Tag: อาการไข้เลือดออก
-
ป้องกันไข้เลือดออกอย่างมั่นใจ ต้องใช้ 4ป.
ป้องกันไข้เลือดออกอย่างมั่นใจ ต้องใช้ 4ป. เพื่อสภาวะอากาศของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป จึงทำให้วงจรของยุงลายซึ่งเป็นพาหะสำคัญของโรคไข้เลือดออก มีระยะที่สั้นลง นั้นจึงทำให้แพร่พันธุ์ได้เร็วมากขึ้น โอกาสในการแพร่เชื้อของยุงก็มากขึ้นไปด้วย จะเห็นได้ว่าเมื่อไรที่ประเทศไทยเข้าสู่หน้าฝน ไข้เลือดออกก็ระบาดอย่างหนัก หากผู้ติดเชื้อเป็นเด็กอายุ 5-14 ปีแล้วล่ะก็ มีความเสี่ยงมากที่จะเสียชีวิต จะเห็นได้ว่าปีหลัง ๆ ที่ผ่านมามีผู้ป่วยเป็นแสนคน และเสียชีวิตกันเป็นหลักพัน และขยายความเสี่ยงออกมาสู่เด็กโตและวัยผู้ใหญ่ก็ป่วยด้วยไข้เลือดออกกันมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งการจัดการกับต้นกำเนิดของยุงลายพาหะของโรคไข้เลือดออกนั้น จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนในชุมชน ให้ลงมือช่วยกันอย่างเอาจริงเอาจังและมีความต่อเนื่อง จึงจะสามารถควบคุมการระบาดได้ โดยอาศัยมาตรการ 4 ป. ดังต่อไปนี้ 1. ปิด คือการใช้ฝาไปปิดภาชนะเก็บน้ำต่าง ๆ ให้หมด ไม่ว่าจะเป็นกระถางต้นไม้ อ่างน้ำ โอ่ง แทงค์เก็บน้ำ ฯลฯ 2. เปลี่ยน คือการหมั่นเปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม้ หรือจานรองขาตู้กับข้าว โดยการหมั่นเปลี่ยนทุกอาทิตย์ หรือหยอดเกลือหรือผสมน้ำส้มสายชูลงในน้ำดังกล่าว ป้องกันการวางไข่ของยุงลายได้ 3. ปล่อย ก็คือการปล่อยปลาหางนกยูง ปลาสอด ลงไปในอ่างบัว บ่อน้ำ โอ่งน้ำเพื่อกินลูกน้ำเป็นอาหาร ถือเป็นการตัดตอนการแพร่พันธุ์ของยุงลายไปได้ 4. ปรับปรุง บ้านทุกหลังในหมู่บ้านหรือชุมชน…
-
หน้าฝน “ป้องกันยุงเกิด.. อย่าให้ยุงกัด” ลดความเสี่ยงไข้เลือดออก
หน้าฝน “ป้องกันยุงเกิด.. อย่าให้ยุงกัด” ลดความเสี่ยงไข้เลือดออก. ฤดูฝนที่กำลังมาเยือนนี้ มีโรคระบาดที่น่าเป็นห่วงมากสำหรับเด็ก ๆ ก็คือ โรคไข้เลือดออกนั่นเอง เป็นโรคที่มักระบาดในช่วงที่มีฝนตกชุกจนเกิดน้ำขังตามภาชนะและสิ่งของต่าง ๆ ที่รองน้ำเก็บไว้โดยไม่เกิดการหมุนเวียนถ่ายเท ยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรคนี้จึงแพร่พันธุ์เกิดขึ้นได้มากมาย โดยเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของไข้เลือดออกนี้ชื่อว่า “ไวรัสเดงกี่” ที่จะอยู่ในตัวยุงลายที่ไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก แล้วไปกัดคนอื่น ๆ แพร่เชื้อต่อไปเรื่อย ๆ เพราะยุงตัวเมียที่พกพาไวรัสไปด้วยนี้จะมีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 4-6 อาทิตย์ เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อไวรัสเดงกี่นี้ไปแล้วจะใช้เวลาฟักตัวประมาณ 2-7 วัน ผู้ป่วยจึงมักมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน หน้าแดง ตัวแดง ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร มีผื่นหรือจุดแดงตามลำตัว แขนและขา กับทั้งมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน รวมทั้งอาจมีอาการปวดท้อง เลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล ถ่ายสีดำได้ รวมไปถึงอาจเกิดอาการช็อกได้อีกโดยให้สังเกตว่าแม้ไข้จะลดแล้ว แต่ผู้ป่วยยังมีอาการซึม ตัวเย็น กระสับกระส่ายปวดท้อง อาเจียนหรือหมดสติอยู่ ทั้งหมดนี้อาจเกิดขึ้นได้หากไม่สังเกตอาการและรักษาไม่ทันการ ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรดูแลเด็กๆ และบุตรหลานอย่างใกล้ชิด หากเด็กมีไข้สูงเฉียบพลัน ควรเช็ดตัวลดไข้และให้ยาลดไข้พาราเซตามอลชนิดน้ำเชื่อมเพื่อให้ทานง่าย และใช้ตามขนาดที่กำหนดทุก ๆ 4-6 ชั่วโมง เมื่อไข้ลดแล้วจึงหยุดยา (หลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพรินเพราะอาจทำให้เกิดอาการช็อกรุนแรงได้)…