Tag: อากาศร้อน
-
ภาวะฮีตสโตรกคืออะไร?
ภาวะฮีตสโตรกคืออะไร? ฮีตสโตรกก็คือ โรคลมแดดนั่นเอง มีสาเหตุมาจากร่างกายไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับความร้อนที่เกิดขึ้นทั้งภายนอกและภายในร่างกายได้ ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยขึ้น ตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงเสียชีวิตได้ แบ่งออกเป็นสามกลุ่มได้แก่ 1. ฮีตสโตรกจากการออกกำลังกายหนัก มักเกิดในกลุ่มผู้ที่แข็งแรงมาก่อน เช่น นักกีฬา เด็กวัยรุ่น เด็กโต ทหารเกณฑ์ที่ฝึกกลางอากาศร้อนจัด ผู้ที่ไม่ฟิตแต่ออกกำลังกายเกินตัว ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ต้องมีปัจจัยร่วมกับอากาศร้อนภายนอกด้วย 2. Classical Hear Stroke มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ มีโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยที่ต้องกินยาประจำหรือผู้ป่วยที่นอนติดเตีรยง เด็กเล็กที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ 3. ฮีตสโตรกจากการใช้ยาหรือสารเคมีบางอย่าง เช่น ยาระงับประสาทบางตัว แอมเฟตามีน โคเคน ยาคลายกล้ามเนื้อเป็นต้น ฯลฯ อาการของฮีตสโตรกนี้ได้แก่ มีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 41 องศาเซลเซียยศ กระสับกระส่าย มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป หูแว่ว เห็นภาพหลอน ชักเกร็งและโคม่า ถือเป็นภาวะเร่งด่วนที่ต้องรีบรักษาโดยทันที ด้วยการนำส่งโรคพยาบาลโดยเร็วที่สุดจะลดอัตราการเสียชีวิตได้ เมื่อพบเห็นผู้ที่มีอาการเช่นนี้ ให้รีบเข้าไปปฐมพยาบาล ด้วยการถอดเสื้อผ้าออก พ่นละอองฝอยของน้ำเป็นสเปรย์ละเอียดโดยใช้ละอองน้ำอุ่นร่วมกับการเปิดพัดลมเป่าช่วยจะระบายความร้อนได้ หรืออาจนำถุงน้ำแข็งวางบริเวณซอกรักแร้ ขาหนีบไปด้วย โรคนี้ถ้าเป็นขึ้นมาแล้วการรักษาจะยุ่งยากมาก ควรป้องกันไว้ก่อนจะดีกว่า – อากาศร้อน ๆ…
-
มาทำความรู้จักกับโรคที่เกิดจากความร้อนกัน
มาทำความรู้จักกับโรคที่เกิดจากความร้อนกัน ความร้อนทำให้เกิดความเจ็บป่วยได้หลายแบบ ตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงระดับที่ทำให้เสียชีวิตได้ มีหลายโรคหลายอาการได้แก่ – ผดผื่นร้อน เกิดจากการอักเสบของท่อเหงื่อ เพราะการอุดตันจากเศษขี้ไคล ท่อเหงื่อจึงขายตัวภายใต้แรงดันจนแตกในที่สุดเกิดตุ่มแดงบนผิวหนัง มีอาการคันบรรเทาได้ด้วยยาแก้แพ้ การโรยแป้งไม่ค่อยได้ผลเท่าไรนัก สามารถป้องกันผดผื่นคันได้ด้วยการสวมเสื้อผ้าที่สะอาด เบาและหลวมเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้เหงื่อออกมาก – บวมจากความร้อน บวมหรือตึงบริเวณมือเท้าที่มักเกิดขึ้นภายใน 1-2 วันหลังจากสัมผัสความร้อน และลุกลามไปยังบริเวณอื่นได้อีก เช่น หน้าแข้ง ข้อเท้า เปลือกตา สามารถหายได้เองใน 1-2 วัน – ลมแดด มักเกิดขึ้นกับผู้ที่ไม่เคยชินกับสภาพความร้อน มักจะหน้ามืด เป็นลมจนหมดสติได้ ให้รีบออกจากแหล่งความร้อน ให้ดื่มน้ำ และพักผ่อน – ตะคริวแดด มักจะปวดเกร็งบริเวณกล้ามเนื้อน่อง ต้นขา และไหล่ได้ เกิดกับผู้ที่เสียเหงื่อเป็นจำนวนมากและได้รับการทดแทนด้วยน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มที่ไม่มีเกลือแร่ การแก้ไขให้ออกจากแหล่งความร้อนนั้น นอนพักในที่ร่มแล้วดื่มเครื่องดื่มที่มีเกลือแร่เข้าไปทดแทน – เพลียแดด มักมีอาการอ่อนเพลีย วิงเวียน มึนงง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ปวดกล้ามเนื้อ แต่รู้สึกตัวตามปกติ เกิดจากการขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรุนแรง อาการเจ็บป่วยจากความร้อนเหล่านี้สามารถป้องกันได้โดย – เตรียมร่างกายให้พร้อมรับความร้อนด้วยการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ…
-
โรคลมเหตุร้อนคืออะไร?
