Tag: เชื้อวัณโรค
-
ใช้ชีวิตอย่างไรห่างไกลวัณโรค
ใช้ชีวิตอย่างไรห่างไกลวัณโรค วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่มนุษย์รู้จักมานานนับพัน ๆ ปีแล้ว เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งชื่อว่า มัยโคแบคทีเรีย ทูเบอร์คูโลซิส มีรูปร่างเป็นแท่ง ต้องย้อมสีและส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์เท่านั้นจึงจะมองเห็นได้ สามารถติดเชื้อได้แทบทุกอวัยวะของร่างกาย แต่ส่วนมากจะเกิดขึ้นที่ปอด เชื้อนี้สามารถแพร่กระจายจากได้เวลาผู้ป่วยไอหรือจาม ละอองเสมหะจะฟุ้งกระจาย เมื่อสูดเข้าไปจะเกิดการติดเชื้อและป่วยเป็นวัณโรคได้ วิธีการสังเกตว่าตนเองป่วยเป็นวัณโรคหรือไม่ก็คือ ผู้ป่วยจะมีอาการไอเรื้อรังนานเกินกว่าสองสัปดาห์ มีเสมหะสีเขียวหลืองหรือเสมหะปนเลือด อ่อนเพลีย น้ำหนักลด มีไข้เวลาบ่าย ๆ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที ในด้านของการรักษานั้น เน้นความสม่ำเสมอของผู้ป่วยที่ต้องกินยาให้ตลอดระยะเวลาการรักษา ทั้งยังต้องมีพี่เลี้ยงเป็นเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ และสมาชิกในครอบครัวช่วยดูแลการกินยาของผู้ป่วย พร้อมทั้วให้คำแนะนำและให้กำลังใจ คอยแนะนำในระหว่างที่อาจมีอาการแพ้ยา ให้ผู้ป่วยให้ทานยาได้ตลอดระยะเวลาจนกว่าแพทย์จะสั่งหยุดยาเอง ในระยะแรกที่เข้ารับการรักษาเมื่อกินยาวัณโรคไปแล้ว ประมาณสองถึงสามอาทิตย์อาการจะดีขึ้น แต่ยังไม่หายต้องกินยาต่อไปจนกว่าจะครบหกหรือแปดเดือนจึงจะหายสนิท ในระยะที่กำลังรักษาตัวผู้ป่วยวัณโรค ควรป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ด้วยการปิดปากและจมูกทุกครั้งเวลาไอหรือจาม ไม่บ้วนเสมหะทิ้งบนพื้น แต่ควรบ้วนในภาชนะแล้วนำไปทิ้งในโถส้วม ฝังดิน หรือเผาให้เรียบร้อย แม้โรคนี้จะร้ายแรงแต่ก็สามารถป้องกันได้ด้วย การดูแลเอาใจใส่สุขภาพ จะทำให้ห่างไกลจากวัณโรคและทำให้ผู้ป่วยหายได้เร็วขึ้นด้วยการปฏิบัติตามข้อแนะนำได้แก่ – การกินยาให้หมดทุกเม็ด และไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง – หากมีอาการแพ้ยาควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที – ทานอาหารที่มีประโยชน์ งดการดื่มสุราและสูบบุหรี่ – พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ – พยายามทำใจให้สบายอย่างเคร่งเครียด…
-
ตระหนักถึงอันตรายจากวัณโรค
ตระหนักถึงอันตรายจากวัณโรค แม้ทุกวันนี้วิทยาการต่าง ๆ จะก้าวหน้าไปไกลมากแล้ว แต่วัณโรคก็ยังเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาของสาธารณสุขทั่วโลกอยู่ดี นั่นเป็นเพราะมีสาเหตุมาจากการระบาดของโรคเอดส์ ความยากจน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และการย้ายถิ่นฐานของประชากร วัณโรคจึงมีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งจากการคาดการณ์นั้นประเทศไทยมีผู้ป่วยวัณโรคเพิ่มขึ้นถึงปีละกว่าแสนรายเลยทีเดียว วัณโรค มีต้นเหตุมาจากเชื้อที่ชื่อว่า Mycobacterium tuberculosis มีขนาดเล็กมากจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นต้องดูได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์เท่านั้น มักติดเชื้อได้กับอวัยวะทุกส่วนแต่ที่เป็นปัญหาและพบได้บ่อยที่สุดก็คือส่วนของปอดนั่นเอง สามารถติดต่อกันได้โดยเมื่อผู้ป่วยไอหรือจาม จะมีเชื้อออกมาปะปนกับละอองของเสมหะหรือน้ำลาย เมื่อผู้ที่อยู่คลกคลีใกล้ชิดสูดหายใจเข้าไปก็จะทำให้เกิดติดเชื้อวัณโรคได้ โดยผู้ป่วยวัณโรคจะสามารถแพร่กระจายเชื้อออกไปสู่ผู้อื่นได้ถึง 10-15 คนเลยเชียว! อาการที่เป็นที่สังเกตของวัณโรคก็คือ จะไอติดต่อกันถึงสองอาทิตย์ขึ้นไป มีไอออกมากับเสมหะ ร่วมกับอาการเจ็บหน้าอก น้ำหนักลด เบื่ออาหาร และมักมีไข้ตอนบ่าย ๆ เมื่อพบว่ามีอาการเช่นนี้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโดยด่วน แต่ไม่ต้องหนักใจหรือกลัวไปเพราะโรคนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการกินยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เป็นเวลาหกถึงแปดเดือน ก็จะทำให้หายขาดจากโรคนี้ได้ องค์การอนามัยโลกเองก็เห็นความสำคัญในการรณรงค์เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้ตระหนักและมีส่วนร่วมในการหยุดยั้งวัณโรคนี้ แม้แต่ในส่วนของตัวผู้ป่วยเองก็มีส่วนร่วมในการหยุดยั้งได้โดยการพยายามรักษาตัวให้หายให้เร็วที่สุดและป้องกันการแพร่ระบาดไปสู่ผู้อื่น ในส่วนของผู้ให้บริการทางการแพทย์ไม่ว่าจะเป็น หมอ พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ก็ต้องกระตือรือร้นในการค้นหาตัวผู้ป่วยจากผู้ที่น่าสงสัย รวมไปถึงการให้บริการรักษาให้ได้มาตรฐาน ในส่วนของภาคชุมชนทั้งตัวผู้นำชุมชนและประชาชนเองก็ควรมีควรรู้ความเข้าใจในเรื่องของวัณโรคนี้ ระดมถ่ายทอดความรู้ และนำมาช่วยกันควบคุมโรคภายในชุมชนด้วย จึงจะเป็นการช่วยกันป้องกันและหยุดยั้งการระบาดของวัณโรคได้อย่างเด็ดขาดค่ะ
-
วัณโรค รักษาหายได้ไม่แพร่เชื้อ
วัณโรค รักษาหายได้ไม่แพร่เชื้อ วัณโรคเป็นโรคที่เราหลายคนเคยได้ยินชื่อ ได้รู้จักกันมาบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีหลายคนที่รู้จักแต่ยังหวาดกลัวการแพร่ระบาดหรือการติดเชื้อโรคนี้อยู่ วัณโรคหรือที่เราเรียกกันว่า ทีบีนี้เป็นโรคติดต่อจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Mycobacterium tuberculosis พบมากคือ วัณโรคปอด ติดต่อผ่านกันทางระบบทางเดินหายใจ และฝอยน้ำลายของผู้ป่วย ผู้ที่ได้รับเชื้อวัณโรคไม่จำเป็นต้องป่วยเป็นวัณโรคทุกคน ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงและกลไลการต่อสู้กับเชื้อโรค