Tag: เจ็บป่วย

  • บางครั้งการอยู่..ก็ไม่แน่ใจว่าดีกว่าตาย

    บางครั้งการอยู่..ก็ไม่แน่ใจว่าดีกว่าตาย

    บางครั้งการอยู่..ก็ไม่แน่ใจว่าดีกว่าตาย ที่จั่วหัวไว้เช่นนี้ เพราะจะพูดถึงการเจ็บป่วยเป็นเวลานาน ๆ ค่ะ ยิ่งหากผู้ป่วยเป็นอัมพาตขยับเขยื้อนตัวเองไม่ได้แล้ว ก็เหมือนติดคุกอยู่ในร่างกายของตนเอง ไม่สามารถไปไหนได้เอง ทรมานมากเพราะไม่ว่าสิ่งมีชีวิตชนิดไหนก็ต้องการความเป็นอิสระทั้งสิ้น ปัจจุบันนี้มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยเลยที่มีชีวิตอยู่ในภาพที่ต้องนอนอยู่กับเตียงทั้งวันแบบนี้ ทั้งยังถูกควบคุมชีวิตด้วยมือผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการกินอยู่ การนอนหลับ การเคลื่อนไหว การขับถ่าย ไม่สามารถกำหนดชีวิตตัวเองได้ ไม่ว่าจะหิว อิ่ม เมื่อย คัน หนาว ร้อน หรือแม้แต่อยากตายให้พ้นก็ยังทำเองไม่ได้ ส่วนมากแล้วลูกหลานนั่นเองที่แสดงความกตัญญูด้วยการยืดชีวิตไว้ แต่หากตัวเองต้องโดนพันธนาการแบบนี้บ้าง แทบร้อยละร้อยก็บอกว่าไม่อยากอยู่อย่างทรมานเช่นนี้ อยากจากไปอย่างสงบยิ่งเร็วเท่าไรยิ่งดี ยิ่งความทรมานและสภาพเวทนาที่ผู้อื่นต้องมาเห็นให้สงสารแล้วยิ่งหดหู่ไปกันใหญ่ เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่แล้นจะทานอาหารทางปากไม่ได้ ต้องให้ผ่านจมูกหรือเจาะท้องใส่ท่อเข้าไปในกระเพาะอาหาร ฉี่ไม่ได้ต้องสวนคาท่อปัสสาวะไว้ นอนนาน ๆ ก็อาจมีแผลกดทับตามปุ่มกระดูก บางรายหายใจเองไม่ได้ต้องเจาะคอหายใจ ผู้ป่วยเหล่านี้จึงเหมือนติดคุกที่มีร่างของตัวเองเป็นกรงคุมขัง ลูกหลานและญาติ ๆ นั้นมักยื้อไว้เช่นนี้เพราะความรักความกตัญญู และบางส่วนก็คิดว่าตัวเองทำอะไรไม่ได้ ฯลฯ มีบางอย่างที่อยากฝากบอกญาติผู้ป่วยที่มีผู้ใหญ่หรือคนในครอบครัวอยู่ในสภาพเช่นนี้ว่า – สิ่งสำคัญของการมีชีวิตอยู่ไม่ใช่การมีลมหายใจ กินข้าวได้ หรือถ่ายได้เท่านั้น แต่รวมไปถึงการมีจิตใจ มีจิตวิญญาณและสังคมด้วย – การยืดชีวิตไว้นั้นบางครั้งก็แลกกับความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย – ความรักความกตัญญูในช่วงแรกอาจกลายสภาพเป็นความหดหู่ ความเบื่อหน่ายท้อแท้ในเวลาต่อมาได้ – การต้องนอนแต่บนเตียง…

