Tag: อีคิว
-
E.Q. กับความรักความผูกพันในครอบครัว
E.Q. กับความรักความผูกพันในครอบครัว การที่ครอบครัวจะอยู่ด้วยกันได้อย่างมีความสุข ต้องอาศัยความเข้าใจ การยอมรับและการประนีประนอมกัน จึงจะทำให้เกิดความสุขขึ้นภายในบ้านได้ หากต่างคนต่างเอาแต่ความคิดของตนเองเป็นใหญ่ เอาแต่เหตุผลส่วนตัวมาอ้าง ไม่พยายามเข้าใจกันและกัน หรือยอมรับความบกพร่องของแต่ละฝ่าย เมื่อมีปัญหาก็มักทุ่มเถียงไม่ลงกันให้ ปัญหาก็ไม่คลี่คลาย ซ้ำร้ายบางคู่ยังทำร้ายกันทั้งวาจาและร่างกายอีกด้วย การมีความครัวที่มีความสุข จึงต้องอาศัยการเรียนรู้ความต้องการและธรรมชาติของอีกฝ่าย เพราะคนเราเมื่อเข้าใจกันแล้ว การยอมรับก็ตามมา ทำให้เราสามารถอ่านอารมณ์และเข้าใจการตัดสินใจของคู่เราได้ ซึ่งหลักในการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์หรือ E.Q. เพื่อการสร้างครอบครัวให้มีความสุขนั้นมีอยู่ว่า – ให้ความเอาใจใส่และเข้าใจความวิตกกังวลของผู้อื่นในครอบครัว – รับรู้และตอบสนองต่อความต้องการของสมาชิกในครอบครัวได้ – เข้าใจศักยภาพของคนในครอบครัว และสนับสนุนให้ใช้ความรู้ความสามารถนั้นได้ถูกทาง – จริงใจต่อกัน เพราะนี่เป็นรากฐานของความผูกพันทางอารมณ์ที่จะทำให้อยู่ร่วมกันได้นานวัน สมองที่ฉลาดปราดเปรื่องหรือมีไอคิวสูงมาก ๆ นั้น กลับยิ่งสร้างปัญหาให้กับครอบครัวมากกว่า เพราะยิ่งฉลาดมากเท่าไร ยิ่งมีเหตุผลมากเท่าไร ก็ยิ่งไม่ยอมกัน จะพยายามเอาชนะกันตลอด จะเห็นได้ว่าคนเก่ง ๆ ในสังคมจำนวนไม่น้อยไม่สามารถใช้ชีวิตคู่ได้อย่างมีความสุข การใช้ชีวิตคู่ให้มีความสุขนั้นไม่มีสูตรสำเร็จ เพราะทุกคู่ก็มีปัญหาและอุปสรรคที่แตกต่างกันไป การรักษาความสุขของครอบครัวเอาไว้จึงเป็นเรื่องที่คนภายในครอบครัวต้องเรียนรู้กันเอง ด้วยหัวใจและความรัก จึงจะสามารถประคับประคองครอบครัวเอาไว้ได้
-
ขยันเรียนแทบตาย.. แต่ทำไมยังสอบตก?
ขยันเรียนแทบตาย.. แต่ทำไมยังสอบตก? หลักการเรียนการสอนปัจจุบันนี้ ยอมรับการแล้วว่าจำเป็นต้องสอนให้เด็กมีความรู้พัฒนาไปทั้งทางด้านของไอคิวและอีคิวไปพร้อมกัน โดยไอคิว ก็คือ ระดับของสติปัญญาความรู้ ส่วนอีคิวนั้นจะหมายถึงความฉลาดทางอารมณ์ มีความสามารถในการจัดการอารมณ์เพื่อให้ชีวิตมีความสุขและมีความคิดสร้างสรรค์ แต่ปัญหาของการเรียนการสอนในโรงเรียนทุกวันนี้กลับมีปัญหาที่แก้ไม่ตกอยู่บางประการก็คือ เด็กบางคนอ่านหนังสือแทบตายแล้วก็ยังสอบตกอยู่ดี เด็กขี้เกียจไม่เรียนไม่อ่านหนังสือ แล้วสอบตกหรือทำข้อสอบไม่ได้นั้นก็เป็นเรื่องที่พอเข้าใจได้ แต่ทำไมเด็กหัวดี ขยันเรียนทั้งหลายนั้น ยิ่งเรียนก็เหมือนยิ่งโง่ลง หรือยิ่งเรียนแล้วก็เหมือนยิ่งเสียสุขภาพจิตไปเรื่อง ๆ อ่านหนังสือหัวแทบแตกแต่ก็ทำข้อสอบไม่ได้ ฯลฯ ต่าง ๆ เหล่านี้ แล้วมีเด็กประเภทนี้เป็นจำนวนมากทั่วประเทศ บางทีเราคงต้องหันมามองในด้านตรงข้ามกับเด็กบางแล้วล่ะ ว่าปัญหาอยู่ที่ตรงจุดไหนกันแน่ ปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจสร้างปัญหาให้เด็กเป็นเช่นนั้น อาจจะเป็น