ซึ่งพบว่ามีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้นที่ผู้ติดเชื้อวัณโรคจะป่วยเป็นโรคขึ้นมา อาการเริ่มต้นของวัณโรคได้แก่ การไอติดต่อกันเกินกว่าสองอาทิตย์โดยไม่ทราบสาเหตุ รวมไปถึงไอมีเสมหะปนเลือด อยูใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจ หากตรวจพบว่าเป็นวัณโรคจริง ๆ ก็จะเข้าสู่การรักษาต่อไป โรคนี้เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ ผู้ป่วยต้องกินยาทุกวันต่อเนื่องเป็นเวลา 6-8 เดือนจนครบกำหนดรักษา อีกทั้งหากผู้ป่วยได้กินยาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์แล้ว จะพบว่าโอกาสที่จะแพร่เชื้อวัณโรคมาสู่คนรอบข้างนั้นจะน้อยมากเมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ยังไม่ได้รับการรักษาวัณโรค วัณโรคนี้ยิ่งรู้เร็วก็ยิ่งรักษาหายได้เร็ว และเชื้อไม่แพร่กระจายด้วย ดีกับผู้ป่วยเองและคนรอบข้าง ชุมชนและคนในสังคม ผู้ที่สงสัยว่าป่วยเป็นวัณโรคสามารถขอเข้ารับการรักษาได้จากสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านได้ทุกแห่งค่ะ
-
โรควัณโรค อาการ การรักษา วิธีป้องกัน
โรควัณโรค อาการ การรักษา วิธีป้องกัน วัณโรค (Tuberculosis) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium tuberculosis) หรือคนส่วนใหญ่เรียกสั้นๆว่า TB เชื้อวัณโรคนี้จะชอบอยู่ในที่ๆมีออกซิเจนมาก เช่น ในปอด เชื้อวัณโรคจะติดต่อได้ง่ายจากคน ผ่านไปทางละอองเสมหะ หรือการจาม เชื้อวัณโรคที่ตกลงสู่พื้นหรือติดอยู่กับผิวสัมผัสของวัตถุอื่นๆ จะถูกทำลายไปโดยง่ายโดยแสงสว่างและอากาศที่ถ่ายเทสะดวก วัณโรคแพร่ได้ด้วยการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย เช่น อยู่อาศัยร่วมบ้านเดียวกัน การที่ผู้ป่วยภูมิต้านทานร่างกายอ่อนแอ เช่น เบาหวาน ติดเชื้อเอชไอวี หรือได้รับยากดภูมิต้านทาน เช่น ยารักษาโรคมะเร็ง หรือยาลูกกลอนที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ จะทำให้มีโอกาสเป็นวัณโรคได้ง่าย เชื้อนี้จะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการไอติดต่อกันเป็นเวลานานและเกิดแผลในปวดจนทำให้เสียชีวิตได้ การติดเชื้อวัณโรคระยะโรคสงบและระยะป่วยเป็นโรค 1. การติดเชื้อวัณโรคในระยะสงบ หมายถึงการที่คนคนหนึ่งมีเชื้อวัณโรคอยู่ในตัว แต่ไม่เกิดโรคและไม่มีอาการป่วยใดๆ การติดเชื้อในระยะสงบสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของผู้ที่ติดเชื้อยังสามารถควบคุมเชื้อแบคทีเรียได้อยู่ เชื้อแบคทีเรียสามารถอยู่ในร่างกายได้นานหลายปีโดยที่ไม่ทำให้เกิดโรคหรืออาการผิดปกติใดๆ 2. การติดเชื้อระยะป่วยเป็นโรค อาจมีการป่วยเป็นโรคขึ้นมาในภายหลังได้ หากภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เชื้อวัณโรคที่อาศัยอยู่ในร่างกายอาจได้รับการกระตุ้น