสบได้บ่อยกว่าคนที่เป็นภูมิแพ้หรือไม่ แต่การสูบบุหรี่ทำให้การงานของเยื่อบุโพรงไซนัสทำงานบกพร่องได้ ในส่วนของการรักษา โรคไซนัสอักเสบเฉียบพลันหากมีสาเหตุจากเชื้อไวรัสมักจะหายได้เอง แต่ถ้าติดเชื้อแบคทีเรียกควรมาพบแพทย์เฉพาะทาง หู คอ จมูก เพื่อทำการส่องกล้องเข้าไปตรวจช่องโพรงจมูกและไซนัส ซึ่งหากมิใช่แพทย์เฉพาะทางหรือไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญโรคไซนัสมักให้คนไข้ทำการเอกซเรย์ วิธีนี้ไม่แม่นยำนัก ทั้งยังทำให้เสียค่าใช้จ่ายโดยสิ้นเปลือง…
-
“แผ่นเปิดเหยียบประตู” เครื่องช่วยชิ้นใหม่เพื่ออนามัยที่ดี
“แผ่นเปิดเหยียบประตู” เครื่องช่วยชิ้นใหม่เพื่ออนามัยที่ดี บางคนไม่ชอบเข้าหรอกค่ะ ห้องน้ำสาธารณะเนี่ย เพราะลูกบิดประตูเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคและแบคทีเรียอย่างมาก เพราะหลายคนเข้าห้องน้ำแล้วไม่ยอมล้างมือ ผู้ชายหลายคนจึงรู้สึกสกปรกเวลาต้องจับประตูหนังออกจากห้องน้ำสาธารณะ นวัตกรรมใหม่ที่จะนำมาเสนอในวันนี้คือ “แผ่นเหยียบเปิดประตู” นั่นเอง ที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการจับลูกบิดที่เต็มไปด้วยเชื้อโรคต่าง ๆ แผ่นเหยียบประตูนี้จะทำมาจากเหยียบแล้วติดตั้งเข้ากับขอบมุมของประตูด้วยน๊อตเท่านั้น การใช้ก็เพียงเหยียบแผ่นออกแรงให้ประตูเปิดเข้าไป ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีประโยชน์ต่ออนามัยของมือเรามาก เพราะหากมือเรามีบาดแผลอยู่แล้วไปจับบานประตูหรือลูกบิดแล้วติดเชื้อโรคต่าง ๆ เข้าก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อมีแผลอักเสบหรือเน่าได้ การใช้แผ่นเหยียบเปิดประตูนี้จึงช่วยลดการสัมผัสกับแบคทีเรียและเชื้อโรคนานาชนิดจากการใช้ห้องน้ำสาธารณะได้เกือบ 100% เลยทีเดียว หวังอยากให้เมืองไทยได้นำเอานวัตกรรมนี้มาใช้บ้าง เราจะได้กล้าเข้าไปใช้ห้องน้ำสาธารณะมากขึ้น ปลอดจากเชื้อโรคติดมือมาสร้างปัญหาให้กับสุขภาพของเราต่อไปในอนาคต
-
ตกขาว… อาการน่ากลุ้มใจของหญิงสาว แต่รักษาไม่ยาก
ตกขาว… อาการน่ากลุ้มใจของหญิงสาว แต่รักษาไม่ยาก >> วันนี้มาไขข้อข้องใจของสาว ๆ หลายคนกันเกี่ยวกับอาการของตกขาวกันนะคะ << ตกขาวหรือระดูขาว นั้นเกิดจากการทำงานของฮอร์โมนเพศในเพศหญิง เป็นโรคที่ไม่รุนแรง แต่ก็อาจกลับเป็นรุนแรงได้ ดังนั้นสำหรับแพทย์ อาการตกขาวหรือระดูขาวจึงมีความสำคัญไม่แพ้โรคอื่น ๆ ซึ่งลักษณะของตกขาวนั้น จะมีของเหลวไหลออกมาจากช่องคลอดเป็นเมือกใส สีขาวขุ่น ไม่ใช่ประจำเดือน และลักษณะของตกขาวจะขึ้นอยู่กับสภาวะโรค และสภาวะของแต่ละคนไป สาเหตุของตกขาวเกิดได้จากสาเหตุดังนี้ 1. เกิดจากการติดเชื้อ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อราหรือพยาธิในช่องคลอดก็ได้ โดยตกขาวประเภทนี้จะมีลักษณะเด่นเฉพาะตัวซึ่งสามารถแยกแยะได้ 2. เกิดจากเชื้อไวรัส มีที่มีการติดต่อกันผ่านการมีเพศสัมผัสกับผู้ที่มีเชื้ออยู่แล้ว มีอาการที่แตกต่างกันไปแล้วแต่โรค เช่น โรคเริม ก็มีลักษณะตุ่มใสๆ ขนาดเล็ก แต่ถ้าตุ่มแตกจะแสบ และตกขาวก็มีกลิ่นด้วย 3. เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทำให้มีอาการคันในบางราว และมีกลิ่นคาวหลังจากมีเพศสัมพันธ์ มีสาเหตุมาจากโรคหนองในที่เกิดกับเพศชาย ทำให้คู่นอนมีอาการปัสสาวะแสบหรือคันได้ ฯลฯ 4. เกิดจากเชื้อรา เป็นเชื้อราจากการใช้ยาปฏิชีวนะ หรือผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น ป่วยเป็นโรคเบาหวาน อาการของตกขาวนั้นจะมีสีเหลืองหรือสีขาว ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย มีก้อนเล็ก ๆ หรือมีกลิ่นคล้ายนมบูด…