Tag: อาการหลงลืม

  • การดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์

    การดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์

    การดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ โรคอัลไซเมอร์ เกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป เกิดจากการเสื่อมตัวลงเรื่อย ๆ ของประสาทสมอง ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความฉลาด ไม่ว่าจะเป็น ความจำ ความรู้สึกนึกคิด การแก้ปัญหา การตัดสินใจและการใช้เหตุผล ทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรของตนเองได้ตามปกติ มีความผิดปกติของการใช้คำพูดหรือการเข้าใจความหมายในคำพูด มีความผิดปกติในสิ่งที่เห็น และสิ่งที่รู้สึก นอกจากนี้แล้วยังมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงด้วย จากตอนแรกที่เฉยเมย มาเป็นเซื่องซึม ต่อมาก็เริ่มวุ่นวายและประสาทหลอน นอนไม่หลับ หากมีญาติพี่น้องใกล้ชิดเป็นโรคอัลไซเมอร์ ลูกหลานก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าคนทั่วไปเล็กน้อย โรคนี้มักจะหลงลืมและมีความผิดปกติจนมีผลต่อการงานและการเข้าสังคม รวมไปถึงครอบครัวด้วย มักจะมีอาการแสดงได้แก่ มักจะหลงลืมบ่อย ๆ หรือลืมในสิ่งที่เพิ่งทำ เพิ่งพูดไป หรือใช้คำผิดที่ทำให้คนฟังไม่เข้าใจ หลงทางกลับบ้านไม่ถูก แต่งตัวไม่ถูกกาละเทศ บวกลบเลขง่าย ๆ หรือจำตัวเลขไม่ได้ รวมไปถึงมักเก็บข้าวของผิดที่เช่น เอาเตารีดไปแช่ตู้เย็น มีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไม่มีสาเหตุ บุคลภาพเปลี่ยนแปลงไป และเฉื่อยชาไม่สนใจที่จะทำอะไรเหมือนเดิม การรักษาโรคนี้จำเป็นต้องอาศัยญาติพี่น้องในการดูแล นอกจากจัดให้กินยารักษาอาการหลงลืมและควบคุมพฤติกรรมที่ผิดปกติแล้ว ยังต้องคอยดูแลให้ปลอดภัย ให้ผู้ป่วยได้ออกกำลังกาย หากิจกรรมให้ทำ และให้คำแนะนำในการทำกิจวัตรต่าง ๆ เช่น กินข้าว อาบน้ำ ใส่เสื้อผ้า และคอยห้ามไม่ให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมที่อาจเสี่ยงอันตรายอย่างการขับรถหรือทำอาหารด้วย ฯลฯ…

  • ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงวัย

    ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงวัย

    ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงวัย ในผู้สูงวัยนั้นมักจะมีระบบความจำที่บกพร่องไป ซึ่งสามารถเกิดขึ้นไปใน สามารถบรรเทาอาการขี้ลืมนี้ได้เพียงการตั้งใจจดจำหรือจดบันทึกให้มากขึ้น แต่หากอาการหลงลืมนี้ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันแล้ว อาการหลงลืมนั้นอาจเกิดจากภาวะสมองเสื่อมได้ ซึ่งนอกจากจะต้องเกิดขึ้นอย่างน้อยหกเดือนแล้ว แพทย์จะวินิจฉัยอาการของคนไข้ด้วยว่ามีอาการดังต่อไปนี้ 1. เกิดความบกพร่องในการทำงานของสมองใหญ่ ได้แก่ การบกพร่องในการเรียนรับรู้หรือเรียนรู้ การทำกิจกรรมที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน ความบกพร่องในการตัดสินใจ หลงทาง ความบกพร่องในการใช้ภาษาและการทำกิจกรรมที่เคยทำมาได้ก่อนแล้ว 2. การประกอบกิจวัตรประจำวันบกพร่องไป ไม่ว่าจะเป็น ไม่อาบน้ำแต่งตัว กลั้นอุจจาระหรือปัสสาวะไม่อยู่ ทานอาหารมูมมาม หกเรี่ยราดทั้งที่เคยเป็นคนเรียบร้อยมาก่อน ขึ้นบันไดเองไม่ได้ หรือลุกนั่งหรือเดินแล้วหกล้ม มีท่าทางการเดินเปลี่ยนแปลงไป แต่งตัวหรือเลือกเสื้อผ้ารองเท้า ไม่ถูกกาลเทศะ เคยขึ้นรถโดยสารคนเดียวได้ก็ทำไม่ได้แล้ว ฯลฯ 3. มีพฤติกรรมและบุคลิกแปลก ๆ หรือเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็น จากคนร่าเริงกลายเป็นคนเฉยเมย เฉื่อยชา ไม่กระตือรือร้น ฉุนเฉียวโมโหง่าย หลีกเลี่ยงการออกไปพบปะเพื่อนฝูงผู้คนที่เคยไปมาหาสู่สม่ำเสมอ เดินไปเดินมาอย่างไร้จุดหมาย ทำอะไรซ้ำซาก เช่น รื้อหาสิ่งของ เปิดตู้ลิ้นชักค้นหาของตลอดเวลา อาจมีอาการคล้ายจิตเภท เช่น เห็นภาพหลอน มีความเชื่อความคิดที่หลงผิด เป็นต้น โดยอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปก็ได้ หรือเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วก็ได้ ขอให้ครอบครัวที่มีผู้สูงอายุช่วยกันสังเกตบางก็จะทราบได้ว่าท่านมีภาวะสมองเสื่อมหรือไม่ ควรรีบพามาพบแพทย์เพื่อการดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพสมองไว้ให้ได้นานที่สุดค่ะ