การกระตุ้นก่อให้เกิดวัณโรคและอาการที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีและเชื้อวัณโรคร่วมกันมีแนวโน้มจะป่วยเป็นวัณโรคมากขึ้น สำหรับในบางคน ระยะป่วยเป็นโรคอาจเกิดขึ้นได้ภายหลังติดเชื้อวัณโรคเพียงไม่กี่สัปดาห์ อาการของผู้ติดเชื้อวัณโรค – ไม่ค่อยมีแรง อ่อนเพลีย – มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง – มีไข้ต่ำๆ มีอาการหนาวสั่น หรือมีอาการเหงื่อออกตอนกลางคืน…
-
นักวิจัย สรุปถึงอาการอักเสบรุนแรงของโรควัณโรค อาจซ่อนตัวอยู่ในเนื้อเยื่อ
นักวิจัย สรุปถึงอาการอักเสบรุนแรงของโรควัณโรค อาจซ่อนตัวอยู่ในเนื้อเยื่อ เชื้อวัณโรคเป็นเชื้อแบคทีเรียที่บำบัดยากมาก ต่างจากเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่น แม้ว่าจะมียาปฏิชีวนะออกมาใช้นานห้าสิบปีแล้ว ผู้ป่วยวัณโรคยังต้องใช้แผนการรักษาด้วยยาหลายๆตัวรวมกันนานถึงหกเดือน นักวิจัยชี้ว่าจุดที่เชื้อวัณโรคซ่อนตัวอยู่คือ ไขกระดูก ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่มีลักษณะเหมือนฟองน้ำบรรจุเซลล์ตั้งต้นที่ทำหน้าที่ผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง ไขกระดูกมีระบบป้องกันในตัวเองที่ไม่ให้สารเคมีแปลกปลอมใดๆเข้าไปได้ข้างในได้ รวมทั้งยาปฏิชีวนะ การทดลองในหลอดแก้วแสดงให้เห็นชัดเจนว่าตัวเชื้อแบคทีเรียวัณโรคเข้าไปอยู่ในเซลล์ตั้งต้นในไขกระดูกอย่างง่ายดาย การค้นพบนี้ช่วยอธิบายได้ว่าทำไมโรคปอดชนิดนี้จึงคงอยู่ในร่างกายคนได้ในสองลักษณะ อย่างแรกคือวัณโรคระยะฝังตัวที่ผู้ติดเชื้อมีเชื้ออยู่ในร่างกายนานนักสิบปีโดยไม่แสดงอาการป่วยและวัณโรคระยะออกอาการรุนแรงทำให้ผู้ป่วยป่วยหนักและหากไม่รักษาจะเสียชีวิตได้ การค้นพบนี้มีผลต่อการบำบัดวัณโรคและช่วยอธิบายได้ว่าทำไมยาปฏิชีวนะจึงไม่ได้ผลในการรักษาในผู้ป่วยทุกคนเสมอไป หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่าผู้ป่วยวัณโรคหลายคนที่ได้รับการบำบัดจนหายแล้ว อาจจะกลับไปเป็นวัณโรคอีก และเท่าที่ผ่านมาวงการแพทย์ไม่เข้าใจถ่องแท้ว่าทำไมการบำบัดวัณโรคให้หายขาดจึงทำได้ยากมาก เขากล่าวว่ามาถึงตอนนี้ผลการศึกษานี้ค้นพบความลับเเล้วว่าเชื้อวัณโรครักษายากเพราะเข้าไปแอบซ่อนตัวในไขกระดูก จุดที่ยาบำบัดเข้าไปไม่ถึง ผู้เชี่ยวชาญประมาณว่ามีคนสองพันสองร้อยล้านคนทั่วโลกที่ติดเชื้อวัณโรคแล้วแต่ยังไม่แสดงอาการ และหากเชื้อวัณโรคเข้าสู่ขั้นก่อให้เกิดโรค จะทำให้คนเสียชีวิตปีละหนึ่งล้านเจ็ดแสนคน
-
นักวิจัยจากสถาบันสุขภาพและโรคร้อน พบว่า ทวีปแอฟริกา เป็นแหล่งกำเนิดของวัณโรค
