Tag: อาหารเป็นพิษ

  • ปวดท้อง ปวดยังไง ขนาดไหนจึงไปหาหมอ?

    ปวดท้อง ปวดยังไง ขนาดไหนจึงไปหาหมอ?

    ปวดท้อง ปวดยังไง ขนาดไหนจึงไปหาหมอ? ปวดท้อง เป็นอาการป่วยพื้นฐานที่พบได้บอ่ย ๆ บางคนก็เป็นอยู่เป็นประจำจนไม่ได้ใส่ใจมากนัก คิดว่าเป็นได้เดี๋ยวก็หายไปเอง แต่หารู้ไม่ว่าอาการปวดท้องบางอย่างเป็นสัญญาณเตือนให้คุณรู้ว่า ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้ละเอียดดีกว่า ก่อนที่จะกลายเป็นโรคลุกลามได้ อาการปวดท้องนั้นเกิดได้หลายสาเหตุ ตั้งแต่ปวดเล็กน้อย จนถึงปวดรุนแรงมาก อาการปวดอาจสัมพันธ์กับอวัยวะโดยตรงเช่น รังไข่ กระเพาะปัสสาวะ กระเพาะอาหาร ที่พบได้บ่อยจะเป็นการปวดท้องเพราะอวัยวะในทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ ไส้ติ่งอักเสบ ซึ่งจะเป็นโรคใดก็ต้องวินิจฉัยว่าปวดที่ตำแหน่งไหน อาการปวดเป็นอย่างไร รวมไปถึงความรุนแรงและช่วงเวลาที่ปวดท้องด้วย นอกจากนี้ยังมีอาการของโรคอื่น ๆ ที่ทำให้ปวดท้องได้ด้วย เช่น โรคหลอดเลือดขนาดใหญ่ในช่องท้อง อาการหัวใจวายเฉียบพลัน ตับอักเสบ นิ่วในไต โรคลำไส้ โรคหัวใจและปอดอักเสบก็ทำให้เกิดอาการปวดท้องรุนแรงได้เช่นกัน หากเป็นเพศหญิงก็ต้องนึกถึงสาเหตุของอวัยวะสืบพันธุ์ต่าง ๆ แม้แต่ผู้ป่วยโรคงูสวัดที่บริเวณท้องก็อาจทำให้ปวดท้องรุนแรงได้ ฯลฯ แต่กว่าครึ่งของคนที่ปวดท้องจะวินิจฉัยหาสาเหตุได้ผล ในขณะที่อีกครึ่งหนึ่งอาจหาสาเหตุไม่ได้ เมื่ออาการทุเลาหายไปก็ยังไม่สามารถทราบสาเหตุที่แน่ชัดอยู่ดี อาการปวดท้องที่ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษานั้นก็ได้แก่ – ปวดนานกว่า 6 ชั่วโมงและมีอาการมากขึ้น – ปวดจนกินอะไรไดม่ได้ – ปวดท้องและอาเจียนมากกว่า 3-4 ครั้ง –…