  • แนวทางการรักษาแบบประคับประคอง นอกเหนือจากแพทย์แผนปัจจุบัน

    แนวทางการรักษาแบบประคับประคอง นอกเหนือจากแพทย์แผนปัจจุบัน

    แนวทางการรักษาแบบประคับประคอง นอกเหนือจากแพทย์แผนปัจจุบัน สำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว หากพูดถึงเรื่องความตายขึ้นมา ก็มักจะเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงกัน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความกลัวการตาย กลัวความเจ็บปวด กลัวภาวะความโดดเด่นจากความตาย กลัวว่าไม่รู้ว่าตายแล้วไปไหน ดังนั้นจึงมักจะหวังกันว่าเมื่อเวลาเจ็บป่วยใกล้ตายเข้าจริง ๆ แล้วคงจะได้รับการดูแลมิให้ต้องทุกข์ทรมาน แม้แพทย์และพยายามจะมีจรรยาบรรณที่ได้รับการปลูกฝังมาว่าจะดูแลผู้ป่วยอย่างเต็มความสามารถ แม้หมดหวังกจะคงให้การรักษาต่อไปอย่างประคับประคองแม้จะรู้กันดีกว่าหมดหวังแล้วก็ตาม ซึ่งในปัจจุบันนี้ผู้ป่วยมีสิทธิอีกประการหนึ่งที่สามารถทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์รับการบริการสาธารณสุขเพียงเพื่อยืดชีวิตไว้ในวาระสุดท้าย หรือเพื่อยุติความทรมานจากการเจ็บป่วย ตามมาตรา 12 ของ พรบ.สุขภาพแห่งชาติปี 2550 โดยมีเจตนาให้ผู้ป่วยได้กำหนดชะตาชีวิตของตนเอง เพื่อให้แพทย์และญาติมิตรได้ใช้เวลาที่เหลือในการดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และลดขั้นตอนการรักษาที่ไม่เกิดประโยชน์ นำไปสู่มุมมองใหม่ของการรักษาผู้ป่วยระยะสุดท้ายจากแพทย์และพยาบาลที่มีความเข้าใจเรื่องชีวิตและความตายมากขึ้น จึงได้มีการเชื่อมโยงวิธีการรักษาทางจิตวิญญาณเข้ามา แต่ก็ยังคำนึงถึงวิธีการที่จะบรรเทาไม่ให้ผู้ป่วยได้รับความทุกข์ทรมานอยู่ดี เป็นการรักษาแบบประคับประคองหรือการบำบัด ที่สำคัญ เมื่อพบว่าผู้ป่วยอาจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้แล้ว ซึ่งแนวทางการรักษานอกเหนือจากแพทย์แผนปัจจุบันนี้ได้แก่การนำเอาวิทยาการต่างๆ เข้ามาช่วย ไม่ว่าจะป็น การใช้ศิลปะบำบัด การสวดมนต์ ดนตรีบำบัด การฟังธรรม การทำสมาธิ ขึ้นอยู่กับความเชื่อและความศรัทธาของผู้ป่วยในทุกศาสนาให้สามารถยอมรับความจริงของชีวิตยามเมื่อความตายคืบคลานมาเยือนแล้วได้ โดยมีตัวอย่างมาแล้วว่าผู้ป่วยจำนวนหนึ่งสามารถลดความทรมานลงได้เมื่อได้ยินเสียงพระสวด หรือฟังเสียงสวดมนต์ที่ได้เคยสวดประจำ แล้วยังมีการน้อมนำให้ผู้ป่วยได้ขอขมาพระรัตนตรัย พ่อแม่ ผู้มีพระคุณ นำการแผ่เมตตา การให้ผู้ป่วยและญาติมิตรและผู้ที่เกี่ยวข้องได้กล่าวอโหสิกรรมซึ่งกันและการเป็นต้น ความตายนั้นเป็นธรรมดา แต่เมื่อถึงเวลาที่ตนเองต้องเดินทางไกลจริง ๆ แล้ว บางครั้งก็เป็นเรื่องยากที่จะยอมรับได้ จึงจำเป็นที่ผู้รักษาและญาติมิตรต้องส่งผู้ป่วยไปอย่างสงบและทรมานน้อยที่สุดค่ะ  

  • เจ็บป่วยแปลก ๆ ตอนออกกำลังกาย ใครเคยเป็นแบบนี้บ้าง?

    เจ็บป่วยแปลก ๆ ตอนออกกำลังกาย ใครเคยเป็นแบบนี้บ้าง?

    เจ็บป่วยแปลก ๆ ตอนออกกำลังกาย ใครเคยเป็นแบบนี้บ้าง? การออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายแบบหนัก ๆ อาจสร้างความบาดเจ็บให้กับร่างกายได้บ้าง แต่วันนี้จะขอนำเอาอาการทางร่างกายแบบแปลก ๆ มาให้คุณผู้อ่านที่ชอบออกกำลังกายสังเกตุอาการของตัวเองกันดูพร้อมวิธีป้องกันรักษานะคะ – เจ็บแปลบ ๆ บริเวณซี่โครง เมื่อออกกำลังกายไปได้ซักระยะ จะเกิดอาการเจ็บแปลบเหมือนโดนมีดเสียบบริเวณซี่โครงด้านหน้าใกล้ ๆ ช่องท้อง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญยังไม่สามารถระบุได้ว่ามีสาเหตุจากอะไร แต่เดาว่าน่าจะเกิดจากกระบังลมที่กระตุกอย่างแรงจนทำให้การหายใจผิดจังหวะ มักเกิดกับคนที่ออกกำลังกายใหม่ ๆ หรือออกกำลังกายตอนทานอิ่มๆ การป้องกันจึงควรทานอาหารเบา ๆ ก่อนออกกำลังกาย และควรออกกำลังกายหลังทานอาหารไปแล้วครึ่งชั่วโมง หากเกิดอาการเจ็บแปลบอีกให้หยุดพักสักครู่แล้วสูดลมหายใจเข้าลึก ๆ อีกทั้งควรวอร์มร่างกายก่อนออกกำลังกายด้วย – จู่ ๆ ก็น้ำมูกไหล หากออกกำลังกายในที่ ๆ ค่อนข้างเย็นหรือแห้งจัด ก็อาจมีน้ำมูกไหลได้ ซึ่งแพทย์เรียกอาการนี้ว่าจมูกอักเสบจากการออกกำลังกาย เพราะเววลาที่เราเหนื่อยและหายใจแรงก็จะสูดเอาอากาศเย็นแห้งเข้าไป จมูกจึงผลิตเมือกออกมาเพื่อรักษาโพรงจมูกไว้ วิธีการป้องกันคือขอให้แพทย์จ่ายยาพ่นจมูกมาให้ ไว้พ่อนก่อนออกกำลังกาย 30 นาทีและเตรียมทิชชู่ไว้ติดกระเป๋าด้วย – ท้องเสีย นักวิ่งมาราทอน หรือนักเดินระยะไกล คนที่ออกกำลังกายหนัก ๆ หรือนาน ๆ มักจะท้องเสียได้ เพราะแพทย์ระบุว่า…