นักวิจัยจากสถาบันสุขภาพและโรคร้อน พบว่า ทวีปแอฟริกา เป็นแหล่งกำเนิดของวัณโรค การศึกษาชิ้นล่าสุดเปิดเผยว่ามนุษย์กับเชื้อวัณโรคกำเนิดและวิวัฒนาการมาพร้อมๆกันในทวีปแอฟริกา ทีมนักวิจัยที่สถาบันสุขภาพและโรคเขตร้อนแห่งสวิสเซอร์เเลนด์ (Swiss Tropical and Public Health Institute) นำโดยศาสตราจารย์เซบ้าสเตียน แก็กโน ค้นพบว่าเชื้อวัณโรคกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริกาอย่างน้อยเมื่อ 70,000 ปีที่แล้ว ศาสตราจารย์แก็กโนอธิบายว่าทำไมทีมวิจัยต้องการศึกษาประวัติของเชื้อวัณโรค วิวัฒนาการของมนุษย์กับวิวัฒนาการของเชื้อวัณโรคตั้งแต่ในอดีต ไม่แค่เกิดขึ้นพร้อมๆกันแต่น่าจะพูดได้ว่าเกิดขึ้นพร้อมๆกันภายในร่างกายของมนุษย์เพราะเชื้อเเบคทีเรียอาศัยทั้งบนร่างกายคนและภายในร่างกายคน แบคทีเรียช่วยให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้ ทีมนักวิจัยกำลังพยายามศึกษาว่าเชื้อวัณโรคมีอันตรายต่อมนุษย์มาตั้งแต่ในอดีตหรือไม่ ระยะเวลาที่เชื้อวัณโรคอยู่ในร่างกายคนโดยไม่ทำให้เกิดอาการป่วยนี้อาจจะยาวนานหลายสิบปีและคนส่วนใหญ่ที่มีเชื้อวัณโรคในร่างกายอยู่ในขณะนี้อาจจะไม่ป่วยด้วยโรคนี้ในอนาคต น่าสนใจว่าทำไมกลุ่มคนห้าถึงสิบเปอร์เซ็นต์ของผู้ติดเชื้อวัณโรคจึงเเสดง อาการป่วย ผู้เชี่ยวชาญรู้ดีว่ามีปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นเกี่ยวข้องด้วย อาทิ ผู้ติดเชื้อป่วยด้วยโรคเอดส์หรืออาจมีภาวะขาดอาหารร่วมด้วย นอกจากนี้โรคเบาหวานก็เป็นปัจจัยหนึ่งด้วยที่เพิ่มความเสี่ยงให้ผู้ที่มีเชื้อวัณโรคในร่างกายเเสดงอาการป่วย ทำให้นักวิจัยเกิดความสงสัยว่าการติดเชื้อวัณโรคแบบไม่ก่อให้เกิดโรคอาจจะมีคุณต่อร่างกายคนเราเพราะอาจจะช่วยปกป้องร่างกายจากโรคติดต่อชนิดอื่นๆได้ ศาสตราจารย์แก็กโนชี้ว่าแม้ข้อสงสัยนี้ยังพิสูจน์ไม่ได้ นักวิจัยไม่สามารถเพิกเฉยต่อข้อสงสัยนี้ เชื้อวัณโรคหายไปจากทวีปแอฟริกาเมื่อมนุษย์เริ่มย้ายไปจากทวีปนี้ เมื่อราว 65,000 ถึง 70,000 ปีที่แล้ว แต่เมื่อราวหนึ่งหมื่นปีที่แล้ว เกิดการเปลี่ยนแปลงทางลักษณะประชากรในมนุษย์ยุคหินใหม่ เป็นช่วงที่มนุษย์เริ่มทำการเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ และนี่เป็นช่วงที่โรคติดต่อแพร่จากสัตว์เลี้ยงสู่คนเป็นครั้งแรก ศาสตราจารย์แก็กโน กล่าวว่านั่นทำให้เกิดความเชื่อกันอยู่นานหลายปีว่าเชื้อวัํณโรคเเพร่จากสัตว์สู่คน อย่างไรก็ตามผลการวิจัยครั้งนี้พบว่าเชื้อวัณโรคเกิดขึ้นมานานก่อนหน้าที่มนุษย์จะเริ่มเลี้ยงสัตว์เสียอีก และเชื้อวัณโรคได้ปรับตัวเพื่อให้สามารถอาศัยอยู่ในร่างกายคนได้เนื่องจากไม่สามารถอยู่รอดได้ด้วยตนเองในสิ่งเเวดล้อมทั่วไป ทีมนักวิจัยหวังว่าการศึกษาเข้าใจถึงประวัติที่มาของเชื้อวัณโรคจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิธีบำบัดวัณโรควิธีใหม่ๆ และวัคซีนชนิดใหม่ๆออกมาป้องกันโรคนี้ ในปัจจุบัน พบว่ามีผู้ป่วยจากเชื้อวัณโรคแบบดื้อยาเพิ่มมากขึ้น นักวิจัยหวังว่าความรู้ที่ได้จากการศึกษานี้จะช่วยคาดเดาถึงลักษณะการแพร่ระบาดของวัณโรคในอนาคตได้