  • 5 กลุ่มโรคที่มาพร้อมกับฤดูฝน

    5 กลุ่มโรคที่มาพร้อมกับฤดูฝน

    5 กลุ่มโรคที่มาพร้อมกับฤดูฝน เพราะในหน้าฝนมีอุณหภูมิที่เริ่มเย็นลง กับมีความชื้นในอากาศที่สูงขึ้น ด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเช่นนี้ ทำให้มีหลายโรคที่ระบาดขึ้นได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งโรคดังกล่าวก็ได้แก่ 5 กลุ่มโรคต่อไปนี้ทำควรป้องกันการติดต่อมากเป็นพิเศษ 1. กลุ่มโรคทางเดินอาหาร ทั้งท้องร่วง ไทรอยด์ บิด อาหารเป็นพิษ เกิดจากการทานอาหารที่มีเชื้อโรคในระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำ อาจมีไข้และปวดบิดในท้อง หากติดเชื้อบิดก็อาจถ่ายเป็นมูกหรือมีเลือดปนออกมากับอุจจาระได้ จึงควรระวังการทานอาหารมากเป็นพิเศษ ควรทานอาหารที่สุกใหม่ ๆ และใช้ช้อนกลางด้วย 2. กลุ่มโรคติดเชื้อทางเยื่อบุผิวหนังหรือบาดแผล ที่พบได้บ่อยก็โรคฉี่หนู อาการจะมีไข้สูง ปวดหัวมาก มักปวดกล้ามเนื้อบริเวณน่องและโคนขาอย่างรนแรง ตาแดง มักเกิดในที่น้ำท่วม ผู้ที่บ้านมีหนูมาก ชาวไร่ชาวสวน ผู้ที่ทำงานกับการแช่น้ำ ในที่เฉอะแฉะ หรือผู้ที่ทำงานลอกท่อระบายน้ำ ทำงานเหมืองแร่ โรงฆ่าสัตว์ คนงานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ ฯลฯ 3. กลุ่มโรคทางเดินหายใจ ได้แก่ หวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบหรือปอดบวม รวมไปถึงโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่มีแหล่งแพร่ระบาดจากสัตว์ปีก ซึ่งเชื้ออาจข้ามสายพันธุ์กับเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในหน้าฝนได้ 4.…

  • ทานอาหารให้ปลอดภัยในช่วงหน้าร้อน

    ทานอาหารให้ปลอดภัยในช่วงหน้าร้อน

    ทานอาหารให้ปลอดภัยในช่วงหน้าร้อน หน้าร้อนเป็นช่วงเวลาที่อาหารบูดเสียได้ง่าย เพราะอากาศร้อนทำให้เชื้อโรคต่าง ๆ เจริญเติบโตได้รวดเร็ว ดังนั้นในช่วงหน้าร้อนจึงเป็นช่วงเวลาที่มักจะพบผู้ป่วยอาหารเป็นพิษ ท้องร่วงท้องเสียได้บ่อยครั้ง เกิดขึ้นได้จากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ไม่สะอาด มีสารพิษเชื้อโรคปะปน อาหารที่ปรุงไม่สุก อาหารค้างคืนที่ไม่อุ่น อาหารกระป๋องที่หมดอายุแล้ว รวมไปถึง การจัดเก็บอาหารที่ไม่เหมาะสมและสุขอนามัยที่ไม่ดีของคนปรุงอาหารด้วย ทำให้มีเชื้อโรคหรือสารพิษปนเปื้อนในอาหารได้ รวมไปถึงการทานอาหารรสจัดก็ทำให้ท้องเสีย ท้องเดินได้เช่นกัน อาหารเป็นพิษนั้นจะมีอาการเกิดขึ้นหลังจากทานอาหารไปแล้วประมาณ 1 ชั่วโมงถึง 1 วัน ขึ้นกับชนิดและขนาดของเชื้อที่ได้รับเข้าไป จะทำให้มีอาการท้องเสีย ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเป็นน้ำหรือมีมูกปนได้ อาจมีไข้ อ่อนเพลีย หากรุนแรงเชื้ออาจติดเข้าไปในกระแสเลือด เลือดเป็นพิษ และพิษจากพืชบางชนิดอาจมีผลต่อระบบประสาททำให้ชัก หมดสติและตายได้ และหากมีอาการดังต่อไปนี้ควรรีบไปพบแพทย์.. ท้องเสียท้องเดินไม่ดีขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง มีอาการคลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง อุจจาระมีมูกหรือเลือดปนกลิ่นเหม็นเหมือนกุ้งเน่า มีไข้สูง หนาวสั่น เพราะมีภาวะลำไส้อักเสบหรือติดเชื้อในกระแสเลือด หรือเด็กที่ท้องเสียอายุน้อยกว่า 3 ขวบ เป็นผู้สูงอายุ เป็นสตรีมีครรภ์ เพราะบุคคลเหล่านี้อาจเสียชีวิตได้ง่าย และจะทำให้เกิดความผิดปกติกับแม่หรือลูกในครรภ์ได้ด้วย การดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากอาการท้องเสียท้องเดิน และอาหารเป็นพิษ ก็คือการทานอาหารที่สดสะอาด ปลอดภัย ไม่ควรทานอาหารที่มีรสจัดหรือไม่สะอาด อาหารที่ไม่เคยทานมาก่อน…