โรคลมเหตุร้อนคืออะไร? ในประเทศไทยนั้นช่วงระยะหลายสิบปีที่ผ่านมาอากาศเปลี่ยนแปลงมาก มีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อย ๆ การเผชิญกับสภาพอากาศร้อนทำให้เกิดความเจ็บป่วยได้ทั้งเด็ก คนแก่ และผู้ที่ต้องทำงานกลางแสงแดดจ้า หรือนักกีฬาที่ไม่ได้เตรียมตัวมาให้กรพร้อมกับการเผชิญอากาศร้อน ความร้อนนี้ทำให้เกิดความเจ็บป่วยได้ทั้งระดับเล็กน้อยไปจนถึงระดับเสียชีวิตได้ โรคนี้เรียกว่าโรคอุณหพาต หรือ “โรคลมเหตุร้อน” โดยจะมีอาการคือ มีอุณหภูมิร่างกายเกิน 40.5 องศาเซลเซียส ซึมลง ไม่มีเหงื่อออก โดยโรคนี้เกิดจากการสูญเสียน้ำในร่างกายอย่างรวดเร็วจนทำให้อวัยวะภายในหยุดการทำงานและเสียชีวิตในที่สุด ทุกคนมีโอกาสเป็นได้โดยเฉพาะคนที่ต้องออกไปเผชิญกับอากาศร้อน ๆ โดยทั่วร่างกายของเราจะใช้เหงื่อและปัสสาวะเป็นตัวปรับอุณหภูมิในร่างกายให้สมดุล เวลาอากาศร้อนร่างกายจะคายความร้อนออกมาเป็นเหงื่อ เมื่อสูญเสียน้ำสมองก็จะสั่งให้รู้สึกหิวน้ำขึ้นมา ซึ่งกลไกนี้จะใช้ระดับความเข้มข้นของเลือดที่เพิ่มสูงขึ้นจากการเสียน้ำไปเตือนสมองให้รู้สึกหิวน้ำ แต่หากคนที่เกิดอาการของโรคนี้ร่างกายจะขับน้ำออกไปพร้อมกับเหงื่อพร้อมกับเกลือแร่ด้วย ทำให้สมองไม่รับรู้ว่าร่างกายขาดน้ำ กว่าจะรู้ตัวก็สายเสียแล้ว ต่อมเหงื่อจะหยุดการทำงานทันที ความร้อนไม่สามารถระบายออกไป อุณหภูมิภายในร่างกายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้อวัยวะภายในเกิดอาการสุกจากความร้อน หยุดการทำงานหรือทำงานอย่างผิดปกติ เมื่อถึงจุดนั้นจะรักษาได้ยากและส่วนมากจะเสียชีวิต กลุ่มที่มีความเสี่ยงก็คือ กลุ่มคนเมืองที่ไม่ค่อยได้เจอแดดมากเท่าไร ร่างกายยังไม่ปรับตัวจนรักษาเกลือแร่ให้สูญเสียไปกับเหงื่อเวลาออกแดดเหมือนผู้ใช้แรงงาน และเกษตรกร ยิ่งหากเป็นคนแก่หรือเด็กเล็ก ๆ แล้วการออกไปเผชิญแดดในช่วงหน้าร้อนก็อาจเป็นอันตรายได้มาก ยิ่งโดยเฉพาะกลุ่มทหารเกณฑ์รุ่นใหม่ที่ต้องฝึกกลางแดดแล้ว ก็มีความเสี่ยงกับการเป็นโรคได้ทั้งสิ้น เมื่อพบเห็นผู้ที่มีอาการดังกล่าวให้รีบพาออกจากแหล่งความร้อนโดยเร็วที่สุด ถอดเสื้อผ้าออกแล้วลดอุณหภูมิร่างกายด้วยการใช้น้ำพ่นให้ทั่วร่าง แล้วเป่าด้วยพัดลม นำผ้าชุบน้ำซับไว้บริเวณข้อพับต่าง ๆ แล้วรีบน้ำส่งโรงพยาบาลเลยค่
-
เคล็ดลับ…บรรเทาอาการผิวไหม้เกรียมแดด
