Tag: ฮอร์โมน oxytocin
-
เชื่อหรือไม่ การมีคนใกล้ชิดนอนข้างตัว เป็นผลดีต่อสุขภาพและจิตใจ
เชื่อหรือไม่ การมีคนใกล้ชิดนอนข้างตัว เป็นผลดีต่อสุขภาพและจิตใจ นักวิจัยการศึกษาการนอน ชี้ว่า ถ้าคนในครอบครัว หรือ คนใกล้ชิดได้นอนร่วมเตียงเดียวกัน จะช่วยสร้างความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย และในสมัยก่อนการนอนก่อนกัน ยังเป็นการช่วยป้องกันอันตรายจากสัตว์ร้ายหรือศัตรู ซึ่งปัจจุบัน คนที่ได้นอนใกล้ชิดกันจะรู้สึกถึงความปลอดภัย และส่งเสริมให้สุขภาพจิตดี ผู้เชี่ยวชาญชี้ด้วยว่า การสัมผัสหรือโอบกอดระหว่างการนอน ทำให้ร่างกายปล่อยฮอร์โมน Oxytocin หรือที่เรียกว่าฮอร์โมนแห่งความรักออกมา และฮอร์โมนนี้มีผลในการช่วยผ่อนคลายความเครียด ลดความดันโลหิต ส่งเสริมกระบวนการซ่อมแซมของร่างกาย รวมทั้งช่วยให้เกิดความรู้สึกรัก ผูกพัน และมีความมั่นคงของจิตใจด้วย อย่างไรก็ตามผลการศึกษาชิ้นหนึ่ง เมื่อไม่นานมานี้แสดงถึงความสัมพัน์ระหว่างคุณภาพของการนอน กับปฏิสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรสที่มีลักษณะสวนทางกันระหว่างสองเพศ คือสำหรับในเพศชายแล้วหากการนอนช่วงกลางคืนเป็นไปได้ดีและมีคุณภาพ เรื่องนี้ก็จะมีผลช่วยให้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรสในช่วงวันถัดไปเป็นไปอย่างราบรื่น แต่สำหรับในเพศหญิง หากความสัมพันธ์กับคู่สมรสในช่วงกลางวันเป็นไปได้ดีไม่มีปัญหา เรื่องนี้ก็จะช่วยให้ฝ่ายหญิงนอนหลับได้ดีอย่างมีคุณภาพในคืนนั้น
-
นักวิทยาศาสตร์เปิดเผยว่า ฮอร์โมน oxytocin มีส่วนช่วยบำบัดเด็กที่เป็นโรค autism
นักวิทยาศาสตร์เปิดเผยว่า ฮอร์โมน oxytocin มีส่วนช่วยบำบัดเด็กที่เป็นโรค autism ทีมนักวิทยาศาสตร์อเมริกันเปิดเผยว่าฮอร์โมน oxytocin น่าจะมีส่วนช่วยปรับปรุงการทำงานของสมองในเด็กที่มีความบกพร่องของพัฒนาการทางสมองที่เรียกว่า autism ที่ทำให้เด็กขาดความสามารถในสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น การศึกษาวิจัยที่ค้นคว้าผลของ oxytocin ต่อเด็กที่เป็น autism เป็นผลสืบเนื่องมาจากการศึกษาหนูนาขนาดเล็กในสหรัฐและในแคนาดา ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า oxytocin มีบทบาทช่วยสร้างความสัมพันธ์ด้านจิตใจระหว่างแม่หนูและลูกหนู นักวิจัยพบว่าหนูนาที่อาศัยอยู่เป็นคู่จะมีระดับฮอร์โมน oxytocin ในระดับที่่สูง ในขณะที่หนูนาที่อยู่โดดเดี่ยวจะมีระดับฮอร์โมนตัวนี้ในระดับที่ต่ำกว่า เด็กในการทดลองกึ่งหนึ่งได้รับฮอร์โมน oxytocin ในรูปของสเปรย์ฉีดจมูกจำนวนหนึ่งครั้ง และเด็กจำนวนที่เหลือได้รับฮอร์โมนหลอก ทีมนักวิจัยทำการวิเคราะห์ภาพถ่ายสมองของเด็กในการศึกษาด้วยระบบคอมพิวเตอร์เพื่อดูการทำงานของระบบประสาทสมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และพฤติกรรมทางสังคม โดยทั่วไป การทำงานของสมองส่วนนี้จะบกพร่องในเด็กที่เป็นออติสซึ่ม แต่ทีมนักวิจัยพบว่าในกลุ่มเด็ก autism ที่ได้รับฮอร์โมน oxytocin สมองส่วนนี้กลับเริ่ม ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นและเริ่มแสดงอาการตอบสนองเมื่อมองเห็นหน้าผู้อื่น อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่ายังไม่สามารถนำการบำบัดแบบนี้ไปใช้ได้ทั่วไป