  • ในไส้กรอกมีสาร “โบท๊อกซ์” ด้วยนะ รู้หรือเปล่า?

    ในไส้กรอกมีสาร “โบท๊อกซ์” ด้วยนะ รู้หรือเปล่า?

    ในไส้กรอกมีสาร “โบท๊อกซ์” ด้วยนะ รู้หรือเปล่า? จุดเริ่มต้นของไส้กรอกนั้นเริ่มมากจากการประหยัดและการถนอมอาหารนั่นเองค่ะ โดยจะเป็นการเก็บเอาเศษเนื้อ เครื่องใน เลือด ไขมัน และอวัยวะส่วนต่าง ๆ ที่ขายไม่ได้แต่ยังกินได้อยู่มาปรุงรสแล้วกรอกใส่ไว้ในไส้วัว ไส้ควาย ไส้หมู ฯลฯ มีการพัฒนาสูตรต่าง ๆ มากมาย ปรุงรสหลากหลายด้วยสมุนไพร เครื่องเทศหลายอย่างตามภูมิภาค แล้วยัดใส่ไส้หรือวัสดุสังเคราะห์อื่น ๆ และเก็บรักษาไว้ด้วยกรรมวิธีที่ไม่ทำให้เน่าเสีย ในสมัยสงครามนั้นมีคนที่เสียชีวิตจากอาการอาหารเป็นพิษเป็นจำนวนมาก และมักเกิดหลังจากทานไส้กรอก หลังจากการค้นคว้าหาสาเหตุจึงพบว่า ไส้กรอกนั่นเองที่เป็นตัวต้นสาเหต ทำให้ร่างกายเป็นอัมพาตได้ด้วยโรคพิษจากไส้กรอก ที่มีชื่อทางการแพทย์ว่า โบทูลินัม มาจากภาษาละลิตว่า โบทูลัสที่แปลว่าไส้กรอก ซึ่งพิษที่เกิดจากไส้กรอกนี้จะทำให้เกิดอาการอ่อนแรงและเหงื่อไม่ออก แต่ปรากฏว่าหลังจากนั้นได้มีการนำเอาพิษปริมาณเล็กน้อยนี้ไปรักษาอาการผิดปกติของระบบประสาท รักษาอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง รักษาตาเหล่ ตาเข นำมาใช้กับกล้ามเนื้อบนใบหน้าทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว รอยเหี่ยวย่นจึงลดลง สามารถนำมาฉีดรักแร้ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ให้กับผู้ที่มีเหงื่อออกมาก นั่นก็คือยาที่รู้จักกันดีในชื่อ โบท๊อกซ์ นั่นเอง ชื่อเต็ม ๆ ก็คือสารพิษโบทูลินัม โดยสารพิษตัวนี้ก็พบในอาหารไทยได้เช่นกัน ก็คือ หน่อไม้ปี๊บที่เคยเป็นข่าวเมื่อไม่นานมานี้นั่นเอง แต่ไม่ใช่ว่าจะหาไส้กรอกหรือหน่อไม้ปี๊บมากินเพื่อจะได้หน้าไม่เหี่ยวย่น หรือลดเหงื่อตามส่วนต่าง ๆ…

  • บทบัญญัติ 10 ประการจากองค์การอนามัยโลก ช่วยป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ

    บทบัญญัติ 10 ประการจากองค์การอนามัยโลก ช่วยป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ

    บทบัญญัติ 10 ประการ จากองค์การอนามัยโลกช่วยป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ ในช่วงหน้าร้อนนี้จะพบการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษได้มากขึ้น ยิ่งเป็นอาหารที่ปรุงโดยสุก ๆ ดิบ ๆ หรืออาหารที่ทำไว้นานเกิน 4 ชั่วโมงด้วยแล้ว แบคทีเรียจะเจริญเติบโตได้เร็ว ทำให้อาหารบูดเสียง่าย อากาศเมืองไทยก็เป็นเมืองร้อน จึงยิ่งเร่งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้เร็วขึ้น ซึ่งเมนูอันตรายที่ทำให้เป็นอาหารเป็นพิษนั้นก็ได้แก่ ลาบหมู ก้อยดิบ ยำกุ้งเต้น ยำหอยแครง ข้าวผัดโรยด้วยเนื้อปู ยิ่งโดยเฉพาะอาหารที่ทำปริมาณมาก ๆ เช่น อาหารกล่องแจกนักเรียน อาหารกล่องนักท่องเที่ยวหรือผู้ประสบภัย อาหารที่ปรุงเข้ากะทิ ขนมจีน ข้าวมันไก่ ส้มตำ สลัดผัก รวมไปถึงน้ำแข็งด้วย การป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคอาหารเป็นพิษนั้นให้ใช้บทบัญญัติ 10 ประการจากองค์การอนามัยโลก ดังต่อไปนี้ค่ะ 1. ทานอาหารที่ผ่านกระบวนการที่สะอาดและปลอดภัย เช่น นมพาสเจอร์ไรซ์ ผักผลไม้ที่ล้างด้วยน้ำมาก ๆ ให้สะอาดอย่างทั่วถึง 2. ปรุงอาหารให้สุกทั่วถึงก่อนทาน 3. ทานแต่อาหารที่ปรุงสุกใหม่ 4. หากจำเป็นต้องเก็บอาหารที่ปรุงสุกไว้นานกว่า 4-5 ชั่วโมงควรเก็บไว้ในตู้เย็น อาหารสำหรับเด็กทารกไม่ควรเก็บข้ามมื้อ 5. ก่อนที่จะนำอาหารมาทานควรอุ่นให้ร้อนจนเดือด…

  • วิธีป้องกันและรักษาโรคติดต่อทางเดินอาหารเบื้องต้น

    วิธีป้องกันและรักษาโรคติดต่อทางเดินอาหารเบื้องต้น

    วิธีป้องกันและรักษาโรคติดต่อทางเดินอาหารเบื้องต้น ในฤดูร้อนและฤดูฝนที่บางครั้งก็มีฝนตกหนักจนน้ำท่วมนั้น เป็นระยะที่มีการระบาดของโรคท้องเดิน อาหารเป็นพิษ อหิวาห์ ไข้ไทฟอยด์ได้ ซึ่งอาการของโรคเหล่านี้ได้แก่ ถ่ายเหลว หรือถ่ายเป็นถ่าย ถ่ายมีมูกเลือด มักปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และมีไข้ร่วมด้วย ไข้ไทฟอยด์นั้นมักจะมีไข้สูงตลอดเวลานานเป็นอาทิตย์ ปวดหัวและนอนซม ซึ่งโรคติดต่อทางเดินอาหารเหล่านี้สามารถป้องกันได้ด้วย – ทานอาหารที่ปรุงสุกและสะอาด ไม่บูดเสีย ไม่กินอาหารที่มีกลิ่นบูด หรือทิ้งค้างคืนและอาหารที่มีแมลงวันตอม – ให้ดื่มแต่น้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุก น้ำดื่มบรรจุขวด – หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ ทั้งก่อนปรุงอาหาร เตรียมอาหาร ก่อนทานอาหารและหลังจากเข้าห้องน้ำ – หากต้องติดอยู่ในที่น้ำท่วม ห้ามถ่ายอุจจาระลงน้ำ ควรถ่ายลงส้วมดัดแปลงหรือถ่ายใส่ถุงพลาสติกแล้วใส่ปูนขาวลงไปจำนวนพอสมควรแล้วปิดปากถุงให้แน่นแล้วนำไปใส่ไว้ในถุงดำ หรือถุงขยะ แต่หากมีอาการท้องเดินแล้ว ให้รักษาตัวเบื้องต้นดังต่อไปนี้ – ดื่มน้ำตาลเกลือแร่โออาร์เอส หรือน้ำข้าวต้มใส่เกลือ น้ำอัดลมใส่เกลือ หรือจะปรุงเองโดยใช้น้ำตาลทราย สองช้อนโตะ และเกลือครึ่งช้อนชาเล็ก ดื่มบ่อย ๆ ครั้งละครึ่งแก้วให้เพียงพอกับที่ถ่ายออกไป จะสังเกตได้ว่าปัสสาวะจะมากและใส – ให้ทานยาแก้ไข้พาราเซตามอลหากมีไข้สูง – สำหรับเด็กเล็กนั้นให้ดื่มนมแม่ตามปกติ ถ้ากินนมผงให้ผสมนมให้จางลงครึ่งหนึ่งจากที่เคยชงจนกว่าอาการจะเริ่มทุเลา…