เคล็ดลับ…บรรเทาอาการผิวไหม้เกรียมแดด แม้จะเข้าหลังช่วงสงกรานต์มาแล้ว แต่แสงแดดและอากาศก็ยังร้อนแรงอยู่มาก อีกทั้งสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งก็ยังเหมาะสำหรับการท่องเที่ยวในช่วงฤดูร้อนนี้ด้วย บางท่านไปท่องเที่ยวจนเพลิดเพลินลืมดูแลผิวตนเอง ปล่อยให้โดนแดดเผาจนไหม้เกรียม บางท่านก็ลืมตัวปล่อยให้แดดเผาจนไหม้เกรียม แสบร้อน วันนี้เรามีวิธีง่าย ๆ ในการดูแลและรักษาผิวที่ไหม้เกรียมจากแสงแดด หรือจะนำเอาวิธีที่จะกล่าวต่อไปนี้ไปปฐมพยาบาลผู้ที่โดนแดดเผามาก็ได้เช่นกัน มาดูกันเลยค่ะ – ชงชาซองแบบเข้มข้นมาก ๆ ประมาณ 4-6 ถุง ชงแล้วนำไปแช่ช่องฟรีซจนเย็นจัด แต่ยังไม่เป็นน้ำแข็ง แล้วนำมาฉีดใส่ผิวที่ไหม้เกรียมแดด หรือเทใส่ผ้าขนหนูขนนุ่ม ๆ มาวางโปะบนผิวก็ได้ – นำน้ำส้มสายชูกลั่น หรือน้ำส้มสายชูแอปเปิ้ลก็ได้ นำมาพ่นฉีดลงบนผิวที่ไหม้แดด หรือจะเทใส่ผ้าขนหนูแล้วโปะบนผิวก็ได้เช่นกัน – นำผ้าขนหนูชุบนมสดแบบพร่องมันเนยเย็น ๆ แล้วโปะบนรอยไหม้แดด แล้วจุ่มน้ำนมใหม่ทุก ๆ สองนาที หรือจะแช่ตัวเลยก็ได้ ด้วยการผสมนมหนึ่งแกลลอนกับน้ำเย็น แล้วลงไปแช่ทั้งตัว – นำโยเกิร์ตควักจากกระปุกแล้วทาลงบนรอยไหม้ตรง ๆ เลยก็ได้ – ปอกเปลือกว่านหางจระเข้ออก ล้างน้ำสะอาดให้หมดเมือกแล้วนำวุ้นมาทาลงบนรอยไหม้แดด จะช่วยลดอาการแสบร้อนได้ดี – นำเบกกิ้งโซดา 1-2 ถ้วย เทลงในน้ำในอ่าง แล้วลงไปแช่ หรือละลายในน้ำเย็นแล้วนำมาฉีดผิวก็ได้…
-
ร้อนสุด ๆ แบบนี้ ดูแลสุขภาพให้ดีกันหน่อยดีกว่า
ร้อนสุด ๆ แบบนี้ ดูแลสุขภาพให้ดีกันหน่อยดีกว่า อย่าเพิ่งคิดว่า “ก็แค่หน้าร้อน” เหมือนเคย ๆ ที่แค่ร้อนก็วิ่งเข้าห้องแอร์นะคะ ความร้อนจากอากาศที่ร้อนจัดมากในปีนี้ต้องถือว่ามากกว่าปีอื่น ๆ อยู่ค่ะ และทำให้ร่างกายเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าปกติด้วย ดังนั้นมาดูแลสุขภาพให้ดีเพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บจากความร้อนกันดีกว่านะคะ 1. แม้อากาศจะร้อนจัด แต่ก็ไม่ควรดื่มน้ำเย็นจัดมากเกินไป เพราะอาจเจ็บป่วยจากอุณหภูมิที่แตกต่างกันเกินไป ควรดื่มน้ำเย็นแต่พอดี ๆ ดีกว่า อย่าน้อยเวลาดื่มเข้าไปจะได้ไม่จี๊ดขึ้นสมองด้วยนะคะ 2. สำหรับหน้าร้อน ดื่มน้ำเปล่าสะอาด ๆ จะดีที่สุด แล้วควรดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อยวันละ 2 ลิตร หรือ 8-10 แก้ว เพื่อชดเชยน้ำที่ร่างกายสูญเสียไปจากความร้อนของอากาศภายนอก หากอ่อนเพลียก็สามารถดื่มน้ำเกลือแร่ได้เหมือนกัน แต่ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้เส้นเลือดขยายตัว ร่างกายก็จะยิ่งสูญเสียน้ำมากกว่าเดิมอีก นอกจากนี้การดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงหน้าร้อน จะทำให้เมาง่ายและอาจช็อกหมดสติได้ง่าย 3. หากตากแดดมาร้อน ๆ ไม่ควรนอนตากลมหรือตากความเย็น เพราะเมื่ออุณหภูมิร่างกายล่ำลง แต่อุณหภูมิภายนอกยังร้อนอยู่ เหงื่อจะไม่สามารถระบายออกจากร่างกายได้ ทำให้เวียนหัว ไม่สดชื่น หนักหัวและอาจเป็นไข้หวัดได้ 4. ตั้งอุณหภูมิของแอร์ให้เย็นแต่พอดี แค่…