ครูหรืออาจารย์ไม่เข้าใจในสิ่งที่ตัวเองสอนอย่างแท้จริง สอนไม่เก่ง ถ่ายทอดไม่เป็น สอนนอกหลักสูตร หรือหลักสูตรไม่เหมาะสม ตลอดจนข้อสอบที่ออกมาวัดผลนั้นไม่เป็นไปตามหลักสูตรที่สอน หรือสิ่งที่เป็นความรู้ หรือจงใจออกข้อสอบเพื่อให้เด็กส่วนใหญ่ทำไม่ได้ก็มี (ทำได้เฉพาะเด็กตัวเอง หรือที่กวดวิชากับตัวเอง) และสิ่งเหล่านี้มักจะพบเห็นได้ชัดเจนในวาระของการสอบแข่งขันโดยใช้ข้อสอบรวมเดียวกัน การสอนของครูในห้องเรียนรวมไปถึงหลักการออกข้อสอบนั้น แบ่งออกได้เป็นสามประเภท ได้แก่ ตามหลักสูตร ตามหลักการ ตามหลักกู ซึ่งข้อสุดท้ายหรือ ตามหลักกูนี่แหล่ะที่สร้างปัญหา ทำให้ขาดความน่าเชื่อถือมากที่สุด แต่กลับถูกใช้มากที่สุด ในบางวิชาหากมีครูหลายคน บางครั้งก็สอนไม่เหมือนกัน เมื่อเด็กมาสอบรวมกันจึงเป็นปัญหา ข้อสอบบางข้อไม่มีในตำรา…
-
พิษร้ายจากแอลกอฮอล์ ลดได้ทั้งอีคิว และไอคิว
พิษร้ายจากแอลกอฮอล์ ลดได้ทั้งอีคิว และไอคิว แม้สารเคมีและแอลกอฮอล์ในเหล้า หรือเครื่องดื่มมึนเมาทั้งหลายจะทำให้ผู้ดื่มรู้สึกครึ้มอกครึ้มใจ และผ่อนคลาย รวมทั้งอารมณ์ดีสนุกสนานขึ้นเมื่อดื่มก็ตาม แต่หากดื่มเป็นระยะเวลานาน ๆ ในปริมาณมากแล้ว แอลกอฮอล์จะกลายเป็นพิษร้ายที่ทำลายสุขภาพได้อย่างชะงัด ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมลงทั้งร่างกายและจิตใจไปด้วย ลุกลามไปถึงสร้างปัญหาในทางบุคลิกภาพและทางสังคมในระยะยาวอีกด้วยค่ะ – การดื่มสุราทำให้ผู้ดื่มมีระดับเชาวน์ปัญญาลดลง โดยพบว่ากลุ่มที่เพิ่งเริ่มดื่มในช่วงอายุ 20-29 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มวัยเรียนและวันทำงานนั้น มีระดับของสติปัญญาที่ลดลงมากกว่าผู้ที่เริ่มดื่มสุราในช่วงอายุอื่น ๆ – จากการศึกษาขององค์การอนามัยโลกพบว่ากว่าร้อยละ 30 หรือ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยที่มีปัญหาทางจิตมีสาเหตุมาจากการดื่มสุรา โดยสารพิษที่เกิดจากการเผาผลาญแอลกอฮอล์ในร่างกายจะเข้าทำลายสารเคมีในสมอง ส่วนที่ทำให้คนเรารู้สึกสงบและเป็นปกติสุข คนที่ดื่มสุราจนติดจึงมีจิตใจที่อ่อนไหวและอารมณ์ที่ไม่มั่นคง มีความอดทนต่อความเครียดและความกดดันลดน้อยลง ขาดสมาธิ และมีปัญหาบุคลิกภาพได้ในที่สุด ทำให้เกิดอาการประสาทหลอน หวาดระแวง ความจำเสื่อม โรคซึมเศร้า โรคหวาดกลัวผิดปกติ ฯลฯ ซึ่งอาการทางจิตจากการดื่มสุรานี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งเพศชายและเพศหญิง – ผู้ที่ดื่มสุรามักมีแนวโน้มเป็นคนที่รุนแรง เพราะการดื่มแอลกอฮอล์จะเข้าไปกดการทำงานของสมองส่วนที่ควบคุมความรู้สึกผิดชอบชั่วดี สมองส่วนอื่น ๆ จึงมีอิทธิพลต่อความคิดมากขึ้น ผู้ดื่มจึงขาดความยับยั้งชั่งใจจากที่เคยมีในเวลาปกติ เป็นสาเหตุให้ต่อความรุนแรง และมีพฤติกรรมที่เดือดร้อน เป็นอันตรายต่อตัวเองและผู้อื่น รวมทั้งเด็กที่เติบโตในครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงนี้ จะมีปัญหาบุคลิกภาพตามไปด้วย และมีโอกาสที่จะเติบโตไปมีบุคลิกภาคและพฤติกรรมที่ชอบดื่มเหมือนคนในครอบครัวที่เคยเห็นในวัยเด็กได้อีก…