  • ปรับพฤติกรรมการกินเลี่ยงอาหารเป็นพิษ

    ปรับพฤติกรรมการกินเลี่ยงอาหารเป็นพิษ

    ปรับพฤติกรรมการกินเลี่ยงอาหารเป็นพิษ อาหารเป็นพิษ นั้นหมายถึง อาหารป่วยที่เกิดจากการกินอาหารที่มีการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส พยาธิ หรือสารพิษต่าง ๆ รวมไปถึงสารเคมี โลหะหนักและสารพิษในธรรมชาติของสัตว์หรือพืช ไม่ว่าจะเป็น พิษจากเห็ดพิษ หรือพิษจากปลาปักเป้าหรือสาหร่ายบางชนิดด้วย ฯลฯ ยิ่งโดยเฉพาะในช่วงเดือน มี.ค. ถึงเดือน ก.ย. เป็นช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน เชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ ก็เจริญเติบโตได้ดี รวมไปถึงเห็ดตามธรรมชาติด้วย อีกทั้งพฤติกรรมการกินที่ชอบกินอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ อย่าง ลาบ ลวกจิ้ม ลู่ เหล่านี้ ก็ทำให้มีผู้ป่วยอาหารเป็นพิษมากเป็นพิเศษ หลังจากกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไปแล้วผู้ป่วยจะเกิดอาหารภายในเวลา 1 ชม. จนถึง 7-8 วัน จะทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ไข้ขึ้น เบื่ออาหาร ท้องเดิน บางรายอาจเป็นหนักมากจนสูญเสียน้ำและแร่ธาตุในร่างกาย จนอาจหมดสติและเสียชีวิตได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันระวังโรคอาหารเป็นพิษ ควรปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้ – ทานอาหารที่ปรุงสุกแล้วเท่านั้น หลีกเลี่ยงอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ทุกชนิด –…

  • มุมมองที่แตกต่างกันเกี่ยวกับ “ไข่” ระหว่างสหรัฐอเมริกาและอียู

    มุมมองที่แตกต่างกันเกี่ยวกับ “ไข่” ระหว่างสหรัฐอเมริกาและอียู

    มุมมองที่แตกต่างกันเกี่ยวกับ “ไข่” ระหว่างสหรัฐอเมริกาและอียู ในระยะปี 1996 ถึงปี 2012 นั้น มีการระบาดของเชื้อซัลโมเนลล่าในสหรัฐอเมริกาถึง 45 ครั้ง ทำให้มีคนป่วยถึง 1,581 ราย มีอการหนักถึงต้องพักรักษาในโรงพยาบาล 221 คน และมีผู้เสียชีวิต 5 ราย และจากสถิติการระบาดของเชื้อท้องเสียซาลโมเนลลในสหรัฐฯ ช่วงปี 2004-2008 มีสาเหตุมาจากสัตว์ปีก 29% ไข่ 18% ซึ่งก็เท่ากับ 47% หรือเกือบครึ่งจากสาเหตุทั้งหมด (ที่เหลือมาจากเนื้อหมู 12% เนื้อวัว 8% และไวน์, พืชผัก, ผลไม้และ เมล็ดพืชเปลือกแข็ง (นัท เช่น อัลมอนด์ ฯลฯ) 13% อื่นๆ 20% ) จากเดิมเคยเชื่อว่าไข่นั้นติดเชื้อซัลโมเนลล่าผ่านการปนเปื้อนมูลสัตว์ หรือติดจากทางเดินอาหาร แต่การศึกษาใหม่พบว่า เชื้อท้องเสียซาลโมเนลลา ผ่านจากทางเดินอาหาร (ลำไส้) เข้าสู่กระแสเลือดสัตว์ปีกก่อน ทำให้รังไข่ติดเชื้อ และมีโอกาสพบเชื้อในไข่ที่…

  • โรคท้องเสีย อาการธรรมดาที่อาจไม่ธรรมดา

    โรคท้องเสีย อาการธรรมดาที่อาจไม่ธรรมดา

    โรคท้องเสีย  อาการธรรมดาที่อาจไม่ธรรมดา อย่าเพิ่งแปลกใจที่หัวข้อเรื่องนี้อาจขัดความคิดของใครหลาย ๆ คน เพราะเข้าใจมาตลอดว่าอาการท้องเสียนั้นเป็นเรื่องธรรมดา แต่บทความในวันนี้จะนำคุณผู้อ่านได้ไปเห็นว่าความจริงแล้วอาการท้องเสียนั้น อาจนำไปสู่อาการที่คาดไม่ถึงและเสียชีวิตได้เช่นกัน หากชะล่าใจ เรามาระแวดระวังเรื่องนี้ด้วยการใส่ใจกับอาการท้องเสียและหาความรู้กันใหม่ก่อนดีกว่า โรคท้องร่วง ท้องเสีย หรืออุจจาระร่วงนั้น หมายถึงการถ่ายอุจจาระเหลว หรืออุจจาระเป็นน้ำเกินกว่า 2 ครั้งในวันเดียว หรือการอุจจาระเป็นมูกปนเลือดเพียงครั้งเดียวก็ถือว่าท้องเสียแล้ว ซึ่งในอดีตนั้นจะเรียกการถ่ายอุจจาระที่ปนมูกเลือดว่าเป็นโรคบิด เพราะผู้ป่วยจะมีอาการปวดบิดในท้องขณะที่เบ่งอุจจาระไปด้วย โรคท้องเสียนั้นแบ่งออกได้เป็นสองชนิดก็คือ 1. โรคท้องเสียแบบเฉียบพลัน มักจะเกิดจากอาหารเป็นพิษ หรือติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย พยาธิในลำไส้ 2. โรคท้องเสียแบบเรื้อรัง ซึ่งมักมีอาการท้องเสียนานกว่า 2 อาทิตย์เป็นต้นไป มักไม่ได้เกิดจากอาหารเป็นพิษ หรือติดเชื้อ แต่เกิดจากการย่อยอาหารและการดูดซึมที่ผิดปกติ การอักเสบจากภูมิแพ้ หรือติดเชื้อ ตลอดจนเป็นมะเร็งในทางเดินอาหาร ดังนั้นโรคท้องเสียชนิดนี้จึงเป็นเรื่องไม่ธรรมดา หรือแม้แต่ท้องเสียแบบเฉียบพลันเอง ก็อาจพบได้ว่าทำให้เสียชีวิตได้เหมือนกัน ถ้าได้รับการรักษาไม่ถูกต้องหรือช้าเกินไป ส่วนใหญ่การเสียชีวิตจะเกิดจากภาวะช็อก หรือภาวะที่เกิดจากการขาดน้ำและเกลือแร่เป็นจำนวนมาก ส่วนน้อยที่จะเกิดจากภาวะโลหิตเป็นพิษ ซึ่งทั้งสองแบบมีอาการเตือนแต่อาจถถูกละเลยจากแพทย์และผู้ป่วยเอง เพราะถ้าสังเกตได้ทันก็จะรอดชีวิต ซึ่งทุกคนควรสังเกตอาการเหล่านี้เอาไว้ โดยสัญญาณอันตรายมีทั้งหมด 6 ข้อดังต่อไปนี้ และผุ้ป่วยต้องรีบบอกแพทย์ไม่ว่าแพทย์จะถามหรือไม่ก็ตาม อีกทั้งสัญญาณเตือน 6 ข้อนี้ยังสามารถใช้กับโรคที่เกิดอาการช็อกแทรกซ้อนอื่น…

  • 7 เคล็ดลับการทานอาหารนอกบ้านอย่างไร ปลอดภัยจากโรคท้องร่วง

    7 เคล็ดลับการทานอาหารนอกบ้านอย่างไร ปลอดภัยจากโรคท้องร่วง

    7 เคล็ดลับการทานอาหารนอกบ้านอย่างไร ปลอดภัยจากโรคท้องร่วง ในช่วงไตรมาสแรกของปี หรือในช่วงสามเดือนนี้ อธิบดีกรมควบคุมโรค นายแพทย์โสภพ เมฆธน ได้เปิดเผยว่า คนไทยป่วยเป็นโรคอาหารเป็นพิษแล้วถึง สามหมื่นกว่าคน อีกทั้งยังมีความเกรงกลัวต่อโรคท้องร่วงอาหารเป็นพิษมากที่สุดเมื่อเดินทางไปข้างนอกบ้าน พร้อมแนะวิธีเลือกอาหารเวลาต้องทานข้าวนอกบ้านให้ห่างไกลจากโรคท้องร่วงด้วย อีกทั้งนพ.โสภณ เมฆธน ยังเปิดเผยอีกว่าจากข้อมูลเฝ้าระวังโรคอาหารเป็นพิษ โดยสำนักระบาดวิทยา ในช่วงสามเดือนแรกของปี พบผู้ป่วยแล้ว 31,627 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 49.79 ต่อแสนประชากร ซึ่งอันดับสูงสุด 5 อันดับแรกคือ อุดรธานี หนองบัวลำภู อุบลราชธานี บุรีรัมย์ จังหวัดตราด ซึ่งโรคอาหารเป็นพิษดังกล่าวเกิดจากการกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคหรือสารพิษที่เชื้อโรคสร้างเข้าไป ซึ่งการปนเปื้อนอาจเกิดตั้งแต่แหล่งผลิตอาหาร แหล่งปรุง เสิร์ฟอาหาร หรือแม้กระทั่งปนเปื้อนขณะกิน สำหรับอาการของโรคที่พบได้มากก็คือ มีอาการท้องร่วง อุจจาระเหลว มีอาการปวดท้องมาก คลื่นไส้อาเจียน มีไข้และปวดเมื่อยเนื้อตัว รวมทั้งปวดข้ออีกด้วย ฯลฯ “ผู้ที่ป่วยเป็นโรคอาหารเป็นพิษมักไม่ค่อยมีอาการรุงแรง ยกเว้นได้รับเชื้อชนิดรุนแรง หรือในรายที่เสียน้ำในร่างกายไปมาก รวมไปถึงคนแก่และเด็กเป็นต้น โดยโรคนี้สามารถรักษาตามอาการด้วยการให้สารละลายเกลือแร่ทดแทน และน้ำตาลทางปาก” อธิบดี คร. กล่าว โดยวิธีป้องกันโรคท้องร่วงและอาหารเป็นพิษนั้นต้องป้องกันกันที่ต้นเหตุก็คือ…